ธงเครือรัฐเอกราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครือรัฐเอกราช
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 19 มกราคม พ.ศ. 2539; 28 ปีก่อน (2539-01-19)

ธงเครือรัฐเอกราช (อังกฤษ: flag of the Commonwealth of Independent States รัสเซีย: Флаг Содружества Независимых Государств)[a] ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 โดยธงแสดงให้เห็นถึงภาพดวงอาทิตย์สีเหลืองบนผืนธงสีน้ำเงินเข้ม ตรงกลางมีเสาตั้งตรงหนึ่งอัน และแขนงจากเสาเป็นทรงโค้งโอบรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งการออกแบบธงนี้สื่อความหมายถึงสัญลักษณ์ของความปรารถนาที่จะเป็นหุ้นส่วนอย่างเท่าเทียม ความสามัคคี สันติภาพ และความมั่นคง

ประวัติ[แก้]

ในการประชุมของเครือรัฐเอกราชเมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศการแข่งขันออกแบบธงและสัญลักษณ์สำหรับเครือรัฐเอกราช โดยผู้ชนะการแข่งขันครั้งนั้นคือ Alexander Wasiljewitsch Grigorjew จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยการออกแบบของเขาถูกนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2537 และคณะมนตรีได้รับช่วงมาดำเนินการออกแบบต่อจนกระทั่งได้แบบที่นำมาประกาศใช้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการนำธงและตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมาใช้งานก่อนการประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว[1]

อดีตธง[แก้]

ก่อนที่จะมีการประกาศใช้งานธงปัจจุบัน มีการใช้งานธงชั่วคราวที่มีตัวอักษร "C.I.S." ปรากฎบนพื้นหลังสีขาว ใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาที่ทีมจากเครือรัฐเอกราชเข้าแข่งขันแทนที่สหภาพโซเวียตหากทีมของสหภาพโซเวียตเข้ารอบ แต่ไม่เคยได้ถูกใช้งานจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายลง

การรับรองตามกฎหมาย[แก้]

ธงเครือรัฐเอกราชได้ถูกระบุไว้ใน มติว่าด้วยธรรมนูญว่าด้วยธงเครือรัฐเอกราช Decision on the Statute on the Flag of the Commonwealth of Independent States ซึ่งถูกเขียนขึ้น ณ มอสโกเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ตรงกับวันที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ด้วยต้นฉบับเพียงภาษาเดียวคือภาษารัสเซีย ซึ่งในมาตรา 1 ได้ระบุเอาไว้ว่า[1]

ธรรมนูญว่าด้วยธงเครือรัฐเอกราช[แก้]

ธรรมนูญว่าด้วยธงเครือรัฐเอกราช ธงของเครือรัฐเอกราช (ต่อไปนี้จะเรียกว่าธงเครือรัฐ) จะต้องเป็นสัญลักษณ์ของเครือรัฐเอกราช (ต่อไปนี้จะเรียกว่าเครือรัฐ) และจะต้องประกอบไปด้วยสีน้ำเงินเข้มที่ทำมุมฉาก ตรงกลางเป็นรูปสีขาวที่ประกอบขึ้นเป็นแท่งแนวตั้ง โดยแยกจากส่วนบนของรูปไปทางขวาและซ้ายอย่างสมมาตรเพื่อสร้างองค์ประกอบในรูปของวงแหวนที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ขยายขึ้นไปทางด้านบนและโค้งมน ในขณะที่ความยาวและความกว้างลดลงมาจากสมมาตรออกไปทางขอบ ส่วนบนของการออกแบบเป็นวงกลมสีทอง ล้อมรอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นรูปวงแหวน

การออกแบบดังกล่าวเป็นสัญลักษณของความปรารถนาที่จะเป็นหุ้นส่วนที่เสมอภาค ความสามัคคี สันติภาพ และเสถียรภาพ

สัดส่วนความกว้างของธงต่อความยาวต้องเป็น 1:2

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. อาเซอร์ไบจาน: Müstəqil Dövlətlər Birliyinin bayrağı
    อาร์มีเนีย: Անկախ Պետությունների Համագործակցության դրոշ (romanised: Ankakh Petut’yunneri Hamagortsakts’ut’yan drosh)
    ทาจิก: Парчами Иттиҳоди Давлатҳои Мустақил
    คาซัค: Тәуелсіз Мемлекеттер Достастығы Туы / Täuelsız Memleketter Dostastyğy Tuy
    โรมาเนีย: Steagul Comunității Statelor Independente
    เบลารุส: Сцяг Садружнасці Незалежных Дзяржаў (romanised: Sciah Sadružnasci Niezaliežnych Dziaržaŭ)
    คีร์กีซ: Көз карандысыз Мамлекеттер Шериктештигинин туусу (romanised: Köz qarandısız Mamleketter Şerikteştiginin tuusu)
    อุซเบก: Mustaqil Davlatlar Hamdo'stligi bayrog'i

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Commonwealth of Independent States". www.crwflags.com.