พูดคุย:วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 เป็นข้อมูลที่บิดเบือนความเป็นจริงอย่างมากเกี่ยวกับทักษิณ[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดคดีต่างๆที่เสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการของ ป.ป.ช.
         1. เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับมอบโอนจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551  มาดำเนินการ มีดังนี้
         1.1  การอายัดเงิน จำนวน 70,000 ล้านบาทเศษ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นกรณีสืบเนื่องจากในระหว่างการไต่สวนของ คตส. ซึ่งได้ใช้อำนาจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข (คปค.)ฉบับที่ 30 มีคำสั่งอายัดเงินหรือทรัพย์สินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (คู่สมรส) และที่ครอบครัวบุตร บริวาร ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้ มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ให้แก่กลุ่มกองทุน เทมาเส็ก ประเทศสิงค์โปร์ โดยมูลค่าเงินหรือทรัพย์สินที่สั่งอายัด จำนวน73,667,987,902.60 บาท แต่จำนวนเงินที่ได้รับแจ้งยืนยันการอายัด จำนวน 66,762,927,024.25 บาท ทั้งนี้ คตส. ได้ให้บุคคลใดที่กล่าวอ้างว่า เป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่อายัดตามคำสั่งดังกล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการรํ่ารวยผิดปกติยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ต่อ คตส. ภายใน 60 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง และได้มีผู้ยื่นคำร้องต่อ คตส. และคตส. ได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว เมื่อ คตส. ได้ดำเนินการไต่สวน เรื่องกล่าวหาพ.ต.ท. ทักษิณ กระทำการอันเป็นการเอื้อ ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากหรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการรํ่ารวยผิดปกติเสร็จสิ้น จึงได้ มีมติส่งเรื่องให้ อัยการสูงสุดยื่นคำร้ องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ ทรัพย์สิน จำนวน 76,621,603,061.05 บาทตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 80 หลังจากนั้น  อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ กรณีรํ่ารวยผิดปกติดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 เป็นคดีหมายเลขดำที่อม.14/2551 โดยได้ยื่นรายละเอียดรายการทรัพย์สินที่ คตส. ได้มีคำสั่งอายัดไว้จำนวน 70,000 ล้านบาทเศษต่อศาลด้วย ซึ่งศาลได้รับฟ้องไว้พิจารณา และตรวจสอบพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว นัดสืบพยานตั้ง แต่วันที่16 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป โดยสืบพยานของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านก่อน ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
         1.2 คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 หมายเลขแดงที่ อม.1/2550 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการสูงสุด โจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ จำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยไม่ชอบ (คดีที่ดินรัชดา) ศาลได้ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ว่า พ.ต.ท. จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฯ มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่น และคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลจึงออกหมายจับ และขณะนี้อยู่ในระหว่างการติดตามตัวให้มารับโทษ
         1.3  คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  คตส. เป็นโจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณกับพวก รวม 47 คน กระทำความผิดเกี่ยวกับโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (คดีสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว) ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์แทนคตส. ในการพิจารณาคดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและออกหมายจับเฉพาะจำเลยที่ 1 สำหรับจำเลยที่เหลือ จำนวน46 คนที่มาศาล ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
         1.4  คดีหมายเลขดำที่ อม. 3/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คตส. เป็นโจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กรณีทุจริตการอนุมัติให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท (คดี Exim Bank)
         ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์แทน คตส. ในการพิจารณาคดีครั้ง แรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 พ.ต.ท. ทักษิณ  จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว และออกหมายจับจำเลย
         1.5 คดีหมายเลขดำที่ อม.9/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง อัยการสูงสุด โจทก์ กล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่า เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ และปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่ตนถือหุ้นโดยแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
         ศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 พ.ต.ท. ทักษิณ จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว และออกหมายจับจำเลย
         1.6  กรณีกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ  คณะกรรมการบริหาร และพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับพวก ร่วมกันกระทำผิดฐานเป็นพนักงานหรือเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
         คณะทำงานร่วมระหว่างอัยการสูงสุด และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ดำเนินการพิจารณาและรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ครบถ้วน และส่งให้ อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของอัยการสูงสุด
         ดังนั้น จึงมีเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับมอบโอนจาก คตส. รวม 6 เรื่องแยกเป็นคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาแล้ว 1 คดี อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาฯ 4 คดี และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของอัยการสูงสุดจำนวน 1 เรื่อง โดยมีการออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ 3 คดีคือ คดีหวยบนดิน  คดีปล่อยเงินกู้ให้แก่พม่า และคดีเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทที่ตนเองถือหุ้น
         2. เรื่องที่กล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 9 เรื่อง  ดังนี้
         2.1 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทำคำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา (Joint Communiqu?) สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจของตนเองในประเทศกัมพูชา มีการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ขณะนี้ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการสรุปสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
         2.2  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าทุจริตต่อหน้าที่ โดยกำหนดนโยบายอนุมัติมอบหมายการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลแก่เอกชนจากโครงการพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง มูลค่า 30,000 ล้านบาท ในลักษณะการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนและเป็นการผูกขาดตัดตอนเพียงรายเดียว อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2552 เพื่อรองรับเงินของตนเองและพวกพ้องโดยเฉพาะเงินที่ได้จากการขายธุรกิจสัมปทานแก่ต่างชาติ และรํ่ารวยผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลจึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป
         2.3  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวกว่า ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยวิธีพิเศษ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.4  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่กรณีการบอกเลิกสัญญาจ้างงานก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 115 สายแยกทางหลวง หมายเลข117  – เทศบาลพิจิตร ตอน 2 A ระหว่าง กม.77+000 - กม.88+880 กับห้างหุ้นส่วนจำกัดบางมูลนากเหล็กเพชรโดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.5 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างขั้น ตอนการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้โอกาสชี้แจงงแก้ข้อกล่าวหา
         2.6 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ  กับพวก ว่า ทุจริตต่อหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ในการประกอบกิจการค้าในการเดินอากาศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน
         2.7 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก ว่า ทุจริตต่อหน้าที่ในการดำเนินโครงการเมกกะโปรเจ็ค ในจังหวัดเชียงใหม่ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่  อยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
         2.8  เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ว่า  กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542กรณีซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยมิชอบ (ที่ดินรัชดา) อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลตรวจการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
         2.9 เรื่องกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ กับพวก กระทำผิดเกี่ยวกับการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวน 
         จากคดีที่อยู่ในศาลฎีกาฯและการไต่สวนของ ป.ป.ช. ถ้ามีคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดจริง ไม่รู้ว่า กลุ่ม นปช.ต้องล่าชื่อประชาชนถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกก10่ฉบับ

-- 09:09, 9 กันยายน 2016 (UTC)

เปลี่ยนชื่อ - พ.ศ. 2550[แก้]

ควรเป็นชื่อเป็น วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ไหม ? -- bact' 09:16, 6 มิถุนายน 2007 (UTC)

ในกล่อง {{วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549}}

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

มี คดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งตัดสินกันในกลางปี พ.ศ. 2550 -- 09:19, 6 มิถุนายน 2007 (UTC)

เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง พล.ต.อ พัลลภ ปิ่นมณี เป็น พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ครับ เป็นนายทหารไม่ใช่นายตำรวจ

ควรย่อชื่อบทความ[แก้]

ผมคิดว่าชื่อบทความน่าจะย่อได้ครับ อาจใช้เป็น "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-..." ได้นะครับ --Horus | พูดคุย 18:53, 2 มกราคม 2553 (ICT)

เพิ่มข้อมูล[แก้]

ผมได้ขออนุญาติเพิ่มข้อมูล เกี่ยวกับกลุ่มนปช. ที่เคลื่อนไหวในช่วงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์นะครับ --commando1995 08:45, 26 ตุลาคม 2553 (ICT)

จบหรือยัง[แก้]

ควรนับว่าจบหรือยังครับ เพราะวิกิพีเดียเทศก็ไม่ได้เขียนเพิ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 แล้ว --Horus | พูดคุย 19:23, 22 สิงหาคม 2554 (ICT)

จบแล้ว??[แก้]

วิกฤตการณ์การเมืองไทยนี้มันจบแล้วหรอครับ ถึงได้ค้างไว้ที่ปี 2553 ผมว่าทุกคนก็รู้ดีว่าเรื่องนี้มันยังไม่จบเลย--Famefill (พูดคุย) 10:00, 5 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ผมก็ทราบว่ามันไม่จบ แต่ในความเห็นของผมนะ มันไม่ได้ scale กับความขัดแย้งในช่วงปี 2548-2553 ความขัดแย้งในช่วงนี้ดูผ่อนลงไปเยอะ ฉะนั้น ถ้าจะเขียนการประท้วงในรัฐบาลไหน ก็แนะให้ไปลงในบทความเกี่ยวกับรัฐบาลนั้น ๆ แทนก็แล้วกัน --Horus | พูดคุย 00:37, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
อ่อครับ มันก็จริงนะครับ แต่ผมคิดว่าการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ. มันเป็นเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกัน และเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจโดยมาก ผมคิดว่าน่าจะเอามาใส่ด้วยละครับ แล้วก็เปลี่ยนชื่อบทความเป็น วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2556 อย่างนี้ดีกว่ามั้ยครับแต่ถ้าเห็นว่าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับเอาไปใส่ในบทความของนายกคนนั้นๆก็ได้ ผมก็ได้นำข้อความที่คุณตัดออกไปใส่ในบทความ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้ว --Famefill (พูดคุย) 14:03, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ผมว่าแยกเป็นบทความ พรบ นิรโทษฯ เลยครับ ส่วนการประท้วงอื่น ๆ ก็เขียนรวมกับรัฐบาลปูเอา เพราะถือว่าเป็นการประท้วงปกติ --Horus | พูดคุย 00:23, 7 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

การขับไล่ทักษิณ[แก้]

การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ เริ่มตั้งแต่ปี47ครับ แล้วสนธิค่อยมานำทีหลัง ขออนุญาติแก้ไขตรงเกริ่นนำนะครับ The hacker (พูดคุย) 11:20, 6 มกราคม 2557 (ICT)

ถ้ามีข้อมูล อยากให้เพิ่มข้อมูลเรื่องการประท้วงในปี 47 ด้วยครับ เพราะในบทความเหมือนจะกล่าวถึงปี 48 อย่างที่คุณว่า (แปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) --Horus | พูดคุย 22:49, 8 มกราคม 2557 (ICT)

ชื่อของบทความ[แก้]

คือว่าสมควรที่จะเปลี่ยนชื่อบทความและตัดเนื้อหาบางส่วนออกหรือเปล่าครับ เพราะว่าในวิกิภาษาอื่นเขาเขียนถึงแค่ปี พ.ศ. 2549 (ในวิกิอังกฤษใช้ชื่อว่า: 2005–06 Thai political crisis) ไม่มีใครเขียนตามวิกิเราเลย--Famefill (พูดคุย) 16:22, 27 กรกฎาคม 2557 (ICT)

เห็นด้วยให้เปลี่ยนครับ อย่างในวิกิอังกฤษและภาษาอื่นๆ (ที่น่าจะจัดตามวิกิอังกฤษ) แยกเป็น 2548-2549 กับ 2551-2553 เพราะปี 2550 ก็มีเหตุการณ์สำคัญไม่มาก --Portalian 06:14, 30 ตุลาคม 2557 (ICT)

แนวทางการจัดการบทความนี้[แก้]

เคยมีผู้เสนอมานานแล้ว แต่ยังไม่มีใครดำเนินการเสียที เนื่องจากบทความนี้เป็นบทความที่กว้างมาก รวบรวมการชุมนุมหลายเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวกันโดยตรงเข้าด้วยกัน (และมีช่องว่างในปี 2550 มาคั่นด้วย) เช่น

ผมจึงคิดว่าจะทำแบบวิกิอังกฤษ คือ ไม่จำเป็นต้องมีบทความใหญ่ที่รวมทั้งหมดแบบนี้ แต่จะแยกเอาเนื้อหาย้ายไปอยู่ตามบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแทน และเมื่อย้ายเสร็จ บทความนี้จะทำ redirect ไปที่ ประวัติศาสตร์ไทยหลัง พ.ศ. 2544 หรืออาจจะทำเป็นหน้าแก้กำกวม แบบ en:Thai political crisis --Portalian (คุย) 18:37, 17 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เห็นด้วย --Horus (พูดคุย) 23:40, 17 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เห็นด้วย --B20180 (คุย) 00:12, 18 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]