วงศ์นกตะขาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์นกตะขาบ
Coracias affinis - Kaeng Krachan.jpg
นกตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) เป็นชนิดประจำถิ่นในประเทศไทย (ในภาพ) พบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Coraciidae
Rafinesque, 1815
สกุล[1]

นกตะขาบ หรือ นกขาบ (อังกฤษ: Roller) เป็นนกในวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) ซึ่งร่วมด้วยนกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae), นกจาบคา (Meropidae), นกเงือก (Bucerotidae) สำหรับนกตะขาบจัดอยู่ในวงศ์ Coraciidae[2]

นกตะขาบเป็นที่บินได้เก่งมาก ลำตัวอวบอ้วน หัวโต ปากหนาใหญ่ ลำตัวขนาดพอ ๆ กับอีกา ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีม่วงหรือน้ำเงินคล้ำ ชอบเกาะนิ่งตามที่โล่ง ๆ เช่น ทุ่งหญ้า, ทุ่งนา เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, กิ้งก่า และสัตว์เล็ก ๆ เมื่อพบจะบินออกไปจับอย่างรวดเร็ว ทั้งพุ่งลงไปที่พื้นดินและบินไล่จับกลางอากาศ ชอบบินร่อนฉวัดเฉวียนเสมอ ทำรังในโพรงไม้หรือซอกหิน [3]

วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 17-20 วัน ลูกนกใช้เวลาประมาณ 30 วันอาศัยอยู่ในรัง[4] โดยในบางชนิด เมื่อโตแล้วแยกออกไปสร้างรังต่างหาก ยังมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่ที่ให้กำเนิด เลี้ยงดูลูกนกที่เกิดใหม่ด้วย ดังนั้น ในรังบางครอกจะมีลูกนกที่เป็นเครือญาติกันเกิดพร้อม ๆ กัน[5]

แพร่กระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และยุโรป พบทั้งหมด 12 ชนิด ใน 2 สกุล สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด[2]

การจำแนก[แก้]

ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการในวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) จากการศึกษาระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2018 โดยอูลฟ์ โยฮันสัน[6] และยังระบุว่า 2 ชนิดย่อยของนกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) เป็นญาติใกล้ชิดของ Eurystomus azureus มากกว่านกตะขาบดงเอง[6] ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป

Coraciidae
Eurystomus



นกตะขาบดงคอฟ้าE. gularis



นกตะขาบดงปากกว้างE. glaucurus





นกตะขาบดงE. orientalis orientalis




นกตะขาบดงสีครามE. azureus




นกตะขาบดง – E. orientalis pacificus



นกตะขาบดง – E. orientalis waigiouensis







Coracias

นกตะขาบหัวหงอกC. cyanogaster





นกตะขาบม่วงC. naevius



นกตะขาบทุ่งหางบ่วงC. spatulatus






นกตะขาบทุ่งอกสีม่วงC. caudatus




นกตะขาบทุ่งเซเนกัลC. abyssinicus



นกตะขาบยุโรปC. garrulus






นกตะขาบอินเดียC. benghalensis




นกตะขาบทุ่งC. affinis



นกตะขาบปีกม่วงC. temminckii








สกุล[แก้]

วงศ์นกตะขาบ ประกอบด้วย 2 สกุล ดังนี้[7]

สกุล ภาพ ชนิด (เฉพาะที่ดำรงพันธุ์อยู่) สถานะ
Coracias Linnaeus, 1758
สกุลนกตะขาบทุ่ง
Coracias temminckii by John Gerrard Keulemans.jpg นกตะขาบปีกม่วง (Coracias temminckii)
Indochinese Roller Coracias affinis, Suan Luang Rama IX Park, Bangkok, Thailand (16169000947).jpg นกตะขาบทุ่ง (Coracias affinis) นกประจำถิ่นของประเทศไทย
แยกออกจาก Coracias benghalensis[6]
Indian roller (Coracias benghalensis benghalensis).jpg นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis)
European Roller (Coracias garrulus) (16475688389).jpg นกตะขาบยุโรป (Coracias garrulus)
Coracias abyssinica - Carlos Vermeersch Santana (cropped).JPG นกตะขาบทุ่งเซเนกัล (Coracias abyssinicus)
Lilac-breasted Roller.jpg นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง (Coracias caudatus)
Purple roller, Coracias naevius, in the Punda Maria area, Kruger National Park, South Africa (26389540154).jpg นกตะขาบม่วง (Coracias naevius)
Coracias spatulatusPCCA20071227-8449B.jpg นกตะขาบทุ่งหางบ่วง (Coracias spatulatus)
Coracias cyanogaster 01.jpg นกตะขาบหัวหงอก (Coracias cyanogaster)
Eurystomus Vieillot, 1816
สกุลนกตะขาบดง
Blue-throated Roller specimen RWD.jpg นกตะขาบดงคอฟ้า (Eurystomus gularis)
Broad-billed Roller, Ankarafantsika, Madagascar.jpg นกตะขาบดงปากกว้าง (Eurystomus glaucurus)
Eurystomus1Keulemans.jpg
(ด้านหลัง)
นกตะขาบดงสีคราม (Eurystomus azureus)
Dollarbird Samcem Dec02.JPG นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกประจำถิ่นของประเทศไทย[2][1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov
  2. 2.0 2.1 2.2 Fry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers. London: Christopher Helm. ISBN 0-7136-1410-8.
  3. "วงศ์นกตะขาบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-13.
  4. Fry, C. Hilary (2003). "Rollers". In Perrins, Christopher. The Firefly Encyclopedia of Birds. Firefly Books. pp. 380–381. ISBN 1-55297-777-3.
  5. นกกตัญญู. ความรักระหว่างพ่อแม่ลูก หน้า 119, "โลกเร้นลับของสิ่งมีชีวิต" แปลโดย ขวัญนุช คำเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ มกราคม 2543) ISBN 974-472-262-2
  6. 6.0 6.1 6.2 Johansson, U. S.; Irestedt, M.; Qu, Y.; Ericson, P. G. P. (2018). "Phylogenetic relationships of rollers (Coraciidae) based on complete mitochondrial genomes and fifteen nuclear genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 126: 17–22. doi:10.1016/j.ympev.2018.03.030.
  7. "Rollers, ground rollers & kingfishers « IOC World Bird List". www.worldbirdnames.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-03-10.