ข้ามไปเนื้อหา

บุศรินทร์ ภักดีกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุศรินทร์ ภักดีกุล
เจ้ากรมแผนที่ทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 – 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2508
ก่อนหน้าพลโท ฉลอง อุชุโกมล
ถัดไปพลโท สมบูรณ์ วิจิตรานุช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 ตุลาคม พ.ศ. 2449
แขวงบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต9 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (82 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2512–2532)
คู่สมรสผูกพันธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล (25 ตุลาคม พ.ศ. 2449 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2532) นายทหารและนักการเมืองชาวไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร

ประวัติ

[แก้]

พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล เกิดเมื่อวันที่ 25​ ตุลาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของพลตรีพระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) กับ เอลีซาเบท (จอนสัน) ภักดีกุล ชาวรัสเซีย

พลโท บุศรินทร์ สมรสกับ ผูกพันธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาของ พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

การศึกษา

[แก้]

พลโท บุศรินทร์ สำเร็จวิชาทหารปืนใหญ่จากโรงเรียนโปลีเทคนิคของเบลเยียมผู้บุกเบิกปืนต่อสู้อากาศยาน พ.ศ. 2476 ผู้อำนวยการวิทยาการโรงเรียนเทฆนิคทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารบก อาจารย์รุ่นก่อตั้ง พ.ศ. 2477 (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

การทำงาน

[แก้]

ในระหว่างที่พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล ได้รับราชการเป็นราชองครักษ์เวรและราชองค์รักษ์พิเศษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเวลาร่วม 20 ปีนั้น ได้มีการรับรองราชอาคันตุกะของพระองค์ท่านหลายครั้งหลายหน

เป็นคณะผู้แทนฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร เอกอัครราชทูตประจำประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นตัวแทน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เนติบัณฑิต เป็นหัวหน้าทีมทนายความ พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล เจ้ากรมแผนที่กระทรวงกลาโหม เป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 พรรคประชาธิปัตย์

ตำแหน่ง

[แก้]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - เจ้ากรมแผนที่ทหารบก[1]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 - สำรองราชการกองบัญชาการทหารสูงสุด[2]

หน้าที่ราชการพิเศษ

[แก้]
  • 7 มีนาคม พ.ศ. 2495 - ราชองครักษ์เวร [3]

ยศ

[แก้]
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2471 - ร้อยตรี [4]
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 - ร้อยโท [5]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 - ร้อยเอก [6]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 - พันตรี [7]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 - พันโท
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2492 - พันเอก [8]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2497 - พลจัตวา [9]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2501 - พลตรี [10]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - พลโท [11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๔๔๘)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร (หน้า ๖๘๘)
  4. พระราชทานยศทหารบก
  5. พระราชทานยศทหารบก
  6. ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๙๕)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๙๗)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๙๘)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๒๐)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 82 ตอนที่ 111 หน้า 13, 23 ธันวาคม 2508
  13. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๑)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 85 ตอนที่ 44 หน้า 24, 15 พฤษภาคม 2511
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 80 ตอนที่ 53 หน้า 1448, 28 พฤษภาคม 2506
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 71 ตอนที่ 5 หน้า 349, 26 มกราคม 2497
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 83 หน้า 2563, 18 ตุลาคม 2498
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 16 หน้า 520, 19 กุมภาพันธ์ 2500
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 74 หน้า 2279, 20 กันยายน 2498
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่มที่ 75 ตอนที่ 76 หน้า 2708, 30 กันยายน 2501
  21. AGO 1964-11 — HQDA GENERAL ORDER: AWARDS
  22. 22.0 22.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 73 หน้า 2237, 8 สิงหาคม 2510

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]