ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เจ้าหญิงโซฟีแห่งเดนมาร์ก (ราว ค.ศ. 1217-1247) พระเชษฐภคินีของดยุกอเบล และเป็นชายาใน[[โยฮันที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก]] (ราวค.ศ. 1213-1266) เข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อตกลงระหว่างดยุกอเบลและกษัตริย์อีริคที่ 4 ซึ่งดำเนินไปจนถึงค.ศ. 1250 เมื่อกษัตริย์อีริคที่ 4 ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จไปเยี่ยมเยือนตำหนักของดยุกอเบลในชเลสวิก
การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เจ้าหญิงโซฟีแห่งเดนมาร์ก (ราว ค.ศ. 1217-1247) พระเชษฐภคินีของดยุกอเบล และเป็นชายาใน[[โยฮันที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก]] (ราวค.ศ. 1213-1266) เข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อตกลงระหว่างดยุกอเบลและกษัตริย์อีริคที่ 4 ซึ่งดำเนินไปจนถึงค.ศ. 1250 เมื่อกษัตริย์อีริคที่ 4 ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จไปเยี่ยมเยือนตำหนักของดยุกอเบลในชเลสวิก
==พระมหากษัตริย์==
==พระมหากษัตริย์==
กษัตริย์อีริคที่ 4 ทรงถูกปลงพระชนม์โดยเลฟ กัดมุนด์เซน (ราวค.ศ. 1195-1252) มหาดเล็กของดยุกอเบลและมือสังหารคนอื่นๆ พระวรกายไร้เศียรของกษัตริย์ถูกโยนทิ้งลงอ่าว[[ชเล]] แต่ดยุกอเบลและขุนนางยี่สิบสี่คนจะประกอบพิธีสาบานอย่างเป็นทางการ ("พิธีสัตย์สาบานโหลทวีคูณ"; ใน[[ภาษาเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] "''dobbelt tolvter-ed''") ว่า องค์ดยุกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม แต่เป็นที่รู้ไปทั่วในหมู่พสกนิกรว่า กษัตริย์อีริคถูกปลงพระชนม์ด้วยคำสั่งของพระอนุชา มีคำที่คนทั่วไปพูดกันตามคติศาสนายูดายว่าทรงเป็น "[[อาเบล]]ตามชื่อ แต่เป็น[[คาอิน]]ตามการกระทำ" ([[ภาษาเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]], "''Abel af navn, Kain af gavn''") (ตำนานของศาสนายูดายระบุว่าคาอินผู้เป็นน้องชายฆ่าอาเบลผู้เป็นพี่ชาย)<ref>{{cite web|url = http://runeberg.org/dbl/6/0280.html|title= Gudmundsen, Lage, –o.1252, Ridder |publisher = Dansk biografisk Lexikon
กษัตริย์อีริคที่ 4 ทรงถูกปลงพระชนม์โดยเลฟ กัดมุนด์เซน (ราวค.ศ. 1195-1252) มหาดเล็กของดยุกอเบลและมือสังหารคนอื่นๆ พระวรกายไร้เศียรของกษัตริย์ถูกโยนทิ้งลงอ่าว[[ชเล]] แต่ดยุกอเบลและขุนนางยี่สิบสี่คนจะประกอบพิธีสาบานอย่างเป็นทางการ ("พิธีสัตย์สาบานโหลทวีคูณ"; ใน[[ภาษาเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]] "''dobbelt tolvter-ed''") ว่า องค์ดยุกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม แต่เป็นที่รู้ไปทั่วในหมู่พสกนิกรว่า กษัตริย์อีริคถูกปลงพระชนม์ด้วยคำสั่งของพระอนุชา มีคำที่คนทั่วไปพูดกันตามคติศาสนายูดายว่าทรงเป็น "[[อาเบล]]ตามชื่อ แต่เป็น[[คาอิน]]ตามการกระทำ" ([[ภาษาเดนมาร์ก|เดนมาร์ก]], "''Abel af navn, Kain af gavn''") (ตำนานของศาสนายูดายระบุว่าคาอินผู้เป็นพี่ชายฆ่าอาเบลผู้เป็นน้องชาย)<ref>{{cite web|url = http://runeberg.org/dbl/6/0280.html|title= Gudmundsen, Lage, –o.1252, Ridder |publisher = Dansk biografisk Lexikon
|accessdate=August 1, 2018}}</ref>
|accessdate=August 1, 2018}}</ref>

==สวรรคต==
==สวรรคต==
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:15, 7 ธันวาคม 2563

พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
พระบรมสาทิสลักษณ์ฝาผนังของกษัตริยอเบลบนปราสาทครอนบอร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์1 พฤศจิกายน 1250 – 29 มิถุนายน 1252
ก่อนหน้าอีริคที่ 4
ถัดไปคริสตอฟเฟอร์ที่ 1
ประสูติค.ศ. 1218
สวรรคต29 มิถุนายน ค.ศ. 1252(1252-06-29) (34 ปี)
ไอเดอสเต็ดท์
ฝังพระศพครั้งแรกที่มหาวิหารชเลสวิก
ครั้งต่อมาที่ปราสาทก็อททร็อป
คู่อภิเษกเมิร์ชทิลด์แห่งฮ็อลชไตน์
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
อเบล วัลเดมาร์เซน แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงบึเร็งการียาแห่งโปรตุเกส
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก หรือ อเบล วัลเดมาร์เซน (ค.ศ. 1218 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1252) ทรงเป็นดยุกแห่งชเลสวิกตั้งแต่ค.ศ. 1232 ถึงค.ศ. 1252 และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กตั้งแต่ค.ศ. 1250 จนกระทั่งสวรรคต พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์กที่ประสูติแต่พระมเหสีพระองค์ที่สองคือ บึเร็งการียาแห่งโปรตุเกส และเป็นพระอนุชาในพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก และพระเชษฐาในพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก[1]

ขณะทรงเป็นดยุกแห่งชเลสวิก พระองค์ทรงขัดแย้งกับกษัตริยอีริคที่ 4 ผู้เป็นพระเชษฐา ซึ่งกษัตริย์ถูกลอบปลงพระชนม์ในปีค.ศ. 1250 และเป็นที่โจษจันว่ามีการวางแผนฆาตกรรม ดยุกอเบลทรงกล่าวคำสาบานต่อพระเจ้าเพื่อลบล้างมลทินนั้น และพระองค์ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงครองราชย์ในช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากทรงถูกปลงพระชนม์ขณะปฏิบัติการทางทหารในฟรีเชีย

รัชกาลของกษัตริย์อเบลเป็นรัชกาลที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในศตวรรษที่ 9 พระองค์ทรงสร้างการสืบทอดตำแหน่งดยุกแห่งชเลสวิกผ่านการสืบทายาทใน "ตระกูลอเบล" ซึ่งปกครองดัชชีชเลสวิกจนถึงปีค.ศ. 1375[2]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

ในปีค.ศ. 1232 มีการเลือกตั้งให้เจ้าชายอีริค พระเชษฐาของพระองค์ให้ขึ้นเป็นพระประมุขร่วมของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาและเป็นรัชทายาท ส่วนเจ้าชายอเบลได้รับการเลือกให้สืบตำแหน่งของพระเชษฐาในตำแหน่ง ดยุกแห่งชเลสวิก

ในปีค.ศ. 1237 ดยุกอเบลได้อภิเษกสมรสกับเมิร์ชทิลด์แห่งฮ็อลชไตน์ ธิดาในเคานท์อดอล์ฟที่ 4 แห่งฮ็อลชไตน์ (ค.ศ. 1205-1261) เนื่องจากเคานท์อดอล์ฟที่ 4 ทรงสละทางโลก และสละตำแหน่งเพื่อไปเป็นนักบวชในคณะฟรานซิสกันในปีเดียวกัน ดยุกอเบลจึงต้องกลายเป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่พระอนุชาของพระมเหสีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้แก่ โยฮันน์ที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-คีล (ค.ศ. 1226-1263) และเกอร์ฮาร์ดที่ 1 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-อิตเซโฮเอ (ค.ศ. 1232-1290)[3]

ดยุกแห่งชเลสวิก

หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ในปีค.ศ. 1241 ยุวกษัตริย์อีริค พระเชษฐาของดยุกอเบลได้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก ในปีต่อมา ดยุกอเบลได้ต่อต้านพระเชษฐา เนื่องจากพระองค์อยากจะให้ดัชชีชเลสวิกเป็นเอกราช พระองค์ได้เผาทำลายและปล้นสะดมตั้งแต่เมืองราเนอส์ไปจนถึงโอเดนเซ บนเกาะฟึน กษัตริย์อีริคได้ทำให้กองทัพของดยุกอเบลต้องประหลาดใจด้วยการโจมตีค่ายของอเบลที่ชเลสวิก ทำให้โซฟีแห่งชเลสวิก พระธิดาที่ยังเยาว์ของดยุกอเบลต้องหลบหนี "ด้วยพระบาทที่เปลือยเปล่าไร้รองพระบาท"[4]

การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เจ้าหญิงโซฟีแห่งเดนมาร์ก (ราว ค.ศ. 1217-1247) พระเชษฐภคินีของดยุกอเบล และเป็นชายาในโยฮันที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก (ราวค.ศ. 1213-1266) เข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อตกลงระหว่างดยุกอเบลและกษัตริย์อีริคที่ 4 ซึ่งดำเนินไปจนถึงค.ศ. 1250 เมื่อกษัตริย์อีริคที่ 4 ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จไปเยี่ยมเยือนตำหนักของดยุกอเบลในชเลสวิก

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์อีริคที่ 4 ทรงถูกปลงพระชนม์โดยเลฟ กัดมุนด์เซน (ราวค.ศ. 1195-1252) มหาดเล็กของดยุกอเบลและมือสังหารคนอื่นๆ พระวรกายไร้เศียรของกษัตริย์ถูกโยนทิ้งลงอ่าวชเล แต่ดยุกอเบลและขุนนางยี่สิบสี่คนจะประกอบพิธีสาบานอย่างเป็นทางการ ("พิธีสัตย์สาบานโหลทวีคูณ"; ในเดนมาร์ก "dobbelt tolvter-ed") ว่า องค์ดยุกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม แต่เป็นที่รู้ไปทั่วในหมู่พสกนิกรว่า กษัตริย์อีริคถูกปลงพระชนม์ด้วยคำสั่งของพระอนุชา มีคำที่คนทั่วไปพูดกันตามคติศาสนายูดายว่าทรงเป็น "อาเบลตามชื่อ แต่เป็นคาอินตามการกระทำ" (เดนมาร์ก, "Abel af navn, Kain af gavn") (ตำนานของศาสนายูดายระบุว่าคาอินผู้เป็นพี่ชายฆ่าอาเบลผู้เป็นน้องชาย)[5]

สวรรคต

อ้างอิง

  1. Hartley, Mick The Duke of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glücksburg Dated September 29, 2007. Retrieved 14 Feb. 2008
  2. "Abel, 1219-52, Konge". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  3. "Mechtilde (Mathilde), Dronning, –1288". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  4. "King Abel". danmarkskonger. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  5. "Gudmundsen, Lage, –o.1252, Ridder". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.


ก่อนหน้า พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าอีริคที่ 4
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ดยุกแห่งเอสโตเนีย

(ค.ศ. 1250 - ค.ศ. 1252)
พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1
พระเจ้าอีริคที่ 4
ดยุกแห่งชเลสวิก
(ค.ศ. 1232 - ค.ศ. 1252)
พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1