คาน่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคนอน
หน้าปกเกม แคนอน เวอร์ชันแรก
カノン
ชื่อภาษาอังกฤษKanon
แนวดรามา, แฟนตาซี, ฮาเร็ม, โรมานซ์
เกม
ผู้พัฒนาคีย์
ผู้จัดจำหน่ายวิชวลอาร์ตส (PC)
NEC อินเตอร์แชนเนล (DC/PS2)
โปรโตไทป์ (PSP/FOMA/S3G)
แนววิชวลโนเวล, เอะโระเก
แพลตฟอร์มPC, DC, PS2, PSP, FOMA, S3G
มังงะ
เขียนโดยมาริโกะ ชิมิซุ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น Paradigm
มังงะ
เขียนโดยคีย์
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น มีเดียเวิร์กส
อนิเมะ
กำกับโดยทาคามิจิ อิโต
สตูดิโอญี่ปุ่น โตเอแอนิเมชัน
อนิเมะ
Kanon Kazahana
กำกับโดยทาคามิจิ อิโต
สตูดิโอโตเอแอนิเมชัน
มังงะ
Kanon: The Real Feelings of the Other Side of the Smiling Face
เขียนโดยคีย์
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น ฟูจิมิโชโบะ
อนิเมะ
คาน่อน
กำกับโดยทัตสึยะ อิชิฮาระ
สตูดิโอญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน

คาน่อน[1] (ญี่ปุ่น: カノンโรมาจิKanon) เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววิชวลโนเวลที่สร้างโดยคีย์ ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยเกมเวอร์ชันแรกนี้เป็นเกมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และถูกจัดว่าเป็นเกมสำหรับผู้เล่นอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ต่อมาได้มีการออกเกมเวอร์ชันที่สามารถเล่นได้ทุกวัยมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 และได้มีเวอร์ชันดังกล่าวสำหรับเครื่องเล่นอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ดรีมแคสต์ เพลย์สเตชัน 2 และเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล

เกม คาน่อน แบบมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ออกจำหน่ายเป็นแผ่นดีวีดีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยเวอร์ชันสำหรับผู้ใหญ่ และเวอร์ชันที่เล่นได้ทุกวัย ทั้งสองเวอร์ชันรองรับในวินโดวส์ 2000 และวินโดวส์เอกซ์พี

เนื้อหาของเกมมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องไปตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ โดยผู้เล่นจะสามารถตัดสินใจเลือกดำเนินเรื่องไปตามตัวเลือกต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอในแต่ละครั้งได้ เนื้อเรื่องในตอนจบจะแยกออกเป็น 5 ฉากหลัก แต่ละฉากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวละครหญิงแต่ละตัว เป็นที่เชื่อกันว่าชื่อของเกมนี้อาจนำมาจากชื่อของเพลงคาน่อน ซึ่งภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่องที่สองที่สร้างขึ้นจากเกมนี้ก็ได้นำเพลง "คาน่อน ในบันไดเสียงดีเมเจอร์" ของพาเคลเบลมาใช้เป็นดนตรีประกอบในเรื่องด้วย

ได้มีการนำเกม คาน่อน มาสร้างเป็นสื่ออื่น ๆ จำนวนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์จำนวน 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกจัดทำโดยโตเอแอนิเมชัน มีทั้งหมด 13 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมพ.ศ. 2545 และรวมถึงโอวีเออีกหนึ่งตอน ซึ่งออกฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 และเรื่องที่สองจัดทำโดยเกียวโตแอนิเมชัน มีทั้งหมด 24 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 และยังได้มีการนำไปสร้างเป็น ไลท์โนเวล ดรามาซีดี และหนังสือการ์ตูนจำนวน 2 เล่ม

ลักษณะของเกม[แก้]

บทสนทนาในเกม คาน่อน ระหว่างยูอิจิและอายุ

คาน่อน เป็นเกมดำเนินเรื่องที่เนื้อเรื่องบางส่วนอาศัยการโต้ตอบจากผู้เล่น ในการเล่นเกม ผู้เล่นจะต้องอ่านข้อความที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอในแต่ละฉาก ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครหรือความคิดของตัวเอกของเรื่อง โดยระหว่างในเกม จะมีหลายจุดที่เป็นจุดตัดสินใจ ซึ่งผู้เล่นจะได้เลือกดำเนินเรื่องตามตัวเลือกต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ โดยจุดเหล่านี้จะปรากฏอยู่ทั่วไปในเกม และอาจเว้นช่วงตั้งแต่หนึ่งนาทีหรือนานกว่านั้น เมื่อถึงจุดตัดสินใจ เนื้อเรื่องจะหยุดลงเพื่อให้ผู้เล่นได้เลือกตัดสินใจว่าจะดำเนินเรื่องไปในทางใด การตัดสินใจแต่ละแบบจะนำไปสู่การดำเนินเรื่องที่แตกต่างกันออกไป เนื้อเรื่องในตอนจบของเกมที่เป็นไปได้มีทั้งหมด 5 ฉาก แต่ละฉากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวละครหญิงแต่ละตัว ในการที่จะเห็นเนื้อเรื่องในตอนจบให้ครบทุกฉาก ผู้เล่นจะต้องย้อนกลับไปเล่นใหม่ และเลือกตัดสินใจเลือกดำเนินเรื่องในแบบที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินไปในอีกฉากหนึ่ง

จุน มาเอดะ หนึ่งในผู้ทำงานด้านเนื้อเรื่องของ คาน่อน กล่าวให้ความเห็นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ว่า คาน่อน เป็นเกมที่มีอิทธิพลค่อนข้างสูงในสังคมญี่ปุ่น ทำให้ทางบริษัทควรจะสร้างเกมที่มีเนื้อหาไม่รุนแรง แต่เขากล่าวว่าไม่มีใครในทีมงานที่มีความคิดเช่นนั้นเลย[2] เป้าหมายหนึ่งของเกมเวอร์ชันแรกคือให้ผู้เล่นได้เห็นฉากเฮ็นไตเกี่ยวกับยูอิจิร่วมเพศกับตัวละครหญิงหนึ่งในห้าตัว[3] โดยในเกมจะมีฉากที่มีเนื้อหาทางเพศเกี่ยวกับตัวละครแต่ละตัว ตัวละหนึ่งฉาก และมีฉากแฟนตาซีอีกหนึ่งฉาก

ในเวลาต่อมา คีย์ได้ออกเกม คาน่อน แบบที่ไม่มีเนื้อหาทางเพศมาสองเวอร์ชัน[3] โดยใช้ภาพกราฟิกเดียวกับเวอร์ชันเดิม เพียงแต่ตัดฉากที่มีเนื้อหาทางเพศออก แต่จะมีฉากที่มีภาพโป๊เปลือยอยู่ 2 ฉาก ยูอิจิ ซูซุโมโต้ ผู้เขียนเนื้อเรื่องจากคีย์ได้ให้ความเห็นว่า ฉากที่มีเนื้อหาทางเพศใน คาน่อน เป็นฉากที่จบในตัวเอง จึงสามารถตัดฉากเหล่านี้ออกได้โดยไม่มีผลต่อเนื้อเรื่องหลัก[2]

เนื้อหา[แก้]

การวางโครงเรื่อง[แก้]

เมืองที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของ คาน่อน

สถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของ คาน่อน ได้แนวคิดมาจากสถานที่ในเมืองต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โมะริงุชิ โยะโกะฮะมะ โตเกียว และซัปโปะโระ[4] เช่นเดียวกับเกมอื่น ๆ ที่สร้างโดยคีย์ ซึ่งมักจะได้แนวคิดมาจากสถานที่จริง และมีการเปิดเผยออกมาชัดเจนว่ามาจากสถานที่ใด เนื้อเรื่องของ คาน่อน ดำเนินเรื่องในช่วงฤดูหนาว ทำให้เมืองใน คาน่อน ปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดเวลา

เนื้อหาหลักของ คาน่อน เกี่ยวกับปาฎิหาริย์ โดยตัวละครในเรื่องมักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น[5][6] นอกจากนี้ เนื้อเรื่องในหลายช่วงยังได้กล่าวถึงการสัญญาและรักษาสัญญา[6][7] โดยยูอิจิได้ให้สัญญาที่สำคัญมากไว้กับตัวละครหญิงทั้ง 5 ตัว ในขณะที่เขาค่อย ๆ นึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เขามาที่เมืองนี้ตอนเป็นเด็กได้

เนื้อหารองด้านหนึ่งของ คาน่อน คือการสูญเสียความทรงจำ ตัวละครหลัก 3 ตัว ได้แก่ ยูอิจิ อายุ และมาโคโตะ มีการสูญเสียความทรงจำในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งเนื้อหาในด้านนี้ได้ใช้เป็นปมในการดำเนินเรื่องต่อไป เนื้อหารองอีกด้านหนึ่งคืออาหารโปรดของตัวละครหลักแต่ละตัว โดยนิตยสาร Newtype USA ได้อธิบายไว้ในบทความ คาน่อน ว่า "เป็นอาหารที่ตัวละครแต่ละตัวกินแล้วดูสวยงามและมีชีวิตชีวามากที่สุด" ซึ่งตรงกันข้ามกับเนื้อหาหลักของเรื่องที่เป็นแนวโศกเศร้า[8] อาหารโปรดของอายุคือไทยากิ (ขนมเค้กรูปปลา) ของนายูกิคือสตรอเบอร์รี่ซันเดย์ ของมาโคโตะคือนิกุแมน (ซาลาเปาญี่ปุ่น) ของชิโอริคือไอศกรีม และของไมคือกิวดง (ข้าวหน้าเนื้อ)

ตัวละครหลัก[แก้]

ตัวละครหญิงในคาน่อน: ไม (บน-ซ้าย), นายูกิ (บน-กลาง), ชิโอริ (บน-ขวา), มาโคโตะ (ล่าง-ซ้าย) และอายุ (ล่าง-ขวา)
ไอซาวะ ยูอิจิ (ญี่ปุ่น
相沢 祐一โรมาจิAizawa Yūichi)
ให้เสียงโดย: อัตสึชิ คิไซจิ (2002) , โทโมคาสึ ซุงิตะ (2006/เกม)
ยูอิจิเป็นนักเรียนมัธยมปลายอายุ 17 ปี มีนิสัยชอบเล่นตลกกับเด็กผู้หญิงที่เขารู้จัก แต่เขาก็เป็นคนที่ซื่อสัตย์และเป็นที่ถูกใจของผู้อื่นมาก ยูอิจิมักจะช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ในเกม ผู้เล่นจะเล่นเป็นยูอิจิซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง
สึกิมิยะ อายุ (ญี่ปุ่น
月宮 あゆโรมาจิTsukimiya Ayu)
ให้เสียงโดย: ยูอิ โฮริเอะ
นายูกิ มินาเสะ (ญี่ปุ่น
水瀬 名雪โรมาจิMinase Nayuki)
ให้เสียงโดย: มาริโกะ โคดะ
ซาวาตาริ มาโคโตะ (ญี่ปุ่น
沢渡 真琴โรมาจิSawatari Makoto)
ให้เสียงโดย: มายูมิ อีซุกะ
มาโคโตะเด็กผู้หญิงที่สูญเสียความทรงจำ แต่จำได้ว่าเธอเคยมีเรื่องไม่พอใจกับยูอิจิเมื่อครั้งก่อนที่เขามาที่เมืองนี้ มาโคโตะซุกซนและมักจะชอบแกล้งล้อเล่นกับยูอิจิ เอชอบฤดูใบไม้ผลิมากและเคยขอให้ฤดูใบไม้ผลิคงอยู่ตลอดไป[6][9]
มิซากะ ชิโอริ (ญี่ปุ่น
美坂 栞โรมาจิMisaka Shiori)
ให้เสียงโดย: อาเคมิ ซาโต้ (อนิเมะ/เกม PSP) , ฮิโรโกะ โคนิชิ (Dreamcast/เกม PS2)
ชิโอริเป็นนักเรียนปีหนึ่งที่มีอาการป่วยหนักมาตั้งแต่เกิด เธอมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงจึงทำให้ต้องหยุดเรียนเกือบทุกวัน แต่ชิโอริมักจะมายืนอยู่ที่สนามในโรงเรียนเป็นประจำเพื่อจะมารอพบใครบางคนที่เธอรัก
คาวาซุมิ ไม (ญี่ปุ่น
川澄 舞โรมาจิKawasumi Mai)
ให้เสียงโดย: ยูคาริ ทามูระ
ไมเป็นนักเรียนปีสามที่อยู่โรงเรียนเดียวกับยูอิจิ ในตอนกลางคืน ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในโรงเรียน เธอจะมาที่โรงเรียนเพื่อต่อสู้กับปีศาจ[6][10] และด้วยเหตุนี้ เธอจึงถูกตำหนิจากทางโรงเรียนอยู่เสมอจากอุบัตเหตุที่เธอก่อขึ้นระหว่างต่อสู้กับปีศาจ ถึงแม้ไมจะมีท่าทางที่เย็นชาต่อผู้อื่น แต่ที่จริงแล้ว เธอเป็นคนที่มีน้ำใจและห่วงใยต่อผู้อื่นมาก

เนื้อเรื่อง[แก้]

สึกิมิยะ อายุ มักปรากฏตัวกะทันหันในยามตะวันใกล้ลับฟ้า สวมใส่เสื้อนอกสีน้ำตาลแดงทับเสื้อกันหนาว สวมกางเกงขาสั้นแม้อากาศหนาวเย็น และสะพายเป้มีปีก

เนื้อเรื่องของ คาน่อน เกี่ยวกับเด็กผู้หญิง 5 คน ที่มีความผูกพันกับเด็กผู้ชายคนเดียวกัน ตัวละครหลักของเรื่องคือ ไอซาวะ ยูอิจิ นักเรียนมัธมปลายปีสอง ยูอิจิได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในเมืองที่เขาเคยมาเมื่อ 7 ปีก่อน เนื้อเรื่องเริ่มขึ้นเมื่อวันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2542 เมื่อยูอิจิเดินทางมาถึงเมืองนี้ เขาพักอาศัยกับนายูกิ มินาเสะ ลูกพี่ลูกน้องของเขา และอากิโกะ แม่ของเธอ เนื่องจากยูอิจิไม่ได้มาเมืองนี้อีกเป็นเวลานาน ทำให้เขาจำเรื่องราวเมื่อเจ็ดปีก่อนที่เกิดขึ้นแทบไม่ได้เลย ยกเว้นเกี่ยวกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาพยายามที่จะรื้อฟื้นความทรงจำที่มีอยู่เกี่ยวกับเมืองนี้ รวมถึงนายูกิก็ช่วยเขาด้วย แต่ไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่เนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อย ๆ ยูอิจิได้รับรู้ถึงพลังเหนือธรรมชาติที่แฝงอยู่ในเมืองนี้ และเขาก็ค่อย ๆ นึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อเจ็ดปีก่อนได้

วันหนึ่ง ขณะที่นายูกิพายูอิจิไปเดินชมรอบเมือง นายูกิได้แวะเข้าไปซื้อของในร้าน ส่วนยูอิจิรออยู่ด้านนอก ได้มีเด็กหญิงแปลกหน้าคนหนึ่งชื่อ สึกิมิยะ อายุ วิ่งเข้ามาชนยูอิจิ หลังจากนั้น อายุพาเขาไปที่ร้านใกล้ ๆ และบอกความจริงไปโดยไม่ตั้งใจว่าเธอได้ขโมยไทยากิจากร้านมาถุงหนึ่ง ยูอิจิพาอายุกลับไปที่ร้านเพื่อไปขอโทษคนขาย สองสามวันต่อมา ขณะที่ยูอิจิเดินอยู่ในเมือง เขาได้พบกับเด็กผู้หญิงชื่อ ซาวาตาริ มาโคโตะ เธอสูญเสียความทรงจำแต่พอจำได้ว่าเธอมีเรื่องไม่พอใจกับยูอิจิเมื่อเขามาที่เมืองนี้เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว มาโคโตะป็นลมล้มลงที่พื้นถนน ยูอิจิจึงพาเธอไปที่บ้าน อากิโกะอนุญาตให้เธอมาพักอาศัยที่บ้านได้ แม้ว่ายูอิจิอยากจะให้ไปแจ้งตำรวจมากกว่า

เด็กผู้หญิงคนต่อไปที่มีความเกี่ยวข้องกับอดีตของยูอิจิคือ คาวาซุมิ ไม นักเรียนปีสามที่อยู่โรงเรียนเดียวกับยูอิจิ ในตอนกลางคืน ขณะที่ไม่มีคนอยู่ในโรงเรียน ไมจะมาที่โรงเรียนเพื่อต่อสู้กับปีศาจ ทำให้เธอถูกตำหนิจากทางโรงเรียนอยู่เสมอจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เธอก่อขึ้นระหว่างต่อสู้กับปีศาจ เนื่องจากไมไม่ได้บอกความจริงกับทางโรงเรียน เพราะคิดว่าจะไม่มีใครเชื่อว่ามีปีศาจอยู่ในโรงเรียน ยูอิจิได้พบกับเด็กผู้หญิงคนที่ห้าที่ชื่อ มิซากะ ชิโอริ โดยบังเอิญ ชิโอริมีอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้มาตั้งแต่เกิด ทำให้เธอมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงจึงต้องหยุดเรียนเกือบทุกวัน ยูอิจิเริ่มคุยกับชิโอริหลังจากเห็นเธออยู่ที่สนามในโรงเรียน และได้ทราบว่าชิโอริมายืนอยู่ที่สนามในโรงเรียนเกือบทุกวันเพื่อจะมารอพบใครบางคนที่เธอรัก

การพัฒนา[แก้]

การออกจำหน่าย[แก้]

สื่ออื่น ๆ[แก้]

ไลท์โนเวล[แก้]

มีไลท์โนเวลเกี่ยวกับ คาน่อน จำนวน 5 เล่ม เขียนโดย มาริโกะ ชิมิซุ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Paradigm ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยมี อิตารุ ฮิโนะอุเอะ นักวาดภาพประกอบไลท์โนเวล เป็นผู้วาดภาพหน้าปกและภาพประกอบ

ไลท์โนเวลแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับตัวละครหลักแต่ละตัว โดยเล่มแรกที่ออกจำหน่ายคือ ยุกิ โนะ โชโจะ (ญี่ปุ่น: 雪の少女โรมาจิYuki no Shōjoทับศัพท์: เด็กหญิงในหิมะ; นายูกิ) ออกจำหน่ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาในเดือนเดียวกัน ไลท์โนเวลเล่มที่สองที่ชื่อว่า เอะกะโอะ โนะ มุโกงะวะ นิ (ญี่ปุ่น: 笑顔の向こう側にโรมาจิEgao no Mukougawa niทับศัพท์: อีกฟากหนึ่งของรอยยิ้ม; ชิโอริ) ก็ได้ออกจำหน่าย ไลท์โนเวลเล่มที่สามคือ โชโจะ โนะ โอะริ (ญี่ปุ่น: 少女の檻โรมาจิShōjo no Oriทับศัพท์: ที่กักขังเด็กหญิง; ไม) ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เล่มที่สี่คือ The Fox and the Grapes ออกจำหน่ายในสองเดือนถัดมา และเล่มสุดท้ายคือ ฮิดะมะริ โนะ มาชิ (ญี่ปุ่น: 日溜りの街โรมาจิHidamari no Machiทับศัพท์: เมืองแห่งแสงแดด; อายุ) ออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543[11]

ดรามาซีดี[แก้]

คาน่อน มีดรามาซีดีทั้งหมด 3 ชุด แต่ละชุดมีซีดี 5 แผ่น รวมทั้งหมด 15 แผ่น ซึ่งออกจำหน่ายตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 จนถึง 26 เมษายน พ.ศ. 2546[12] ซีดีสองชุดแรกมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครหลักแต่ละตัว ตัวละหนึ่งแผ่น โดยหน้าปกซีดีจะเป็นรูปตัวละครหลักของซีดีแผ่นนั้น ส่วนซีดีชุดที่สามจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเขียนรวม และมีหน้าปกซีดีเป็นรูปของมินาเสะ อากิโกะ

มังงะ[แก้]

หน้าปกของหนังสือการ์ตูน คาน่อน ฉบับแรก ตีพิมพ์โดยมีเดียเวิร์กส

มังงะ คาน่อน เรื่องแรก ตีพิมพ์ในนิตยสารเด็งเงคิไดโอ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จนถึง 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[13] และต่อมาได้มีการนำมาตีพิมพ์รวมเป็นเล่ม 2 เล่ม โดยมีเดียเวิร์กส ภายใต้ชื่อของเด็งเงคิคอมิกส์[14] เนื้อเรื่องของมังงะได้นำมาจากในเกมวิชวลโนเวล และมี เพทิต โมริชิมะ เป็นผู้วาดภาพประกอบ

ในมังงะฉบับรวมเล่มมีเนื้อหาทั้งหมด 6 บท แบ่งเป็นเล่มละ 3 บท ซึ่งเนื้อหาในบทแรกเป็นบทนำ และในบทสุดท้ายเป็นบทสรุป ส่วนเนื้อหาในอีกสี่บทที่เหลือจะเป็นฉากที่เกี่ยวข้องกับตัวละครหลักแต่ละตัว คือ ชิโอริ มาโคโตะ ไม และอายุ ตามลำดับ และถึงแม้จะไม่มีบทที่เป็นฉากของนายูกิโดยตรง แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องเล็กน้อยให้นายูกิได้อยู่ในฉากกับยูอิจิเกือบตลอดเวลา[15][16] เนื้อหาของมังงะเรื่องแรกนี้มีส่วนที่แตกต่างจากในเกมวิชวลโนเวลคือ จะไม่มีการเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมดของชิโอริ มาโคโตะ และไม ซึ่งในเกม ในฉากจบของตัวละครหลักแต่ละตัวจะมีการเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด แต่ในมังงะจะเล่าเพียงบางส่วนเท่านั้น[15][16] เนื่องจากเนื้อหาจะเน้นไปที่เรื่องราวของอายุเป็นหลัก

อนิเมะ[แก้]

เปรียบเทียบความแตกต่างของนายูกิและอายุในอนิเมะภาคแรก (พ.ศ. 2545, แถวบน) และภาคที่สอง (พ.ศ. 2549, แถวล่าง)

คาน่อน ได้มีการสร้างเป็นอนิเมะครั้งแรกใน พ.ศ. 2545 มีทั้งหมด 13 ตอน และได้มีการสร้างโอวีเอจำนวนหนึ่งตอนขึ้นใน พ.ศ. 2546 หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอนิเมะเรื่องที่สองขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 24 ตอน

ดนตรี[แก้]

เกม คาน่อน มีเพลงประกอบที่สำคัญอยู่สองเพลง เพลงเปิดคือ "Last regrets" และเพลงปิดคือ "คาเซะ โนะ ทะโดะริตสึกุ บะโชะ" (ญี่ปุ่น: 風の辿り着く場所โรมาจิKaze no Tadoritsuku Bashoทับศัพท์: ลมพัดผ่านไปที่ใด) ซึ่งทั้งสองเพลงนี้มีอายานะเป็นผู้ขับร้อง โดยเนื้อเพลงของทั้งสองเพลงแต่งโดย จุน มาเอดะ และเรียบเรียงโดย ทาคาเสะ คาซึยะ จากกลุ่มดนตรี I've Sound และมีดนตรีประกอบสำหรับตัวละครหลักแต่ละตัว โดยดนตรีประกอบของอายุคือ "ฮิดะมะริ โนะ มาชิ" (ญี่ปุ่น: 日溜りの街โรมาจิHidamari no Machiทับศัพท์: เมืองแห่งแสงแดด) ของนายูกิคือ "ยุกิ โนะ โชโจะ" (ญี่ปุ่น: 雪の少女โรมาจิYuki no Shōjoทับศัพท์: เด็กหญิงในหิมะ) ของมาโคโตะคือ "The Fox and the Grapes" ของชิโอริคือ "เอะกะโอะ โนะ มุโกงะวะ นิ" (ญี่ปุ่น: 笑顔の向こう側にโรมาจิEgao no Mukougawa niทับศัพท์: อีกฟากหนึ่งของรอยยิ้ม) และดนตรีประกอบของไมคือ "โชโจะ โนะ โอะริ" (ญี่ปุ่น: 少女の檻โรมาจิShōjo no Oriทับศัพท์: ที่กักขังเด็กหญิง)

อัลบั้มเพลงที่ออกจำหน่ายเป็นอัลบั้มแรกคือ Anemoscope ออกจำหน่ายเป็นชุดพร้อมกับเกม คาน่อน เวอร์ชันแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542

การตอบรับ[แก้]

เกม คาน่อน เวอร์ชันสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับการจัดว่าเป็นเกมบิโชโจะที่ดีที่สุดเกมหนึ่งใน พ.ศ. 2542[17] ส่วนเกมเวอร์ชันสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ที่ออกในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการประเมินจากนิตยสารวิดีโอเกม Famitsu ด้วยคะแนน 29 จากคะแนนเต็ม 40[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kanon". TIGA. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "Key Scenario Staff Long Interview" (ภาษาญี่ปุ่น). Colorful Pure Girl. มีนาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "Kanon visual novel official website" (ภาษาญี่ปุ่น). Key. สืบค้นเมื่อ 30 พ.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Kanon in Moriguchi Osaka" (ภาษาญี่ปุ่น). 23 ต.ค. 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2549. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. คำพูดเดิม: 起きないから、奇跡って言うんですよ
    คำแปล: "มันเรียกว่าปาฏิหาริย์เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้น"
    Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Information on the Kanon Standard Edition" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. คำพูดเดิม: 約束、だよ
    คำแปล: "นั่นเป็นสัญญา"
    Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's.
  8. Newtype USA. Vol. 6. A.D. Vision. มกราคม 2550. pp. 62–63.
  9. คำพูดเดิม: 春がきて・・・ずっと春だったらいいのに
    คำแปล: "ขอเพียงแค่ให้ฤดูใบไม้ผลิมาถึงและคงอยู่ตลอดไป"
    Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's.
  10. คำพูดเดิม: 私は魔物を討つ者だから
    คำแปล: "ฉันเป็นนักล่าปีศาจ"
    Key (4 มิ.ย. 2542). Kanon (ภาษาญี่ปุ่น). Visual Art's.
  11. "Mariko Shimizu's works available for purchase" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2558‎. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "List of Kanon products". CD Japan. สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Image of the copyright page from the second Kanon manga volume" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 13 มี.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Dengeki Comics page for Kanon" (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ 16 พ.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. 15.0 15.1 Morishima, Petit. Kanon manga volume 1 (ภาษาญี่ปุ่น). MediaWorks. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. 16.0 16.1 Morishima, Petit. Kanon manga volume 2 (ภาษาญี่ปุ่น). MediaWorks. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "A short review on Kanon". Freetype. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-02. สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "Famitsu reviews the week of February 20, 2002". DVD Talk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Kanon