พยาธิ
หน้าตา
พยาธิ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยในร่างกายของสัตว์อื่น (ปรสิต)[1] ประเภทหนึ่ง
การดำรงชีวิต
[แก้]ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการแย่งและดูดซึมสารอาหารจากร่างกาย และสืบพันธุ์ในร่างกายของคนและสัตว์ บางชนิดก็ไม่ก่อความเดือดร้อนต่อร่างกายคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ เพียงแต่แย่งดูดซึมอาหารเท่านั้น บางชนิดก็ก่อให้เกิดพยาธิสภาพรุนแรงถึงชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา
กลุ่ม
[แก้]พยาธิมีจำนวนกว่า 3,200 ชนิด (varieties)[2] แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้[3]
- พยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวจี๊ด พยาธิสตรองจิลอยด์ และพยาธิเส้นด้าย จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ไฟลัม (Phylum) Nematoda มี 2 ชั้น (Class) จำแนกโดย Karl Rudolphi ในปี ค.ศ. 1808
- พยาธิตัวแบน จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ไฟลัม (Phylum) Platyhelminthes (ภาษากรีก "platy"': แบน; "helminth": หนอน) หรือหนอนตัวแบน (Flatworm) ชั้น (Class) Trematoda จำแนกโดย Karl Rudolphi ในปี ค.ศ. 1808
- พยาธิใบไม้ จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ไฟลัม (Phylum) Platyhelminthes ชั้น (Class) Cestoda
พยาธิก่อโรค
[แก้]พยาธิที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ตัวอย่างเช่น:[4]
- นีมาโทดา (Nematodes) จะมีลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง ๆ รูปร่างทรงกระบอก หัวท้ายเรียวแหลม ตัวอย่างเช่น พยาธิไส้เดือนกลม พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด ชนิดที่พบผู้ป่วยในประเทศไทยมากคือ พยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด หรือ Threadworm) ซึ่งผู้ป่วยรับพยาธิได้ง่ายจากการบริโภคอาหารดิบหรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จากเนื้อสัตว์และหอยชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังอาจได้รับพยาธิจากการใช้มือที่ไม่สะอาดหรือไม่ได้ล้างมือให้สะอาดหยิบอาหารรับประทาน
- พยาธิตัวแบน หรือ พยาธิตัวตืด (Cestodes หรือ Tapeworm) จะมีลำตัวแบน แบ่งเป็นปล้อง ๆ ตัวอย่างเช่น พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว เป็นต้น ชนิดที่พบผู้ป่วยในประเทศไทยมากคือ พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว ซึ่งผู้ป่วยรับพยาธิได้ง่ายจากการบริโภคอาหารดิบหรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จากเนื้อหมูและเนื้อวัว
- พยาธิใบไม้ (Trematodes หรือ Fluke) จะมีลำตัวแบนไม่แบ่งเป็นปล้อง ตัวอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในเลือด พยาธิใบไม้ในตับ ติดต่อได้ง่ายจากการบริโภคอาหารประเภทปลาและสัตว์น้ำจืด ในลักษณะดิบหรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ณัฎฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. "ปรสิตคืออะไร สำคัญอย่างไรกับทางการแพทย์". ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อจากปรสิต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008.
- ↑ "โรคพยาธิ". คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006.
- ↑ แสงศุลี ธรรมไกรสรุ์, ผศ. พญ. (20 กรกฎาคม 2021). "ยาถ่ายพยาธิ จำเป็นต้องกินหรือไม่ ?". Rama Channel. งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
- ↑ เกริกฤทธิ์ ฉายศิริกุล. "ไขข้อข้องใจเรื่อง "พยาธิ"". องค์การเภสัชกรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Helminths