ภาพเหมือนตนเอง
ภาพเหมือนตนเอง (อังกฤษ: Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี ค.ศ. 1433 ซึ่งเป็นภาพเหมือนตนเองภาพแรกที่มีหลักฐานให้เห็น[1] อีกภาพหนึ่งที่ฟัน ไอก์เขียนเป็นภาพของภรรยา นอกจากนั้นฟัน ไอก์ก็ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เริ่มจะรับงานเขียนภาพเหมือนโดยทั่วไป ที่เริ่มจะเป็นงานจ้างที่นิยมกันในบรรดาชาวดัตช์ผู้มีอันจะกิน แต่ก็มิได้มาเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปจนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเมื่อผู้คนมีฐานะมั่งคั่งมากขึ้น และความสนใจในการใช้ตัวแบบเป็นหัวข้อของการเขียนมีเพิ่มมากขึ้น[2]
ประวัติของการเขียนภาพเหมือนตนเอง
[แก้]ภาพเหมือนยุคโบราณ
[แก้]ภาพเหมือนของศิลปินขณะที่ทำงานที่เก่าที่สุดพบในงานจิตรกรรมและประติมากรรมของอียิปต์โบราณ[3] และบนแจกันของกรีกโบราณ ภาพเหมือนตนเองในยุคแรกสร้างโดยประติมากรของฟาโรห์อเคนาเตนชื่อบัคในปี 1365 ก่อนคริสต์ศักราช พลูทาร์คกล่าวว่าประติมากรกรีกฟิเดียส (Phidias) สร้างงานศิลปะที่รวมทั้งที่เหมือนตนเองของตัวแบบหลายตัวในงานชื่อ "ยุทธการของชาวอเมซอน" (Amazonomachy) บนวิหารพาร์เธนอน และมีการอ้างอิงถึงจิตรกรรมภาพเหมือนตนเอง แต่ไม่มีชิ้นใดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็น
ภาพเหมือนตนเองในยุคแรก
[แก้]ภาพเหมือนตนเองที่อาจจะเป็นภาพเหมือนของศิลปิน มักจะเขียนเป็นส่วนหนึ่งของงานชิ้นใหญ่ หรือภาพเหมือนหมู่ เชื่อกันว่าจิตรกรหลายคนวาดภาพเหมือนของคนบางคนหรือของตนเองผสานลงไปในภาพเขียนทางศาสนาหรือภาพเขียนประเภทอื่นที่มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ[4] การวาดลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นใบหน้าในบรรดาหมู่คน และมักจะอยู่ตรงมุมภาพ ภาพเขียนอีกประเภทหนึ่งที่นิยมสอดแทรกบุคคลร่วมสมัยและจิตรกรเองเข้าไปในภาพคือภาพประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ภาพกลายเป็นทั้งภาพเหมือนและภาพประวัติศาสตร์ ทั้งเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และแร็มบรันต์เขียนภาพประเภทนี้[5] ที่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ออกมาในรูปของภาพเขียนโดยยัน เดอ ไบร หรืองานภาพถ่ายของซินดี เชอร์แมน นอกจากการเขียนด้วยสีแล้วก็ยังมีการใช้การวาดเส้น และการพิมพ์ในการเขียนภาพเหมือนตนเองด้วย
ศิลปินบางคนวางรูปของตนเองท่ามกลางกลุ่มคนในภาพเช่นงานเขียนของยัน ฟัน ไอก์ในภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ที่มีอิทธิพลต่อภาพ "นางสนองพระโอษฐ์" โดย เดียโก เบลัซเกซ[6] ต่อมาการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มหรือครอบครัว หรือกลุ่มสมาคม ก็ค่อยมาเป็นสิ่งที่ทำกันโดยทั่วไปมากขึ้น
ภาพเหมือนตนเองที่จิตรกรแทรกภาพเหมือนตนเองเข้าไปในภาพใหญ่
-
การชื่นชมของแมไจ
ซันโดร บอตตีเชลลี
แทรก "ภาพเหมือนตนเอง"
ที่มองตรงมายังผู้ชมภาพตรงมุมขวาของภาพ ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไปของการเขียนภาพเหมือนตนเองประเภทแทรกอยู่ในกลุ่มคน -
มาซาชิโอแทรก
"ภาพเหมือนตนเอง"
ในจิตรกรรมฝาผนังภายใน
ชาเปลบรันคาชชิ
(เช่นเดียวกับ
ฟิลิปปิโน ลิปปี)
ค.ศ. 1424-1426 -
เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา
เป็นทหารหลับยามในภาพ
"พระเยซูคืนชีพ"
ค.ศ. 1463
จิตรกรรมฝาผนัง
ที่ซานเซพอลโคร[7] -
ฟิลิปปิโน ลิปปี
ปรากฏในภาพ
การพลีชีพของนักบุญปีเตอร์
จิตรกรรมฝาผนัง
ค.ศ. 1481-82
ชาเปลบรันคาชชิ
ฟลอเรนซ์
ลิปปีอยู่ทางด้านขวาสุดของกลุ่มคน[8]
ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรสตรี
[แก้]จิตรกรสตรีมีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนตนเอง; จิตรกรสตรีคนสำคัญเกือบทุกคนทิ้งภาพเหมือนตนเองเป็นตัวอย่างให้เห็น ตั้งแต่คาเทอรินา ฟาน เฮเมสเซ็นไปจนถึงเอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง และฟรีดา คาห์โล วิฌี-เลอเบริงเขียนภาพเหมือนตนเองด้วยกันทั้งหมดถึง 37 ภาพ บางภาพเป็นงานก็อปปีงานที่เขียนก่อนหน้านั้นที่ทำขึ้นเพื่อขาย ในยุคนั้นจิตรกรสตรีมักจะไม่มีโอกาสได้ฝึกเขียนจากแบบที่เปลือย ซึ่งทำให้เป็นการยากต่อการที่จะเขียนภาพสรีระของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเขียนภาพเหมือน มาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สตรีมักจะแสดงภาพของตนเองขณะที่กำลังจะเขียนภาพ หรืออย่างน้อยก็ถือแปรงและจานสี และผู้ชมมักจะมีความสงสัยว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการเขียนจริงหรือไม่หรือแต่งตัวให้ดีขึ้นสำหรับภาพ
-
คาเทอรินา ฟาน เฮเมสเซ็น
ค.ศ. 1548
อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของจิตรกรสีน้ำมันสตรีที่เก่าที่สุด แม้ว่าจะมีภาพที่เก่ากว่าที่เขียนในหนังสือ -
โซโฟนิสบา อังกิสโซลา
ค.ศ. 1556
จิตรกรประจำราชสำนักของ
เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
ผู้เขียนภาพเหมือนตนเองและครอบครัวหลายภาพ -
อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี
"ภาพเหมือนตนเอง
เป็นอุปมานิทัศน์"
ราว ค.ศ. 1630
งานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวังวินด์เซอร์ -
เอลิซาเบธ-หลุยส์
วิฌี-เลอเบริง
เมื่ออายุ 22 ปี ค.ศ. 1782
จิตรกรผู้มีชื่อเสียงผู้เขียนภาพเหมือนตนเองหลายภาพและเป็นผู้ริเริ่มการแต่งกายอย่างสบาย ๆ เมื่อตอนปลายของ
การปกครองระบบโบราณ[9] -
มารี-เดอนีซ วีแลร์
"สตรีสาววาดภาพ"
ค.ศ. 1801
เชื่อว่าเป็นภาพเหมือนตนเองและเป็นงานชิ้นเอกที่เดิมเชื่อว่าเขียนโดย
ฌาคส์-ลุยส์ ดาวิด[10] -
มารี เอลเลนรีเดอร์
ค.ศ. 1819 -
มารี บาชเคิร์ทเซฟฟ์
ค.ศ. 1880
จิตรกรชาวรัสเซีย
ผู้เสียชีวิตเมื่ออายุ 25 ปี
งานหลายชิ้นถูกทำลายโดยนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรเอเชีย
[แก้]ภาพเหมือนและภาพเหมือนตนเองในศิลปะเอเชียมีประวัติที่ยืนยาวกว่าของยุโรป การเขียนภาพของนักปราชญ์-ผู้คงแก่เรียนของเอเชียมักจะเป็นภาพขนาดเล็ก ที่เป็นภาพของศิลปินท่ามกลางภูมิทัศน์ และมีกวีนิพนธ์เขียนเป็นอักษรวิจิตรบรรยายความรู้สึกเกี่ยวกับฉากในภาพ ลักษณะการเขียนอีกแบบหนึ่งเกี่ยวกับนิกายเซ็น ซึ่งจะเป็นภาพเหมือนตนเองเชิงเป็นการ์ตูนมีอารมณ์ขัน ขณะที่ลักษณะการเขียนอื่นจะเป็นภาพเหมือนอย่างเป็นทางการทั่วไป
ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรยุโรป
[แก้]เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมักจะมีภาพเหมือนตนเองโดยเฉพาะในงานเขียนของนักบุญดันสตัน และแม็ทธิว แพริส ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพหรือไม่ก็เสนองานที่เขียนเสร็จแก่ผู้อุทิศหรือต่อผู้ศักดิ์สิทธิ์[11]
เชื่อกันว่าอันเดรอา ออร์ชานยาเขียนภาพเหมือนตนเองแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนในปี ค.ศ. 1359 ซึ่งเป็นการบันทึกอย่างน้อยก็ตามที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์จอร์โจ วาซารีกล่าวว่าเป็นสิ่งที่จิตรกรมักจะนิยมทำกัน ในอิตาลีจอตโต ดี บอนโดเน (ค.ศ. 1267-ค.ศ. 1337) วาดภาพตนเองในภาพชุด "eminent men" ในปราสาทที่เนเปิลส์, มาซาชิโอ (ค.ศ. 1401-ค.ศ. 1428) วาดภาพตนเองเป็นหนึ่งในอัครสาวกในจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลบรันคาชชิ และ เบนนอซโซ กอซโซลิวาดภาพตนเองกับภาพเหมือนของผู้อื่นในภาพ "ขบวนแมไจ" (Procession of the Magi) (ค.ศ. 1459) ในวังเมดิชิ โดยเขียนชื่อไว้บนหมวก สองสามปีต่อมาซันโดร บอตตีเชลลีก็เลียนแบบเขียนตนเองเป็นผู้ชื่นชมคนหนึ่งในภาพ "การชื่นชมของแมไจ" ผู้หันมามองตรงมายังผู้ชมภาพ (ค.ศ. 1475)
ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีรูปเหมือนแกะท่อนบนของและโดยปีเตอร์ พาร์เลอร์ ในมหาวิหารปรากรวมภาพเหมือนตนเองและเป็นหนึ่งในบรรดารูปท่อนบนรูปแรก ๆ ที่ไม่ใช่รูปท่อนบนของพระราชวงศ์ ลอเร็นโซ กิเบอร์ติรวมรูปปั้นศีรษะของตนเองบนบานประตู หอล้างบาปซันโจวันนีในฟลอเรนซ์
ภาพเหมือนตนเองแรกสุดที่เขียนในอังกฤษ นอกไปจากเอกสารตัวเขียนวิจิตร และก็เป็นภาพเหมือนขนาดเล็กที่เขียนโดยจิตรกรเยอรมันเยอร์ลาค ฟลิคเคอในปี ค.ศ. 1554
-
นักบุญดันสตัน
อธิการ-จิตรกรแห่ง
สำนักสงฆ์กลาสตันบรี
วาดภาพตนเองหน้าพระเยซูขนาดใหญ่ ต่อมาดันสตันก็ได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี
ราว ค.ศ. 950 -
ปีเตอร์ พาร์เลอร์
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14
จากมหาวิหารปราก -
"ภาพเหมือนชายโพกหัว"
ยัน ฟัน ไอก์
ค.ศ. 1433
เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนตนเอง ซึ่งทำให้เป็นภาพเหมือนที่เป็นจิตรกรรมแผงภาพแรกที่เขียนขึ้นตั้งแต่ยุคโบราณเป็นต้นมา -
โรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น
ในบทนักบุญลูค
กำลังเขียนภาพพระแม่มารีย์
ราว ค.ศ. 1440 -
ฌอง โฟเคท์
ราว ค.ศ. 1450
ภาพเหมือนขนาดเล็ก
ถ้าไม่นับฟัน ไอก์ ก็จะเป็นภาพเหมือนเดี่ยวภาพแรกของการเขียนภาพเหมือนตนเองของศิลปะตะวันตก -
อันเดรีย มานเทนยา
ราว ค.ศ. 1474
รวมตนเองในจิตรกรรมฝาผนังของสำนักกอนซากา -
อิสราเฮล ฟาน เม็คเคอเน็ม
และภรรยา
ราว ค.ศ. 1490
ภาพเหมือนแบบภาพพิมพ์แรก
อัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1471–ค.ศ. 1528
[แก้]อัลเบรชท์ ดือเรอร์เป็นศิลปินผู้มีความความพะวงเกี่ยวกับภาพพจน์และชื่อเสียงของตนเองอยู่เสมอ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการสร้างภาพพิมพ์ของจิตรกรชั้นปรมาจารย์ที่ขายไปทั่วยุโรป ดือเรอร์อาจจะวาดภาพตัวเองบ่อยกว่าจิตรกรอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน เท่าที่ทราบอย่างน้อยก็ประมาณสิบสองภาพที่รวมทั้งจิตรกรรมสีน้ำมัน และวาดเป็นบุคคลหนึ่งในงานชิ้นใหญ่ที่เป็นแท่นบูชา ภาพเขียนภาพแรกเป็นภาพวาดลายเส้นที่เขียนเมื่ออายุได้เพียงสิบสามปี เมื่ออายุได้ยี่สิบสองปีดือเรอร์ก็เขียน "ภาพเหมือนตนเองกับดอกคาร์เนชัน" (ค.ศ. 1493, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์) ที่อาจจะเขียนเพื่อส่งไปให้คู่หมั้นใหม่ ภาพเหมือนตนเองมาดริด (ค.ศ. 1498, พิพิธภัณฑ์ปราโด) เป็นภาพดือเรอร์ในเครื่องแต่งกายหรูหราแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นความมีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ในภาพเหมือนตนเองภาพสุดท้ายที่ขายหรือมอบให้เมืองเนิร์นแบร์กที่ตั้งแสดงให้สาธารณชนชมเป็นภาพที่วาดเชิงเป็นพระเยซู (พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิก) ต่อมาดือเรอร์ก็ใช้ใบหน้าเดียวกันนี้ในการสร้างภาพพิมพ์ของพระพักตร์ของพระเยซูที่ปรากฏบน "ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา" (Veil of Veronica) [12] แต่ภาพเหมือนตนเองที่ส่งไปให้ราฟาเอลหายสาบสูญไป ภาพพิมพ์แกะไม้ในโรงอาบน้ำและภาพวาดลายเส้นเป็นภาพเหมือนตนเองที่แทบจะเป็นภาพเปลือย[13]
-
ดือเรอร์เมื่ออายุ 13 ปี
ค.ศ. 1484 -
ดือเรอร์เมื่ออายุราว 20 ปี
ค.ศ. 1491–1492
ภาพวาดลายเส้น
พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน -
ดือเรอร์
ค.ศ. 1493
จิตรกรรมสีน้ำมัน เดิมเขียนบนหนัง
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส -
ภาพเหมือนตนเอง
ภาพสุดท้ายของดือเรอร์
ค.ศ. 1500—แบบพระเยซู
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคบาโรก
[แก้]จิตรกรชั้นปรมาจารย์ของอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เขียนภาพเหมือนตนเองไว้อย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเขียนภาพของตนรวมไว้ในภาพเขียนใหญ่ ภาพเหมือนตนเองที่เขียนก็เป็นภาพเขียนที่ตรงไปตรงมาไม่มีการจัดท่าตั้งท่าเช่นที่ทำกันในสมัยต่อมา การเขียนแบบที่นอกแนวออกไปเช่นที่ดือเรอร์ทำก็แทบจะไม่มีผู้ใดทำตาม นอกไปจาก "ภาพเหมือนตนเองในบทเดวิด" ของจอร์โจเน (ถ้าเป็นภาพเหมือนตนเองจริง) ภาพเหมือนที่มีอยู่ก็ได้แก่ภาพเหมือนของเปียโตร เปรูจิโนที่เขียนราว ค.ศ. 1500 และภาพของพาร์มิจานิโนที่เป็นภาพเขียนเป็นเหมือนกระจากนูน และภาพเหมือนตนเองที่เป็นภาพวาดลายเส้นโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี (ค.ศ. 1512) [14] และภาพเหมือนตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียนใหญ่ของมีเกลันเจโล ผู้เขียนใบหน้าของตนเองบนหนังที่ถูกถลกออกมาจากร่างของนักบุญบาร์โทโลมิวในภาพ "การตัดสินครั้งสุดท้าย" ภายในชาเปลซิสติน (ค.ศ. 1536-ค.ศ. 1541) และ ราฟาเอล ที่ปรากฏในภาพ "โรงเรียนแห่งเอเธนส์" (ค.ศ. 1510) หรือภาพที่เกาะไหล่เพื่อน (ค.ศ. 1518) นอกจากนั้นภาพอื่นที่เด่นก็ได้แก่ภาพเหมือนของทิเชียนที่เขียนเป็นชายสูงอายุที่เขียนเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1560, เพาโล เวโรเนเซปรากฏเป็นนักเล่นไวโอลินใส่เสื้อสีขาวในภาพ "การแต่งงานที่คานา" โดยมีทิเชียนเล่น bass viol (ค.ศ. 1562) จิตรกรทางตอนเหนือของยุโรปจะนิยมเขียนภาพเหมือนมากกว่าจิตรกรในอิตาลี ที่มักจะวางท่าเดียวกับภาพชาวเมืองผู้มีอันจะกินอื่น ๆ ที่เป็นลูกค้าผู้มาว่าจ้างให้วาด
ภาพ "อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ" (ราว ค.ศ. 1565-1570) โดยทิเชียนเชื่อว่าเป็นภาพของทิเชียน, โอราซิโอลูกชาย และหลานมาร์โค เวเชลลิโอ[15] นอกจากภาพนี้แล้วทิเชียนก็เขียนภาพเหมือนตนเองอีกในปี ค.ศ. 1567 ที่เป็นภาพแรก คาราวัจโจเขียนภาพเหมือนตนเองเมื่อเริ่มเป็นจิตรกรใหม่ ๆ ในภาพ "บาคคัส" ต่อมาก็เขียนเป็นตัวประกอบในภาพเขียนที่ใหญ่กว่า และในที่สุดก็เขียนตนเองเป็นหัวของโกไลแอธที่เดวิดถือในภาพ "เดวิดกับหัวโกไลแอธ" (ค.ศ. 1605-ค.ศ. 1610, หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม)
-
เจ็นทิเล เบลลินี, ชอล์คดำ
ค.ศ. 1496 หรือก่อนหน้านั้น
เบอร์ลิน -
ประติมากรอาดัม คราฟท์
ในวัดเซนต์ลอเรนซ์
ที่เนิร์นแบร์ก
คริสต์ทศวรรษ 1490 -
อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของเลโอนาร์โด ดา วินชี
ราว ค.ศ. 1512-1515 -
ภาพเหมือนตนเองของ
นิโคลัส ฮิลลาร์ด
เป็นภาพเหมือนขนาดเล็ก
ค.ศ. 1577
แร็มบรันต์ และคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในยุโรปเหนือ
[แก้]ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิตรกรเฟลมิชและดัตช์เขียนภาพของตนเองมากกว่าจิตรกรในประเทศอื่นในยุโรป ในช่วงเวลานี้จิตรกรผู้มีชื่อเสียงก็จะมีฐานะทางสังคมดีพอที่จะต้องการที่จะมีภาพเขียนของตนเองเอาไว้เช่นเดียวกับผู้อยู่ฐานะเท่าเทียมกันในสังคม นอกจากเขียนภาพตนเองแล้วจิตรกรก็ยังอาจจะเขียนภาพของภรรยาและบุตรธิดา หรือญาติพี่น้องเช่นเดียวกับพฤติกรรมของชนชั้นกลางโดยทั่วไปในขณะนั้น อันโตนี ฟัน ไดก์ และ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ต่างก็เขียนภาพของตนเองเป็นจำนวนหลายภาพ โดยเฉพาะรือเบินส์ผู้นอกจากจะเขียนภาพของตนเองแล้วก็ยังเขียนภาพของครอบครัวด้วย
แร็มบรันต์เป็นจิตรกรผู้เขียนภาพเหมือนตนเองมากที่สุดคนหนึ่ง และบางครั้งก็จะเขียนภาพของภรรยา, ลูกชาย และภรรยาน้อย เดิมเชื่อกันว่าแร็มบรันต์เขียนภาพเหมือนตนเองราวเก้าสิบภาพ แต่ต่อมาก็เป็นที่ทราบกันว่าภาพบางภาพเป็นภาพก็อปปีโดยลูกศิษย์ที่แร็มบรันต์ให้ทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกหัด เมื่อแยกภาพเหล่านี้ออกไปแล้วนักวิชาการสมัยใหม่เชื่อกันว่าแร็มบรันต์เขียนภาพเหมือนตนเองราวสี่สิบภาพ และภาพวาดเส้นอีกสองสามภาพ รวมทั้งภาพพิมพ์อีกสามสิบเอ็ดภาพ ภาพเขียนหลายภาพเป็นภาพที่แร็มบรันต์แต่งตัวแบบกึ่งโบราณอย่างหรูหรา ภาพเขียนเหล่านี้แสดงความก้าวหน้าในชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ภาพของจิตรกรหนุ่มไปจนถึงศิลปินผู้ประสบความสำเร็จกับการเขียนภาพเหมือนในคริสต์ทศวรรษ 1630 และต่อไปยังชายสูงอายุผู้ดูจะมีเรื่องครุ่นคิด แต่ก็เป็นผู้มีความสามารถที่ไม่มีผู้ใดเทียมได้[16]
-
ราว ค.ศ. 1628
เมื่ออายุ 22 ปี
แสดงการใช้ค่าต่างแสง
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัม -
ภาพพิมพ์ราว ค.ศ. 1630
อาจจะเขียนเพื่อพยายามจับการแสดงออกทางสีหน้าสำหรับภาพเขียนที่ใหญ่กว่า -
ค.ศ. 1632
เมื่อประสบความสำเร็จกับการเขียนภาพเหมือนในลักษณะที่เห็น -
ภาพพิมพ์ ค.ศ. 1634
ภาพเหมือนเล่นบท
ภาพเหมือนตนเองแต่งตัวเป็นเจ้าตะวันออกถือกริช -
ค.ศ. 1640
แต่งตัวดัวยเสื้อผ้าของสมัยร้อยปีก่อนหน้านั้น -
ราว ค.ศ. 1655 -
ค.ศ. 1658
แต่งตัวแบบโบราณ
หอแสดงภาพฟริค
ภาพเหมือนตนเองขนาดใหญ่ที่สุดที่อาจจะใช้กระจกช่วย -
ค.ศ. 1669
ปีที่เสียชีวิต ที่ดูเหมือนว่าจะอายุมากกว่าภาพอื่น ๆ มาก
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
หลังสมัยแร็มบรันต์
[แก้]ในสเปนก็มีภาพเหมือนตนเองของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย และ เดียโก เบลัซเกซ ส่วนฟรันซิสโก ซูร์บารานเขียนตนเองเป็นนักบุญลูค ที่เท้าของพระเยซูบนกางเขน (ราว ค.ศ. 1635) ในคริสต์ทศวรรษ 1800 ฟรันซิสโก โกยาเขียนภาพตนเองหลายภาพ ภาพเหมือนตนเองหลังจากสมัยนีกอลา ปูแซ็งมักจะแสดงฐานะทางสังคมของศิลปิน แต่ก็มีบางคนที่เขียนภาพในเครื่องแต่งกายที่ใช้เมื่อเขียนภาพเช่นภาพเหมือนตนเองของฌอง-บัพทิสต์-ซิเมออง ชาร์แดง จิตรกรที่เขียนภาพเหมือนตนเองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มักจะเขียนทั้งภาพในเครื่องแต่งกายอย่างเป็นทางการและเครื่องแต่งกายอย่างลำลอง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าจิตรกรเกือบทุกคนที่สำคัญจะทิ้งภาพเหมือนตนเองเอาไว้อย่างน้อยก็ภาพหนึ่ง แม้ว่าจะหลังจากสมัยที่ความนิยมในการวาดภาพเหมือนตนเองจะลดถอยลงไปเมื่อมีวิวัฒนาการทางการถ่ายภาพเข้ามา กุสตาฟว์ กูร์แบอาจจะเป็นศิลปินผู้เขียนภาพเหมือนตนเองที่มีความคิดอันสร้างสรรค์ที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และภาพ "ห้องเขียนภาพของศิลปิน" และ "สวัสดี มงซิเออร์คูร์เบต์" ก็อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่ที่เคยเขียนกันมา ทั้งสองภาพมีตัวแบบหลายคนแต่บุคคลที่เป็นศูนย์กลางของภาพคือตัวศิลปินเอง
จิตรกรสมัยใหม่ผู้เขียนภาพเหมือนตนเองเป็นจำนวนมาก
[แก้]จิตรกรคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งและคนที่เขียนภาพเหมือนตนเองมากที่สุดคนหนึ่งคือฟินเซนต์ ฟัน โคคผู้เขียนภาพเหมือนตนเองด้วยกันทั้งหมด 37 ภาพระหว่าง ค.ศ. 1886 จนถึง ค.ศ. 1889 สิ่งที่น่าสังเกตของภาพเหมือนของฟัน โคคคือจะไม่มีภาพใดเลยที่จิตรกรจะมองตรงมายังผู้ชมภาพ แม้ว่าจะเป็นภาพที่จ้องตรงไปข้างหน้าแต่ก็ดูเหมือนว่าฟัน โคคจะมีจุดสนใจอื่น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีที่เข้มข้น บางรูปก็เป็นภาพที่มีผ้าพันแผลรอบหู ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าฟัน โคคตัดหูตนเอง
ภาพเหมือนตนเองของอีกอน ชีเลอวางมาตรฐานใหม่ให้แก่การเขียนภาพเหมือนตนเองทางด้านความเปิดเผย หรืออาจจะเรียกว่าออกไปทางลัทธิการแสดงอนาจาร (Exhibitionism) ที่เป็นภาพเปลือยหลายภาพในท่าต่าง ๆ และบางภาพก็เป็นภาพชีเลอกำลังสำเร็จความใคร่ หรือเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวในภาพ "อีรอส" ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1911 สแตนลีย์ สเป็นเซอร์ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เขียนในแนวนี้ เอ็ดเวิร์ด มันช์ก็เป็นศิลปินอีกผู้หนึ่งที่เขียนภาพเขียนของตนเองเป็นจำนวนมาก ที่รวมทั้งจิตรกรรม 70 ภาพ, ภาพพิมพ์ 20 ภาพ และภาพวาดลายเส้นหรือสีน้ำอีกกว่า 100 ภาพ ภาพหลายภาพที่เขียนเป็นภาพที่แสดงถึงการที่ถูกกลั่นแกล้งโดยเฉพาะจากสตรี[17] ฟรีดา คาห์โลผู้ในชีวิตประสบอุบัติเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้ต้องนอนเป็นคนไข้อยู่หลายปี เขียนภาพตนเองเป็นหลัก และมักจะเป็นภาพที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ คาห์โลเขียนภาพเหมือนตนเองราว 55 ภาพที่รวมทั้งภาพตั้งแต่บั้นเอวขึ้นไปและบางภาพก็เป็นภาพการฝันร้ายที่เป็นสัญลักษณ์ของความทุกข์ทรมานทางกาย
ตลอดอาชีพการเป็นจิตรกรปาโบล ปีกัสโซมักจะใช้ภาพเหมือนตนเองในการบรรยายตนเองหลายแบบ จากช่วงที่เป็นจิตรกรหนุ่มผู้ยังไม่เป็นที่รู้จักใน "Yo Picasso" ไปจนถึงช่วง "Minotaur in the Labyrinth", ตามด้วย "old Cavalier" และ "lecherous old artist and model" ภาพเหมือนตนเองของปีกัสโซมักจะเผยความเข้าใจอันลึกซึ้งทางจิตวิทยาของตัวปีกัสโซเอง ทั้งทางส่วนตัวและทางการเป็นศิลปิน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่เขียนภาพเหมือนตนเองที่เผยลักษณะของตนเองตลอดชีวิตการเป็นจิตรกรคือปีแยร์ บอนาร์ นอกจากนั้นบงนาร์ดก็ยังเขียนภาพเหมือนของภรรยาอีกหลายสิบภาพตลอดชีวิตการเขียนด้วย ศิลปินโดยเฉพาะฟินเซนต์ ฟัน โคค, ปอล โกแก็ง และ อีกอน ชีเลอ ต่างก็เขียนภาพเหมือนตนเองที่เผยตนเองทางจิตวิทยาโดยตลอดอาชีพการเป็นจิตรกร
ประเภทของภาพเหมือนตนเอง
[แก้]จิตรกรกำลังเขียนภาพ
[แก้]ภาพเหมือนจากยุคกลางเป็นจำนวนมากเป็นภาพเขียนของจิตรกรที่กำลังเขียนภาพ เช่นในภาพเหมือนตนเองของยัน ฟัน ไอก์ที่ใส่ "Chaperon" ที่มีลักษณะคล้ายหมวก ที่ฟัน ไอก์ตลบชายที่ห้อยลงมาขึ้นไปพันรอบศีรษะที่ทำให้ดูคล้ายผ้าโพกของซิกส์ ที่คงจะเป็นการทำเพื่อที่จะให้สะดวกระหว่างการเขียนภาพ[18] ระหว่างสมัยใหม่ตอนต้นจิตรกรทั้งหญิงและชายที่เขียนภาพเหมือนตนเองก็จะต้องเลือกระหว่างการเขียนภาพในเครื่องแต่งกายที่ดีที่สุดหรือในห้องที่ดีที่สุด หรือจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง
-
"จิตรกรและผู้ซื้อภาพ"
ปิเอเตอร์ บรูเกล (ผู้พ่อ)
ราว ค.ศ. 1565
อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเอง
อันท์เวิร์พ -
ปิแยร์ มินยาร์ด
ค.ศ. 1690
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ -
ฟรานเชสโค โซลิเมนา
ราว ค.ศ. 1715 -
ฟรองซัวส์ บูแชร์
"ภาพเหมือนตนเองในห้องเขียนภาพ"
ค.ศ. 1720 -
โจชัว เรย์โนลด์ส
หอหอภาพเหมือนแห่งชาติ, ลอนดอน
ค.ศ. 1748 -
จอร์จ เดมารีส
และลูกสาว
ค.ศ. 1750, มิวนิก -
"แรงบันดาลใจ"
ฌอง-โอโนเร ฟราโกนาร์ด
"ภาพเหมือนตนเอง"
ค.ศ. 1769 -
ฌอง-บัพทิสต์-ซิเมออง ชาร์แดง
(1771)
ในเครื่องแต่งกายจิตรกร -
ฟรันซิสโก โกยา
ค.ศ. 1795 -
"ห้องเขียนภาพของจิตรกร อุปมานิทัศน์ตามความเป็นจริงของชีวิตในฐานะศิลปินในเจ็ดปี"
กุสตาฟว์ กูร์แบ
ค.ศ. 1855
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ -
คาร์ล ลุดวิก เจสเส็น
ค.ศ. 1857 -
ยาเซ็ค มาลซิวสกี
ค.ศ. 1892 -
ยูเลียน ฟาลัต
ค.ศ. 1896 -
อันเดอร์ส ซอร์น
"ภาพเหมือนตนเองและนางแบบ"
ค.ศ. 1896 -
อุมแบร์โต บ็อชชิโอนี
ภาพเหมือนตนเอง
ค.ศ. 1906
กลุ่มภาพเหมือนตนเอง
[แก้]นักวิพากษ์ศิลป์ กาลินา วาซิลเยนา-เชลียพินาแยกลักษณะการเขียนภาพตนเองเป็นสองกลุ่ม ภาพเหมือน "แสดงอาชีพ" (professional) ซึ่งเป็นภาพเขียนของจิตรกรระหว่างการเขียนภาพ และ ภาพเหมือน "ส่วนตัว" (personal) ที่เผยถึงสภาวะทางจริยธรรมและทางด้านจิตใจของผู้เขียน นอกจากนั้นก็ยังแบ่งต่อไปอีกเป็น (1) "ภาพแทรง" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเข้าไปในรูป เช่นอยู่ในหมู่คนในรูป; (2) "ภาพแสดงศักดิ์หรือสัญลักษณ์" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์หรือศาสนา; (3) "ภาพเหมือนกลุ่ม" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวจริง; (4) "ภาพแท้จริง หรือ ภาพธรรมชาติ" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองคนเดียว แต่การจัดกลุ่มที่ว่านี้ก็อาจจะเป็นการจัดที่ค่อนข้างขาดความยืดหยุ่น และภาพเหมือนบางภาพก็อาจจะผสมระหว่างลักษณะการเขียนมากกว่าสองอย่าง[19]
การใช้กระจกและการวางท่า
[แก้]ภาพเหมือนตนเองตามทฤษฎีแล้วเป็นภาพที่เขียนจากเงาที่สะท้อนจากกระจก เมื่อกระจกแพร่หลายขึ้นในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กระจกที่ใช้กันแบบแรกเป็นกระจกนูนที่บางครั้งจิตรกรก็ยังรักษาภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงของตนเองตามลักษณะกระจกไว้เช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองในกระจก" โดยพาร์มิจานิโนที่เขียนใน ค.ศ. 1524 นอกจากนั้นแล้วกระจกก็ยังสามารถทำให้สร้างองค์ประกอบของภาพได้หลายแบบเช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองสามแบบ" โดยโยฮันส์ กัมพ์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1646 หรือเมื่อไม่นานมานี้ในภาพที่เขียนโดยซัลบาดอร์ ดาลีที่เป็นภาพด้านหลังขณะที่กำลังเขียนภาพภรรยา
การใช้เงาที่สะท้อนจากกระจกมักจะเป็นผลทำให้จิตรกรที่ถนัดมือขวาปรากฏในภาพเป็นผู้ถนัดมือซ้าย หรือในทางกลับกันจิตรกรถนัดซ้ายก็จะกลายเป็นผู้ถนัดขวา ฉะนั้นภาพเหมือนที่เป็นก็จะเป็นภาพสะท้อนของจิตรกรที่โลกทั้งโลกเห็นนอกจากว่าจะใช้กระจกสองอัน ภาพเหมือนของแร็มบรันต์ส่วนใหญ่ที่เขียนก่อน ค.ศ. 1660 จะเป็นภาพที่มีมือเพียงมือเดียว - มือที่ใช้เขียนภาพไม่ปรากฏในภาพ[21] ดูเหมือนว่าแร็มบรันต์จะซื้อกระจกบานใหญ่ขึ้นราวปี ค.ศ. 1652 หลังจากนั้นภาพเหมือนตนเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี ค.ศ. 1658 กระจกบานใหญ่ที่มีกรอบไม้แตกขณะที่ทำการขนย้ายไปยังบ้านของแร็มบรันต์ แต่กระนั้นแร็มบรันต์ก็ยังสามารถเขียนภาพภาพเหมือนตนเองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่เขียนมาได้
ขนาดของกระจกยังคงจำกัดอยู่จนกระทั่งมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 1688 ในฝรั่งเศสโดยแบร์นาร์ด แปร์โรต์ นอกจากนั้นก็ยังแตกง่าย และราคาก็สูงขึ้นตามขนาด กระจกบานใหญ่ที่แตกก็จะถูกตัดเป็นบานเล็ก ๆ ขาย กระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ในขณะนั้นมีขนาดราว 80 เซนติเมตร ราวขนาดเดียวกับกระจกในพระราชวังในภาพ "Las Meninas" (กระจกโค้งนูนในภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ถือกันโดยนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เกินความเหมาะสม ซึ่งเป็นกลเม็ดอันฉลาดอันหนึ่งในการบิดเบือนขนาดอัตราส่วนของภาพ) [22] เพราะความจำกัดของขนาดของกระจกทำให้ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรมักจะเป็นภาพครึ่งตัว
ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพเป็นประเภทของภาพเหมือนตนเองที่พบบ่อยที่สุดในการเขียนภาพเหมือนตนเองในยุคกลาง และนิยมกันต่อมาโดยเฉพาะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาพเหมือนตนเองอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคือการเขียนตนเองเป็นนักบุญลูค (ผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของศิลปิน) กำลังเขียนภาพเวอร์จินแมรี ภาพเหล่านี้มักจะเขียนเพื่อมอบให้สมาคมเซนต์ลูคท้องถิ่นสำหรับนำไปตั้งในชาเปลของสมาคม ภาพเหมือนตนเองที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ภาพ "จิตรกรในห้องเขียนภาพ" โดยกุสตาฟว์ กูร์แบ (ค.ศ. 1855) ซึ่งเป็นภาพ "อุปมานิทัศน์" ขนาดใหญ่ของสิ่งต่าง ๆ และตัวแบบต่าง ๆ รอบจิตรกร
การเขียนภาพเหมือนตนเองและความตาย
[แก้]-
มีเกลันเจโล
ราว ค.ศ. 1535-ค.ศ. 1541
เพดานซิสติน
"การตัดสินครั้งสุดท้าย"
มีเกลันเจโลเป็นหนังที่ห้อยมาจากมือของนักบุญบาร์โทโลมิว -
อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ
ทิเชียน, ลูกชาย และหลานเป็นอุปมานิทัศน์ของอดีต, ปัจจุบัน และอนาคต
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
ปลายคริสต์ทศวรรษ 1560 -
โซโฟนิสบา อังกิสโซลา
ภาพเหมือนตนเอง
ค.ศ. 1610
อายุ 78 ปี
ภาพเหมือนตนเองภาพสุดท้าย แต่ต่อมาอันโตนี ฟัน ไดก์เขียนภาพเหมือนให้ -
คาราวัจโจเป็นโกไลแอธ
ค.ศ. 1605-10
หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม -
ยัน เดอ ไบร (ซ้าย) และครอบครัวในภาพ "งานเลี้ยงของแอนโทนีและคลีโอพัตรา" เมื่อมาเขียนอีกครั้งในปี ค.ศ. 1669 ผู้เป็นแบบในภาพแรกก็เสียชีวิตไปกับโรคระบาดกันไปหมด -
ฟรันซิสโก โกยาเมื่ออายุ 74 ปี
"ภาพเหมือนตนเองกับด็อคเตอร์อาร์เรียตา"
ค.ศ. 1820 -
โลวิส โครินธ์
ค.ศ. 1896
เนื้อและกระดูก
ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับความตาย -
อาร์โนลด์ เบิคลิน
ค.ศ. 1872
อีกภาพหนึ่งที่เป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับความตาย
การใช้ภาพเหมือนตนเองในการสื่อ
[แก้]ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรรมศิลปินร่วมสมัยและศิลปินสมัยใหม่มักจะแสดงลักษณะเด่นตรงที่เป็นการสื่อเรื่องราวที่ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวของชีวิตของตัวศิลปินเอง บางครั้งเรื่องราวในภาพก็จะลม้ายแฟนตาซีหรือ การเล่นบท และ เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น นอกจากเดียโก เบลัซเกซ (ในภาพเขียน "Las Meninas"), แร็มบรันต์, ยัน เดอ ไบร, กุสตาฟว์ กูร์แบ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค และ ปอล โกแก็งแล้ว ภาพเหมือนตนเองของศิลปินคนอื่น ๆ ที่เผยถึงความซับซ้อนก็รวมทั้งปีแยร์ บอนาร์, มาร์ก ชากาล, ลูเซียน ฟรอยด์, อาร์ชีล กอร์คี, แอลิซ นีล, ปาโบล ปีกัสโซ, ลูคัส ซามาราส, เจนนี ซาวิลล์, ซินดี เชอร์แมน, แอนดี วอร์ฮอล และ กิลเบิร์ตและจอร์จ
-
คริสโตฟาโน อัลลอริ
"จูดิธและหัวโฮโลเฟอร์นีส"
ค.ศ. 1613
ตามคำกล่าวของนักเขียนชีวประวัติ
หัวที่ถูกตัดคือใบหน้าของอัลลอริเอง[23] -
อันโตนี ฟัน ไดก์กับดอกทานตะวันที่หมายถึงการได้รับอุปถัมภ์จากชาร์ลส์ที่ 1 ที่แวน ไดค์ถือเหรียญไว้ข้างหน้า[24] ค.ศ. 1633 หรือหลังจากนั้น
-
โยฮันน์ โซฟฟานีผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือนกลุ่มผู้มักจะเขียนภาพประเภทที่เรียกว่า ภาพเหมือนสังสรรค์ (Conversation piece) ที่บรรยายเรื่องราวเล็กน้อยว่าเคยดำรงชีวิตอยู่ในอินเดียอยู่หลายปี
ราว ค.ศ. 1786.
การใช้ภาพเหมือนตนเองในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเอง
[แก้]ภาพเหมือนตนเองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองของศิลปิน โดยเฉพาะสำหรับจิตรกรภาพเหมือน ดือเรอร์ไม่มีความสนใจในการเขียนภาพเหมือนขายเท่าใดนักแต่ก็ใช้ภาพเหมือนตนเองอันไม่เหมือนผู้ใดในการโฆษณาตนเองในฐานะจิตรกร งานเขียนทางการค้าส่วนใหญ่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จของแร็มบรันต์เป็นการเขียนภาพเหมือนเช่นเดียวกันอันโตนี ฟัน ไดก์ และ โจชัว เรย์โนลด์ส ซึ่งภาพที่เขียนก็เป็นเจตนาที่ใช้ในการเผยแพร่ชื่อเสียง เมื่อสถาบันจัดการแสดงภาพเขียนกันขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ศิลปินหลายคนต่างก็พยายามสร้างภาพเหมือนตนเองที่สร้างความประทับตาให้แก่ผู้ชม เช่นในการแสดงนิทรรศการภาพเหมือน "Rebels and Martyrs" ของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้[26] ตัวอย่างของการโฆษณาตนเองของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คืองานเขียนภาพเหมือนตนเองทุกวันโดยอาร์โนด์ พรินสเตท์, ผู้สร้างความโด่งดังเมื่อประกาศว่าจะเขียนภาพเหมือนของตนเองวันละภาพ[27] แต่ก็มีจิตรกรอีกมากที่เขียนภาพเหมือนของตนเองโดยไม่มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่ตนเองแต่อย่างใด
-
ฟรองซัวส์ เดสพอร์เทส์จิตรกรผู้เชี่ยวชาญในการเขียนภาพสัตว์เขียน ภาพเหมือนตนเองอย่างนักล่าสัตว์, ค.ศ. 1699.
-
โมริซ คองแตง เดอ ลา ตูร์, สีเทียน, ค.ศ. 1750-1760
-
กุสตาฟว์ กูร์แบ, ภาพเหมือนตนเอง (คนหมดหนทาง) , ราว ค.ศ. 1843
-
วิลเลียม ออร์เพน, ราว ค.ศ. 1910
ภาพเหมือนตนเองที่บอกอาการทางสุขภาพ
[แก้]นักเขียนบางคนที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับประสาท หรือ ทางร่างกายก็ทิ้งภาพเหมือนตนเองที่ทำให้นายแพทย์ต่อมาพยายามทำการวิจัยความบกพร่องทางจิต และการวินิจฉัยบางอย่างก็ได้รับการตีพิมพ์ในตำราทางด้านประสาทวิทยา[2] การเขียนภาพเหมือนตนเองของศิลปินผู้ป่วยด้วยโรคจิตประสาทเป็นการเปิดโอกาสให้นายแพทย์ได้ศึกษาการมองตนเองของผู้มีปัญหาทางด้านจิตวิทยา และ ประสาทวิทยา
นักเพศวิทยาชาวรัสเซียอิกอร์ คอนตั้งข้อสังเกตในบทความเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่ว่ากิจการดังกล่าวอาจจะปรากฏในงานศิลปะ โดยเฉพาะในงานจิตรกรรม เช่นในภาพเขียนของศิลปินชาวออสเตรียอีกอน ชีเลอ ซึ่งคอนตั้งข้อสังเกตว่าไม่ใช้เป็นภาพเขียนที่แสดงความพึงพอใจของผู้กระทำ แต่เป็นภาพที่แสดงถึงความอ้างว้างโดดเดี่ยว งานเขียนของชีเลอได้รับการวิจัยโดยนักค้นคว้าอื่นทางด้านพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวกับโรคใคร่เด็ก (pedophilia)
งานสะสมภาพเหมือน
[แก้]งานสะสมภาพเหมือนที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและเก่าที่สุดก็ได้แก่งานสะสมของหอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีที่เรียกว่า "ระเบียงวาซารี" (Vasari Corridor) ที่เดิมเป็นงานสะสมที่เริ่มขึ้นโดยคาร์ดินัลเลโอโปลด์ เดอ เมดิชิในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ได้รับการบำรุงรักษาและหาเพิ่มเติมมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ แต่เป็นงานสะสมที่เป็นของส่วนบุคคลที่ไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม แม้ว่าจะมีภาพเขียนบางภาพที่ตั้งแสดงร่วมกับภาพเขียนอื่น ๆ ในงานสะสมทั่วไป "ระเบียงวาซารี" ประกอบด้วยภาพเหมือนกว่า 200 ภาพที่รวมทั้งปีเอโตร ดา กอร์โตนา, ชาร์ลส์ เลอ บรุน, ฌอง-บัพทิสต์ คามิลล์ โคโรต์ และ มาร์ก ชากาล งานสะสมอื่น ๆ ที่สำคัญก็ได้แก่งานสะสมหอภาพเหมือนแห่งชาติ, ลอนดอน และ สาขาในอังกฤษ และหอภาพเหมือนแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี. ใน สหรัฐอเมริกา
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เปียโตร เปรูจิโน
(ราว ค.ศ. 1500) -
ราฟาเอล
(ราว ค.ศ. 1517-ค.ศ. 1518) -
ฮันส์ บาลดุง
(ค.ศ. 1526) -
ลูคัส ครานาค
(ค.ศ. 1550) -
ทิเชียนผู้ดูเหมือนจะเขียน
ภาพเหมือนตนเอง
จนกระทั่งอายุมาก
ค.ศ. 1567 -
อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเอง
เอลเกรโก
ค.ศ. 1604 -
เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์
(ค.ศ. 1623) -
รือเบินส์กับภรรยาคนแรก
มิวนิก
ราว ค.ศ. 1609 -
ภาพเหมือนตนเองของ
ฟรันซิสโก ซูร์บารานเป็นนักบุญลูค
ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของจิตรกร -
ซาลวาทอร์ โรซา
ค.ศ. 1640
กับคำจารึก
"ระหว่างความเงียบกับการพูด, ความเงียบดีกว่า" -
เดียโก เบลัซเกซ
ค.ศ. 1643 -
นีกอลา ปูแซ็ง
ค.ศ. 1650 -
ยัน เดอ ไบร และภรรยาเป็น
ยูลิซีส และ เพนเนโลพี
ค.ศ. 1668
เป็นลักษณะการเขียน
ภาพเหมือนประวัติศาสตร์ -
โจชัว เรย์โนลด์ส
ที่เขียนให้กับราชสถาบันศิลปะ
ที่เป็นประธาน
ค.ศ. 1773 -
ฟรันซิสโก โกยา
ค.ศ. 1815 -
เออแฌน เดอลาครัว
ค.ศ. 1837 -
กุสตาฟว์ กูร์แบ
ค.ศ. 1842 -
เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์
ค.ศ. 1872 -
กามีย์ ปีซาโร
ค.ศ. 1873 -
เอดัวร์ มาแน
ภาพเหมือนตนเองกับจานผสมสี
ค.ศ. 1879 -
ปอล เซซาน
ค.ศ. 1880-1881
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน -
อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก
ค.ศ. 1882-1883 -
ปอล โกแก็ง
(ค.ศ. 1893) -
อ็องรี รูโซ
(ค.ศ. 1890) -
James Tissot
(ค.ศ. 1898) -
สตานิสลอว์ วิสปิอันสกี
( ค.ศ. 1869–1907)
นักเขียนบทละคร, กวี, สถาปนิก
และจิตรกรชาวโปแลนด์
(ค.ศ. 1902) -
จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์
ค.ศ. 1907 -
ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์
(ค.ศ. 1910) -
ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์
(ค.ศ. 1910) -
อีกอน ชีเลอ
(ค.ศ. 1910) -
อีกอน ชีเลอ
(ค.ศ. 1912) -
คาซิเมียร์ มาเลอวิค
(ค.ศ. 1910-1911) -
วิลเลียม เมอร์ริทท์ เชส
ค.ศ. 1915 -
ชาร์ลส์ เดมัธ
ห้องอาบน้ำตุรกีกับภาพเหมือนตนเอง
ค.ศ. 1918 -
ไคตะ มูระยามะ
ค.ศ. 1918
นักเขียน, กวี
และจิตรกรชาวญี่ปุ่น -
โลวิส โครินธ์
ค.ศ. 1924 -
เชน เชง-โพ
ค.ศ. 1930
ภาพวาดเส้น, ภาพพิมพ์ และภาพแกะพิมพ์
[แก้]ภาพเหมือนตนเองที่เป็นภาพถ่าย
[แก้]วิธีสองวิธีที่จะได้มาซึ่งภาพถ่ายของภาพเหมือนตนเองที่ใช้กันโดยทั่วไป ก็ได้แก่การถ่ายจากภาพสะท้อนจากกระจก และ ถือกล้องยื่นออกไปจากตนเอง อีเลียซาร์ แลงแมนถ่ายภาพเงาสะท้อนของตนเองจากกาชาเคลือบนิคเคิล
อีกวิธีหนึ่งทำโดยการตั้งกล้องบนสามขาและตั้งเวลา หรือใชรีโมทคอนโทรลในการคุมชัตเตอร์ อีกวิธีหนึ่งคือตั้งกล้องแล้วเดินไปตั้งท่า ปล่อยให้ผู้ช่วยกดชัตเตอร์แทนให้
-
นาดาร์
ช่างภาพเหมือนคนสำคัญของฝรั่งเศส
ราวคริสต์ทศวรรษ 1870 -
อาร์เธอร์ ริมโบด์
ที่ ฮาราร์
ราว ค.ศ. 1883 -
ทอมัส เอียคินส์
ภาพเหมือนตนเองกับจอห์น ลอรี วอลเลซ
ราว ค.ศ. 1883 -
Eadweard Muybridge
ภาพเหมือนตนเองเป็นชาย
โยน, ปีน และ เดิน
ราว ค.ศ. 1893 -
เอ็ดเวิร์ด เอส. เคอร์ทิส
ภาพเหมือนตนเอง
ราว ค.ศ. 1898 -
ออกัสต์ สตรินด์เบิร์ก
ภาพเหมือนตนเอง
ราว ค.ศ. 1900 -
เอิร์นสท์ เคิร์ชเนอร์
ภาพเหมือนตนเอง
ราว ค.ศ. 1919 -
โยะโกะยามะ มัตสุซะบุโร
ภาพถ่ายก่อน
ค.ศ. 1923 -
คาร์ล ฟาน เว็คเต็น
ช่างภาพเหมือน
ภาพเหมือนตนเอง
ค.ศ. 1934 -
ออกัสโต เดอ ลูคา
ช่างภาพเหมือน
ภาพเหมือนตนเอง
ค.ศ. 2000
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 212-17, 1998, ISBN 185709171
- ↑ 2.0 2.1 "accessed online July 28, 2007 an online history of self portraits various excerpts from Edward Lucie-Smith and Sean Kelly, The Self Portrait: A Modern View (London: Sarema Press, 1987)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
- ↑ "Pharaoh's sculptor, Bak accessed online July 28, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
- ↑ Campbell, Lorne, Renaissance Portraits, European Portrait-Painting in the คริสต์ศตวรรษที่ 14, 15th and 16th Centuries, pp. 3-4, 1990, Yale, ISBN 0300046758
- ↑ Eg, respectively, the four Philosophers and the Prodigal Son ( Gemäldegalerie Alte Meister, Dresden)
- ↑ Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 180, 1998, ISBN 185709171. The Arnolfini Portrait hung in the same palace in Madrid in which Las Meninas was painted
- ↑ Full composition (part of larger scheme)
- ↑ Full composition (part of larger scheme)
- ↑ This is a later and larger repetition in the National Gallery of the original
- ↑ Marie-Denise Villers at the Metropolitan Museum of Art
- ↑ Jonathon Alexander; Medieval Illuminators and their Methods of Work; p.8-34, Yale UP, 1992, ISBN 0300056893 collects several examples
- ↑ "ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา" เป็นผ้าที่นักบุญเวโรนีกาใช้ซับพระพักตร์ของพระเยซู เมื่อซับเสร็จก็ปรากฏเป็นใบหน้าบนผืนผ้าซึ่งถือกันว่าเป็นภาพเหมือนของพระเยซู
- ↑ For all this section, Giulia Bartrum, Albrecht ดือเรอร์ and his Legacy, p. 77–84 & passim, British Museum Press, 2002, ISBN 0714126330
- ↑ This drawing in red chalk is widely (though not universally) accepted as an original self portrait. The main reason for hesitation in accepting it as a portrait of Leonardo is that the subject is apparently of a greater age than Leonardo ever achieved. But it is possible that he drew this picture of himself deliberately aged, specifically for Raphael's portrait of him in the School of Athens. A case has also been made, originally by novelist Dmitry Merezhkovsky, that Leonardo based his famous picture Mona Lisa on his own self-portrait.
- ↑ Erwin Panofsky (and originally Fritz Saxl), Titian's "Allegory of Prudence, A Postscript, in Meaning in the Visual Arts, Doubleday/Penguin, 1955
- ↑ For this section and the gallery, Ernst van de Wetering in Rembrandt by himself, p.10 and passim, 1999, National Gallery, London/Mauritshuis, The Hague, ISBN 1857092708
- ↑ "Munch Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
- ↑ Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 214, 1998, ISBN 185709171
- ↑ Respecively, the "вставной","представительский, или символический", "групповой портрет", "отдельный или естественный"
- ↑ A better-known version is in the Uffizi. This one was sold at auction in Germany in 2007
- ↑ Rembrandt by himself, op cit, p.211
- ↑ Rembrandt by himself, op cit, pp 11-13; for the Arnolfini reference see: National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, Lorne Campbell, 1998, ISBN 185709171
- ↑ Aislinn Loconte in, Lucy Whitaker, Martin Clayton, The Art of Italy in the Royal Collection; Renaissance and Baroque, p.270, Royal Collection Publications, 2007, ISBN 978 1 902163 291. The biographer was Baldinucci. This is the version in the Royal Collection, there are others in the Pitti Palace etc.
- ↑ asks Michael Levey in Painting at Court, Weidenfeld and Nicholson, London, 1971, pp 124-5
- ↑ [http://www.vmfa.state.va.us/courbet.html Virginia MFA
- ↑ Rebels and Martyrs, National Gallery เก็บถาวร 2007-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Ses hits
ดูเพิ่ม
[แก้]ภาษาอังกฤษ
[แก้]- John J. Ciofalo, Self-Portraits of Francisco Goya. Cambridge University Press, 2001
- Edward Lucie-Smith with Sean Kelly, The Self Portrait: A Modern View. (1987)
- Ernst van de Wetering and others; Rembrandt by himself, 1999, National Gallery, London / Mauritshuis, The Hague, ISBN 1857092708
- Joseph L. Koerner, The Moment of Self-Portraiture in German Renaissance Art, Chicago/London, 1993
- Jonathan Miller, On Reflection, 1998, National Gallery, ISBN 857092376.
- Belle, Julian (Ed.) : Five Hundred Self-Portraits. Phaidon Press, London/New York, 2000 (pb 2004), ISBN 0-7148-4384-9 Self-Portraits in chronological order from ancient Egypt to the present.
ภาษาอื่น
[แก้]- Joëlle Moulin, L'autoportrait au XXe siècle, éd. Adam Biro, Paris, 1999
- Pascal Bonafoux, Les peintres et l'autoportrait, 1984
- Bernard Auriol, L'image préalable, l'expression impressive et l'autoportrait, Psychologie Médicale, 19, 9, 1543-1547, 1987
- Bonafoux, Pascal / Rosenberg, David: Moi! Autoportraits du XXe siècle. Musée du Luxembourg (Paris) / Skira Editore (Milano), Exhibition catalogue. 2004, Text French, Paris 2004, ISBN 88-8491-854-5 The book presents 155 artist (fine art) of the 20th century by showing their self-portraits added by informative texts.
- Borzello, Frances: Wie Frauen sich sehen – Selbstbildnisse aus fünf Jahrhunderten. Karl Blessing Verlag, München 1998, ISBN 3-89667-052-2
- Calabrese, Omar: Die Geschichte des Selbstporträts. Deutscher Kunstverlag, München 2006, ISBN 3-7774-2955-4
- Pfisterer, Ulrich / Rosen, Valeska von ~ (Hrsg.) : Der Künstler als Kunstwerk. Selbstporträts vom Mittelalter bis zur Gegenwart. Reclam, Stuttgart 2005, ISBN 3-15-010571-4 (Rezension)
ภาพเหมือนตนเองเชิงประสาทวิทยา
[แก้]- Tielsch AH, Allen PJ (2005) Listen to them draw: screening children in primary care through the use of human figure drawings. Pediatr Nurs 31 (4) : 320—327. This survey of literature is focused on the method of drawing people as the method of diagnostics. Children's figures can recognize mental disorders. The authors describe the use of self-portraits for diagnostics of emotional disorders in children from 6 to 12 years. Although this procedure does not make it possible to place final diagnosis, it is useful for the recognition of problems.
- Morin C, Pradat-Diehl P, Robain G, Bensalah Y, Perrigot M (2003) Stroke hemiplegia and specular image: lessons from self-portraits. Int J Aging Hum Dev 56 (1) : 1-41. Patients with hemiplegia have diverse problems of self-perception, which are caused by neurological defeats of the idea of body, or by psychological problems with the perception their own self.
จิตวิทยาของทัศนคติต่อตนเอง
[แก้]- Wegner DM (2003) The mind's self-portrait. Ann N Y Acad Sci 1001: 212—225. Psychology and neuroscience approach understanding of reason and consciousness. Meanwhile each human reason contains the self-portrait, which contains the self-appraisal of cognitive processes. This self-portrait assumes that the actions of man are governed by thoughts and, thus, the body is governed by consciousness. Self-portrait leads to the persuasion, that we consciously desire to make something. Studies show that self-portraiture is a caricature on the function of the brain, but at the same time it is the basis of the sensation of authorship and responsibility of one's own actions.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเหมือนตนเอง
- National Portrait Gallery - Official web site
- "The Exploration of Self: What Artists Find When They Search in the Mirror" เก็บถาวร 2002-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Jeanne Ivy.
- "Creating Self-Portraits" เก็บถาวร 2009-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - a method of self-examination.
- UMBC เก็บถาวร 2006-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, research related to The Self Portrait: A Modern View. (1987), Edward Lucie-Smith with Sean Kelly and other books
One can also use the term "autoportrait" in the search engine of the Joconde database เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, which describes the works of 84 French museums, including the Louvre:
- 52 self-portraits from the National Galleries of Scotland[ลิงก์เสีย]
- Frida Kahlo at Artcyclopedia
- Egon Schiele at Artcyclopedia
- [https://web.archive.org/web/20111226062431/http://www.tate.org.uk/britain/exhibitions/reynolds/roomguide1.shtm เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Joshua Reynolds self-portraits, from the Tate
- All 37 Elizabeth Vigee-Lebrun self-portraits เก็บถาวร 2009-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน