พูดคุย:รายชื่อภาษา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายชื่อภาษา เป็นส่วนหนึ่งของ สารานุกรมภาษามีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลกรวมถึงอักษร ไวยากรณ์ การอ่าน การเขียน และภาษาพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า หากคุณต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างโลกแห่งภาษา ลองแวะไปที่สถานีย่อย:ภาษา
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ


ความเห็น[แก้]

เสนอปรับรูปแบบ[แก้]

ตัวอย่างที่ปรับปรุงล่าสุด[แก้]

ชื่อในอักษรไทย ISO 639 ชื่อในอักษรโรมัน ชื่อในระบบการเขียนหลัก
กรีก/ เฮเลนิก el: Greek Ελληνικά
กรูซินิก/ คิฟรูลี jge: Kivruli (ฮีบรู) קיברולי
กวาตาบาอิก
กวาเบียว/ ละกัว laq: Qabiao (?) ?
กอกบอรอก trp: Kokborok (เบงกาลี) ?
ก๊อง/ อุก๊อง ugo: Ugong (ไทย) ก๊อง
กอตต์ - Kott (ซีริลลิกแบบรัสเซีย) Коттский язык
กอนกานี/ กงกณี kok: Konkani (มราฐี) कोंकणी
กอยซันจักซูรัต kqd: Koy_Sanjaq_Surat (ซีเรียค) ܣܘܪܬ
กะเซง - ? (ลาว) ?
กะยาตะวันตก
กะยาตะวันออก eky: Kayah (ละตินแบบพม่า) ?
กะเหรี่ยง kar: Karen (พม่า) ?
กเปลเล
กัจฉิ - Kutchi (คุชราต) ?
กันตู - ? (ลาว) ?
กันนาดา/ กรณาฎ kn: Kannada ಕನ್ನಡ
กัมกาตา-วิรี bsh: Kamkata-viri (?) ?
กัมเบอรา/ ซุมบา map: Kambera (?) ?
กัวรานี gn: Guarani (?) Avañe'ẽ
กากาอุซ gag: Gagauz (ละติน) Gagauz dili
กาตาโกโลก bgy: Kata_Kolok -
กาเนาชี/ ฮินดีตะวันออก - Kanauji (ฮินดี) कन्नौजी
คาบาร์เดีย kbd: Kabardian (ซีริลลิกแบบรัสเซีย) къэбэрдеибзэ
กาปัมปางัน pam: Kapampangan (?) ?
กามาโย - Kamayo (?) ?
กาโย gay: Gayo (ละตินแบบอินโดนีเซีย) Bahasa Gayo
การากัลปัก kka: Karakalpak (ละติน) Qaraqalpaq tili
กาลาซาอลา/ ไวกาลี wbk: Waigali (?) ?
กาลาเทีย xga: Galatian (?) ?
กาลิเซีย gl: Galician (ละติน) Gallego
กาวาลัน ckv: Kavalan (?) ?
กาสี kha: Khasi (เบงกาลี) ?
กินาคิ
กินารายอา krj: Kinaray-a (?) ?
กินเนารี - Kinnauri (?) ?
กุมซารี zum: Kumzari (อาหรับแบบเปอร์เซีย) ?
กุย/ ส่วย - Kuy (ไทย) ส่วย
เกมัก/ เอมา kem: Kemak (?) ?
เกเลา - Gelao (?) ?
เกรียง/ แวะ - ? (?) ?
เกาหลี/ ฮันกุกอ ko: Korean 한국어
โกทวะ kfa: Kodava_Takk (ทมิฬ) ಕೊಡವ ತಕ್‌
โกมัส
โคมิ kv: Komi (ซีริลลิกแบบรัสเซีย) Коми кыв
โกฮิสถาน - ? (?) ?
ชื่อในอักษรไทย รหัส ชื่อในอักษรโรมัน ชื่อในระบบการเขียนหลัก
ขมุ/ กำมุ - Khmu (ไทย) กำมุ
ขาริโพลี hin: Khariboli (เทวนาครี) खड़ी बोली
เขมร km: Khmer height=14px
เขมรเหนือ/ เขมรถิ่นไทย kxm: Northern Khmer (ไทย) เขมรถิ่นไทย

ปรับปรุงล่าสุด --Sirius (TeeTaweepo) 03:02, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)


อภิปราย[แก้]

น่าจะทำเป็นตาราง เพื่อแสดงข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้

  • เรียงตามชื่อภาษาไทย
  • ชื่อในภาษาอังกฤษ - สำคัญเพราะถูกอ้างโดเมน
  • ชื่อในภาษาเขียนของตัวเอง - ช่วยให้รู้ว่าเป็นภาษาพูด หรือมีภาษาเขียนเฉพาะด้วย
  • ชื่อในระบบการเขียนหลัก - แสดงถึงภาษาเขียนที่ยืมมา โดยเน้นภาษาทางการ
  • ผู้ใช้ - บอกถึงชนชาติที่ใช้ เพื่อช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น (ทีแรกว่าจะหมายเหตุเป็นตระกูลของภาษา แต่ดูเป็นข้อมูลเชิงลึกเกินไป หน้าแรกน่าจะให้ดูเข้าใจง่าย แต่ถ้าเห็นว่าควรมี อาจเพิ่มอีกคอลัมน์) -- Sirius (Teetaweepo)


เห็นด้วยครับ แต่ขอออกความเห็นในรายละเอียดนิดหน่อย
  • ผมเห็นว่าชื่อในอักษรเขียนของตนเอง กับชื่อใน ระบบการเขียนหลัก (ถ้าไม่มีอักษรเขียนของตัวเอง)ดูจะซ้ำซ้อนกันนะครับ น่าจะรวมเข้าด้วยกันได้ ผมว่าสองช่องนี้ น่าจะเปลี่ยนเป็น
    • ระบบการเขียน (โดยภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนก็ระบุว่าไม่มี) กับ
    • ชื่อในภาษาของตนเอง (โดยถ้ามีระบบการเขียนของตนก็เขียนด้วยภาษาของตน เช่น ภาษาไทยก็เป็น ไทย ภาษาอังกฤษก็เป็น English ส่วนที่ไม่มีก็เขียนตามอักษรที่ใช้ในโดยทั่วไป เช่น ภาษาชอง ไม่มีอักษรเขียน แต่เราก็ถอดเสียงเรียกภาษาชองของชาวชองด้วยอักษรไทย หรือใช้สัทอักษรแทน (มีอีกนิดหนึ่งว่า จำเป็นต้องถอดเสียงอ่านด้วยอักษรไทยกำกับทุกภาษาด้วยไหมครับ)
  • ช่องหมายเหตุ น่าจะระบุประเทศที่ใช้เป็นภาษาราชการอย่างคร่าวๆครับ อย่างภาษาไทยก็ระบุว่า ไทย ภาษาลาวก็ว่า ลาว ส่วนภาษาที่ไม่เป็นภาษาราชการ ก็ระบุสั้นว่าใช้โดยชนกลุ่มใด ประเทศใด เช่น ภาษามอญ ก็เป็น ชนกลุ่มน้อยในไทยและพม่า อย่างนี้ดีไหมครับ

ช่วยกันออกความเห็นหน่อยครับ --Saeng Petchchai 12:21, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)


รหัสโดเมน เปลี่ยนเป็น รหัส ISO 639-1 ดีไหมครับ จะได้ตรงกับที่อ้างอิง แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะลิงก์กับวิกิพีเดียแต่ละภาษาหรือเปล่า (แต่มีก็สะดวกดีครับ) --Manop | พูดคุย 12:27, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ขออภัยตอบช้าจังหวะมีงานเข้าอีกทั้งใช้เวลาปรับปรุงเรียบเรียง เห็นด้วยกับแนวคิดครับ ขอบคุณมาก - ได้แก้ตัวอย่างใหม่ตามคำแนะนำและเสนอเพิ่มดังนี้
  • ? หมายถึง รอตรวจแก้ (ผมติดไว้เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัวว่าตรวจแล้วแต่ไม่เจอ จะได้ไม่สับสนกับรายการที่ยังไม่ตรวจ)
  • รหัสโดเมน ใช้ ISO 639-1 เป็นสำคัญ
    • แต่ถ้าไม่มีหรือซ้ำกับภาษาอื่น จึงค่อยใช้ ISO 639-2 หรือ ISO 639-3 ตามลำดับ
  • ชื่อในระบบเขียน ทีแรกแยกเพราะอยากให้มันแสดงว่าภาษาไหนเป็น"ภาษา(มีระบบ)เขียน" แต่ลองแล้วเปลี่ยนใจ ใช้วงเล็บเอาดีกว่า
    • ถ้ามีระบบการเขียนของตัว ก็ไม่ต้องมีวงเล็บ
    • ถ้ามี ( ชื่อภาษาหรือระบบการเขียน ) แสดงว่า ภาษานั้นยืมอักขระจากระบบการเขียน(ภาษา)อื่น
  • ผู้ใช้ (หมายเหตุ) เพื่อประหยัดความกว้างช่อง
    • ถ้าเป็นเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์หรือเชื้อสาย ควรขึ้นต้นว่า "เชื้อสาย" (คำนี้ความหมายกว้างกว่าคำอื่น แต่ไม่กว้างเท่า"ชาว"ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสัญชาติ ใช้คำเดียวกันจะได้เรียกเหมือนๆกัน ถ้าใช้คำโน้นทีนี้ที ต้องพะวงว่าจะใช้คำไหน)
    • ถ้าเป็นชื่อสถานที่ (ประเทศ เมือง จังหวัด รัฐ เขตปกครอง เกาะ ฯลฯ) ไม่ควรมีคำขึ้นต้น (ถ้าเป็นทั้งชื่อสถานที่และชื่อเชื้อสาย ก็ยึดสถานที่)
    • ใช้ชื่อประเทศอย่างย่อ
    • ฉบับจริงอาจทำเป็นลิงก์ เช่น ใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน|จีน]] หรือ [[ชาวจีน|เชื้อสายจีน]] แต่ตอนนี้เพียงฉบับร่าง (ซึ่งก็หืดแล้ว)
    • หรือว่ากันอีกทีจริงๆแล้วหน้านี้เป็นหน้ารายการ อาจไม่จำเป็น ไม่งั้นข้อมูลความจำจะยาวเกินเหมาะ แก้อัปเดตลำบาก หรือว่าไง

--Sirius (TeeTaweepo) 03:15, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)


ผมว่าส่วนที่ทำให้ลำบากน่าจะเป็นส่วนผู้ใช้น่ะครับ ส่วนที่เป็นชื่อทั้งชื่อไทย ชื่อภาษาอังกฤษ หรือชื่อในภาษาของตัวเองก็นับว่ามีประโยชน์ในการค้นหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะในกรณีภาษาที่มีการทับศัพท์เป็นภาษาไทยต่างๆกัน ผมว่าถ้าจะให้สั้น ตัดส่วนที่เป็นหมายเหตุ-ผู้ใช้ออกไป ดีไหมครับ --Saeng Petchchai 13:13, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)


แหะๆ จริงด้วย ทำให้เขียนและแก้ยาก ตอนแรกนึกว่าจะช่วยให้ค้นง่าย (แต่คิดอีกจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเขียนยากจนไม่ได้เขียนให้เกิดขึ้น ทำให้ง่ายดีกว่า) แก้ลบตามที่แนะนำแล้วครับ --Sirius (TeeTaweepo)