การลอบวางเพลิงเกียวโตแอนิเมชัน

พิกัด: 34°55′59.0″N 135°47′34.6″E / 34.933056°N 135.792944°E / 34.933056; 135.792944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลอบวางเพลิงเกียวโตแอนิเมชัน
สตูดิโอ 1 ของเกียวโตแอนิเมชันหลังถูกลอบวางเพลิง
แผนที่แผนที่
สถานที่15-1 อินาบะ โมโมยามะโจ เขตฟูชิมิ นครเกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
พิกัด34°55′59.0″N 135°47′34.6″E / 34.933056°N 135.792944°E / 34.933056; 135.792944
วันที่18 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 (2019-07-18)
10:31 นาฬิกา JST (UTC+09:00)
เป้าหมายเกียวโตแอนิเมชัน สตูดิโอ 1
ประเภทการลอบวางเพลิง
อาวุธน้ำมันเบนซิน (40 ลิตร), ไฟแช็ก
ตาย36
เจ็บ34 (รวมถึงผู้ต้องสงสัย)
ผู้ต้องหาชินจิ อาโอบะ
เหตุจูงใจแก้แค้นเพราะคิดว่าถูกลอกเลียนวรรณกรรม, ความผิดปกติทางจิต

การลอบวางเพลิงเกียวโตแอนิเมชัน (ญี่ปุ่น: 京都アニメーション放火殺人事件โรมาจิKyōto Animēshon hōka satsujin jiken) เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ที่ สตูดิโอ 1 ของเกียวโตแอนิเมชันในเขตฟูชิมิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น การลอบวางเพลิงครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 36 คน บาดเจ็บเพิ่มเติม 33 คน และทำให้ชิ้นงานและคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใน สตูดิโอ 1 เสียหาย เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นหนึ่งในการสังหารหมู่ที่รุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[1] และเป็นการเกิดไฟไหม้กับอาคารในญี่ปุ่น ตั้งแต่ ไฟไหม้อาคารเมียวโจ 56 เมื่อ ค.ศ. 2001

ผู้ต้องสงสัย ชินจิ อาโอบะ อายุ 42 ปี ไม่ได้ทำงานให้กับสตูดิโอ เดินเข้ามาทางประตูหน้าและราดน้ำมันเบนซินไปทั่วบริเวณและพนักงานหลายคน ก่อนที่จะจุดไฟ หลังจากนั้นเขาพยายามหลบนี แต่ก็ถูกตำรวจจับกุมตัวไว้ซึ่งห่างจากตัวอาคาร 100 เมตร พยานกล่าวว่าพวกเขาได้ยินเขากล่าวว่าสตูดิโอว่าลอกผลงาน ตำรวจจับกุมอาโอบะในข้อหาฆาตกรรมและความผิดอื่น ๆ ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 หลังจากรอการฟื้นตัวจากแผลไฟไหม้ที่อันตรายถึงชีวิตมานานกว่า 10 เดือน[2] และเขาถูกฟ้องอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2020

นอกเหนือจากการแสดงความเสียใจและข้อความสนับสนุนจากผู้นำระดับโลกและระดับชาติ, แฟน ๆ และธุรกิจได้ระดมทุนมากกว่า 3.3 พันล้านเยนในญี่ปุ่นและมากกว่า 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐนอกญี่ปุ่น เพื่อช่วยให้สตูดิโอและพนักงานฟื้นตัว จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผลงานบางส่วนและความร่วมมือของสตูดิโอล่าช้าออกไปและกิจกรรมหลายอย่างถูกยกเลิกหรือระงับ

เบื้องหลัง[แก้]

สตูดิโอ 1 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2015, ก่อนเกิดการลอบวางเพลิง

เกียวโตแอนิเมชันเป็นหนึ่งในสตูดิโอผลิตอนิเมะญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นที่รู้จักจากอนิเมะเรื่อง เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ, เค-อง! และ แคลนนาด[3] มีสถานที่ตั้งของสตูดิโออยู่หลายแห่งในเกียวโต ได้แก่ สตูดิโอ 1 (ใน เขตฟูชิมิ), สตูดิโอ 2 (สำนักงานใหญ่) และ สตูดิโอ 5 ซึ่งเป็นแผนกพัฒนาสินค้าในอูจิซึ่งห่างออกไปจาก สตูดิโอ 1 แค่หนึ่งสถานีรถไฟ อาคารสตูดิโอ 1 ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2007 ถูกใช้งานโดยพนักงานผลิตอนิเมะเป็นหลัก[4][5][6]

ไม่กี่อาทิตย์ก่อนการโจมตี เกียวโตแอนิเมชันได้รับจดหมายขู่ฆ่าจำนวนหนึ่ง ฮิเดอากิ ฮัตตะ ประธานบริษัท กล่าวว่า พวกเขาไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้หรือไม่ เนื่องจากจดหมายที่ถูกส่งมาไม่ระบุตัวตน[7] แต่เขาได้แจ้งความกับตำรวจและเตรียมทนายเอาไว้แล้ว พวกเขาได้รับจดหมายขู่ฆ่ามากถึง 200 ใบ ในปีที่แล้วก่อนที่จะเกิดการโจมตี ตำรวจลาดตระเวนชั่วคราวที่สำนักงานใหญ่ในเวลานั้น หลังพวกเขาได้รับแจ้งความเรื่องจดหมายขู่ฆ่านี้เมื่อเดือนตุลาคม 2018[8]

เหตุการณ์[แก้]

เหตุเพลิงไหม้เริ่มต้นเวลาประมาณ 10:30 น. ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น ผู้ก่อเหตุเดินเข้าไปในอาคารสตูดิโอ 1 พร้อมถังน้ำมัน และตะโกนว่า "ไปตายซะ!" (死ね) พร้อมจุดไฟเผาอาคารด้วยน้ำมัน ตัวอาคารไม่มีทางหนีไฟ ในขณะที่บางคนวิ่งหนีผู้ก่อเหตุก็เทน้ำมันเบนซินราดลงบนตัวเหยื่อ ทำให้เหยื่อในเหตุการณ์วิ่งออกไปบนถนนพร้อมด้วยเปลวไฟ[9] ผู้ก่อเหตุหนีออกจากที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วและถูกพนักงานของเกียวโตแอนิเมชันไล่ตามไปยังที่พัก ซึ่งตำรวจสามาถจับกุมตัวในภายหลังได้[10] พบมีดที่ไม่ได้ใช้หลายเล่มในบริเวณที่เกิดเหตุ[11] ไฟลามถึงทางขึ้น-ลงอาคาร หลายคนติดอยู่ภายในตัวอาคาร ไม่สามารถหลบหนีออกมาภายนอกได้ พบผู้เสียชีวิตหลายรายทั้งบริเวณชั้นสอง และบริเวณทางขึ้นสู่ชั้นดาดฟ้าเพื่อพยายามที่จะหลบหนี[12]

หลังจากถูกตำรวจจับกุม ผู้ก่อเหตุถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ผู้ก่อเหตุยอมรับว่าเป็นผู้จุดไฟจริง ในระหว่างที่กำลังถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล พร้อมทั้งกล่าวหาสตูดิโอว่าเป็น "หัวขโมย" หรือ "โจรกรรมทางวรรณกรรม" (パクリやがって)[10][13] ส่วนการสัมภาษณ์เพิ่มเติม ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจากอยู่ในระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล[14]

เหยื่อจากเหตุการณ์[แก้]

มีผู้เสียชีวิต 35 คน: 28 คนจากพิษคาร์บอนมอนอกไซด์, 5 คนจากการเผาไหม้รุนแรง และ 2 คนที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในภายหลัง[15][16][17] ผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 34 คน จากการรายงาน มีผู้อยู่ภายในอาคารขณะเกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 73 คน[18]

ทัตสึยะ อิชิฮาระ ผู้กำกับ แคลนนาด และ นาโอโกะ ยามาดะ ผู้กำกับ เค-อง, รักไร้เสียง ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย ทางด้าน ยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ ผู้กำกับ Amagi Brilliant Park, น้องเมดมังกรของคุณโคบายาชิ สูญหายพร้อมกับคนอื่น ๆ อีกสามคน ยังคงไม่ทราบสถานะปัจจุบัน[19] หนึ่งสัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ ญาติของทาเกโมโตะได้ยืนยันว่าทาเกโมโตะเสียชีวิตแล้ว[20]

หลังเหตุการณ์[แก้]

เซ็นไตฟิล์มเวิกส์ เจ้าของลิขสิทธิ์อนิเมะตะวันตก ระดมเงินบริจาคผ่านโกฟันด์มี และได้รับเงินกว่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐภายในเก้าชั่วโมงแรก

หลายคนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอนิเมะแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์นี้ เช่น มาโกโตะ ชิงไก ผู้กำกับภาพยนตร์[21]

นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ[22] รวมถึงสถานทูตจีน[23] และฝรั่งเศส[24] ในญี่ปุ่น ยังแสดงความเสียใจด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kyoto Animation studio fire: at least 25 dead after arson attack in Japan" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nikkei_20200527_suspectarrest
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wapo_20190718_arson
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sakuga_20170310_tour
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sakuga_20180825_kyoanihistory
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ntv_20190719_building
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nhk_20190719_deaththreats
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hr_20190724_arson
  9. "【現場速報】「焼けただれ、逃げていく人も」 京アニ火災、窓から炎と黒煙" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  10. 10.0 10.1 "京アニ火災 「パクリやがって」「死ね」液体まいた男が叫ぶ ズボンには火がついたまま…" (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  11. "現場に複数の刃物" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  12. "Studio fire, 10 more dead" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  13. "身柄確保の男「パクりやがって!」 京アニに恨みか" (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  14. "At least 24 dead, dozens injured in suspected arson at Japan animation studio". CNA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  15. "Fire Department Confirms 33 Dead In Arson Attack, NHK Japan (Archived 2019-07-18)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  16. アニメ会社放火 男性1人死亡 死者34人に 警察. NHK News (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19.
  17. 京アニ放火、吹き抜け構造で一気に燃焼か 4人なお重篤. Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19.
  18. "Kyoto Animation studio fire: at least 33 dead after arson attack in Japan". สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  19. Multiple Fatalities Confirmed in Kyoto Animation Fire
  20. "「らき☆すた」武本監督の悲報、親族に 京アニ放火". The Nikkei (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-07-26.
  21. @shinkaimakoto (2019-07-18). "京都アニメーションの皆さま、どうかどうかご無事で。" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  22. @AbeShinzo (2019-07-18). "本日、京都で発生した放火殺人事件では、多数の死傷者が出ており、あまりの凄惨さに言葉を失います。お亡くなりになられた方のご冥福をお祈りいたします。負傷された皆様にお見舞いを申し上げるとともに、一日も早い回復をお祈りしています。" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  23. @ChnEmbassy_jp (2019-07-18). "京都で発生した悲惨な事件で、お亡くなりになられた方のご冥福をお祈りし、負傷された皆様にお見舞いを申し上げます。" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  24. @ambafrancejp (2019-07-18). "Le Mot de l'Ambassadeur : Message de condoléances à la suite de l'incendie des studios de Kyoto Animation" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "japantimes_20190718_arson" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bbc_20190718_dead" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "independent_20190718_dead" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า