นกตะขาบอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกตะขาบอินเดีย
นกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis benghalensis) ที่พบในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Coraciidae
สกุล: Coracias
สปีชีส์: C.  benghalensis
ชื่อทวินาม
Coracias benghalensis
L., 1758
ขณะบิน

นกตะขาบอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis; อังกฤษ: Indian roller) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในเอเชียตะวันตกและอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่บางส่วนทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันออกกลางรอบอ่าวเปอร์เซีย ปากีสถาน อินเดีย จนถึงบังกลาเทศและศรีลังกา พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟฟ้า ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง ในอดีตนกตะขาบทุ่ง (C. affinis) ที่พบในประเทศไทยถูกระบุเป็นชนิดย่อยของนกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) ซึ่งปัจจุบันแยกออกเป็นต่างชนิดกัน ลักษณะเด่นที่แตกต่างของนกตะขาบอินเดียคือ หน้าและคอสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ท้ายทอยสีน้ำตาลเทาหรือเขียวมะกอก มีริ้วขาวคาดตามยาวช่วงลำคอและอก[2] นกตะขาบอินเดียมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ ยาว 30–34 เซนติเมตร กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์ขนาดเล็ก หรือกิ้งก่าในบางครั้ง เป็นนกที่ส่งเสียงร้องไม่มากนัก กระดกหางช้า ๆ เป็นบางครั้ง

อนุกรมวิธาน[แก้]

นกตะขาบอินเดียเป็นหนึ่งในนกหลายสายพันธุ์ที่กาโรลุส ลินเนียส ระบุชนิดไว้ในระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ค.ศ. 1758 ในชื่อทวินาม Corvus benghalensis[3] ซึ่งตั้งตามคำอธิบายและภาพวาดแสดงลักษณะของนกเจย์ชนิดหนึ่งจากเบงกอล ในปี ค.ศ. 1731 โดยเอเลียซาร์ อัลบิน (Eleazar Albin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งได้คัดลอกมาจากภาพวาดโดยโจเซฟ แดนดริดจ์ (Joseph Dandridge) นักวาดภาพประกอบ[4]

ในปี ค.ศ. 1766 ลินเนียสได้ระบุชนิดนกตะขาบอินเดียภายใต้ชื่อใหม่ Coracias indica[5] ตามคำอธิบายของจอร์จ เอ็ดเวิร์ด (George Edwards) จากตัวอย่างที่เก็บได้ในศรีลังกาในปี ค.ศ. 1764[6] ชื่อหลังนี้เป็นที่นิยมมากกว่าชื่อแรกและถูกใช้นานหลายปี ซึ่งพิศวมัย พิศวาส นักปักษีวิทยาชาวอินเดีย ให้ข้อสังเกตความนิยมที่สับสนนี้อาจเกิดจากหนังสือ ระบบธรรมชาติ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 ของลินเนียสเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการตั้งชื่อทวินามอย่างเป็นทางการ (ทำให้ชื่อหลังถูกใช้ แทนที่ควรเป็นชื่อที่ตั้งครั้งแรกในฉบับที่ 10) ต่อมาเอิรนส์ ฮาร์แทท (Ernst Hartert) นักปักษีวิทยาชาวเยอรมัน ระบุว่ามีชนิดย่อยทางตอนเหนือที่ระบุชนิดครั้งแรกควรใช้ชื่อ benghalensis แยกออกอย่างชัดเจนจากชนิดย่อยทางใต้ที่ระบุชนิดครั้งหลังควรใช้ชื่อ indica อย่างไรก็ตาม พิศวมัยตั้งข้อสังเกตว่าชนิดต้นแบบ (ที่ซึ่งเดิมพบตัวอย่างครั้งแรก) ของ benghalensis นั้นคือแคว้นมัทราส (Madras Presidency) ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตพื้นที่กระจายพันธุ์ของชนิดย่อยทางใต้ จึงเสนอให้มีการคัดเลือกเก็บตัวอย่างชนิดต้นแบบใหม่ (neotype) จากภูมิภาคเบงกอล ที่ซึ่งเดิมลินเนียสเข้าใจอย่างคลาดเคลื่อนว่าเป็นพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างต้นแบบ[7] แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับให้ดำเนินการจากคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการตั้งชื่อทางสัตววิทยาในปี ค.ศ. 1962[8]

นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis) เป็นนกในสกุลนกตะขาบทุ่ง (Coracias) ของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae)

ชนิดย่อย[แก้]

สองชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ[9] คือ

  • Coracias benghalensis benghalensis (Linnaeus, 1758) — พบในด้านตะวันออกของภูมิภาคตะวันออกกลางโดยรอบอ่าวเปอร์เซีย จนถึงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ตามแนวเทือกเขาวินทยา[10] อาจตลอดจนถึงบังกลาเทศ
  • Coracias benghalensis indicus (Linnaeus, 1766) — กระจาบอยู่ทางใต้ของอินเดีย ไปจนถึงศรีลังกา[10] มีลักษณะที่แตกต่างคือ ปีกและหางสั้นกว่าเล็กน้อย กระหม่อมและสีแซมบนปีกสีน้ำเงินเข้มกว่า หลังด้านบนสีออกไปทางน้ำตาลกว่า รอบคอสีออกน้ำตาลแดง

ความสัมพันธ์กับนกตะขาบทุ่ง[แก้]

Coracias

นกตะขาบหัวหงอก (C. cyanogaster)





นกตะขาบม่วง (C. naevius)



นกตะขาบทุ่งหางบ่วง (C. spatulatus)






นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง (C. caudatus)




Abyssinian roller (C. abyssinicus)



นกตะขาบยุโรป (C. garrulus)






นกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis)




นกตะขาบทุ่ง (C. affinis)



นกตะขาบปีกม่วง (C. temminckii)







ในอดีตนกตะขาบทุ่ง (Coracias affinis) ที่พบในแถบอินโดจีนรวมทั้งประเทศไทยถูกระบุเป็นชนิดย่อยของนกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) (ในชื่อสามัญร่วมกันคือ นกตะขาบทุ่ง) จากหลักฐานการผสมข้ามพันธุ์ในเขตรอยต่อทับซ้อนในพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของเนปาล บังกลาเทศ ไปจนถึงรัฐอัสสัมตะวันตก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนกตะขาบทุ่งแยกออกเป็นต่างชนิดกันกับนกตะขาบอินเดีย[11] จากการศึกษาระดับโมเลกุลของนิวเคลียร์และไมโทคอนเดรียดีเอนเอในปี ค.ศ. 2018 พบว่า นกตะขาบทุ่งเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดกับนกตะขาบปีกม่วง (C. temminckii) (นกตะขาบทุ่งที่แยกออกนี้บางครั้งสามารถเรียกเป็น "นกตะขาบทุ่งอินโดจีน") ในขณะที่นกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) เป็นเพียงญาติระดับถัดไปซึ่งแยกออกจาก C. affinis และ C. temminckii

สายวิวัฒนาการ[แก้]

ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการในสกุลนกตะขาบทุ่ง (Coracias) ถูกระบุจากการศึกษาระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2018[12]

ไฟล์:นกตะขาบทุ่ง.jpg
เมื่อกางปีกบิน จะมองเห็นสีปีกสีน้ำเงิน สีฟ้าสะท้อนแสง เหลือบพราย
ภาพเคลื่อนไหว
ขนด้านหลังสีน้ำตาลปนเขียวมะกอก

สมาพันธ์นักปักษีวิทยานานาชาติได้กำหนดให้ชื่อ "นกตะขาบอินเดีย" (อังกฤษ: Indian roller) เป็นชื่อสามัญอย่างเป็นทางการของนกชนิดนี้[9] ในบริติชอินเดียเดิม เรียกว่า 'บลูเจย์' (blue jay; นกเจย์สีฟ้า)[13] และนกตะขาบอินเดียยังถูกเรียกว่า 'ราชาน้อย' (Little King) โดยชาวบ้านในจังหวัดคูเซสถานในประเทศอิหร่าน[14]

ชื่ออื่น[แก้]

ภาษาเบงกอล : বাংলা নীলকণ্ঠ (Bānlā nīlakaṇṭha, บานลา นิลกันฑา)

ภาษาฮินดี : Pal kuruvi (พาล คุรุวี)

ภาษามลยาฬัม : പനംകക്ക, പനങ്കാക്ക (panaṅkakka; พะนังคัคคา)

ภาษาทมิฬ : Panangadai (พะนังกะได)

ภาษาเปอร์เซีย : سبزقبای هندی

ลูกผสม[แก้]

พบลูกผสม นกตะขาบทุ่ง x นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis x affinis) ในพื้นที่กระจายพันธุ์ที่ทับซ้อนกันของนกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) กับ นกตะขาบทุ่ง (C. affinis) ในช่วงตอนกลางของประเทศบังกลาเทศ และตอนเหนือของรัฐเบงกอลตะวันตก โดยทั่วไปมีลักษณะขนสีฟ้าซีดและขนส่วนมากเป็นสีน้ำตาลทึมโดยเฉพาะส่วนท้องและบนกระหม่อมเกือบทั้งหมด ลำคออาจมีสีครามเล็กน้อยพร้อมกับริ้วขาวประปรายเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ C. affinis กับ C. benghalensis ตามลำดับ หรือไม่มีเลย (น้ำตาลอ่อนล้วน)[15]

ลักษณะ[แก้]

ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำยาวปานกลาง
นกตะขาบอินเดียวัยอ่อน

เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30–34 เซนติเมตร[16][17][18] น้ำหนัก 166–176กรัม[19] ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างป้อมไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้าน ยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม หนังรอบตาสีส้มแก่ ม่านตาสีน้ำตาลเทา[17]

ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปีกกว้าง 65–74 เซนติเมตร ปลายปีกมีขน 11 เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ 11 สั้นกว่าขนเส้นอื่น ๆ จึงเห็นได้ชัดเพียง 10 เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้ากลางเล็กน้อย

ขาและตีนเหลืองอมน้ำตาล ขาสั้น นิ้วตีนสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วตีนข้างละ 4 นิ้ว นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 3 เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกตีนที่มีลักษณะดังกล่าวว่า นิ้วติดกันแต่กำเนิด (syndactyly foot) ความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae

สีขน[แก้]

ใต้ปีกและหาง เป็นสีฟ้าสลับน้ำเงิน ขนปีกนอกปลายสีฟ้าคาดแถบเล็ก ๆ สีน้ำเงินปลายนอกสุด ปีกในเป็นน้ำเงินเกือบทั้งหมดเว้นโคนขนปีกสีฟ้า (ดูรูปล่าง)
ขนนกตะขาบอินเดีย: ขนปีกนอก ขนปีกในด้านนอกสองเส้น และขนหางสองเส้น (จากซ้ายไปขวา)

ขนที่หน้าผาก คาง และโคนจะงอยปากเป็นสีชมพูอมน้ำตาลอ่อน ขนปิดรูหูมีสีน้ำตาลแดงเข้มและมีริ้วสีชมพูหรือชมพูอ่อน คอสีน้ำตาลแดงหม่นและมีริ้วสีชมพูอ่อน กระหม่อมและต้นคอสีฟ้าเข้ม หลังและตะโพกสีเขียวมะกอก ท้องสีฟ้า ส่วนหางเป็นสีฟ้า ส่วนปลายสีครามถึงน้ำเงิน โคนหางโดยรอบเป็นสีครามเข้ม ขนปีกบนปีกมีสีม่วงน้ำเงินเหมือนกันกับขนที่หาง คาดด้วยแถบสีฟ้า ปลายสุดของขนปีกนอกที่หนึ่งถึงห้าหรือหกมีแถบสีน้ำเงิน ใต้โคนปีกและข้อพับสีฟ้า โคนปีกบนเป็นสีไล่จากนอกไปในคือฟ้าน้ำเงินไปจนสีเขียวหม่น (สีมะกอก) โคนหางด้านในสีฟ้าอ่อนมีปลายขนแซมสีมะกอกหรือคราม[17][18][19]

สีขนโดยรวมดูหม่นซีดเมื่อนกเกาะอยู่กับที่ แต่ดูสดใสหลากสีมากขึ้นเมื่อกางปีกบิน[18] การผลัดขนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคมและสิ้นสุดระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมีนาคม[17]

สีฟ้าของขนปีกนั้นประกอบขึ้นจากโครงสร้างระดับจุลภาคในหนามขนที่สร้างสีน้ำเงินจากการกระเจิง ซึ่งซี.วี.รามัน (นักฟิสิกส์ชางอินเดีย) ตั้งข้อสังเกตในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 ว่ามีความซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ทินดอลล์ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2010 พบว่าหนามขนนกมีโครงสร้างเหมือนช่องที่มีแท่ง β-keratin เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สลับกับช่องว่างระหว่างเส้นขน

นกตะขาบอินเดียตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยจะมีรูปร่างสัณฐานคล้ายคลึงกันและไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีขนตามฤดูกาล[17] นกวัยรุ่นมีสีทึมกว่า ซีดกว่าและออกสีน้ำตาลมากกว่า[10] กระหม่อมสีเขียวหม่นและท้องสีฟ้าอมเขียวหม่นแต้มด้วยจุดประปรายสีน้ำตาลอ่อน จะงอยปาหมีสีน้ำตาลและมีโคนปากเป็นสีเหลืองแทนที่เป็นสีดำแบบตัวเต็มวัย[17]

เสียง[แก้]

นกตะขาบอินเดีย ส่งเสียงร้องแบบพยางค์เดี่ยว "จิด ๆ " แตกต่างกันไป ทั้งสั้น ยาว และกระแทกเสียง การร้องร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" เกิดขึ้นในระหว่างการบินผาดแผลง และเพิ่มความถี่และระดับเสียงเมื่อนกบินเข้าหาผู้บุกรุก เมื่อเกาะอยู่ข้างกันในรัง ลูกนกส่งเสียงดังเมื่อเรียกหาอาหาร ในขณะที่ลูกนกจะแหกร้องดังหลังกิน นกตะขาบอินเดียวัยรุ่นมักทำเสียงเหมือนแมวขณะหาอาหาร[18]

ความแตกต่างจากนกตะขาบอื่น[แก้]

  • นกตะขาบทุ่ง (C. affinis)—โดยรวมนกตะขาบทุ่งมีสีเข้มกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีคาง คอ และหน้าอกสีครามและไม่มีริ้วลาย[10] หน้าผากสีเขียวอมฟ้า[18] ขนใต้ปีกเป็นสีน้ำเงินเข้มกว่า[20] เสียงเรียกมีเสียงแหลมสูงและมีเสียงจมูกมากกว่า[10]
  • นกตะขาบยุโรป (C. garrulus)—ในระยะไกลอาจเข้าใจผิดว่านกตะขาบอินเดียเป็นนกตะขาบยุโรป[21] ซึ่งเป็นนกอพยพบางส่วนในของเขตการกระจายพันธุ์ของนกตะขาบอินเดีย นกตะขาบยุโรปมีคอและหางยาวกว่าขณะบิน เช่นเดียวกับขนปีกนอกสีดำและหัวสีน้ำเงินล้วน[18]
นกตะขาบอินเดีย
(C. benghalensis)
เปรียบเทียบกับชนิดอื่นที่คล้ายกันในสกุล (เฉพาะที่พบในเอเชีย)
นกตะขาบทุ่ง
(C. affinis)
นกตะขาบยุโรป
(C. garrulus)
นกตะขาบปีกม่วง
(C. temminckii)
  • หน้าและคอสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู
  • มีริ้วขาวคาดตามยาวช่วงลำคอและอก
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลเทา
  • สีฟ้าและน้ำเงินโดยรวมเข้ม
  • คอสีครามเด่นชัด
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลมะกอกเข้ม
  • สีโดยรวมเป็นสีฟ้าอ่อนอมเขียว
  • หัวและคอสีฟ้าล้วนหรือเกือบทั้งหมด
  • หลังสีน้ำตาล
  • ปลายปีกนอกและในคล้ายกันคือไม่มีแถบสีฟ้าตรงปลาย
  • สีโดยรวมเป็นสีน้ำเงินเข้ม
  • ปลายปีกและหางสีน้ำเงินสด
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลมะกอกเข้ม
  • นกประจำถิ่นของประเทศไทย[22]
  • ไม่พบในประเทศไทย
  • พบในประเทศอินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์[แก้]

มีเขตการกระจายพันธุ์ จากอิรัก โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิหร่านในช่วงโดยรอบอ่าวเปอร์เซีย ผ่านอนุทวีปอินเดียได้แก่ อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อินเดีย, บังกลาเทศ บางส่วนของภูฏานและเนปาล รวมถึงศรีลังกา[23]

ในประเทศปากีสถานมีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำรอบ ๆ เขื่อนโชเทียรี (Chotiari Dam) ในแคว้นสินธ์ ในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งชีวานี ในบาโลลีสถาน และในแคว้นปัญจาบ ตามแนวเขื่อนกั้นน้ำทวนซา (Taunsa Barrage) และแม่น้ำจนาพ[24][25][26][27] ได้รับการบันทึกว่าเป็นนกอพยพในช่วงฤดูร้อนที่จะลาลาบาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน[10] และเป็นนกพลัดหลงในซีเรีย ซาอุดีอาระเบีย เกาะมาซิราห์[18] กาตาร์ เยเมน โซโคตรา[28] บาห์เรน ซึ่งถูกพบเห็นในปี ค.ศ. 1996 และในปี ค.ศ. 2008[29] หมู่เกาะลักษทวีป หมู่เกาะมัลดีฟส์[10] และตุรกี[28] เป็นนกอพยพในฤดูหนาวในคูเวตบนเกาะกรีนและพื้นที่เกษตรกรรมใกล้กับอัลจาห์รา[30]

นกตะขาบอินเดียพบได้ทั่วไปในป่าเปิดที่มีต้นไม้ในสกุลอาเคเชีย และ Prosopis และปรับตัวได้ดีกับภูมิประเทศที่มนุษย์อาศัย เช่น สวนสาธารณะและสวน ทุ่งนา สวนอินทผาลัม และสวนมะพร้าว

ในภาคเหนือของโอมานมีชื่อเล่นว่า "นกวงเวียน" จากการที่นกมักอาศัยอยู่ในหย่อมสวนกลางวงเวียนจราจร[18] ในโอมาน เป็นเรื่องปกติในภูมิภาค Al Batinah และในพื้นที่เพาะปลูกทางตะวันออกของ Sharqiya Sands ที่ต่ำกว่าระดับความสูง 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ในอินเดีย มีการมองเห็นที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลในป่าชายเลนภิตารกานิกาและอ่าวมันนาร์ไปจนถึงประมาณ 2,100 เมตร (6,900 ฟุต) ในเทือกเขานิลคีรี[31][32][33]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]

นกตะขาบอินเดียกำลังอาบแดด

นกตะขาบอินเดียมักไม่อยู่รวมกันเป็นฝูง และมักพบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่[17] เป็นนกหวงถิ่น แต่ในขณะอพยพอาจแสดงพฤติกรรมหาอาหารเป็นฝูงโดยไม่มีการรุกรานนกอื่น นกตะขาบอินเดียมักลาดตระเวนอาณาเขตของตนโดยบินบนยอดไม้หรือสูง 10–15 เมตร และเมื่อพบผู้บุกรุกจะทำการการบินม้วนตัวลงมายังผู้บุกรุกอย่างรวดเร็วเพื่อขับไล่ ความสามารถในการบินม้วนตัวกลางอากาศได้ ในภาษาอังกฤษจึงเรียกมันว่า "Roller" ซึ่งแปลว่า "ลูกกลิ้ง" หรือ"นักม้วนตัว"[34]

นกตะขาบอินเดียมักใช้ไซร้ขนประมาณสองสามนาทีแล้วจึงบินไปรอบ ๆ บริเวณที่หากิน มักชอบเกาะสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลข มีการสังเกตการเกาะบนต้นไม้และพุ่มไม้มักอยู่ในระดับความสูง 3–9 เมตร จากจุดที่มันบินลงไปหาแมลงบนพื้น นอกจากนี้ยังเกาะบนยอดไม้ที่สูงกว่า[35] นกตะขาบอินเดียมักบินผาดแผลงด้วยการบินควงสว่านและบินหมุนตัว[10]

มักชอบบินโฉบเข้าหาพื้นที่ที่มีไฟป่าเนื่องจากควันเหล่านั้นช่วยไล่แมลงจำนวนมากให้ปรากฏตัว[18] มีการสังเกตพฤติกรรมการติดตามรถไถของนกตะขาบอินเดียในการหาเหยื่อจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ถูกรถพลิกหน้าดินขึ้นมา ในแหล่งการเกษตรทางตอนใต้ของอินเดียพบว่าความหนาแน่นของนกที่มารวมกันตามรถไถประมาณ 50 ตัวต่อตารางกิโลเมตร[35][36][37]

นกตะขาบอินเดียที่สร้างรังมีกแสดพฤติกรรมก้าวร้าวต่อสัตว์ผู้ล่าที่เป็นไปได้ว่าเข้ามารบกวน เช่นไล่กาป่าอินเดีย (Corvus culminatus) ออกจากพื้นที่ทำรัง และได้รับการบันทึกหลายครั้งว่า สามารถบินไล่อีแร้งอียิปต์ (Neophron percnopterus) และบินโฉบไล่มนุษย์

จากการศึกษาตรวจพบปรสิตเซลล์เม็ดเลือดแดง Haemoproteus coraciae[38] และปรสิตในเลือด Leucocytozoon ในเนื้อเยื่อปอดของนกตะขาบอินเดีย[39] รวมทั้งพยาธิ Hadjelia srivastavai, Cyrnea graphophasiani[40], Habronema tapari [41]และ Synhimantus spiralis[42]

การอพยพ[แก้]

โดยทั่วไปไม่อพยพโดยเฉพาะประชากรที่อาศัยในช่วงทางตะวันออกของเขตการกระจายพันธุ์ รูปแบบการอพยพยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก ในโอมานมีการอพยพตลอดทั้งปี แต่ดูเหมือนจะพบได้บ่อยในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน[18]

การผสมพันธุ์[แก้]

ลูกกลิ้งอินเดียทำรังในโพรงหรือรอยแยกในอาคาร

ฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยเริ่มจับคู่[18]ในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน ซึ่งอาจเร็วกว่าเล็กน้อยในอินเดียตอนใต้[10] ในระหว่างการเกี้ยวพาน นกคู่รักจะแสดงการเกี้ยวพานทางอากาศซึ่งได้แก่ การบินขึ้นในมุมชัน, บินขึ้น ๆ ลง ๆ , ตีลังกา, บินปักหัวลงในแนวดิ่ง, โฉบ และบินควงสว่าน ซึ่งมาพร้อมกับการเปล่งเสียงร้อง จากนั้นทั้งคู่จะเกาะคอนและแสดงการเกี้ยวพานให้กันและกันด้วยท่าโก้งโค้ง ลู่ปีกลง และรำแพนหาง และอาจมีการไซร้ขนให้คู่ของตัว (allopreening)[10][17]

พื้นที่ทำรังมักจะเป็นรูโพรงที่มีอยู่แล้วของต้นไม้ ซากต้นปาล์ม หรือโพรงของอาคาร และแม้แต่รูในแอ่งโคลนหรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ นกสามารถขุดโพรงได้หากเป็นวัสดุเนื้ออ่อน เช่น ไม้ผุ ปูรังบาง ๆ ด้วยฟางหรือหญ้าที่ด้านล่างของโพรง[17] ในอุทยานแห่งชาติ Bandhavgarh ได้รับการบันทึกว่า มีการสร้างรังที่ความสูง 3 เมตร ในต้นสาละ และสูง 7.5 เมตร เหนือพื้นดินในต้นหว้า[43]

แต่ละครอก อาจมีไข่ 3-5 ฟอง[44] ไข่มีสีขาวและทรงรี โดยมีขนาดเฉลี่ยยาว 33 มิลลิเมตร กว้าง 27 มิลลิเมตร ไข่ถูกฟักโดยตัวเมียเป็นหลักทันทีที่วางไข่ฟองแรก และผลัดกันฟัก (asynchronously hatching) หลังจากวันที่ 17 ถึง 19 นกตัวอ่อนเมื่อแรกฟักไม่มีขน เริ่มงอกขนเมื่อวันที่ 30 ถึง 35[17]

อาหารและการหาอาหาร[แก้]

นกตะขาบอินเดียกำลังกินตั๊กแตน

นกตะขาบอินเดียบินลงมาที่พื้นเพื่อจับแมลงและแมงเช่น ตั๊กแตน, จิ้งหรีด, แมลงหางหนีบ, ผีเสื้อกลางคืน, บุ้ง, ต่อ, ด้วง, แมลงปอและแมงมุม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก[17][45] นกตะขาบอินเดียชื่นชอบฝูงแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ซึ่งบางครั้งสามารถพบเห็นนกตะขาบอินเดียหนาแน่นมากถึง 40 ตัวเกาะอยู่บนสายไฟที่ยาวเพียง 70 เมตร เพียงเพื่อกินแมลงเม่า[46]

อาหารโดยส่วนใหญ่คือ แมลงปีกแข็ว เช่น ด้วง เป็นประมาณร้อยละ 45 ของอาหารที่กินทั้งหมด รองลงมาเป็นตั๊กแตนและจิ้งหรีดประมาณร้อยละ 25[35]

โดยทั่วไปนกตะขาบ (ได้แก่นกตะขาบทุ่ง และนกตะขาบอินเดีย) นับว่าเป็นนกล่าเหยื่อที่พิเศษกว่านกล่าเหยื่ออื่น ๆ เช่น นกอีเสือ นกกระเต็น หรือนกแซงแซว จากการที่มันสามารถล่าเหยื่อที่นกชนิดอื่น ๆ ไม่กล้าแตะต้องเนื่องจากมีพิษได้ อย่างเช่น ตั๊กแตนหรือผีเสื้อกลางคืนที่มีสีเตือนภัย แมงป่อง ตะขาบหรืองูพิษเป็นต้น[44]

นกตะขาบอินเดียมักรวมฝูงกับนกบัสตาร์ดอินเดีย (Ardeotis nigriceps) เพื่อจับแมลงที่ถูกไล่ออกมาจากการขุดคุ้ยของนกบัสตาร์ดอินเดียซึ่งเป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก[47] ในรัฐทมิฬนาฑู พบว่าเป็นอาหารหลักโดยการจิกคุ้ยเหยื่อบนพื้นผิวต่าง ๆ (gleaning) ตามด้วยการหาอาหารบนพื้นดิน และในอากาศ นกตะขาบอินเดียอาจดำลงไปในน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อจับกบและปลาขนาดเล็ก แบบเดียวกับนกกระเต็น[18][48] การหาอาหารอาจมีขึ้นแม้ในยามพลบค่ำ โดยอาจใช้ประโยชน์จากสิ่งช่วยต่างๆ เช่น แมลงที่ดึงดูดด้วยแสงไฟ[49] นกตะขาบอินเดียจะล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเช้าจนกระทั่งพลบค่ำ หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน

การอนุรักษ์[แก้]

ในอินเดีย นกตะขาบอินเดียได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1887 เมื่อการล่าสัตว์ถูกห้ามภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองนกป่าปี ค.ศ. 1887 และต่อมาภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองนกและสัตว์ป่า ค.ศ. 1912[50][51]

ในอิหร่าน นกตะขาบอินเดียได้รับการคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอิสลาม[14] แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย[52]

เป็นนกประจำถิ่นของประเทศอินเดียและศรีลังกา มีสถานะมีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 2016 นกตะขาบอินเดียถูกระบุว่าเป็นนกชนิดที่มีความกังวลน้อยที่สุด (LC) เนื่องจากมีช่วงการกระจายพันธุ์ที่กว้างและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ไม่ทราบขนาดประชากรทั้งหมดแต่ดูเหมือนว่าจะพบได้ทั่วไปในเกือบทุกช่วงการกระจายพันธุ์ ในปี ค.ศ. 2015 ในอิรักมีประชากรนกตะขาบอินเดียประมาณ 2,500 คู่ผสมพันธุ์อาศัย และ 15,000 คู่ผสมพันธุ์ในคาบสมุทรอาหรับ คาดว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[53]

ภัยคุกคาม[แก้]

จำนวนนกตะขาบอินเดียที่พบเห็นได้ตามทางหลวงระหว่างอลีครห์และนิวเดลีลดลงระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 เนื่องจากการจราจรเพิ่มขึ้นในช่วงเวลานั้น[54] พฤติกรรมการกินอาหารริมถนนของนกบางครั้งทำให้รถหลบเลี่ยงและชนกัน[55][56][57]

พฤติกรรมการเกาะสายไฟทำให้เสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดตาย ในรัฐราชสถาน พบว่าเป็นนกที่ถูกไฟฟ้าดูดมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากอีแก (Corvus splendens)[58]

ในวัฒนธรรม[แก้]

ภาพวาดโดย Sheikh Zainuddin จาก Impey Album, ค.ศ. 1780

นกตะขาบอินเดียมีความเกี่ยวข้องกับตำนานศาสนาฮินดูในพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระวิษณุ มักถูกจับเพื่อให้คนนำไปปล่อยในช่วงเทศกาลเช่น วิชัยทัศมี (ดุสเสห์รา) หรือวันสุดท้ายของทุรคาบูชา[59] เชื่อกันว่าการใส่ขนที่สับละเอียดลงในอาหารสำหรับวัวนั้นจะเพิ่มผลผลิตน้ำนมของวัว ซึ่งมีชื่อภาษาเตลูกูว่า "ผาลละพิททา" แปลว่า "นกนม"[13] ชื่อในภาษาฮินดูสตานีคือ "นิลกัณฐ์" (ภาษาฮินดี: नीलकंठ; ภาษาอูรดู: نیل کنٹھ อักษรโรมัน: nīlkṇṭh) หมายถึง "ผู้มีคอสีน้ำเงิน" (ผู้มีคอสีดำ) ซึ่งเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระอิศวรเนื่องจากพระองค์ได้พิษนาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก[60] และพระศอเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน (ดำ)

ตามธรรมเนียมชาวโกลถือว่าการเห็นนกตะขาบอินเดียเป็นลางดี[61] เช่นเดียวกับชาวเบงกอลเมื่อเห็นนกนี้จะสวดมนต์เพื่อนมัสการแด่พระวิษณุ และมองหาทิศทางที่นกมองประหนึ่งทิศที่นำไปสู่พระวิษณุในเวลาที่พวกเขาใกล้ตาย[62] หมอดูของชนเผ่าเร่ร่อนจากวิสาขปัตนัม (Vishakapatnam) สวมขนนกตะขาบอินเดียบนหัวด้วยใช้ความเชื่อพื้นบ้านว่านกสามารถช่วยทำนายเหตุการณ์ได้[63]

นกตะขาบอินเดียเป็นนกประจำรัฐของรัฐโอริศา รัฐเตลังคานา[64][65] และรัฐกรณาฏกะ[66]ของอินเดีย

จุดสูงสุดของการค้าขนนกของอินเดียในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นกตะขาบอินเดียได้ถูกล่าเพื่อส่งออกและเป็นหนึ่งในนกที่ถูกฆ่าอย่างกว้างขวางที่สุดในอินเดีย[67]

อ้างอิง[แก้]

  1. International), BirdLife International (BirdLife (2016-10-01). "IUCN Red List of Threatened Species: Coracias benghalensis". IUCN Red List of Threatened Species.
  2. "นกตะขาบอินเดีย - eBird". ebird.org.
  3. Linnaeus, C. (1758). "Corvus benghalensis". Systema Naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. 1 (10th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 106.
  4. Albin, E.; Derham, W. (1731). A Natural History of Birds : Illustrated with a Hundred and One Copper Plates, Curiously Engraven from the Life. Vol. 1. London: Printed for the author and sold by William Innys. p. 17, Plate 17.
  5. Linnaeus, C. (1766). "Coracias indica". Systema naturae : per regna tria natura, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. 1 (12th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 159.
  6. Edwards, G. (1764). "The Blue Jay from the East Indies". Gleanings of Natural History. Vol. III. London: Printed for author at the Royal College of Physicians. pp. 247–248.
  7. Biswas, B. (1961). "Proposal to designate a neotype for Corvus benghalensis Linnaeus, 1758 (Aves), under the plenary powers Z.N. (S) 1465". Bulletin of Zoological Nomenclature. 18 (3): 217–219.
  8. China, W. E. (1963). "Opinion 663: Corvus benghalensis Linnaeus, 1758 (Aves): Designation of a neotype under the plenary powers". Bulletin of Zoological Nomenclature. 20 (3): 195–196.
  9. 9.0 9.1 Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (January 2021). "Rollers, ground rollers, kingfishers". IOC World Bird List Version 11.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 Rasmussen, P. C.; Anderton, J. C. (2012). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Vol. 2: Attributes and Status (Second ed.). Washington D.C. and Barcelona: Smithsonian National Museum of Natural History and Lynx Edicions. p. 270. ISBN 978-84-96553-87-3.
  11. "Avibase - ฐานข้อมูล World Bird". avibase.bsc-eoc.org.
  12. Johansson, U. S.; Irestedt, M.; Qu, Y.; Ericson, P. G. P. (2018). "Phylogenetic relationships of rollers (Coraciidae) based on complete mitochondrial genomes and fifteen nuclear genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 126: 17–22. doi:10.1016/j.ympev.2018.03.030. PMID 29631051.
  13. 13.0 13.1 Thurston, E. (1912). "The Indian roller (Coracias indica)". Omens and superstitions of southern India. New York: McBride, Nast and Company. p. 88.
  14. 14.0 14.1 Goodell, G. (1979). "Bird lore in southwestern Iran". Asian Folklore Studies. 38 (2): 131–153. doi:10.2307/1177687. JSTOR 1177687.
  15. "ลูกผสม นกตะขาบทุ่ง x นกตะขาบอินเดีย - eBird". ebird.org.
  16. Indochinese Roller
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 Cramp, S., บ.ก. (1985). "Coracias benghalensis Indian roller". Handbook of the Birds of Europe the Middle East and North Africa. The Birds of the Western Palearctic. Vol. IV: Terns to Woodpeckers. Oxford: Oxford University Press. pp. 778–783. ISBN 978-0-19-857507-8.
  18. 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 Fry, C. H.; Fry, K.; Harris, A. (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers: A Handbook. Helm Field Guides. London, New York, New Delhi, Sydney: Bloomsbury. pp. 289–291. ISBN 978-0713680287.
  19. 19.0 19.1 del Hoyo, J.; Elliott, A.; Sargatal, J., บ.ก. (2001). Handbook of the Birds of the World, Volume 6: Mousebirds to Hornbills. p. 371. ISBN 978-84-87334-30-6.
  20. Ali, S.; Ripley, S. D. (1983). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Vol. 4 (Second ed.). Oxford University Press. pp. 116–120.
  21. Cramp, S., บ.ก. (1985). "Coracias benghalensis Indian roller". Handbook of the Birds of Europe the Middle East and North Africa. The Birds of the Western Palearctic. Vol. IV: Terns to Woodpeckers. Oxford: Oxford University Press. pp. 778–783. ISBN 978-0-19-857507-8.
  22. "นกตะขาบทุ่ง Indian Roller – ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย".
  23. International), BirdLife International (BirdLife (2016-10-01). "IUCN Red List of Threatened Species: Coracias benghalensis". IUCN Red List of Threatened Species.
  24. Rais, M.; Khan, M. Z.; Abbass, D.; Akber, G.; Nawaz, R. (2011). "A qualitative study on wildlife of Chotiari Reservoir, Sanghar, Sindh, Pakistan" (PDF). Pakistan Journal of Zoology. 43 (2): 237–247.
  25. Ali, Z.; Bibi, F.; Shelly, S. Y.; Qazi, A.; Khan, A. M. (2011). "Comparative avian faunal diversity of Jiwani Coastal Wetlands and Taunsa Barrage Wildlife Sanctuary, Pakistan" (PDF). Journal of Animal and Plant Sciences. 21 (2): 381–387.
  26. Altaf, M.; Javid, A.; Khan, A. M.; Khan, M. S. H.; Umair, M.; Ali, Z. (2018). "Anthropogenic impact on the distribution of the birds in the tropical thorn forest, Punjab, Pakistan". Journal of Asia-Pacific Biodiversity. 11 (2): 229–236. doi:10.1016/j.japb.2018.03.001.
  27. Bhatti, Z.; Ghufran, A.; Nazir, F. (2020). "Seasonal population fluctuations in some non-passeriformes at Marala Head, Pakistan". Journal of Bioresource Management. 7 (1): 53–56. doi:10.35691/JBM.0202.0120.
  28. 28.0 28.1 Porter, R.; Aspinall, S. (2019). "Indian roller Coracias benghalensis". Birds of the Middle East. Helm Field Guides (Second ed.). London: Bloomsbury Publishing. p. 204. ISBN 978-1-4729-7582-9.
  29. Balmer, D.; Murdoch, D. (2009). "Around the region" (PDF). Sandgrouse (1): 91–103. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  30. Bonser, R.; Al-Sirhan, A.; Crochet, P.-A.; Legrand, V.; Monticelli, D.; Pope, M. (2011). "Birding Kuwait". Birding World. 24: 1–18.
  31. Pandav, B. (1996). "The birds of Bhitarkanika Mangroves, eastern India". Forktail (12): 9–20.
  32. Balachnadran, S. (1995). "Shore birds of the Marine National Park in the Gulf of Mannar, Tamil Nadu". Journal of the Bombay Natural History Society. 92 (3): 303–313.
  33. Zarri, A. A.; Rahmani, A. R. (2005). "Annotated avifauna of the Upper Nilgiris, Western Ghats, India". Buceros. 10 (1): 1–60.
  34. นกตะขาบทุ่ง[ลิงก์เสีย], birdsofthailand.net
  35. 35.0 35.1 35.2 Sivakumaran, N.; Thiyagesan, K. (2003). "Population, diurnal activity patterns and feeding ecology of the Indian Roller Coracias benghalensis (Linnaeus, 1758)". Zoos' Print Journal. 18 (5): 1091–1095. doi:10.11609/jott.zpj.18.5.1091-5.
  36. Mathew, D. N.; Narendran, T. C.; Zacharias, V. J. (1978). "A comparative study of the feeding habits of certain species of Indian birds affecting agriculture". Journal of the Bombay Natural History Society. 75 (4): 1178–1197.
  37. Burton, P. K. J. (1984). "Anatomy and evolution of the feeding apparatus in the avian orders Coraciiformes and Piciformes". Bulletin of the British Museum (Natural History), Zoology Series. 47 (6): 331–443.
  38. Bishop, M. A.; Bennett, G. F. (1986). "Avian Haemoproteidae. 23. The haemoproteids of the avian family Coraciidae (rollers)". Canadian Journal of Zoology. 64 (9): 1860–1863. doi:10.1139/z86-277.
  39. De Mello, I. F.; Emidio, A. (1935). "Blood parasites of Coracias b. benghalensis with special remarks on its two types of Leucocytozoon" (PDF). Proceedings of the Indian Academy of Sciences, Section B. 2: 67–73. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2012. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  40. Ilyas, R. (1981). "Redescription of Dispharynx pavonis Sanwal, 1951 and Cyrnea graphophasiani Yamaguti 1935". Rivista di Parassitologia. 42 (1): 179–183.
  41. Sanwal, K. C. (1951). "On a new avian nematode, Habronema thapari n.sp. (sub-fam. Spirurinae Railliet, 1915) from the blue jay, Coracias benghalensis (Linnaeus)". Indian Journal of Helminthology. 3 (2): 79–86.
  42. Junker, K.; Boomker, J. (2007). "A check list of the helminths of guineafowls (Numididae) and a host list of these parasites". Onderstepoort Journal of Veterinary Research. 74 (4): 315–337. doi:10.4102/ojvr.v74i4.118. PMID 18453241.
  43. Tyabji, H. N. (1994). "The birds of Bandhavgarh National Park, M.P." Journal of the Bombay Natural History Society. 91 (1): 51–77.
  44. 44.0 44.1 นกตะขาบทุ่ง (Indian Roller)[ลิงก์เสีย], chiangmaizoo.com
  45. Mason, C. W. (1911). "1022. Coracias indica". ใน Maxwell-Lefroy, H. (บ.ก.). Memoirs of the Department of Agriculture in India. Entomological Series. Vol. III. The Food of Birds in India. Pusa: Agricultural Research Institute. pp. 155–159.
  46. Bharos, A. M. K. (1990). "Unusually large congregation and behaviour of Indian Rollers Coracias benghalensis". Journal of the Bombay Natural History Society. 87 (2): 300.
  47. Rahmani, A. R.; Manakadan, R. (1987). "Interspecific behaviour the Great Indian Bustard Ardeotis nigriceps (Vigors)". Journal of the Bombay Natural History Society. 84 (2): 317–331.
  48. Ali, S.; Ripley, S. D. (1983). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Vol. 4 (Second ed.). Oxford University Press. pp. 116–120.
  49. Bharos, A. M. K. (1992). "Feeding by Common Nightjars Caprimulgus asiaticus and Indian Roller Coracias benghalensis in the light of mercury vapour lamps". Journal of the Bombay Natural History Society. 89 (1): 124.
  50. Bainbrigge Fletcher, T.; Inglis, C. M. (1920). "Some common Indian birds. No. 1 – The Indian Roller (Coracias indica)". The Agricultural Journal of India. 15: 1–4.
  51. Bidie, G. (1901). The Protection of Wild Birds in India. Society for the Protection of Birds. No. 37.
  52. Almasieh, K.; Moazami, M. (2020). "Identifying avifauna and the presence time of migratory birds at a university campus in the southwest of Iran". Journal of Animal Diversity. 2 (1): 104–126. doi:10.29252/JAD.2020.2.1.4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  53. Symes, A.; Taylor, J.; Mallon, D.; Porter, R.; Simms, C.; Budd, K. (2015). The conservation status and distribution of the breeding birds of the Arabian peninsula (PDF). Cambridge, UK; Gland, Switzerland; Sharjah, United Arab Emirates: IUCN and Environment and Protected Areas Authority. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2019. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  54. Saiduzzafar, H. (1984). "Some observations on the apparent decrease in numbers of the Northern Roller or Blue Jay Coracias benghalensis". Newsletter for Birdwatchers. 24 (5&6): 4–5.
  55. Goenka, D. (1986). "Lack of traffic sense amongst Indian Rollers". Journal of the Bombay Natural History Society. 83 (3): 665.
  56. Sundar, K. S. G. (2004). "Mortality of herpetofauna, birds and mammals due to vehicular traffic in Etawah District, Uttar Pradesh, India". Journal of the Bombay Natural History Society. 101 (3): 392–398.
  57. Siva, T.; Neelanarayanan, P. (2020). "Impact of vehicular traffic on birds in Tiruchirappalli District, Tamil Nadu, India". Journal of Threatened Taxa. 12 (10): 16352–16356. doi:10.11609/jott.5532.12.10.16352-16356.
  58. Harness, R. E.; Javvadi, P. R. & Dwyer, J. F. (2013). "Avian electrocutions in western Rajasthan, India". Journal of Raptor Research. 47 (4): 352–364. doi:10.3356/JRR-13-00002.1.
  59. Kipling, J. L. (1904). "The Roller". Beast and Man in India; a Popular Sketch of Indian Animals in Their Relations with the People. London: Macmillan and Co. p. 33.
  60. จากพันทิปดอตคอม
  61. Griffiths, Walter G. (1946). "Luck and Omens". The Kol tribe of central India. Calcutta: The Asiatic Society. p. 196.
  62. Mitra, S. C. (1898). "Bengali and Behari Folklore about Birds. Part I". Journal of the Asiatic Society of Bengal. Part III. Anthropology and Cognate Subjects. 67 (2): 67–74.
  63. Thurston, Edgar (1909). Castes and Tribes of Southern India. Volume VI. Madras: Government Press. p. 262.
  64. "States and Union Territories Symbols". Know India. National Informatics Centre (NIC), DeitY, MoCIT, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2013. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
  65. "State Symbols". Telangana State Portal. Government of Telangana. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
  66. Ilango, K. (2013). "An Overview". ใน The Director (บ.ก.). Fauna of Karnataka. State Fauna Series, 21. Kolkata: Zoological Survey of India. pp. 1–6.
  67. Watt, G. (1908). "Plumage-Birds". The Commercial Products of India. London: John Murray. p. 140.