ข้ามไปเนื้อหา

มารี-กีย์มีน เบอนัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารี-กีย์มีน เบอนัว

มารี-กีย์มีน เบอนัว (ฝรั่งเศส: Marie-Guillemine Benoist, ฟังเสียง) หรือ มารี-กีย์มีน เดอ ลาวีล-เลอรู (Marie-Guillemine de Laville-Leroux; 18 ธันวาคม ค.ศ. 1768 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1826) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยฟื้นฟูคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์และภาพชีวิตประจำวัน

ประวัติ

[แก้]

มารี-กีย์มีน เบอนัวเกิดในกรุงปารีสเป็นบุตรีของข้าราชการ การฝึกการเขียนภาพเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1781 ภายใต้เอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง ต่อมาในปี ค.ศ. 1786 ก็ได้เข้าทำงานในห้องเขียนภาพของฌัก-หลุยส์ ดาวีด พร้อมกับน้องสาวมารี-เอลีซาแบ็ต ลาวีล-เลอรู

กวีชาร์ล-อาลแบร์ เดอมูตีเย ผู้มีโอกาสได้พบมารีในปี ค.ศ. 1784 มีความประทับใจในตัวของมารีจนนำไปสร้างเป็นตัวละครเอมีลีในงานชื่อ “Lettres à Émilie sur la mythologie” (ค.ศ. 1801)

ในปี ค.ศ. 1791 มารีแสดงผลงานของตนเองเป็นครั้งแรกใน “นิทรรศการศิลปะแห่งปารีส” (Salon de Paris) โดยแสดงงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานเทพ “Psyché faisant ses adieux à sa famille” ภาพอีกภาพหนึ่งที่เขียนในช่วงเวลาเดียวกันคือภาพ “L'Innocence entre la vertu et le vice” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานเทพเช่นกัน ทำให้เห็นถึงทัศนคติทางด้านสตรีนิยม (feminism) และความเท่าเทียมกันระหว่างเพศของมารี—ในภาพนี้มารีใช้ตัวแบบชายเป็น “มลทิน” (vice) แทนที่จะใช้สตรีตามธรรมเนียมที่ทำกันมา ในปี ค.ศ. 1793 มารีสมรสกับทนายความปิแยร์-แว็งซ็องต์ เบอนัว

“ภาพเหมือนสตรีผิวดำ”
ค.ศ. 1800, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

งานของมารีมีอิทธิพลมาจากงานเขียนของฌัก-หลุยส์ ดาวีด และเริ่มเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1795 ในปี ค.ศ. 1800 มารีก็แสดงภาพ “Portrait d'une négresse” (ภาพเหมือนสตรีผิวดำ) ที่นิทรรศการ หลังจากที่ได้มีการเลิกทาสหกปีก่อนหน้านั้น ภาพนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปลดปล่อยสิทธิของสตรีและคนผิวดำ ต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซื้อภาพสำหรับชาติในปี ค.ศ. 1818

ในปี ค.ศ. 1803 มารีได้รับงานจ้างชิ้นสำคัญให้เขียนภาพเหมือนเต็มพระองค์ของจักรพรรดินโปเลียนPremier Consul Français เป็นภาพที่เขียนเพื่อที่จะส่งไปยังเมืองเกนต์ที่ฝรั่งเศสเพิ่งยึดได้ตามสนธิสัญญาลูว์เนวีลในปี ค.ศ. 1801 ในช่วงเดียวกันมารีก็ยังได้รับเหรียญทองจากนิทรรศการศิลปะแห่งปารีสในปี ค.ศ. 1804 และได้รับรายได้จากรัฐบาลฝรั่งเศส ในช่วงนี้มารีก็เปิดห้องเขียนภาพสำหรับฝึกจิตรกรสตรี

แต่การเป็นจิตรกรของมารีได้รับผลกระทบกระเทือนจากบรรยากาศทางการเมือง เมื่อสามีผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการเสนอชื่อโดย Conseil d'État ระหว่างหลัง ค.ศ. 1814 ในการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง แม้ว่ามารีจะอยู่ในช่วงที่เป็นที่นิยมที่สุดทางงานอาชีพและก็ต้องละทิ้งทั้งการเขียนภาพและการแสดงภาพ เพราะ devoir de réserve และจากความเข้มงวดของฝ่ายตรงข้าม

ผลงาน

[แก้]
เอลีซา โบนาปาร์ต พระขนิษฐาของจักรพรรดินโปเลียน, ราว ค.ศ. 1805

อ้างอิง

[แก้]
  • Marie-Juliette Ballot, Une élève de David, La Comtesse Benoist, L'Émilie de Demoustier, 1768-1826, Plon, Paris, 1914
  • Astrid Reuter, Marie-Guilhelmine Benoist, Gestaltungsraüme einer Künstlerin um 1800, Lukas Verlag, Berlin, 2002

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มารี-กีย์มีน เบอนัว