พระนางภัทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัทรา
ชายาท้าวกุเวร
เทพนารีแห่งทิศเหนือ โค ความมั่งมี และทรัพย์สิน
ส่วนหนึ่งของ เทพีผู้รักษาอัฐโลกบาล
จิตรกรรมเจ้าแม่ภัทรา (กลาง) พร้อมด้วยท้าวกุเวร (ขวา) เข้าถวายพระพรนางสตีเทวี (ซ้าย) ศิลปะแบบประเพณีอินเดียปัจจุบัน
ชื่ออื่นกุเวรี
กุเวรศักติ
ส่วนเกี่ยวข้องศักติท้าวกุเวร
พระเทวี
เทพีอัฐโลกบาล
เทพมารดร
นิกายศักติ
อาทิปราศักติ
ที่ประทับกุเวรโลกและเทวสภา
มนตร์เทวีภัทรามนตร์
พาหนะพังพอน
ม้า
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองท้าวกุเวร
พระกฤษณะ
บุตร - ธิดาคันธมาทน์ ( ในรามายณะ )
พระนลกุวร
พระมณีภัทร

ภัทรา (Sanskrit: भद्रा ) ในศาสนาฮินดูหมายถึงพระเทพีองค์หนึ่งอันมีหลายอิสริยยศเกียรติยศหลายฐานะ — ได้แก่ชายาแห่งท้าวกุเวร บุตรีพระจันทร์ และชายาแห่งพระกฤษณะอันเป็นเชษฐาของพระพลเทพและ พระนางสุภัทรา[1] และโยคินีสหายอัศวินสตรี (อัษฏะนายิกา) ของทุรคา[2][3][4]

ในฐานะชายาของท้าวกุเวร[แก้]

ภัทรา หรือ นามคำไวพจน์ของนางอื่น ๆ อาทิ ยักษี ชหวี (Chhavi) ริทธิ มโนหระ[5] นันธี [6] สหเทวี [7] และกุเวรี เป็นเทพีแห่งศิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล และคืออิตถีพละภริยาของท้าวกุเวร ในเทพปกรณัมพราหมณ์ ฮินดูกล่าวว่า นางคือบุตรีแห่งพญาอสูรนามว่า มูระ โดยมีบุตรสามองค์ คือ พระนลกุวร พระมณีภัทร และมยุราช และบุตรี คือ นางมีนากษี (Minakshi) ต่อมานางได้เสด็จไปประทับสถิตย์ ณ นครอลกาปุรี (Alkapuri) พร้อมด้วยภัสดาของนาง หลังจากราวณะทำการรัฐประหารชิงราชสมบัติพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครลงกา (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา)[8][9][10][11]

ในฐานะธิดาของพระจันทร์[แก้]

บางในเทพปกรณัม เช่น มหาภารตะ นางภัทราคือบุตรีของพระจันทร์ (หรือพระอาทิตย์) และได้เสกสมรสกับพระฤๅษีอุฒัฑยะ และพระพิรุณอันทรงปารถนาด้วยจิตปฏิพัทธ์ต่อนางนั้นได้ชิงตัวนางไปจากอาศรมของพระฤๅษีภัสดาของนาง และมิยอมคืนนางแด่พระฤๅษีนารอดอันเป็นทูตมาเจรจานำพานางกลับคืนแด่ภัสดาของนาง พระฤๅษีอุฒัฑยะจึงสำแดงฤทธานุภาพด้วยการบันดาลให้น้ำแลมหาสมุทรทั้งหลายในอาณัติของพระพิรุณแห้งเหือดไปเป็นการอบรมเพื่อการสำนึกของความผิดอันได้ปฏิบัติลงไป แลอธิษฐานอาญาสิทธิ์ว่า "สรัสวดีจงหายไปในทะเลทราย และให้ดินแดนนี้ซึ่งถูกชาวประชาทิ้งร้าง กลายเป็นมลทิน" "เมื่อแผ่นดินแห้งผากแล้ว พระวรุณาก็ยอมจำนนต่อพระฤๅษีอุฒัฑยะและนำภัทราถวายคืนมาแด่พระฤๅษีภัสดาของนาง และพระฤๅษีอุฒัฑยะจึงคืนน้ำแลมหาสมุทรทั้งหลายในอาณัติของพระพิรุณอันแห้งเหือดไปกลับคืนมาดังเดิม"[12]

ในฐานะชายาของพระกฤษณะ[แก้]

นางเป็นหนึ่งในอัษฏะภริยา ชายาทั้งเแปดนางของพระกฤษณะ ตามเทพปกรณัมในคัมภีร์ภควัตปุราณะ นามของนางปรากฏในคัมภีร์เทพปกรณัมนี้ในฐานะชายาองค์ที่แปดของพระกฤษณะ ระบุว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ (ไม่ขนาน) (มารดาของนางเป็นขนิษฐาของปิตุลา) คัมภีร์เทพปกรณัมวิษณุปุราณะและหริวังศะกล่าวว่านางเป็นบุตรีของธริชตะเกตุ หรือ ราชธิดาแห่งแคว้นโกศล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 75. OCLC 500185831.
  2. 1) Bangala Bhasar Abhidhaan ( Dictionary of the Bengali Language) Shishu Sahitya Samsad Pvt Ltd. 32A, APC Road, Kolakata – 700009, Volume 1, p.151. (ed. 1994)
  3. Manorama Year Book (Bengali edition) Malyala Manorama Pvt. Ltd., 32A, APC Road, Kolkata- 700 009 (ed.2012), p.153
  4. "(12) Eight Companions of the Mother »". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-27.
  5. Brahmavaivarta Purana Brahma Khanda (Khanda I) Chapter 5 Verse 62, English translation by Shantilal Nagar Parimal Publications Link: https://archive.org/details/brahma-vaivarta-purana-all-four-kandas-english-translation
  6. Devdutt Pattanaik's 7 SECRETS OF THE GODDESS, Chapter 5. Lakshmi's Secret Page 180
  7. Padma Purana Srishti Khanda First Canto Chapter 5.Verse 15, English translation by Motilal Bansaridas Publications Book 1 Page 41, Link: https://archive.org/details/PadmaPuranaVol05BhumiAndPatalaKhandaPages15651937ENGMotilalBanarsidass1990_201901/Padma-Purana%20Vol-01%20-%20Srshti-Khanda%20-%20pages%201-423%20ENG%20Motilal%20Banarsidass%201988
  8. Daniélou, Alain (1964). "Kubera, the Lord of Riches". The myths and gods of India. Inner Traditions / Bear & Company. pp. 135–7.
  9. Wilkins, W. J. (1990). Hindu Mythology, Vedic and Puranic. Sacred texts archive. pp. 388–93. ISBN 1-4021-9308-4.
  10. Knapp, Stephen (2005). The Heart of Hinduism: The Eastern Path to Freedom, Empowerment and Illumination. iUniverse. pp. 192–3. ISBN 0-595-79779-2.
  11. "Puranic encyclopaedia : A comprehensive dictionary with special reference to the epic and Puranic literature". 1975.
  12. Dalal, Roshen (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books India. ISBN 978-0-14-341421-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]