ข้ามไปเนื้อหา

สื่อลามกอนาจารเด็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาพลามกอนาจารเด็ก)

สื่อลามกอนาจารเด็ก (อังกฤษ: Child pornography) คือสื่อลามกอนาจารที่ฉวยประโยชน์จากเด็ก (รวมทั้งวัยรุ่น) มีจุดประสงค์เพื่อเร้าอารมณ์ทางเพศ[1][2][3][4][5][6] ซึ่งอาจจะผลิตโดยทำร้ายเด็กทางเพศ (เช่น ภาพทารุณเด็กทางเพศ[7][8][9]) หรืออาจจะเป็นสื่อแบบเทียมคือเป็นสื่อแต่ง ใช้ผู้ใหญ่ที่แต่งให้เหมือนเด็ก หรือเป็นภาพสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ล้วน ๆ โดยบางทีแม้ภาพวาดหรือแอนิเมชัน ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อเทียมได้เหมือนกัน[10][11] ทารุณกรรมต่อเด็กเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับเด็ก หรือให้เด็กแสดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณหัวหน่าวเพื่อเร้าอารมณ์ แล้วบันทึกลงในสื่อ[1][2][4][5][6][12][13] สื่อที่ใช้อาจมีหลายแบบ[14] รวมทั้งวรรณกรรม[7][15][16] นิตยสาร ภาพถ่าย[14] ประติมากรรม[14] จิตรกรรม[14] การ์ตูน[14] แอนิเมชัน บันทึกเสียง[17] วิดีโอ[14] และวิดีโอเกม[18]

กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กมักจะรวมภาพทางเพศที่เกี่ยวกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ เด็กวัยเจริญพันธุ์ ผู้เยาว์หลังวัยเจริญพันธุ์ และภาพเด็กที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์[19] ผู้ทำผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กที่ถูกจับโดยมากจะมีรูปเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีภาพเด็กหลังวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกดำเนินคดี แม้ว่าจะผิดกฎหมายเช่นกัน[19] ผู้ผลิตสื่อนาจารเด็กพยายามจะหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีโดยขายสื่อนอกประเทศ แต่ก็มีการจับกุมผู้ทำผิดเช่นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศต่าง ๆ[19][20] คนใคร่เด็กดูและเก็บสะสมสื่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การใช้เพื่อประโยชน์ทางเพศส่วนตัว การแลกเปลี่ยนกับคนใคร่เด็กอื่น ๆ การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ หรือการหลอกล่อเด็กให้ติดกับเพื่อฉวยประโยชน์ทางเพศ เช่น เพื่อทำสื่อลามกหรือเพื่อการค้าประเวณี[21][22][23] เด็กบางครั้งก็ผลิตสื่อลามกเองหรือเพราะถูกบีบบังคับโดยผู้ใหญ่[24]

สื่อลามกอนาจารเด็กผิดกฎหมายและจะถูกตรวจพิจารณาในที่ต่าง ๆ โดยมากในโลก[25][26] รวมทั้งประเทศไทยที่นิยามคำว่า "เด็ก" ว่าหมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี[27] ประเทศสมาชิกขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) 94 ประเทศจาก 187 มีกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องนี้โดยปี 2551 และนี่ยังไม่ได้รวมประเทศที่ห้ามสื่อลามกทุกอย่าง[28] ในบรรดา 94 ประเทศเหล่านี้ การมีสื่อลามกอนาจารเด็กจัดเป็นอาชญากรรมใน 58 ประเทศไม่ว่าตั้งใจจะขายหรือเผยแพร่หรือไม่[28] รวมทั้งประเทศไทย[27] ทั้งการเผยแพร่และการมี จัดเป็นอาชญากรรมในประเทศตะวันตกโดยมาก มีขบวนการที่ขับเคลื่อนให้สื่อลามกอนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วโลก รวมทั้งองค์กรเช่นสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการยุโรป[7][29]

เหตุผลที่ต้องมีกฎหมายสื่อลามกเด็กเป็นการเฉพาะ เหตุผลที่ประเทศต่างๆ มีกฎหมายสื่อลามกเด็กโดยเฉพาะแยกต่างหากจากกฎหมายสื่อลามกผู้ใหญ่ เนื่องจากแนวคิดควบคุมสื่อลามกทั้งสองประเภทต่างกัน เหตุผลหลักในการกำหนดโทษอาญากับการกระทำที่เกี่ยวกับสื่อลามกผู้ใหญ่ตั้งอยู่บนแนวคิดเรื่องการปกป้องศีลธรรมโดยรวมของสังคม กล่าวคือ ภาครัฐเชื่อว่าการปล่อยให้มีการผลิต จำหน่าย หรือ เผยแพร่สื่อลามกผู้ใหญ่อย่างเสรีอาจก่อให้เกิดความเสื่อมทรามต่อศีลธรรมทางเพศของคนในสังคมได้ 

การกำหนดโทษอาญาเพื่อควบคุมและปราบปรามสื่อลามกเด็กมีเหตุผลพื้นฐานที่ต่างออกไป กล่าวคือ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะการผลิตสื่อลามกเด็ก (โดยเฉพาะที่ใช้เด็กจริงๆ แสดง) เป็นรูปแบบหนึ่งของการล่วงละเมิดทางเพศจากเด็ก ในด้านร่างกาย เด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ การให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในด้านจิตใจ เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กยังไม่พัฒนาเพียงพอที่จะเข้าใจในเรื่องความเหมาะสมของเรื่องเพศ การบังคับหรือล่อลวงให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศหรือการถ่ายภาพยั่วยุทางเพศต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กพบว่าสิ่งที่ตนกระทำไปเป็นเรื่องไม่เหมาะสมสำหรับวัยตัวเอง ก็อาจเกิดความอับอายกลายเป็นบาดแผลทางจิตใจซึ่งอาจจะฝังลึกในใจเด็กไปตลอดชีวิต

นอกจากนี้ ในหลายๆ กรณี การที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางเพศโดยไม่สมัครใจหรือเกิดจากการล่อลวง บังคับข่มขู่ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากความเยาว์วัยของเด็กที่ยังไม่มีความสามารถในการตัดสินใจเพียงพอเกี่ยวกับความเหมาะสมของการมีเพศสัมพันธ์

 ยิ่งในกรณีของสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต ผลกระทบร้ายแรงต่อตัวเด็กอาจขยายเป็นวงกว้างกว่า กล่าวคือ ภาพหรือคลิปวิดีโอบันทึกการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กดังกล่าวจะถูกส่งผ่านต่อกันไปและหมุนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ไม่มีวันสิ้นสุด สิ่งนี้ยิ่งสร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็กผู้ปรากฏในสื่อลามกอย่างไม่มีทางเยียวยาหรือลบเลือนออกไปได้[30]

ศัพท์ภาษาอังกฤษ

[แก้]
แถบประกาศเตือนของปฏิบัติการ Operation Protect Our Children ที่จับกุมผู้ดำเนินการเว็บไซต์ 10 แห่งที่เผยแพร่สื่อลามกเด็ก

ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ทั้งนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายเริ่มใช้คำว่า "child abuse images" (ภาพทารุณเด็ก) แทนคำว่า "child pornorgaphy" เพิ่มขึ้นเพราะว่า คำว่า "pornorgaphy" แสดงนัยที่ไม่ถูกต้องว่ามีการยินยอมพร้อมใจ และเพื่อแยกสิ่งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกให้ห่างจากกัน[7][8][9][31][32] นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีการใช้คำอื่น ๆ เช่น "child abuse material" (สื่อทารุณเด็ก), "child sexual abuse material" (สื่อทารุณเด็กทางเพศ), "documented child sexual abuse" (บันทึกการทารุณเด็กทางเพศ), และ "depicted child sexual abuse" (ภาพทารุณเด็กทางเพศ) รวมทั้งตัวย่อคือ CAM (child abuse material) และ CAI (child abuse image)[31] แต่คำว่า "child pornography" ก็ยังเป็นคำที่ใช้ในกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ร่วมกับคำอื่น ๆ เช่น "indecent photographs of a child" (ภาพถ่ายอนาจารเด็ก)[7][8][9][33] งานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กและวัยรุ่นครั้งที่ 3 (World Congress III against the Sexual Exploitation of Children and Adolescents) ปี 2551 ยอมรับข้อความว่า "คำว่า 'child abuse images' เริ่มใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยหมายถึงการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กและวัยรุ่นในการทำสื่อลามกอนาจาร เพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความร้ายแรงของปรากฏการณ์นี้ และเพื่อเน้นว่า ภาพลามกอนาจารของเด็กจริง ๆ เป็นการบันทึกการละเมิดทางอาชญากรรม"[34]

Interpol และสถาบันตำรวจของประเทศต่าง ๆ เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายสื่อลามกเด็กในระดับนานาชาติ[19] และตั้งแต่ปี 2542 Interpol ได้ใช้คำนิยามนี้ว่าสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นผลของการฉวยประโยชน์หรือการทารุณเด็กทางเพศ ซึ่งสามารถนิยามได้ว่าเป็นวิธีใดก็ได้ที่แสดงภาพหรือโปรโหมตการทารุณเด็กทางเพศ รวมทั้งรูปพิมพ์ หรือ/และเสียงบันทึก โดยมุ่งที่พฤติกรรมทางเพศหรืออวัยวะเพศของเด็ก[13]

การทารุณเด็กทางเพศเนื่องด้วยการผลิตและการแจกจ่าย

[แก้]

เด็กทุกวัย แม้กระทั่งเด็กทารก[35] ถูกทารุณเนื่องด้วยการผลิตสื่อลามก[4][19] กระทรวงยุติธรรมสหรัฐประเมินว่า ผู้ทำสื่อได้บันทึกทารุณกรรมต่อเด็กกว่า 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[36] มีแนวโน้มที่จะใช้เด็กที่อายุน้อยกว่าหรือว่าแสดงความรุนแรงมากกว่า ตามผู้สืบสวนของหน่วยอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตต่อเด็ก (Internet Crimes Against Children) ของรัฐบาลกลาง "คนพวกนี้ข่มขืนทั้งเด็กทารกและเด็กกำลังเดิน คุณสามารถได้ยินเสียงเด็กร้องไห้และร้องขอความช่วยเหลือในวิดีโอ นี่เป็นเรื่องร้ายกาจมาก"[37] ตามงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก "แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ข้อมูลที่แม่นยำ การตรวจดูสื่อลามกอนาจารเด็กที่มีทั่วไปในตลาดนานาชาติอย่างคร่าว ๆ แสดงว่า มีเด็กเป็นจำนวนสำคัญที่กำลังถูกฉวยประโยชน์ทางเพศผ่านทางสื่อ (อินเทอร์เน็ต) นี้"[38] องค์กรการกุศลเพื่อเด็ก Action for Children ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ความต้องการเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กได้เพิ่มคดีทารุณทางเพศ เนื่องจากมีเด็กมากขึ้นที่ถูกทารุณเพื่อผลิตสื่อ[39]

ในงานศึกษาที่วิเคราะห์ชายผู้ถูกจับเพราะมีสื่อลามกอนาจารเด็กในสหรัฐในช่วงเวลาปีหนึ่งระหว่าง 2543-2544 ผู้ทำผิดโดยมากมีภาพเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ (83%) และเป็นภาพที่แสดงการล่วงล้ำทางเพศอย่างชัดแจ้ง ผู้ทำผิด 1 ใน 5 (ประมาณ 21%)) มีภาพที่สื่อความรุนแรงเช่นการถูกมัด การข่มขืน การทรมาน และรูปเช่นนั้นโดยมากเกี่ยวข้องกับเด็กที่ถูกปิดปาก ถูกมัด ถูกปิดตา หรือต้องรองรับความซาดิสม์ ผู้ทำผิด 1 ใน 3 (ประมาณ 39%) มีวิดีโอลามกเด็กที่แสดงภาพเคลื่อนไหวและประกอบด้วยเสียง 79% มีภาพเด็กเปลือยหรือกึ่งเปลือย แต่เพียงแค่ 1% มีรูปเช่นนั้นเพียงอย่างเดียว เจ้าหน้าที่พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง (48%) มีภาพนิ่งที่โจ่งแจ้งเกินกว่าร้อย และ 14% เกินกว่าพัน 40% ทำผิด 2 ข้อหา คือทั้งทำร้ายเด็กทางเพศและมีสื่อลามกอนาจารเด็ก[40]

งานศึกษาโดยกรมตำรวจปี 2550 ในประเทศไอร์แลนด์แสดงภาพที่ร้ายแรงที่สุดจากตัวอย่างกว่า 100 คดีที่เกี่ยวข้องกับภาพอนาจารเด็ก ภาพร้ายแรงที่สุด 44% เป็นรูปเปลือยหรือออกท่าเร้าอารมณ์, 7% แสดงกิจกรรมทางเพศระหว่างเด็ก, 7% แสดงกิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการล่วงล้ำระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่, 37% แสดงกิจกรรมทางเพศที่มีการล่วงล้ำระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่, 5% เป็นภาพแบบซาดิสม์หรือเกี่ยวข้องกับสัตว์[41]

มาชา แอลเล็น (กลาง) ก่อนให้การต่อหน้ารัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2551

เหยื่อคนหนึ่งชื่อว่า มาชา แอลเล็นถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่อายุ 5 ขวบ[42]จากสหภาพโซเวียตโดยชายชาวอเมริกันผู้ทารุณเธอทางเพศเป็นเวลา 5 ปีแล้วโพ้สต์ภาพของเธอทางอินเทอร์เน็ต เธอได้ให้การต่อหน้ารัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เธอปวดร้าวมากแค่ไหนต่อภาพทารุณกรรมของเธอที่ยังถูกเผยแพร่สืบ ๆ ไป โดยเธอมีจุดประสงค์เพื่อแสดงตัวอย่างจริงของเหยื่อทางสถิติที่แม้น่าเศร้า แต่อาจจะดูเป็นเรื่องทางนามธรรมและไร้ตัวตน และเพื่อที่จะช่วยผ่านกฎหมายที่ใช้ชื่อของเธอ[43] "กฎหมายของมาชา" ซึ่งรวมอยู่ในกฎหมาย (Adam Walsh Child Protection and Safety Act) ปี 2549 มีมาตราที่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 หรือมากกว่านั้นสามารถฟ้องคดีแพ่ง ต่อบุคคลที่ดาวน์โหลดภาพลามกอนาจารที่ถ่ายเมื่อยังเป็นเด็กของตน[44] แต่ว่า "ดาวน์โหลด" ในที่นี้รวมเอาการดูที่ไม่ได้ดาวน์โหลดมาที่คอมฯ อย่างตั้งใจ และได้มีการดำเนินคดีอย่างสำเร็จผลโดยใช้ข้อมูลที่ยังหลงเหลือบนคอมของผู้ทำผิด[ต้องการอ้างอิง]

ความสัมพันธ์ต่อการทารุณเด็กทางเพศ

[แก้]

ผู้เชี่ยวชาญเห็นต่างกันในเรื่องความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างสื่อลามกอนาจารเด็กกับการทารุณเด็กทางเพศ โดยบางพวกกล่าวว่าเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยง[45] และบางพวกกล่าวว่า ลดโอกาสเสี่ยง[46][47] งานศึกษาปี 2551 ที่ทบทวนการใช้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเพื่อหลอกเด็ก แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ของสื่อลามกอนาจารเด็กทางอินเทอร์เน็ต กับพฤติกรรมจริง ๆ[41] ตามเอกสารหนึ่งจาก Mayo Clinic ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ข้อมูลจากรายงานกรณีคนไข้ที่มารักษา 30%-80% ของผู้ดูสื่อลามกอนาจารเด็ก และ 76% ของคนที่ถูกจับเพราะสื่อลามกเด็กทางอินเทอร์เน็ต เคยทารุณเด็กทางเพศ แต่เพราะว่า จำนวนการดูภาพเช่นนั้นไม่สามารถกำหนดได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นอัตราของการเพียงแต่ดู กับดูแล้วทำผิดก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ได้ รายงานนี้ให้ข้อสังเกตว่า ยังไม่สามารถที่จะกำหนดลำดับการก้าวเดินจากการดูสื่อลามกอนาจารเด็ก ไปสู่การทำร้ายเด็กจริง ๆ[48]

ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยาหลายท่านยืนยันว่า ความจำเรื่องการถูกทารุณกรรมจะดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ยังมีภาพเช่นนั้นดำรงอยู่ หรือมีการดู หรือมีการฉวยประโยชน์อย่างวิปริต[6][12] ส่วนงานวิจัยปี 2554 พบว่า "อัตราการทารุณเด็กทางเพศได้ลดลงอย่างสำคัญจากกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายของสื่อลามกอนาจารเด็กออนไลน์" ความโน้มเอียงที่พบเช่นนี้ในงานหลายงาน มักจะบั่นทอนข้ออ้างว่า เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการแจ้งเหตุการณ์น้อยลง หรือมีการเปลี่ยนวิธีการสืบสวนหรือการเก็บสถิติ จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการทารุณเด็กทางเพศ ตามการขยายความแพร่หลายของสื่อลามกเด็กออนไลน์"[49]

ประเภท

[แก้]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 โปรเจ็กต์ COPINE (Combating Paedophile Information Networks in Europe - เครือข่ายข้อมูลเพื่อต่อต้านคนใคร่เด็กในยุโรป) ได้ร่วมมือกับหน่วยคนใคร่เด็กของเจ้าหน้าที่ตำรวจลอนดอน พัฒนาแบบลักษณ์ (typology) เพื่อจัดหมวดหมู่ภาพทารุณเด็กทางเพศเพื่อใช้ทั้งในงานวิจัยและงานบังคับกฎหมาย[33] แบบลักษณ์ 10 ขั้นที่ตั้งขึ้น อาศัยการวิเคราะห์ภาพที่มีตามเว็บไซต์และตามกลุ่มข่าวทางอินเทอร์เน็ต (internet newsgroups) ต่อมานักวิจัยอื่น ๆ จึงเริ่มใช้มาตรา 10 ขั้นที่คล้าย ๆ กัน[50] ต่อมาปี 2002 คณะแนะนำการตัดสิน (Sentencing Advisory Panel) ของสหราชอาณาจักรได้แปลง COPINE scale ให้เหลือเพียง 5 ระดับ แล้วแนะนำให้ใช้เป็นแนวทางการตัดสิน การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการไม่ใช้ระดับ 1-3 เดิม การรวมระดับ 4-6 เป็นระดับหนึ่งของมาตราใหม่ และการใช้ระดับ 7-10 เป็นระดับ 2-5 ในมาตราใหม่ รวมกับเป็น 5 ระดับ COPINE scale ดั้งเดิมแยกเป็น 10 ระดับดังนี้คือ[33]

COPINE Scale
ระดับ ชื่อระดับ ลักษณะ
1 Indicative (ชี้) ภาพที่ไม่อนาจาร ไม่แสดงสภาวะทางเพศ ที่แสดงเด็กในชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ มาจากแหล่งการค้าหรืออัลบั้มรูปของครอบครัว หรือภาพเด็กเล่นในสิ่งแวดล้อมปกติ แต่ว่าเป็นภาพที่อยู่ในบริบทหรือการจัดหมวดหมู่ของผู้สะสมที่ชี้ความไม่สมควร
2 Nudist (เปลือย) ภายเด็กเปลือยหรือกึ่งเปลือยในสิ่งแวดล้อมเปลือยที่สมควร และมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมายต่าง ๆ
3 Erotica (อนาจาร) รูปแอบถ่ายเด็กในที่เล่นหรือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่าง ๆ แสดงชุดชั้นในหรือการเปลือยกายในระดับต่าง ๆ
4 Posing (วางท่า) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย (ที่ปริมาณความเปลือย บริบท หรือการจัดภาพเป็นตัวบ่งความสนใจทางเพศ)
5 Erotic Posing (วางท่าอนาจาร) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย ที่แสดงลักษณะทางเพศหรือเร้าอารมณ์
6 Explicit Erotic Posing (วางท่าอนาจารชัดแจ้ง) ภาพที่เน้นบริเวณอวัยวะเพศของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย
7 Explicit Sexual Activity (กิจกรรมทางเพศชัดแจ้ง) ภาพที่แสดงการสัมผัส การสำเร็จความใคร่ร่วมกันหรือด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก และการร่วมเพศ ของเด็ก ที่ไม่เกี่ยวกับผู้ใหญ่
8 Assault (การทำร้าย) ภาพเด็กถูกทำร้ายทางเพศ รวมทั้งการจับต้องด้วยนิ้ว ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
9 Gross Assault (การทำร้ายอย่างร้ายแรง) รูปทำร้ายทางเพศที่ลามกอนาจารอย่างร้ายแรง รวมทั้งกิจกรรมทางเพศที่มีการสอดใส่ (penetrative sex) การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
10 Sadistic/Bestiality (เกี่ยวกับความซาดิสม์หรือสัตว์) ก. ภาพที่แสดงเด็กถูกมัด ผูก ตี เฆี่ยน หรือการอื่นที่ส่องให้เห็นความเจ็บปวด
ข. ภาพที่มีสัตว์แสดงพฤติกรรมทางเพศเกี่ยวกับเด็ก

ความแพร่หลาย

[แก้]

ทางอินเทอร์เน็ต

[แก้]

ศาสตราจารย์นักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งที่กล่าวว่า มีหลักฐานท่วมท้นที่แสดงว่า สื่อลามกอนาจารเด็กไม่สามารถที่จะหาได้นอกจากทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ทางอินเทอร์เน็ตเป็นต้น)[51] คือ อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเปลี่ยนวิธีการผลิตและเผยแพร่สื่อลามกเด็กอย่างถอนราก และตามกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ มีผลเป็นการเพิ่มอย่างมหาศาลซึ่ง "ความแพร่หลาย การเข้าถึงได้ และจำนวนของสื่อลามกอนาจารเด็ก"[52] การผลิตสื่อให้กำไรมากและไม่จำกัดแต่ในกลุ่มคนใคร่เด็กเท่านั้น[53] กล้องดิจิทัลและการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตอำนวยโดยการใช้บัตรเครดิตและความง่ายในการส่งภาพข้ามชาติ ทำให้ง่ายกว่าแต่ก่อนที่จะหาภาพถ่ายหรือวิดีโอลามกเด็ก[19][20]

ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (National Center for Missing and Exploited Children ตัวย่อ NCMEC) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน (แต่เบื้องต้นจัดตั้งโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา) ประเมินว่า ในปี 2546 20% ของสื่อลามกอนาจารที่แลกเปลี่ยนทางอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อลามกเด็ก และตั้งแต่ปี 2540 จำนวนภาพลามกเด็กที่หาได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นถึง 1,500%[20] ส่วนองค์กรการกุศลในสหราชอาณาจักรคือ มูลนิธิเฝ้าดูอินเทอร์เน็ต (Internet Watch Foundation) รายงานในปี 2550 ว่า สื่อลามกเด็กทางอินเทอร์เน็ตเริ่มประกอบด้วยความรุนแรงและความโจ่งแจ้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และภาพที่แสดงการทารุณอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ตั้งแต่ปี 2547[54] ประธานบริหารขององค์กรกล่าวว่า "ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือความรุนแรงของภาพกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี่เรากำลังพูดถึงเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ถูกข่มขืน" เด็กที่ถูกทารุณในภาพ 80% เป็นหญิง และ 91% ดูเหมือนเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ

การดำเนินคดีทำได้ยากเพราะว่า มีการใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศ บางครั้งแม้แต่ส่งภาพเป็นแค่บางส่วนเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย[54] ผู้ทำผิดบางครั้งหลีกเลี่ยงการตรวจจับโดยใช้ไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อจะสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์คนอื่นได้อย่างผิดกฎหมาย แล้วใช้คอมฯนั้นเก็บสื่อลามก ในคดีหนึ่ง ชายรัฐแมสซาชูเซตส์ถูกจับฐานมีสื่อลามกเด็ก แต่ความจริงคอมฯของเขาถูกนักเลงคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อดูเว็บไซต์ลามกและเก็บภาพโดยที่เขาไม่รู้[55] ส่วนศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางสหรัฐได้ตัดสินว่า ถ้าบุคคลดาวน์โหลดสื่อลามกจากเครือข่ายแชร์ไฟล์แล้วมีไฟล์นั้นในแชร์โฟลเดอร์ของเขา โดยที่ไม่ได้ตั้งระบบให้คนอื่นเข้าถึงไม่ได้ บุคคลนั้นสามารถมีความผิดฐานเผยแพร่สื่อลามกเด็กได้[56]

เกี่ยวกับความแพร่หลายทางอินเทอร์เน็ต กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่า "ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนก็ตาม ประเมินว่า มีภาพลามกอนาจารเด็กกว่าล้านภาพทางอินเทอร์เน็ต โดยมีการโพ้สต์รูปใหม่ ๆ 200 รูปในแต่ละวัน" และยังให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ทำผิดคนหนึ่งที่ถูกจับในสหราชอาณาจักรที่มีภาพลามกเด็กถึง 450,000 รูป และว่า มีเว็บไซต์สื่อลามกเด็กเว็บหนึ่งที่มีคนคลิกดู 1 ล้านคลิกต่อเดือน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนสื่อลามกในระดับ/วิธีการที่ซ่อนเร้นทางอินเทอร์เน็ต และมีการประเมินว่า มีคนใคร่เด็กระหว่าง 50,000-100,000 คนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมิจฉาชีพต่าง ๆ ทั่วโลก และจำนวน 1/3 ดำเนินการอยู่ในสหรัฐ

มีกลุ่มมิจฉาชีพขนาดยักษ์ระดับนานาชาติที่อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทำในเรื่องนี้ ตำรวจใน 30 ประเทศได้จับกุมผู้ต้องหา 184 คน โดยมีการระบุคนอื่นอีก 486 คน เจ้าหน้าที่ของเนเธอร์แลนด์ได้จับชายดัตช์เกิดในอิสราเอลอายุ 37 ปี ผู้เป็นคนจัดตั้งและเจ้าของเว็บบอร์ด Boylover.net ซึ่งเป็นศูนย์ของกลุ่มนี้ เว็บบอร์ดนี้มีสมาชิกมากที่สุดถึง 70,000 คนจากทั่วโลก[57][58] ในปี 2551 กูเกิล เสิร์ชได้เริ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจสอบสื่อลามกอนาจารเด็กที่เข้าถึงได้ทางเว็บของกูเกิลได้เร็วขึ้น เป็นโปรแกรมที่ใช้วิธีการรู้จำแบบ (pattern recognition) เพื่อทำการตรวจสอบ[59]

พฤติกรรมการสะสมและแรงจูงใจโดยรวม ๆ

[แก้]

ผู้ดูสื่อลามกอนาจารเด็กที่เป็นคนใคร่เด็กจะหมกมุ่นเป็นพิเศษในการเก็บ จัดระเบียบ ตั้งหมวดหมู่ และขึ้นป้ายสื่อที่สะสมตามอายุ เพศ กิจกรรมทางเพศ และจินตนาการทางเพศ[60][61] ตามเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐคนหนึ่ง "การสะสม" สื่อไม่ได้หมายเพียงแค่ดูสื่อ แต่หมายถึงเก็บมันไว้ จนกระทั่ง "มันกลายเป็นสิ่งที่กำหนด ให้เชื้อเพลิง และยืนยันจินตนาการทางเพศที่พวกเขาชอบใจมากที่สุด" การมีสื่อเป็นจำนวนมากเป็นตัวบ่งชี้ความชอบใจทางเพศที่มีกำลังต่อเด็ก และถ้าผู้สะสมสื่อเป็นคนใคร่เด็กด้วย สื่อที่สะสมนั้นจะเป็นตัวชี้ที่ดีที่สุดว่าผู้นั้นต้องการทำอะไรกับเด็ก[61] สมาคมเพื่อการป้องกันความโหดร้ายต่อเด็กแห่งชาติแห่งสหราชอาณาจักร (National Society for the Prevention of Cruelty to Children) ได้กล่าวไว้ว่า

ความหมกมุ่นในการสะสมและการจัดสิ่งที่สะสมเป็นเรื่อง ๆ หรือเป็นธีม นำไปสู่การสร้างชุมชมสังคมทางอินเทอร์เน็ตมีจุดประสงค์เพื่อขยายจำนวนสิ่งที่สะสม

และโดยอาศัยชุมชนเสมือนเช่นนี้ ผู้สะสมก็จะสามารถมองข้ามเนื้อหาและลักษณะทารุณกรรมของสื่อเหล่านี้ แล้วเห็นเด็กเป็นวัตถุแทนที่จะเป็นบุคคล โดยเห็นพฤติกรรมของตนว่าเป็นปกติ กลายเป็นการแสดง "ความรัก" ต่อเด็กแทนที่จะเป็นทารุณกรรม[62]

ผู้ทำผิดเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะใช้วิธีการที่ซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับ[60] กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ให้ข้อสังเกตว่า "มีผู้ทำผิดผู้มีประสบการณ์กลุ่มหลักกลุ่มหนึ่ง ซึ่งบางคนเกี่ยวข้องกับกลุ่มข่าวคนใคร่เด็ก กว่า 20 ปี ที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสูง" และว่า "กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ของคนใคร่เด็กบ่อยครั้งจะมีคำแนะนำทางเทคนิคสำหรับคนใหม่จากคนเก่า ๆ"[61]

รายงานวุฒิสภาสหรัฐปี 2529 พบว่า แรงจูงใจในการสะสมสื่อลามกเด็กรวมทั้งเพื่อปลุกและสนองอารมณ์ทางเพศ เพื่อแก้ต่างและให้เหตุผลกับพฤติกรรมที่ใคร่เด็ก เพื่อแสดงรูปให้เด็กดูเพื่อลดความยับยั้งชั่งใจในการร่วมเพศ เพื่อเก็บรักษารูปของเด็กคนหนึ่งในช่วงอายุที่ชอบใจทางเพศ เพื่อแบล็กเมล์บุคคลในรูป เพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนและการสื่อสารกับผู้บริโภคสื่อลามกเด็กคนอื่น และเพื่อผลกำไร[63]

คณะกรรมาธิการข้อตัดสินสหรัฐ (U.S. Sentencing Commission) ปี 2555 รายงานว่า ผู้ทำผิดเกี่ยวกับสื่อลามกเด็ก "ในขณะที่มีโอกาสที่จะเกิดอารมณ์ทางเพศต่อเด็กมากกว่าผู้ทำผิดทางเพศแบบจับต้อง มากกว่าประชากรโดยทั่วไป" ก็ยังสามารถมีแรงจูงใจที่ไม่เกี่ยวกับเพศในการสะสมสื่อลามกเด็ก รวมทั้งความอยากรู้อยากเห็นในส่วนเบื้องต้น พฤติกรรมการเก็บสะสมแบบย้ำคิดย้ำทำ (หรือหมกหมุ่น) การหลีกเลี่ยงความทุกข์และความไม่พอใจในชีวิต และความสามารถในการสร้างเอกลักษณ์ออนไลน์ใหม่ที่มีความสำเร็จทางสังคมได้ดีกว่าชีวิตจริง ผู้ทำผิดบางคนพบว่า การเก็บสะสมเป็นความสุขไม่ว่ารูปนั้นจะเร้าอารมณ์ทางเพศสำหรับตนหรือไม่ โดยความสนใจกลายเป็นการเก็บรวบรวมให้เต็มชุดแล้วจัดระเบียบสิ่งที่สะสมเป็นงานอดิเรก เหมือนกับที่คนเก็บสะสมแสตมป์ทำ[64]

เซ็กซ์ทัวร์เด็ก

[แก้]

แหล่งสื่อลามกอนาจารเด็กที่แพร่ไปทั่วโลกแหล่งหนึ่งก็คือที่ทำโดยนักเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก เหยื่อโดยมาอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น ในปี 2539 ศาลในประเทศไทยตัดสินคนเยอรมันว่า ได้ทำร้ายเด็กและทำสื่อลามกอนาจารเพื่อค้าขาย เขาเป็นคนในกลุ่มมิจฉาชีพที่ฉวยประโยชน์จากเด็กไทย นอกจากนั้นแล้ว สื่อลามกที่ยึดได้ในประเทศสวีเดนและเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นจำนวนมาก ได้ทำโดยคนเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์ในแถบเอเชียอาคเนย์[38] Interpol ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิก 190 ประเทศเพื่อแก้ปัญหานี้ และได้ขอความช่วยเหลือเป็นปฏิบัติการที่สำเร็จผลในปี 2550 เพื่อระบุหาชายชาวแคนาดาคนหนึ่ง (Christopher Paul Neil) ที่มีรูปอยู่ในชุดรูปถ่ายกว่า 200 ภาพที่ทำทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กเวียดนามและกัมพูชา[65]

กลุ่มอาชญากร

[แก้]

กลุ่มมิจฉาชีพมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตและการเผยแพร่สื่อลามกเด็ก[66][67] เมื่อมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและแจกจ่ายสื่อลามก คำภาษาอังกฤษจะเรียกกลุ่มเช่นนี้ว่า "sex ring"[68][69][70][71][72]

ในปี 2546 การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบกลุ่มผลิตและแจกจ่ายสื่อลามกเด็กมีฐานในประเทศเยอรมนีโดยมีผู้ต้องสงสัยรวมกัน 26,500 คนที่เแลกเปลี่ยนรูปที่ผิดกฎหมายทางอินเทอร์เน็ตใน 166 ประเทศ[73] ในคดีปี 2549 เจ้าหน้าที่ในสหรัฐและประเทศอื่น ๆ จับกุมคน 27 คนในรัฐ 9 รัฐและประเทศ 3 ประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสื่อลามกเด็กที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางอธิบายว่า เป็นกลุ่มที่แย่ที่สุดกลุ่มหนึ่งที่เคยเจอ ผู้ช่วยเลขาธิการของหน่วย Immigration and Customs Enforcement เพิ่มว่า คดีนี้สะท้อนให้เห็นลักษณะ 3 อย่างที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มสื่อลามกอนาจารเด็ก

  1. ความแพร่หลายของภาพลามกที่ทำเองโดยผู้ทำผิด รวมทั้งภาพยนตร์สดส่งทางเน็ต (streaming video) ของเด็กที่กำลังถูกทารุณ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การส่งเวียนรูปเก่า ๆ
  2. การใช้วิธีการรักษาความปลอดภัยที่ซับซ้อนและการใช้เครือข่ายแบบ peer-to-peer networking ซึ่งยังให้ผู้ร่วมมือสามารถแชร์ไฟล์บนคอมของตนได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ คือกลุ่มนี้ใช้การเข้ารหัสข้อมูลและโปรแกรมที่ทำลายข้อมูลได้โดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไฟล์ และกระบวนการกลั่นกรองเพื่อให้แน่ใจว่า บุคคลที่อนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าห้องแช็ตได้
  3. ภาพที่รุนแรงและโจ่งแจ้งยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการทารุณเด็กที่เยาว์วัยยิ่งขึ้น[74]

ตามหัวหน้าของศูนย์ป้องกันการฉวยประโยชน์จากเด็กและป้องกันเด็กออนไลน์ (Child Exploitation and Online Protection Centre ตัวย่อ CEOPP) ที่เป็นหน่วยตำรวจของสหราชอาณาจักร ประมาณครึ่งหนึ่งของเว็บไซต์ที่แสดงเด็กกำลังถูกทารุณทางเพศ ดำเนินการแบบ pay-per-view (คือต้องจ่ายเพื่อจะดูแต่ละครั้ง) "คนที่เกี่ยวกับเว็บไซต์เหล่านี้ไม่ใช่ทำเพราะเป็นคนผิดปกติ แต่ทำเพราะว่าเป็นนักธุรกิจ นี่เป็นเรื่องของความเสี่ยงเทียบกับผลกำไร เราจึงต้องลดแรงจูงใจในเรื่องผลกำไร" โดย CEOPP เป็นหน่วยที่จัดตั้งขึ้นในปี 2549 และมีเป้าหมายที่การเงินของกลุ่มมิจฉาชีพที่ค้าขายรูปทารุณเด็ก[75] แต่ว่า สื่อลามกเด็กที่ถูกยึดในสหรัฐไม่ได้ทำหรือเผยแพร่เพื่อผลกำไร และก็มีหลักฐานน้อยมากว่า มีกลุ่มมิจฉาชีพที่ดำเนินการเพราะผลกำไรที่เป็นแหล่งสำคัญของการเผยแพร่สื่อลามกเด็กในระดับสากล[76]

เกี่ยวกับกฎหมาย

[แก้]

ในประเทศไทย

[แก้]

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 เสนอโดย ดร. จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยการเสนอกฎหมาย เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีผลเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2558 โดยมีนิยามคำว่า "เด็ก" ว่าหมายถึงบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี กำหนดโทษโดยเฉพาะเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ดังต่อไปนี้คือ[77][27]

  • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 287/1)
  • ส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 287/1)
  • ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า ส่งออก พาไป ให้เช่า หรือทำให้แพร่หลาย (รวมทั้งโฆษณา ไขข่าวว่าจะหาได้อย่างไรจากที่ไหน) เพื่อการค้าหรือการแจกจ่ายโอ้อวดกับประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท (มาตรา 287/2)

โดยหมายเหตุพระราชบัญญัติให้เหตุผลในการกำหนดกฎหมายไว้ว่า[27]

  • การครอบครองเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
  • การครอบครองเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและส่งผลต่อสวัสดิภาพของเด็ก
  • ความผิดในเรื่องการค้าและการทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามกผู้ใหญ่และเด็กมีความร้ายแรงแตกต่างกัน
  • เพื่อคุ้มครองป้องกันเด็กมากขึ้น
  • เพื่อกำหนดโทษในเรื่องการค้าและการทำให้แพร่หลายให้หนักขึ้น
  • เพื่อกำหนดโทษการมีครอบครอง (เพราะว่าการมีสื่อลามกผู้ใหญ่ไม่ใช่เพื่อการค้าไม่มีโทษทางกฎหมาย[78])

โดยผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายได้ระบุจุดอ่อนและข้อสังเกตของพระราชบัญญัติดังต่อไปนี้ว่า

  • "อายุไม่เกิน 18 ปี" พิสูจน์ได้ยากในกรณีที่ไม่ชัดเจน ในต่างประเทศคนที่ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่มีสื่อเกี่ยวกับเด็กที่ชัดเจนว่ามีอายุต่ำกว่าที่กำหนด แต่เด็กมีอายุใกล้ 18 ปีพิสูจน์ได้ยาก[77][78]
  • ไม่มีการยกเว้นการครอบครองสื่อในระหว่างเด็กเอง แม้เด็กถ่ายเก็บไว้ดูระหว่างกันเองก็ผิดกฎหมายได้[77][79]
  • การครอบครองไม่มีการยกเว้น เช่น มีในไฟล์แคช ในไฟล์ชั่วคราว ในป็อปอัพโฆษณา หรือมีเพื่อทำงานวิจัย หรือเพื่อทำการสอบสวน[77] คือการตีความเจตนาการครอบครองอาจเป็นปัญหา[78]
  • กฎหมายรวม "เอกสาร" และ "แถบบันทึกเสียง" ซึ่งเป็นเรื่องพิสูจน์ได้ยาก[77][79] คือมีการกำหนดนิยามของ "สื่อ" กว้างเกินไป[78]
  • ไม่ได้กำหนดสื่อลามกเทียมว่าผิดกฎหมาย[77][79][78]

ส่วนเลขาธิการสำนักงานอบรมศึกษากฎหมายเนติบัณฑิตยสภา นายสราวุธ เบญจกุล ได้ให้ข้อสังเกตและความเห็นไว้ว่า[80]

  • เป็นกฎหมายมีโทษสูง
  • ถ้าได้รับสื่อดังกล่าว ไม่เปิดดู ไม่ผิด เพราะขาดเจตนา
  • ถ้าเปิดดู ต้องลบออก ถ้าเก็บไว้ดูวันหลัง จัดว่ามีเจตนาพิเศษ ถ้าดูแล้วแสวงหาประโยชน์ทางเพศ จัดว่าผิด
  • คำว่าครอบครอง หมายถึงการมีในเครื่องมือ เช่นมือถือเป็นต้น

กฎหมายนิยาม "สื่อลามกอนาจารเด็ก" ดังนี้ว่า

“สื่อลามกอนาจารเด็ก” หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะสามารถสื่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือรูปแบบอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และให้หมายความรวมถึงวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่สามารถแสดงผลให้เข้าใจความหมายได้

— พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[27]

สาระสำคัญการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ

[แก้]

เนื่องจากการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของเด็ก ประกอบกับตามกฎหมายของไทยที่มีอยู่เดิม ไม่ได้แยกระหว่างการผลิตและการค้าสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่กับสื่อลามกอนาจารเด็กออกจากกัน ทั้งที่ลักษณะความผิดมีความร้ายแรงแตกต่างกัน

สื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่ กฎหมายอนุญาตให้สามารถมีไว้ในความครอบครองได้ หากไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจการค้า เพราะเป็นเรื่องรสนิยมของบุคคล แต่สำหรับสื่อลามกเด็กนั้น กฎหมายมีความจำเป็นต้องคุ้มครองให้เข้มงวดมากขึ้น เพราะเด็กอาจยังมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอและตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศในกระบวนการผลิตสื่อลามกได้ จึงทำให้หลายฝ่ายเห็นว่า กฎหมายควรจะควบคุมสื่อลามกอนาจารเด็กตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการครอบครองด้วย เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของเด็ก

กฎหมายของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ก็มีการแบ่งแยกประเภทสื่อลามกอนาจารเด็กออกจากสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่ และกำหนดว่าการครอบครองสื่อลามกเด็กเป็นความผิด โดยกำหนดโทษทั้งผู้ครอบครอง ผู้เผยแพร่ส่งต่อ และผู้ขาย มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่ากรณีสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่

ดังนั้นเพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองและป้องกันจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) จึงกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการค้าหรือทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น รวมทั้งกำหนดให้การครอบครองและส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดด้วย[81]

การร่วมมือกันระดับนานาชาติ

[แก้]

แม้ว่าจะมีการร่วมมือกันจับกุมผู้ทำผิดเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กมากมาย แต่ว่า เจ้าหน้าที่ค้นเจอตัวเด็กน้อยกว่า 1% ที่พบในสื่อแต่ละปีตามสถิติของ Interpol[82] กูเกิลปี 2551 ได้ประกาศว่า กำลังทำงานร่วมกับ NCMEC เพื่อช่วยผู้ทำงานป้องกันเด็กในการกลั่นกรองรูปลามกเด็กเป็นล้าน ๆ เพื่อสืบหาระบุเหยื่อ คือกูเกิลได้พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถระบุเอกลักษณ์ของวิดีโอ และระบบอัตโนมัติที่ช่วยทบทวนภาพและวิดีโอลามกที่เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ก่อนหน้านี้ต้องทำด้วยมือ[83]

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐได้เริ่มโพ้สต์ไฮเปอร์ลิงก์ในระบบอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะลิงก์ไปยังวิดีโอของเด็กที่มีเพศสัมพันธ์โดยผิดกฎหมาย แล้วจะบุกเข้าตรวจค้นบ้านของทุกคนที่คลิกที่ลิงก์นั้น[84] ในเดือนตุลาคม 2554 กลุ่มนักเลงคอมพิวเตอร์ Anonymous (แปลว่านิรนาม) ประกาศว่ากลุ่มเริ่มโจมตีหยุดการทำงานของเว็บไซต์สื่อลามกใน darknet โดยทำในลักษณะศาลเตี้ย และปล่อยรายชื่อของผู้ร่วมใช้ในลิงก์ pastebin[85]

กฎหมายแต่ละประเทศและนานาชาติ

[แก้]

กฎหมายสื่อลามกเด็กมีโทษรุนแรงสำหรับผู้ผลิตและผู้เผยแพร่ในสังคมโดยมาก โดยปกติมีโทษจำคุก แต่จะจำเป็นระยะเวลาสั้นกว่าสำหรับการเผยแพร่ไม่ใช่เพื่อการค้าขึ้นอยู่กับจำนวนและเนื้อหาของสื่อที่แจกจ่าย การมีสื่อลามกเด็กปกติจะมีโทษจำคุกเช่นกัน แต่บ่อยครั้งมักจะผ่อนผันเป็นการรอลงอาญาสำหรับผู้ทำผิดเป็นครั้งแรก[7] ในปี 2549 ICMEC ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับกฎหมายสื่อลามกเด็กในประเทศสมาชิก 184 ประเทศของ Interpol แล้วภายหลังจึงออกรายงานรวมประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 196 ประเทศ[86][87][88][89] รายงานที่มีชื่อว่า "สื่อลามกอนาจารเด็ก กฎหมายที่เป็นแบบ และการทบทวนระดับโลก" ประเมินว่า กฎหมายของแต่ละประเทศ

  1. มีมาตราที่จำเพาะกับสื่อลามกอนาจารเด็กหรือไม่
  2. ให้คำนิยามของสื่อลามกอนาจารเด็กหรือไม่
  3. จัดการทำผิดทางคอมพิวเตอร์ให้เป็นอาชญากรรมโดยเฉพาะหรือไม่
  4. จัดการมีสื่อลามกอนาจารเด็ก ไม่ว่าตั้งใจจะแจกจ่ายหรือไม่ ให้เป็นอาชญากรรมหรือไม่
  5. บังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ให้รายงานสื่อลามกอนาจารเด็กที่สงสัย ต่อเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายหรือองค์กรอื่น ๆ ที่มอบหมายให้โดยกฎหมายหรือไม่[87][90][91]

ICMEC เบื้องต้นรายงานว่า มีเพียงแค่ 27 ประเทศที่มีกฎหมายพร้อมจะรับมือกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ในขณะที่ประเทศ 95 ประเทศไม่มีกฎหมายที่จำเพาะกับสื่อลามกเด็ก ทำให้ปัญหาโลกนี้เลวร้ายขึ้นเนื่องจากฎหมายที่มีในประเทศต่าง ๆ ไม่กวดขันพอ[92] รายงานฉบับที่ 7 ก็ยังพบว่ามีเพียงแค่ 69 ประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหา ในขณะที่ 53 ประเทศไม่มีกฎหมายที่จำเพาะเจาะจง[86] ในช่วงงานวิจัยระหว่างปี 2549-2555 ICMEC และหุ้นส่วนได้ทำงานร่วมกับประเทศ 100 ประเทศที่ได้ปรับปรุงหรือออกฎหมายใหม่เกี่ยวกับสื่อลามกเด็ก[93][94][95][96] งานทบทวนกฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็กใน 187 ประเทศปี 2551 ของ ICMEC แสดงว่า ประเทศ 93 ประเทศไม่มีกฎหมายที่จำเพาะเจาะจงในปัญหานี้ และใน 94 ประเทศที่มี 36 ประเทศไม่ได้จัดการมีสื่อลามกอนาจารเด็กให้ผิดกฎหมายไม่ว่าจะตั้งใจจะแจกจ่ายหรือไม่[97] แต่งานทบทวนนี้ ไม่ได้นับกฎหมายที่ทำสื่อลามกอนาจารทั้งหมดให้ผิดกฎหมาย ว่าเป็นกฎหมายเฉพาะต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก และไม่ได้นับกฎหมายที่ห้าม "รูปแบบเลวร้ายที่สุดของแรงงานเด็ก"[28]

ประเทศบางประเทศเช่นแคนาดาและออสเตรเลีย ห้ามการ์ตูน มังงะ หรือวรรณกรรมที่เป็นสื่อลามกเด็ก และมีสังคมอื่นที่บังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ตรวจเช็คข้อมูลที่ส่งทางอินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจจับสื่อผิดกฎหมาย[98][99][100] ส่วนพิธีสารของสหประชาชาติที่เลือกปฏิบัติได้ (Optional Protocol on the Sale of Children, Child Prostitution, and Child Pornography) กำหนดให้ประเทศสมาชิกทำให้ผิดกฎหมายซึ่ง "การผลิต การแจกจ่าย การเผยแพร่ การนำเข้า การส่งออก การให้ การขาย หรือการมีเพื่อจุดประสงค์ดังที่กล่าวมาก่อน" ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก[101] ส่วนอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมไซเบอร์ของสภายุโรปและกฎหมายของสหภาพยุโรปที่มีผลในปี 2549 บังคับให้ประเทศสมาชิกทำกิจกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กให้ผิดกฎหมาย[7] ส่วนมาตรา 34 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (United Nations Convention on the Rights of the Child) กล่าวว่า ประเทศสมาชิกทั้งหมดต้องทำกิจที่สมควรเพื่อป้องกันการฉวยประโยชน์จากเด็กเกี่ยวกับการแสดงหรือสื่อลามกอนาจารเด็ก

ภาพที่สร้างขึ้นเทียม

[แก้]

สื่อลามกอนาจารเด็กเทียม (อังกฤษ: Simulated child pornography) ที่ผลิตโดยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงจากเด็กรวมทั้ง รูปถ่ายเด็กที่มีการปรับแต่ง วัยรุ่นที่ไม่จัดว่าเด็กที่ทำให้ดูอ่อนกว่าอายุ (เช่นโดยการแต่งแบบ age regression) หรือว่าภาพที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ล้วน ๆ[10] หรืออาจจะเป็นผู้ใหญ่แต่งให้เหมือนเด็ก[11] ภาพวาดภาพหรือแอนิเมชันที่เกี่ยวกับเด็ก แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจให้เหมือนรูปถ่าย ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อเทียมได้เหมือนกัน[ใคร?]

Sexting

[แก้]

Sexting เป็นการใช้ระบบส่งข้อความของโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งภาพเปลือยหรือกึ่งเปลือยของตนไปให้คนอื่น (เช่นให้เพื่อนหรือแฟน) แต่ว่า รูปเช่นนี้อาจส่งต่อไปให้คนอื่นหรือโพ้สต์บนอินเทอร์เน็ตได้ และในหลายประเทศ อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้จะต่ำกว่าอายุที่กำหนดว่าเป็น "เด็ก" ดังนั้นเด็กที่มีวัยเกินอายุยอมให้ร่วมประเวณีได้ ก็จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายกับบุคคลผู้มีอายุเท่ากัน กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กมักจะออกก่อนที่กล้องมือถือ จะกลายเป็นอุปกรณ์สามัญในเด็กวัยรุ่นที่มีวัยเกินอายุยอมให้ร่วมประเวณีได้ และ sexting ก็ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ในพวกเด็กวัยรุ่น แต่เพราะว่ากฎหมายมักจะออกตามอายุ "เด็ก" ที่ต่างจากอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ ดังนั้น วัยรุ่นที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทางกฎหมายสามารถมีความผิดฐานผลิตและแจกจ่ายสื่อลามกอนาจารเด็ก ถ้าตนส่งรูปอวัยวะเพศของตนไปให้กับคู่นอนที่มีวัยเดียวกัน[102] และในบางประเทศ การบังคับการตัดสิน (mandatory sentencing) ที่ศาลต้องทำ กำหนดว่า ผู้ทำผิดในฐานะเช่นนี้จะต้องลงทะเบียนผู้ทำผิดทางเพศ[103][104]

ผู้เชี่ยวชาญได้วิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้กฎหมายสื่อลามกเด็กที่บังคับการตัดสินความผิดต่อวัยรุ่นวัยเกินอายุยอมให้ร่วมประเวณีได้ ทนายผู้ชำนาญอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรัฐฟลอริดาผู้หนึ่งเขียนว่า "ผมไม่เชื่อว่ากฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็กของเราออกแบบเพื่อให้ใช้ในสถานการณ์เช่นนี้... การถูกตัดสินว่าผิดข้อหามีสื่อลามกอนาจารเด็กในฟลอริดา สามารถมีโทษจำคุกถึง 5 ปีสำหรับรูปแต่ละรูปหรือวิดีโอแต่ละวิดีโอ พร้อมกับต้องลงทะเบียนเป็นผู้ทำผิดทางเพศตลอดชีวิต"[105] และในปี 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้หนึ่งที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ที่ศึกษาปัญหาเรื่อง sexting ได้กล่าวถึงกฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็กที่มีโทษสูงว่า "ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาผู้ใหญ่ฉวยประโยชน์จากเด็ก" และว่า "sexting เป็นกิจกรรมทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ยินยอมก็ไม่ควรมีโทษ" และ "ผู้ที่ส่งต่อรูปเช่นนี้โดยไม่ได้ความยินยอมกำลังทำอะไรที่มุ่งร้ายและเป็นเรื่องผิด แต่ว่า กฎหมายสื่ออนาจารเด็กรุนแรงเกินไปเพื่อใช้แก้ปัญหานี้"[106]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Finkelhor, David. "Current Information on the Scope and Nature of Child Sexual Abuse". Future of Children. v4 n2 (Sum-Fall 1994): 31–53.
  2. 2.0 2.1 Hobbs, Christopher James; Hanks, Helga GI; Wynne, Jane M (1999). Child Abuse and Neglect: A Clinician's Handbook. Elsevier Health Sciences. p. 328. ISBN 0-443-05896-2. Child pornography is part of the violent continuum of child sexual abuse
  3. O'Donnel, Ian; Milner, Claire (2007). Child Pornography: Crime, computers and society. Willan Publishing. p. 123. ISBN 1-84392-357-2.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 Sheldon, Kerry; Dennis Howitt (2007). Sex Offenders and the Internet. John Wiley and Sons. p. 20. ISBN 0-470-02800-9. 'Child pornography is not pornography in any real sense; simply the evidence recorded on film or video tape - of serious sexual assaults on young children' (Tate, 1992, p.203) ... 'Every piece of child pornography, therefore, is a record of the sexual use/abuse of the children involved.' Kelly and Scott (1993, p. 116) ... '...the record of the systematic rape, abuse, and torture of children on film and photograph, and other electronic means.' Edwards (2000, p.1)
  5. 5.0 5.1 Klain, Eva J.; Heather J. Davies; Molly A. Hicks (2001). Child Pornography: The Criminal-justice-system Response (PDF). National Center for Missing & Exploited Children. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19. Because the children depicted in child pornography are often shown while engaged in sexual activity with adults or other children, they are first and foremost victims of child sexual abuse.
  6. 6.0 6.1 6.2 Wortley, Richard; Stephen Smallbone. "Child Pornography on the Internet". Problem-Oriented Guides for Police. No. 41: 17. The children portrayed in child pornography are first victimized when their abuse is perpetrated and recorded. They are further victimized each time that record is accessed.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 Akdeniz, Yaman (2008). Internet child pornography and the law: national and international responses. Ashgate Publishing, Ltd. p. 11. ISBN 0-7546-2297-5.
  8. 8.0 8.1 8.2 Wortley, Richard; Smallbone, Stephen (2006). Situational Prevention Of Child Sexual Abuse, Volume 19 of Crime prevention studies. Criminal Justice Press. p. 192. ISBN 1-881798-61-5.
  9. 9.0 9.1 9.2 Sanderson, Christiane (2004). The seduction of children: empowering parents and teachers to protect children from child sexual abuse. Jessica Kingsley Publishers. p. 133. ISBN 1-84310-248-X.
  10. 10.0 10.1 "Virtueel filmpje geldt ook als porno". Algemeen DagbladIAD. 2008-03-11.
  11. 11.0 11.1 Paul, B; Linz, D (2008). "The effects of exposure to virtual child pornography on viewer cognitions and attitudes toward deviant sexual behavior" (PDF). Communication Research. 35 (1): 3–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 Sheldon, Kerry; Dennis Howitt (2007). Sex Offenders and the Internet. John Wiley and Sons. p. 9. ISBN 0-470-02800-9. ...supplying the material to meet this demand results in the further abuse of children Pictures, films and videos function as a permanent record of the original sexual abuse. Consequently, memories of the trauma and abuse are maintained as long as the record exists. Victims filmed and photographed many years ago will nevertheless be aware throughout their lifetimes that their childhood victimization continues to be exploited perversely.
  13. 13.0 13.1 Agnes Fournier de Saint Maur (1999-01). "Sexual Abuse of Children on the Internet: A New Challenge for INTERPOL" (PDF). Expert Meeting on Sexual Abuse of Children, Child Pornography and Paedophilia on the Internet: an international challenge. UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "The National Center for Missing & Exploited Children". National Center for Missing & Exploited Children. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  15. "Definition of 'Child Pornography'". Criminal Code of Canada, Section 163.1. Electronic Frontier Canada. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  16. "Sharpe Not Guilty of Possessing Written Child Pornography". CBC News. 2002-03-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  17. Akdeniz, Yaman (2008). Internet child pornography and the law: national and international responses. Ashgate Publishing, Ltd. p. 153. ISBN 0-7546-2297-5.
  18. ""Child Porn" video game rated PG in Australia". digiknow. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 Wells, M; Finkelhor, D; Wolak, J; Mitchell, K (2007). "Defining Child Pornography: Law Enforcement Dilemmas in Investigations of Internet Child Pornography Possession" (PDF). Police Practice and Research. 8 (3): 269–282. doi:10.1080/15614260701450765. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 20.2 "Child porn among fastest growing internet businesses". National Center for Missing and Exploited Children, USA. 2005-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
  21. Crosson-Tower, Cynthia (2005). Understanding child abuse and neglect. Allyn & Bacon. p. 208. ISBN 0-205-40183-X.
  22. Wortley, Richard; Smallbone, Stephen. "Child Pornography on the Internet". Problem-Oriented Guides for Police. No. 41: 14–16.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Levesque, Roger J. R. (1999). Sexual Abuse of Children: A Human Rights Perspective. Indiana University. p. 64. ISBN 0-253-33471-3.
  24. "End Child Pornography". ECPAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19. Children and young people take photos and videos themselves either voluntarily or as a result of bullying or manipulation by a sexual predator, often channelled through a webcam.
  25. "Comparative Legislation Report" (PDF). National Center for Missing & Exploited Children.
  26. "World Congress against CSEC". Csecworldcongress.org. 2002-07-27. สืบค้นเมื่อ 2012-01-07.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๘" (PDF). 2015-09-08. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Child Pornography: Model Legislation & Global Review" (PDF). ICMEC. 2008.
  29. "World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children". World Congress against CSEC.
  30. [1]
  31. 31.0 31.1 "Blocking access to child abuse material - Terminology". INTERPOL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  32. "NSPCC Policy Summary - Child Abuse Images" (PDF). National Society for the Prevention of Cruelty to Children, London, UK. 2008-04. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. 33.0 33.1 33.2 Quayle, Ethel (2008-09). "The COPINE Project". Irish Probation Journal. Probation Board for Northern Ireland. 5. ISSN 1649-6396. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  34. Mathew, Lina A. "Online Child Safety from Sexual Abuse in India". Journal of Information, Law & Technology. 2009 (1): 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  35. Simons, Marlise (1998-07-19). "Dutch Say A Sex Ring Used Infants On Internet". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  36. Levesque, Roger J.R. (1999). Sexual Abuse of Children: A Human Rights Perspective. Indiana University Press. p. 66. ISBN 0-253-33471-3.
  37. "The Child Porn Pipeline Part Three: A child victim's story of betrayal and despair". Buffalo News. 2008.
  38. 38.0 38.1 Healty, Margaret A (1996). "Child pornography: an international perspective" (PDF). World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children.
  39. "Internet porn 'increasing child abuse'". The Guardian. London: Guardian News and Media Limited. 2004-01-12. สืบค้นเมื่อ 2007-06-01.
  40. "What is Child Pornography". NCMEC. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  41. 41.0 41.1 Wolak, James; Finkehor, David; Mitchell, Kimberly; Ybarra, Michele (2008-02). "Online "Predators" and Their Victims" (PDF). American Psychologist. 63 (2): 111–128. doi:10.1037/0003-066X.63.2.111. PMID 18284279. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. "Sexual Exploitation Of Children Over The Internet: Follow-Up Issues To The Masha Allen Adoption" (PDF). United States Government Publishing Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-31. adopted...when she was 5 years old
  43. "Child-Porn Victim Brings Her Story to Washington". Abc News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  44. "Protecting Children and Families". press release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  45. Carr, John (2004). "Child abuse, child pornography and the internet: Executive summary". NCH. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  46. "Child porn consumers safe from prosecution in the Czech Republic". Radio.cz. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  47. "The Effects of Pornography: an international perspective". Pacific Center for Sex and Society, University of Hawaii. 2009-10-04.
  48. Hall, Ryan CW; Hall, Richard CW (2007-04). "A Profile of Pedophilia: Definition, Characteristics of Offenders, Recidivism, Treatment Outcomes, and Forensic Issues". Mayo Clin Proc. 82 (4): 457–471. doi:10.4065/82.4.457. PMID 17418075. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  49. Wolak, Janis; Finkelhor, David; Mitchell, Kimberly (2011). "Child Pornography Possessors: Trends in Offender and Case Characteristics". Sexual Abuse: A Journal of Research and Treatment. 23 (22). doi:10.1177/1079063210372143.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. Taylor, M.; Quayle, E.; Holland, G. (2001). "Child Pornography, the Internet and Offending". The Canadian Journal of Policy Research. ISUMA. 2 (2): 94–100.
  51. Jenkins, Philip (2005). Law Enforcement Efforts Against Child Pornography Are Ineffective. At Issue: Child Sexual Abuse. San Diego: Greenhaven Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  52. "Child Pornography". Child Exploitation and Obscenity, Department of Justice.
  53. Vach, Andrew (2006-02-19). "Child pornography has expanded into a business so profitable it is no longer limited to paedophiles. Let's Fight This Terrible Crime Against Our Children". Parade. parade.com. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  54. 54.0 54.1 "IWF". The San Francisco Chronicle. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  55. Robertson, Jordan (2008-11-08). "Google tackles child pornography". Associated Press.
  56. U.S. v. Aaron Shaffer, 06-3145 (10th Cir. 2007-01-03). at justia.com
  57. "Massive Dutch Run Child Pornography Ring revealed". RNW.
  58. "More Arrests Likely in Pedophile Raid". The New York Times. 2011-03-18.
  59. Shiels, Maggie (2008-04-14). "Google tackles child pornography". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  60. 60.0 60.1 Crosson-Tower, Cynthia (2005). Understanding child abuse and neglect. Allyn & Bacon. pp. 198–200. ISBN 0-205-40183-X.
  61. 61.0 61.1 61.2 Lanning, Kenneth V. (2001). "Child Molesters: A Behavioral Analysis". 86 (4th ed.). National Center for Missing and Exploited Children. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  62. "Child pornography: images of the abuse of children". National Society for the Prevention of Cruelty to Children. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-25. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  63. Healy, Margaret A. (2004-08-02). "Child pornography: an international perspective". U.S. Embassy Stockholm.
  64. U.S. Sentencing Commission (2012). "Child Pornography Offender Behavior". Report to the Congress: Federal Child Pornography Offenses (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  65. "Interpol" (Press release). 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  66. "Remarks of Arnold I Burns Before the Florida Law Enforcement Committee on Obscenity, Organized Crime and Child Pornography". NCJ 109133. National Institute of Justice. 1987-12-03.
  67. "RCMP Fact Sheets: Organized Crime". Royal Canadian Mounted Police. 2008-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  68. Marquis, Christopher (2001-08-09). "U.S. says it broke ring that peddled child pornography". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  69. Tagliabue, John (2005-05-07). "World Briefing Europe: Child Pornography Raid In 8 Countries". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  70. Stout, David (1996-05-10). "45 Arrested in a Nationwide Child Pornography Ring, U.S. Says". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  71. Simons, Marlise (1997-03-14). "French Police Arrest 250 Men Linked to Child Pornography Ring". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  72. "Porn ring 'was real child abuse'". BBC. 2001-01-10. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  73. Bernstein, Richard (2003-09-27). "Germany Says It Uncovered Huge Child Pornography Ring". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  74. Ruethling, Gretchen (2006-03-16). "27 Charged in International Online Child Pornography Ring". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  75. Doward, Jamie (2005-11-13). "Task force to seize child porn profits". guardian.co.uk. London. สืบค้นเมื่อ 2008-05-03.
  76. Healy, Margaret A. (2004-08-02). "Child pornography: an international perspective". U.S. Embassy Stockholm.
  77. 77.0 77.1 77.2 77.3 77.4 77.5 "ครอบครองสื่อโป๊เด็ก ผิดกฎหมายใหม่ คำถามจากนักกฎหมาย หรือใคร ๆ ก็โดนได้?". ประชาไท. 2015-09-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10.
  78. 78.0 78.1 78.2 78.3 78.4 "'ครอบครอง' สื่อลามกอนาจารเด็กผิดกฎหมาย 'ค้า-ผลิต-เผยแพร่' จำคุกสูงสุด 10 ปี". iLaw. 2015-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10.
  79. 79.0 79.1 79.2 "กฎหมาย "สื่อลามกอนาจารเด็ก"เข้าสู่ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ครอบครองจำคุกไม่เกิน 5 ปี เผยแพร่จำคุก 3-10 ปี". blognone. 2015-09-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-10.
  80. "กฎหมายใหม่! มี-ขาย-ส่งต่อคลิปลามกอนาจารเด็ก อาจติดคุก 10 ปี". ไทยรัฐออนไลน์. 2015-09-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-20.
  81. https://ilaw.or.th/node/3849
  82. Friedman, Emily (2007-09-28). "Clues Caught on Tape Key to Child Porn Cases". ABC News. New York: American Broadcasting Company. สืบค้นเมื่อ 2008-12-014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  83. "Google enlists video ID tools to fight child porn". Msnbc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  84. Declan McCullagh (2008-03-20). "FBI posts fake hyperlinks to snare child porn suspects". CNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-11. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  85. Liebowitz, Matt (2011-11-03). "Anonymous releases IP addresses of alleged child porn viewers". msnbc.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-25.
  86. 86.0 86.1 "Child Pornography: Model Legislation & Global Review". ICMEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-15. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  87. 87.0 87.1 Gibney, Mark; Vandenhole, Wouter (2013). Litigating Transnational Human Rights Obligations: Alternative Judgments. Routledge. p. 63. ISBN 1135121052.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  88. Jay LaBonte (2007). Parents Guide to the Internet. Lulu. pp. 20–21. ISBN 1430307692.
  89. John J. Barbara (2007). Handbook of Digital and Multimedia Forensic Evidence. Springer Science & Business Media. p. 78. ISBN 1597455776.
  90. Embassy Santo Domingo (Dominican Republic) (2008-06-25). "Icmec Explores Areas of Cooperation With Godr to Combat Child Sexual Exploitation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  91. Dr. Yaman Akdeniz (2013). Internet Child Pornography and the Law: National and International Responses. Ashgate Publishing, Ltd. pp. 106, 275, 278, 293. ISBN 1409496074.
  92. "Model Legislation Update: Since the Beginning" (PDF). ICMEC. 2010-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  93. Rhona Schuz (2014). The Hague Child Abduction Convention: A Critical Analysis. A&C Black. pp. 82–83. ISBN 1782253084.
  94. "Strategic Plan Update, submitted by the Permanent Bureau (Preliminary Document # 14)" (PDF). Permanent Bureau, Hague Conference on Private International Law. 2004-02. p. 6. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  95. "ICMEC to Train Officers in Bangkok September 18-21". Virtual Global Taskforce. 2012-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  96. "Child Pornography: Model Legislation & Global Review" (7th ed.). The Koons Family Institute on International Law and Policy. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-08. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  97. "Child Pornography Not a Crime in Most Countries" (PDF). International Centre for Missing & Exploited Children. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  98. AFP (2007-07-17). "Queensland man charged over SMS child pornography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  99. "Canadian Arrested for Importing Loli-porn Manga". Anime News Network. 2005-03-04.
  100. "REPUBLIC ACT NO. 9775". lawphil.net.
  101. "RESOLUTION ADOPTED BY THE GENERAL ASSEMBLY - 54/263. Optional protocols to the Convention on the Rights of the Child on the involvement of children in armed conflict and on the sale of children, child prostitution and child pornography" (PDF). 2001-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-25.
  102. "Sexting teens can go too far - 12/14/08 - Philadelphia News - 6abc.com". Abclocal.go.com. 2008-12-014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  103. "Sexting Busts". CNN. 2009-04-07.
  104. "Sexting Youths Placed on Sex Offenders Register". The Age. 2011-07-23.
  105. Seltzer, David S (2008-12-19). "Miami Criminal Defense Lawyer on 'Sexting' and Child Pornography". Cyber Crime Lawyer Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  106. Seidman, Karen. "Child pornography laws 'too harsh' to deal with minors sexting photos without consent, experts say". National Post News - Canada. สืบค้นเมื่อ 2014-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]