นาโอโกะ ยามาดะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นาโอโกะ ยามาดะ | |
---|---|
山田 尚子 | |
เกิด | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
อาชีพ | แอะนิเมเตอร์ ผู้กำกับซีรีส์โทรทัศน์และภาพยนตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ รักไร้เสียง |
ลายมือชื่อ | |
นาโอโกะ ยามาดะ (ญี่ปุ่น: 山田 尚子; โรมาจิ: Yamada Naoko) เป็นแอะนิเมเตอร์ ผู้กำกับซีรีส์โทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น โดยเป็นผู้กำกับซีรีส์อนิเมะเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหววและตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ และภาพยนตร์แอนิเมชันรักไร้เสียง ให้กับเกียวโตแอนิเมชัน
วัยเด็ก
[แก้]ยามาดะเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ที่จังหวัดเกียวโต[1] สมัยเด็กเธอชื่นชอบการวาดรูปและมักจะลอกภาพจากการ์ตูน แพตเลเบอร์ และ ดราก้อนบอล[2] เธอเข้าร่วมชมรมวอลเลย์บอลขณะที่เรียนชั้นประถมศึกษา และเข้าชมรมเทนนิสและชมรมถ่ายภาพขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษา[2] จากนั้นยามาดะได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเกียวโต[3] โดยเรียนการวาดภาพสีน้ำมันและได้เข้าร่วมชมรมสเปเชียลเอฟเฟกต์[2]
อาชีพด้านแอนิเมชัน
[แก้]แต่เดิมยามาดะตั้งใจเข้าทำงานในธุรกิจภาพยนตร์หลังจบการศึกษา แต่เปลี่ยนใจไปสมัครเข้าเกียวโตแอนิเมชันหลังจากเห็นโฆษณา[2] งานแรกที่ยามาดะได้รับมอบหมายคือการสร้างฉากอินบีทวีน (inbetween) ให้กับซีรีส์อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน[2] ก่อนที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นคีย์แอะนิเมเตอร์ในวิชวลโนเวลแอร์[2]
หลังจากที่ยามาดะได้เป็นผู้กำกับตอน (episode director) ในวิชวลโนเวลแคลนนาดแล้ว ยามาดะได้รับข้อเสนอให้เป็นผู้กำกับอย่างเต็มตัวครั้งแรกกับซีรีส์เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว ซึ่งสร้างจากมังงะสี่ช่องแนวเสี้ยวชีวิตชื่อเดียวกัน[2] ซีรีส์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีภาคต่อและภาพยนตร์ออกมาหลังจากนั้นด้วย ใน พ.ศ. 2556 เธอกำกับซีรีส์ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะตามด้วยภาพยนตร์ทามาโกะ เลิฟสตอรี (Tamako Love Story) ในปีถัดมา ซึ่งทามาโกะ เลิฟสตอรีนั้นทำให้ยามาดะได้รับรางวัลหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจากเทศกาลศิลปะสื่อแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Media Arts Festival)[4] โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้เธอเขียนสตอรีบอร์ดของทั้งเรื่องด้วยตัวเอง[5]และยังเขียนเนื้อร้องเพลงประกอบได้แก่ Everybody Loves Somebody ด้วย[6] ผลงานต่อไปของยามาดะคือภาพยนตร์เรื่อง รักไร้เสียง ซึ่งสร้างจากมังงะชื่อเดียวกันซึ่งตีแผ่ประเด็นการรังแกกันในโรงเรียนและความพิการทางร่างกายในประเทศญี่ปุ่น รักไร้เสียงเปิดตัวเป็นอันดับที่สองในบ็อกซ์ออฟฟิศของญี่ปุ่น และทำรายได้รวม 2.3 พันล้านเยน ซึ่งเป็นอันดับที่ 19 ของภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2559[7] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอีกหลายรางวัล รวมทั้งรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไมนิจิ (Mainichi Film Awards) สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมและรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Academy Prize) สาขาภาพยนตร์แอนิเมชัน
ยามาดะมองว่าส่วนสำคัญที่สุดของการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คือการสังเกตผู้คน เธอนิยามตัวเองว่าเป็นผู้กำกับแนว method ซึ่งเน้นอารมณ์และความคิดของตัวละคร[2] โดยผลงานของเธอเป็นที่ยอมรับว่าสามารถใช้อวัจนภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครออกมาได้อย่างดี[8]
ยามาดะลาออกจากเกียวโตแอนิเมชันใน พ.ศ. 2563 หลังจากลาออก เธอได้กำกับซีรีส์โอเอ็นเอ เรื่องของเฮเกะ ให้กับสตูดิโอไซนซ์ซารุ[9][10]
ผลงาน
[แก้]ผู้กำกับ
[แก้]- เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว
- ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ
- รักไร้เสียง (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2559)[14]
- ลิซแอนด์เดอะบลูเบิร์ด (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2561)[15]
- เรื่องของเฮเกะ (โอเอ็นเอ พ.ศ. 2564)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 歴代受賞作品, 文化庁メディア芸術祭. "山田 尚子 | プロフィール一覧". 文化庁メディア芸術祭 歴代受賞作品 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ July 22, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Noel, John (14 October 2012). "Scotland Loves Anime 2012: Day 3, Naoko Yamada Q&A session". chaostangent. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
- ↑ "キャリタス進学" [Career+: Entering University] (ภาษาญี่ปุ่น). 京都造形芸術大学 (Kyoto Art and Design University). สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Giovanni's Island Film Wins Media Arts Award". Anime News Network. 28 September 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
- ↑ "監督インタビュー" [Director interview]. Tamako Love Story official website (ภาษาญี่ปุ่น). 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
- ↑ "マニュエラ作家陣活躍の「たまこまーけっと」歌モノベスト" [Manual of Errors Artists' Tamako Market best musical pieces]. 音楽ナタリー (ภาษาญี่ปุ่น). 18 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
- ↑ "Top 20 Highest-Grossing Films in Japan Has 6 Anime Films". Anime News Network. December 18, 2016. สืบค้นเมื่อ December 20, 2016.
- ↑ Creamer, Nick (18 มีนาคม 2560). "FEATURE: Why It Works: Dragon Maid's Yamada Touch, Part Two". ครันชีโรล. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 9.0 9.1 Pineda, Rafael Antonio (September 2, 2021). "Science SARU Reveals The Heike Story TV Anime by Naoko Yamada". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ September 2, 2021.
- ↑ Mateo, Alex (September 15, 2021). "The Heike Story TV Anime Posts Short Video, Visual Before Premiere". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 21, 2021.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Cavallaro, Dani (2012). Kyoto Animation: A Critical Study and Filmography. McFarland. pp. 178–179.
- ↑ "YAMADA Naoko". manga-news.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
- ↑ "Tamako Love Story Film Introduced in 3-Minute Promo Video". Anime News Network. 10 May 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
- ↑ "Kyoto Animation to Produce A Silent Voice Film With Director Naoko Yamada". Anime News Network. 11 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 October 2015.
- ↑ "Sound! Euphonium's Liz to Aoitori Film Reveals 2nd Video, Visual, Staff". Anime News Network. 15 December 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.