จุดทิศหลัก
จุดทิศหลัก หมายถึงทิศทางทางภูมิศาสตร์ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทิศเหนือ (น., N) ทิศตะวันออก (ต.อ., E) ทิศใต้ (ต., S) และทิศตะวันตก (ต.ต., W) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ทิศทั้งสี่ หรือ สี่ทิศ โดยแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ทำมุมฉากกับแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออกหมุนไปตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ และยังมี จุดทิศรอง คือทิศที่อยู่ระหว่างจุดทิศหลักเป็นแนวเฉียง 45 องศา อันได้แก่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.อ.น., NE) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ต.อ.ต., SE) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ต.ต.ต., SW) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ต.ต.น., NW) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ทิศทั้งแปด หรือ แปดทิศ นอกจากนี้ยังสามารถมีทิศย่อย ๆ ลงไปอีกก็ได้
หากผู้สังเกตการณ์บนพื้นผิวโลกยืนตรงหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหลังของเขาจะเป็นทิศใต้ ด้านขวาก็จะเป็นทิศตะวันออก และด้านซ้ายก็จะเป็นทิศตะวันตก เครื่องมือกำหนดพิกัดต่าง ๆ บนโลก มักทำงานโดยมองหาทิศเหนือเป็นหลักก่อน ถึงแม้ว่าทิศอื่นก็สามารถใช้ได้เหมือนกันถ้าหากเชื่อถือได้
จุดทิศหลักในวัฒนธรรมต่าง ๆ
[แก้]ภูมิศาสตร์โบราณ กล่าวถึงทิศอย่างน้อยสองทิศ เป็นปฐม เช่น การบอกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังประโยคที่ว่า "ปรากฏที่ทิศตรง และบ้างก็มีปรากฏอยู่ด้านทิศเฉียงด้วยหากมองลงมาจากภูเขา" เป็นต้น ส่วนใหญ่หมายถึงทิศทั้งสี่ เป็นทิศตรงในการดูภูมิแบบสี่ทิศ นอกกว่าสี่ทิศนี้ คือ ทิศเฉียง เชื่อว่า ทิศที่หมายถึงทิศทั้งแปด[1] เป็นทิศตรงเช่นเดียวกัน เป็นการแบ่งจำนวนของทิศตรง
ทิศที่มีทิศเฉียงอีกสองประเภทคือ ทิศทั้งหกตามตำราทางพุทธศาสนา (ทิศทั้งสี่ รวมกับ ทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง) และทิศทั้งสิบตามตำราทางพุทธศาสนา (ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง) ทิศน้อยใหญ่ดังกล่าว เดิมที คงเรียกแต่ว่า เป็นทิศตรงหรือทิศเฉียงเท่านั้น กว่านั้นต่อมา จึงกำหนดชื่อ ซ้าย ขวา และแนวที่เป็นกำหนดนัดหมายต่อกันมากขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศและดาราศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ดำรงศักดิ์ บุญยเลิศ (12 กรกฎาคม 2550). ศัพท์บัญญัติสำหรับ 32 ทิศ เก็บถาวร 2016-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน