พ.ศ. 2426
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1883)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2426 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1883 MDCCCLXXXIII |
Ab urbe condita | 2636 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1332 ԹՎ ՌՅԼԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6633 |
ปฏิทินบาไฮ | 39–40 |
ปฏิทินเบงกอล | 1290 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2833 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 46 Vict. 1 – 47 Vict. 1 |
พุทธศักราช | 2427 |
ปฏิทินพม่า | 1245 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7391–7392 |
ปฏิทินจีน | 壬午年 (มะเมียธาตุน้ำ) 4579 หรือ 4519 — ถึง — 癸未年 (มะแมธาตุน้ำ) 4580 หรือ 4520 |
ปฏิทินคอปติก | 1599–1600 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3049 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1875–1876 |
ปฏิทินฮีบรู | 5643–5644 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1939–1940 |
- ศกสมวัต | 1805–1806 |
- กลียุค | 4984–4985 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11883 |
ปฏิทินอิกโบ | 883–884 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1261–1262 |
ปฏิทินอิสลาม | 1300–1301 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเมจิ 16 (明治16年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 12 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4216 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 29 ก่อน ROC 民前29年 |
พุทธศักราช 2426 (นับแบบใหม่) ตรงกับคริสต์ศักราช 1883 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1245 (วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล: กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: พระเจ้าอินทวิชยานนท์
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าพรหมาภิพงษธาดา
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: เจ้าอนันตวรฤทธิเดช
- เจ้าประเทศราช:
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล: กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
เหตุการณ์
[แก้]- 4 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์และเปิดทำการไปรษณีย์อย่างเป็นทางการ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า ไปรษณียาคาร
- 18 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนสมุทรปราการ
- 26-28 สิงหาคม - ภูเขาไฟกรากาตัวเกิดระเบิดอย่างรุนแรง ทำลายหมู่บ้าน 163 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 36,380 คน
วันเกิด
[แก้]- 6 มกราคม - ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน กวี นักเขียน และศิลปินชาวเลบานอน (เสียชีวิต พ.ศ. 2474)
- 13 มกราคม - เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต (สิ้นพระชนม์ 22 กันยายน พ.ศ. 2481)
- 3 มีนาคม - สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ทิวงคต 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- 5 มิถุนายน - จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. 2489)
- 13 กรกฎาคม - พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) นักดนตรีชาวเยอรมัน ผู้แต่งทำนองเพลงชาติไทย (เสียชีวิต พ.ศ. 2511)
- 29 กรกฎาคม - เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี (เสียชีวิต พ.ศ. 2488)
- 11 สิงหาคม - พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย (สิ้นพระชนม์ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486)
- 12 สิงหาคม - พลตรีพระยาวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมสโรช) ได้รับพระราชทานไว้วางพระทัยให้เป็นผู้อำนวยการคนแรกที่เปิดและบริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ 30 พฤษภาคม 2457 ขณะดำรงยศและศักดินา พันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ ดังพระราชดำรัสในการการเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตอนหนึ่งว่า " ครั้นใกล้ถึงกำหนดเปิดจะเปิดโรงพยาบาล หมอเชเฟอร์ยังมาตายลงอีกเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง และเมื่อนึกไปก็เป็นที่อนาถใจ ซึ่งการหาคนใดคนหนึ่งมาเป็นผู้บังคับบัญชาโรงพยาบาลนี้ก็แสนยากอยู่แล้ว ยังกลับมาสิ้นคนดีไปเสียอีก" และ "ทั้งหวังใจว่าจะเป็นการแผ่เกียรติคุณของกรุงสยามว่ากาลบัดนี้เราไม่น้อยหน้าผู้ใด และปรากฏกิติศัพท์เล่าลือว่า ในทหารไทยมีผู้สามารถพอที่จะรับจัดการรักษาพยาบาลคนไข้ให้เจริญไปได้ ทั้งจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน" จนถึง 18 กันยายน 2460 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ใหญ่ทหารบก และดำรงยศและศักดินาเป็น พันเอกพระอนุรักษ์โยธา ดำรงตำแหน่งเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบกนาน 15 ปีจนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
- 19 สิงหาคม - โกโก ชาแนล นักออกแบบชาวฝรั่งเศส (เสียชีวิต 10 มกราคม พ.ศ. 2514)
- 5 ธันวาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (สิ้นพระชนม์ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490)
- 12 ธันวาคม - หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ถึงแก่กรรม 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
- 18 ธันวาคม - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามาลิศเสาวรส (สิ้นพระชนม์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 13 กุมภาพันธ์ - ริชาร์ด วากเนอร์ นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน (เกิด พ.ศ. 2356)
- 14 มีนาคม - คาร์ล มาร์กซ นักปรัชญาการเมืองชาวเยอรมัน (เกิด พ.ศ. 2361)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยปราบ "สงครามปราบฮ่อ" พวกฮ่อที่ยกมารุกรานเมืองหลวงพระบาง