ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำพล ลำพูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 192: บรรทัด 192:
ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน
ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน


== อัลบั้มเดี่ยว ==
== อัลบั้มเดี่ยวหรือวงอำพล ==
===สมาชิก===
===สมาชิก===
รุ่นที่1
รุ่นที่1

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:48, 2 สิงหาคม 2564

อำพล ลำพูน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดอำพล ลำพูน
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (60 ปี)
ที่เกิดไทย อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก
อาชีพนักร้อง, นักดนตรี, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
คู่สมรสมาช่า วัฒนพานิช
(พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2540)
สมาชิกวงไมโคร
เว็บไซต์www.microrockclub.com

อำพล ลำพูน ชื่อเล่น หนุ่ย หรือ "ร็อคเกอร์มือขวา" เป็นนักร้องนำวง ไมโคร และนักแสดงชาวไทย มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ และยังมีวงดนตรีที่ได้รับความประสบความสำเร็จด้วยในนามไมโคร แต่อัลบั้มที่ดีที่สุดของอำพลนั้น คือชุดที่แตกออกมาจากไมโครและตั้งวงใหม่ นั่นคือชุดวัตถุไวไฟ จากการได้สุดยอดมือกีตาร์สุดเทพอันดับ 7 ประเทศไทยอย่าง ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) มาร่วมงาน พร้อมสุดยอดมือกลองอย่าง หรั่ง เดอะ คิดส์

ประวัติ

อำพล ลำพูน ชื่อเล่น หนุ่ย เป็นคนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ปีเถาะ กรุ๊ปเลือดบี เป็นบุตรชายคนเล็ก มีพี่สาวสองคน ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับมาช่า วัฒนพานิช และต่อมาหย่ากันเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ กาย นวพล ลำพูน

การศึกษา

“ หนุ่ย” จบชั้นมัธยมตอนต้น ก็ได้เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ เขามีความสนใจ ด้านดนตรีตั้ง แต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ชื่อวงเดอะแครปส์ ที่แปลว่าปู ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ปวช.ปีที่ 1 หลังจาก เรียนจบที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา หนุ่ยและเพื่อนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อ “ วงไมโคร

เข้าสู่วงการบันเทิง

อำพล ลำพูน เข้าวงการโดยเริ่มจากเข้ามาศึกษาในกรุงเทพ ระหว่างเรียนต้องการหารายได้พิเศษเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากทางบ้านที่ระยองให้มาใช้อย่างจำกัด จึงรวมตัวกับเพื่อนๆ ไปรับจ้างร้องเพลง โดย อำพล เป็นนักร้องนำวง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2527 เปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับชื่อดัง มาพบเข้า ซึ่งในขณะนั้นกำลังต้องการวงดนตรีวัยรุ่นไปแสดงในภาพยนตร์เพลงชื่อ วัยระเริง คู่กับ วรรษมน วัฒโรดม อำพล จึงได้รับการชักชวนให้เป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น เป็นเรื่องแรก โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ ได้ให้เขาย้ายไปอยู่ที่บ้านเพื่อเรียนการแสดง และฝึกตีกลองจากเดิมที่เขาเคยถนัดเล่นกีตาร์เพิ่มเติมอยู่หลายเดือน เป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้เรียนรู้พัฒนาความสามารถด้านการแสดงและมุมกล้องเป็นต้นมา

ต่อมาในปีเดียวกัน อำพล ลำพูน ก็ได้รับบทแสดงนำในภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท อำพลจึงย้ายไปอยู่บ้านยุทธนาเพื่อติดตามเขาไปดูผู้เสพยาจริงๆ ยุทธนาต้องการทำให้เขาเชื่อว่าเขาคือน้ำพุ มี ภัทราวดี มีชูธน แสดงเป็นแม่ที่ต้องให้เข้าถึงใจของอำพล และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์ เป็นพ่อเลี้ยง ซึ่งเขาได้รู้จักกับ เรวัต มาตั้งแต่ภาพยนตร์เพลงเรื่องแรก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุใช้ทุนสร้าง 4 ล้านบาท ซึ่งสมัยนั้นถือว่าต้นทุนสูง แต่ได้รับการตอบรับดีมาก เนื่องจากการลำดับภาพและเรื่องราวที่มีความแตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในสมัยนั้น และเรื่องราวที่บอกเล่าชีวิตจริงที่ทำให้สังคมสมัยนั้นตื่นตัวในการเลี้ยงดูบุตร และเห็นถึงปัญหาจากยาเสพติดให้โทษจนเกิดความตระหนักขึ้นในสังคม ประชาชนต่างพาครอบครัวไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้จนได้รับการตอบกลับถึง 16 ล้านบาท อำพลได้รับ 2 รางวัล ได้แก่ ตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527

ถึงกระนั้นเขายังไม่หยุดที่จะนำวงดนตรีไปเปิดการแสดงดนตรีสด เวทีกลางแจ้งยังสถานที่ต่างๆ อาทิ เวทีกลางแจ้งพาต้าปิ่นเกล้า ฯลฯ โดยใช้ความชื่นชมจากผู้ที่เคยได้ดูภาพยนตร์ของเขาจนมีการเรียกติดปากว่า "ไปดูน้ำพุมันร้องเพลง" โดยเขาได้นำหลายบทเพลงจากภาพยนตร์วัยระเริงและน้ำพุ มาร้องด้วยน้ำเสียงจริงของเขาเองขณะแสดงคอนเสิร์ต (ภาพยนตร์ในอดีตใช้เทคนิคการพากย์เสียงพูดและเสียงร้องมาประกอบกับตัวหนังให้สมบูรณ์ในภายหลัง ดังนั้นเพลงที่อยู่ในภาพยนตร์จึงเป็นเสียงร้องจากนักร้องท่านอื่น อาทิ สุรสีห์ อิทธิกุล มาใส่ไว้ในแผ่นฟิล์ม) ช่วงนั้นอำพลยังไม่ได้ชูกำปั้นมือขวาขณะร้องเพลง จนกระทั่งออกอัลบั้มเพลงชุดแรกแล้ว ซึ่งอำพลเคยเล่าว่า เขาชูมือเพื่อนับจังหวะของเพลงให้ตนเอง เพื่อนไมโครต่างมีเครื่องดนตรีคอยกำกับจังหวะไม่ให้หลง เขาจึงกำหมัดชูมือนับจังหวะเพลง และผู้ชมนิยมชมชอบที่จะทำตามเพื่อมีส่วนร่วมในคอนเสิร์ต ทำให้การชูมือขวากลายเป็นเอกลักษณ์ของเขาไป

ปี พ.ศ. 2528 อำพล แสดงนำในบท นพพร จากภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ บทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอกคือ นาถยา แดงบุหงา ซึ่งได้ไปถ่ายทำในประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกของเขา หลังจากภาพยนตร์ออกฉายก็มีข่าวดูใจกันของพระนางคู่นี้อยู่ระยะหนึ่งก่อนที่อำพลจะหันไปจริงจังกับดนตรีอีกครั้ง

โดยอำพลได้เดินทางไปพบ เรวัต พุทธินันทน์ ซึ่งเขาได้เคยร่วมงานด้วยตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องแรก เพื่อขอทำวงไมโครและออกอัลบั้มชื่อ ร็อคเล็กเล็กในปี พ.ศ. 2529 แต่กว่าจะออกอัลบั้มชุดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เขาขึ้นชื่อเรื่องเบี้ยวรับงานตามประสาวัยรุ่นห่างไกลบ้านมาตั้งแต่เริ่มเข้าวงการจนแม้ไปถ่ายทำการแสดงที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เนื่องจากขณะนั้นเขาอายุยังน้อยและเริ่มความสนใจการแสดงจากการต้องการหารายได้พิเศษนอกเหนือจากที่ทางบ้านให้มา มิใช่เป็นเพราะรักการแสดง หลงใหลใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดงมาตั้งแต่ต้น ชื่อเสียงเหล่านี้ทำให้ เรวัติ พุทธินันท์ ต้องถามย้ำความแน่ใจกับอำพลว่าให้ตัดสินใจเลือกระหว่างการแสดงหรือเล่นดนตรี

ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เขาจึงได้หันไปร้องเพลงจับไมค์เป็นหลักอย่างที่เขาเคยฝันไว้ในวัยเด็กด้วยดนตรีที่หนักแน่นจริงจัง และมีผลงานการแสดงเป็นรอง ทั้งๆ ที่เริ่มแรกเขาเข้าวงการมาด้วยการเป็นนักแสดง

นอกจากนี้ อำพล ลำพูน ยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่วุ่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟเสน่หา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตหรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย

ผลงานการแสดง

ผลงานภาพยนตร์

  • วัยระเริง (2527)
  • น้ำพุ (2527)
  • ข้างหลังภาพ (2528)
  • กัลปังหา (2528)
  • สองพี่น้อง (2528)
  • เพียงบอกว่ารักฉันสักนิด (2528)
  • หัวใจเดียวกัน (2529)
  • รู้แล้วน่าว่ารัก (2529)
  • คู่วุ่นวัยหวาน (2529)
  • แรงหึง(แรงเงา) (2529)
  • ไฟเสน่หา (2530)
  • เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
  • ดีแตก (2530)
  • ปัญญาชนก้นครัว (2530)
  • ปุลากง (2533)
  • พันธุ์หมาบ้า (2533)
  • สองอันตราย (2533)
  • ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม (2534)
  • ต้องปล้น (2534)
  • รัก ณ สุดขอบฟ้า (2535)
  • เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541)
  • โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
  • อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร (2543)
  • สุริโยไท (2544)
  • 102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547)

ละครโทรทัศน์

ปี ชื่อละคร แสดงเป็น คู่กับ
พ.ศ. 2541 หัวใจและไกปืน ราเชนทร์ ไกทอง ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ ช่อง 7
พ.ศ. 2542 มือปืน จ่าสมหมาย ช่อง 3
คู่อันตรายดับเครื่องชน เกวลิน คอตแลนด์ ช่อง 7
พ.ศ. 2544 เทวดาเดินดิน ช่อง 3
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น ทองพูน โคกโพ ศิรประภา สุขดำรงค์ ช่อง 3
พ.ศ. 2545 มนต์รักแม่น้ำมูล ครูพิณ คทรีน่า กลอส ช่อง 5
พ.ศ. 2546 ปมรักนวลฉวี หมออุทิศ ราชเดช ใหม่ เจริญปุระ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
พ.ศ2546 สิบตำรวจโทบุญถึง ช่อง7

ซิตคอม

  • ตะกายดาว ตอน ดาวช่างร้ายเหลือ (2533)

ผลงานเพลง

ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด “ ร็อก เล็ก เล็ก” ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อกมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก

และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้[1]

  1. ร็อก เล็ก เล็ก ธันวาคม พ.ศ. 2529
  2. หมื่นฟาเรนไฮต์ มกราคม พ.ศ. 2531
  3. เต็มถัง กรกฎาคม พ.ศ. 2532

ร็อก เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • อย่าดีกว่า
  • อู๊ดกับแอ๊ด
  • อยากจะบอกใครสักคน
  • สมน้ำหน้า...ซ่าส์นัก
  • ฝันที่อยู่ไกล
  • อยากได้ดี
  • จำฝังใจ

หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 9 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • เอาไปเลย
  • จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)
  • หมื่นฟาเรนไฮต์
  • พายุ
  • ใจโทรมๆ
  • บอกมาคำเดียว
  • ลองบ้างไหม
  • คิดไปเองว่าดี
  • โชคดีนะเพื่อน

เต็มถัง (พ.ศ. 2532)

อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • ส้มหล่น
  • เรามันก็คน
  • คนไม่มีสิทธิ์
  • ดับเครื่องชน
  • รู้ไปทำไม
  • มันก็ยังงงงง
  • เติมน้ำมัน
  • รุนแรงเหลือเกิน
  • ถึงเพื่อนเรา
  • เปิดฟ้า

หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2534 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยวและตั้งวงใหม่ของเขาและเพื่อนใหม่ คือ วงอำพล ออกมาในชื่อ “วัตถุไวไฟ” แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวหรือตั้งวงใหม่กับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน

อัลบั้มเดี่ยวหรือวงอำพล

สมาชิก

รุ่นที่1

  1. อำพล ลำพูน
  2. วีระ โชติวิเชียร
  3. เพชร มาร์
  4. นพพร อิ่มทรัพย์
  5. ศิริพงษ์ หรเวชกุล
  6. กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
  7. สมชัย ขำเลิศกุล
  8. อนุช เตมีย์
  9. พิศาล พานิชย์ผล

รุ่นที่2

  1. อำพล ลำพูน
  2. ไกรภพ จันทร์ดี
  3. เพชร มาร์
  4. มานะ ประเสิรฐวง
  5. สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์
  6. วีระ โชติวิเชียร
  7. อภิชัย เย็นพูนสุข
  8. ลัดสปัญ สมสุวรรณ
  9. พงศ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์
  10. กฤษณ์ โชคทิพย์วัฒนา

รุ่นที่3

  1. อำพล ลำพูน
  2. ไกรภพ จันทร์ดี
  3. พิเชษฐ์ เครือวัลย์
  4. โอม
  5. พี่เหม
  6. ปุ้ม
  7. ปอนด์
  8. รุ่งโรจน์ ผลหว้า

วัตถุไวไฟ (29 มกราคม พ.ศ. 2535)

Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ , Producer Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค บันทึกเสียง : CenterstageStudio / ButterflyStudio ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ / ButterflyStudio นักดนตรี : วีระ โชติวิเชียร , เพชร มาร์ , นพพร อิ่มทรัพย์ , ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล ร้องสนับสนุน : ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , อนุช เตมีย์ (บอมบ์ เดอะ ร็อคฟาเธอร์) , พิศาล พานิชผล อำนวยการผลิต : ประชา พงศ์สุพัฒน์

  1. วัตถุไวไฟ
  2. เสียมั้ย
  3. ลางร้าย
  4. นึกหรือว่าไม่รู้
  5. อย่างทำอย่างนั้น
  6. หยุดมันเอาไว้
  7. บ่อนทำลาย
  8. เข็ด
  9. แผลในใจ
  10. ยังไงก็โดน
  11. คือฝน (เพลงที่สั้นที่สุดของอำพล)

ม้าเหล็ก (23 ธันวาคม พ.ศ. 2536)

Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ , Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : ประชา พงษ์สุพัฒน์ , บันทึกเสียง : ButterflyStudio ก.ย. - พ.ย. 2536 ควบคุมเสียง : พงษ์ศักดิ์ เกาหอม / วราวุธ เปี่ยมมงคล ผสมเสียง : โยธิน ชิรานนท์ / ต่อพงษ์ สายศิลป์ นักดนตรีและนักร้องรับเชิญ : กบ (ไมโคร) / เพชร มาร์ / อ้วน (ไมโคร) / บอย (ไมโคร) / วีระ โชติวิเชียร อภิไชย เย็นพูนสุข / ลัดสปัญ สมสุวรรณ / พงษ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์ / กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา

  1. ม้าเหล็ก
  2. เอากะเขาหน่อย
  3. ลองเชิงลองใจ
  4. ไม่อยากทำใคร
  5. จะไปเหลืออะไรล่ะ
  6. ขอเวลาหายใจ
  7. รู้ได้ยังไง
  8. ไว้ใจ
  9. ไม่ต้องเกรงใจกันบ้าง
  10. เครื่องจักรน้อยๆ

อำพลเมืองดี (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538)

Producer : ชาตรี คงสุวรรณ Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : สมควร มีศิลปสุข , บันทึกเสียง : ห้องอัดเสียงศรีสยาม นักดนตรี : Drums : ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม , Electric Guitar : ไกรภพ จันทร์ดี , พิเชษฐ์ เครือวัลย์ , โอม Electric Bass : กอล์ฟ Y-Not-7 , พี่เหม , Organ : โอม , ปุ้ม Chorus : ปอนด์ , ปุ้ม , โอม , กอล์ฟ ผสมเสียง : โสฬส พงษ์พรหม , ปณต สมานไพสิฐ

  1. ตอก
  2. ฝากรอยเท้า
  3. ไว้ชีวิต
  4. ในสายตาเธอ
  5. ไปสู่แสงไฟ
  6. ถอยกันเป็นแถบ
  7. ขอไปกับสายลม
  8. ยังไม่ตาย
  9. ไม่แรงพอ
  10. อยู่ๆ กันไป

เพลงพิเศษ

  • หมากเกมนี้ - อัลบั้ม งานซนคนดนตรี นานที 10 ปีหน (พ.ศ. 2536) (ต้นฉบับ อินคา)
  • เธอ...ผู้ไม่แพ้ - อัลบั้ม ROCK ZONE : ร็อค (โ) ซน (พ.ศ. 2538)(ต้นฉบับ เบิร์ด ธงไชย)
  • ร่วมร้องเพลง คนไทยหัวใจเดียวกัน (ร่วมกับ ไมโคร , เสก โลโซ , บอดี้แสลม , บิ๊กแอส) - เพลงโฆษณาเครื่องดื่มช้าง (พ.ศ. 2553) (ภายหลังบรรจุไว้ในอัลบั้ม PLUS ของ เสก โลโซ)
  • เกลียดแผลที่อยู่ในใจ - เพลงประกอบละครซีรีส์เลือดมังกร ตอน กระทิง (พ.ศ. 2558)

อัลบั้มรวมเพลง (ในนาม อำพล ลำพูน)

  • รวมฮิต ร็อกเจ็บลึก (พ.ศ. 2537) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
  • AMPHOL BIG HITS BIG STORY (พ.ศ. 2539) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
  • รวมมิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ - อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2540) - จัดจำหน่ายในรูปแบบม้วนวิดีโอและวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ
  • VERY BEST OF อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2542) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี , วิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ , ม้วนวิดีโอ และในรูปแบบ ซีดี + วีซีดีแพ็คคู่
  • BEST HITS OF AMPHOL (พ.ศ. 2548) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี และวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ
  • BEST OF AMPHOL อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2556) - จัดจำหน่ายในรูปแบบซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ

คอนเสิร์ต

  • ปึ้กกก โดย เรวัต พุทธินันทน์ (2529)
  • ไมโคร ร็อก คอนเสิร์ต ตอน เอาไมโครไปเลย (2531)
  • เติมสีเขียวหวาน (2533)
  • รายการคอนเสิร์ต โลกดนตรี (2533)
  • มือขวาสามัคคี New Generation Rock Festival 90 ชุดรวมพลัง (2533)
  • เทศกาล International Rock Music Festival 1990 (2533)
  • งานต้อนรับนักกีฬา ซีเกมส์ 1990 (2533)
  • อำพลคนไวไฟ (2535)
  • 10 ปี แกรมมี่ (2537)
  • อัศวินม้าเหล็ก (2537)
  • อำพลกับคนไว้ใจ ตอน เอากะเขา (อีก) หน่อย (2537)
  • Earth Day Concert ครั้งที่ 5 ตอน เพลงร็อค พลิกโลก (2538)
  • Amphol Big Story Concert 1986-1996 (2539)
  • ตำนานมือขวาไมโคร (Put the right hand in the right concert) (2546)
  • City of Butterfly (2547)
  • ไมโคร-นูโว ONE BIG SHOW (2547)
  • อำพลเมืองดีกับบิลลี่เข้ม (2548)
  • ด้วยแสงแห่งรัก The Light Of Love (2548)
  • คอนเสิร์ต ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ (2549)
  • เรวัต พุทธินันท์ remembered in tribute concert (2550)
  • 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค (2550)
  • 25 ปี ไมโคร ร็อก เล็ก เล็ก รีเทิร์น (2553)
  • คอนเสิร์ต มือขวาสามัคคี REUNION (2556)
  • The Masterpiece 30 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค (2558)
  • คอนเสิร์ต BIG HEROES (2558)
  • คอนเสิร์ต The Legends (2558)
  • คอนเสิร์ต เราคนไทยไม่ทิ้งกัน (2560)
  • คอนเสิร์ต The Legend Music Festival (2560)
  • คอนเสิร์ต ทองหล่อเล่นสด (2560)
  • คอนเสิร์ต อำพล อัญชลี ร็อคนี้ครั้งเดียว (2562)
  • คอนเสิร์ต Green Concert #22 The Lost Rock Songs (2562)
  • 35 ปี ไมโครจำฝังใจ (2564) (เนื่องด้วยสถานการณ์ โควิด-19 จึงทำให้เลื่อนวันแสดงสด)

รางวัลที่ได้รับ

อ้างอิง