ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง

Lapangan Terbang Antarabangsa Kuching
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานการทหาร/สาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลมาเลเซีย
ผู้ดำเนินงานท่าอากาศยานมาเลเซีย
พื้นที่บริการกูจิง และซามาราฮัน
สถานที่ตั้งกูจิง รัฐซาราวัก รัฐซาราวัก มาเลเซีย มาเลเซียตะวันออก
ฐานการบินแอร์เอเชีย
มาเลเซียแอร์ไลน์
เอ็มเอเอสวิงส์
เขตเวลาMST (UTC+08:00)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล{{{elevation-m}}} เมตร / 89 ฟุต
แผนที่
WBGGตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันออก
WBGG
WBGG
ที่ตั้งของสนามบินในมาเลเซียตะวันออก
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
07/25 3,780 ยางมะตอย
สถิติ (2014)
ผู้โดยสาร4,852,822 (ลดลง 0.4%)
สินค้า (ตัน)28,040 (เพิ่มขึ้น 27.5%)
เที่ยวบิน53,490 (ลดลง 4.6%)
แหล่งที่มา[1]
AIP มาเลเซีย[2]

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง (อังกฤษ: Kuching International Airport, KIA) (IATA: KCHICAO: WBGG) เป็นสนามบินตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย อยู่ห่างจากใจกลางเมืองกูจิง ไปทางทิศใต้ 11 km (6.8 mi)[2] นอกจากนี้ยังเป็นฐานทัพของทหาร No. 7 Squadron RMAF อีกด้วย[3]

อาคารผู้โดยสารรองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคนต่อปี เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นอันดับที่ 4 ของประเทศ สถิติในปี ค.ศ. 2010 มีผู้โดยสารมาใช้บริการสนามบิน 3,684,000 คน มีเที่ยวบินมาลง 46,382 เที่ยว และมีการขนส่งสินค้ามากถึง 26,977 เมตริกตัน

รายได้ของท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานหลักในมาเลเซียตะวันออก และเป็นฐานการบินรองของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ก่อสร้างโดยรัฐบาลอังกฤษของซาราวักในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ตั้งอยู่ที่ชานเมืองกูจิง เปิดใช้งานวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1950 สนามบินประกอบไปด้วยอาคารผู้โดยสารขนาดเล็กรูปตัว "แอล" มีชั้นเดียว, อาคารสินค้าขนาดเล็ก, ศูนย์ดับเพลิง, หอควบคุมการบิน, หน่วยงานอุตุนิยมวิทยา, อาคารซ่อมบำรุงเครื่องบิน, หลุมจอดเครื่องบิน 4 หลุม และทางวิ่งเดี่ยวความยาว 1,372 เมตร กว้าง 46 เมตร รวมไปถึงศูนย์ตรวจจับเครื่องบินและคลื่นวิทยุ

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ได้กลายมาเป็นประตูสู่รัฐซาราวัก รัฐซาบะฮ์ และประเทศบรูไน พร้อมกับการเปิดเที่ยวบิน กูจิง-สิงคโปร์ จำนวน 1 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยใช้เครื่องบินดักลาส ดาโกตา และภายในปลายปี ค.ศ. 1954 ได้มีการเปิดเที่ยวบินเป็นจำนวนมาก มีเที่ยวบิน 1,550 เที่ยว ผู้โดยสาร 13,564 คน และสินค้า 95,911 กิโลกรัม (สถิติ ค.ศ. 1954) และในปี ค.ศ. 1959 ได้ขยายทางวิ่งให้มีความยาว 1,555 เมตร เพื่อให้รองรับเครื่องบินวิกเกอร์ วิสเคาต์ได้

ในปี ค.ศ. 1962 ได้ขยายทางวิ่งอีกครั้งให้มีความยาว 1,921 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบิน DeHavilland Comet-4 และได้ขยายพื้นที่อาคารผู้โดยสารให้ใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังได้เปิดทำการศูนย์ควบคุมการบินภายในสนามบินอีกด้วย บริษัท การบินมลายา ได้เปิดเที่ยวบินจากดินแดนบริติชบอร์เนียว ไปยังสิงคโปร์ โดยเครื่องบินวิกเกอร์ วิสเคาต์ และดักลาส ดีซี-3 ต่อมาปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลมาเลเซีย ได้ปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาชาวแคนาดา เพื่อช่วยพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติกูจิงให้ดียิ่งขึ้น

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1972 รัฐบาลได้เผยแพร่แผนพัฒนาสนามบินดังนี้

  • การขยายความยาวของทางวิ่ง เพื่อรองรับเครื่องบินไอพ่น
  • การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ทางด้านทิศเหนือของทางวิ่ง

การขยายทางวิ่งให้มีความยาว 2,454 เมตร (8,051 ฟุต) เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1973 และสำเร็จในปี ค.ศ. 1976 ยาวพอที่จะรองรับเครื่องบินโบอิง 707 ได้ ในปี ค.ศ. 1980 ได้ทำการปรับพื้นผิวทางวิ่ง เพื่อรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 300 บี 4 ซึ่งสำเร็จในปี ค.ศ. 1982.

หอคอยควบคุมการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง

ส่วนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ทางด้านทิศเหนือของทางวิ่ง เริ่มต้นในปลายปี ค.ศ. 1978 และสร้างเสร็จในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1983 เปิดใช้งานเชิงพาณิชย์ครั้งแรกวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1983 อาคารมีพื้นที่ 13,000 ตารางเมตร มีทั้งหมด 3 ชั้น และมีหอคอยควบคุมการบินในบริเวณใกล้เคียง

ในปี ค.ศ. 1999 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ และรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ ได้เปิดเที่ยวบินสิงคโปร์-กูจิง และบรูไน-กูจิง ตามลำดับ ทั้งเที่ยวบินประจำ และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ต่อมา สายการบินหลักทั้ง 4 ของมาเลเซีย (มาเลเซียแอร์ไลน์, เอ็มเอเอสวิงส์, แอร์เอเชีย และมาลินโดแอร์) กับสายการบินขนส่งสินค้าอีก 3 สาย (เอ็มเอเอสคาร์โก, ทรานส์ไมล์แอร์เซอร์วิส และเนปจูนแอร์) เปิดเที่ยวบินมายังกูจิง ส่วนสายการบินต่างชาติ 4 สายการบิน (สิงคโปร์แอร์ไลน์, รอยัลบรูไนแอร์ไลน์, เจ็ตสตาร์เอเชีย และไทเกอร์แอร์เวย์) ได้ยกเลิกเที่ยวบินมายังกูจิงแล้ว

เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้น จึงต้องมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่อีกหลัง โดยเริ่มก่อสร้างในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2000 และได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2006 โดยหัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งรัฐซาราวัก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีหลุมจอดเครื่องบินใหญ่ 9 หลุม (มี 3 หลุมสำหรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 330, โบอิง 747 และแอร์บัส เอ 380-800) และหลุมจอดเครื่องบินเล็ก 4 หลุม

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ในตอนกลางวัน
ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ในยามค่ำคืน

การพัฒนา[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นทุก ๆ ปี โดยอาคารผู้โดยสารหลังล่าสุด ก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2006 และการขยายทางวิ่ง ก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2008[4] อาคารที่ได้รับการปรับปรุง มีรูปแบบคล้ายกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1998[4]

อาคารผู้โดยสารได้รับการขยายให้มีเนื้อที่ 46,000 ตารางเมตร (500,000 ตารางฟุต) และทำเสร็จในอีก 15 เดือนถัดมา อาคารที่ปรับปรุงแล้ว ทำพิธีเปิดโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2006 การก่อสร้างใช้งบประมาณ 620 ล้านริงกิต นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 747-400 และแอร์บัส เอ 380-800 ได้อีกด้วย

ส่วนการขยายทางวิ่ง ได้ขยายทางวิ่งจากที่ยาว 2,454 เมตร ให้มีความยาวเพิ่มเป็น 3,780 เมตร และได้ขยายความกว้างจาก 46 เมตร ให้เป็น 60 เมตร นอกจากนี้ยังมีทางวิ่งคู่ขนานสำรอง กว้าง 30 เมตร งานรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อาทิเช่น การติดหลอดไฟที่ทางวิ่ง และการติดสัญลักษณ์ เพื่อให้นักบินมองเห็น เป็นต้น ตัวอาคารมีทางออกขึ้นเครื่อง 9 ทาง โดยทุกทางออก สามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 737 และแอร์บัส เอ 320 ได้ โดยทางออกที่ 9 มีไว้เพื่อรองรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 380-800 โดยเฉพาะ[5][6]

การเปิดเที่ยวบินใหม่ ๆ[แก้]

อดีตหัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งรัฐซาราวัก มีแผนที่จะพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในรัฐซาราวัก ต่อมาสายการบินสัญชาติสิงคโปร์ ชื่อสายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ ได้เปิดเที่ยวบินสิงคโปร์-กูจิง แต่ได้ยกเลิกในอีก 2-3 ปีถัดมา

ในปี ค.ศ. 2006 ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง ได้ประเมินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ในด้านสายการบินที่มีความปลอดภัยสูงที่สุด[7]

สายการบินราคาประหยัด แอร์เอเชีย ได้เปิดเที่ยวบินจากสนามบินกูจิง ไปยังกรุงเทพฯ-ดอนเมือง, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, มาเก๊า และคลาร์ก เส้นทางการบินอื่น ๆ ที่จะเปิดในอนาคต อาทิเช่น กูจิง-บรูไน, กูจิง-สิงคโปร์ และกูจิง-เพิร์ท[8]

ส่วนสายการบิน มาเลเซียแอร์ไลน์ มีแผนเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังฮ่องกง, ไทเป-เถาหยวน, เกาสง และโซล-อินช็อน[9]

โครงสร้างพื้นฐานท่าอากาศยาน[แก้]

ระบบสายพานกระเป๋า (BHS)[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง มีสายพานกระเป๋า (BHS) อยู่สองจุด จุดหนึ่งสำหรับเที่ยวบินภายในรัฐซาราวัก และอีกจุดหนึ่งสำหรับเที่ยวบินระหว่างรัฐและระหว่างประเทศ

การตรวจคนเข้าเมือง[แก้]

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการตรวจคนเข้าเมืองอิสระ ผู้โดยสารที่เดินทางเข้า-ออกนอกรัฐซาราวัก ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินทุกคน

ระบบขนส่งสาธารณะ[แก้]

ไม่มีรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อโดยตรง สถานีขนส่งที่ใกล้ที่สุด คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกูจิงเซ็นทรัล ห่างจากสนามบิน 2 กิโลเมตร ส่วนรถแท็กซี่ สามารถซื้อบัตรได้ตามเคาน์เตอร์แลกบัตร

สายการบินและจุดหมายปลายทาง[แก้]

ผู้โดยสาร[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์เอเชีย บินตูลู, โจโฮร์บะฮ์รู, โกตาบาห์รู, โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์, มิริ, ปีนัง, ซีบู, สิงคโปร์
มาเลเซียแอร์ไลน์ บินตูลู, ฮ่องกง, โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์, มิริ, ซีบู, สิงคโปร์
เอ็มเอเอสวิงส์
ร่วมกับ มาเลเซียแอร์ไลน์
บินตูลู, โกตากีนาบาลู, มิริ, มูกะห์, มูลู, ปอนเตียนาก, ซีบู, ตันจุงมานิส
มาลินโดแอร์ กัวลาลัมเปอร์
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์
เอ็กซ์เพรสแอร์ ปอนเตียนาก, ยอร์กยาการ์ตา

สินค้า[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เอ็มเอเอสคาร์โก ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
ทรานส์ไมล์แอร์เซอร์วิส โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์-ซูบัง, มิริ, สิงคโปร์

สถิติ[แก้]

จำนวนผู้โดยสาร สินค้า และเที่ยวบิน[แก้]

จำนวนผู้โดยสาร สินค้า และเที่ยวบินต่อปี[10]
ปี ค.ศ.
จำนวนผู้โดยสาร
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
จำนวนสินค้า (ตัน)
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
จำนวนเที่ยวบิน
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
2003 2,923,633 26,278 42,138
2004 3,317,879 เพิ่มขึ้น 13.5 26,073 ลดลง 0.8 45,340 เพิ่มขึ้น 7.6
2005 3,354,973 เพิ่มขึ้น 1.1 28,407 เพิ่มขึ้น 8.9 43,253 ลดลง 4.0
2006 3,196,352 ลดลง 4.7 29,716 เพิ่มขึ้น 4.6 40,292 ลดลง 7.4
2007 3,236,468 เพิ่มขึ้น 1.3 23,818 ลดลง 19.8 37,348 ลดลง 7.3
2008 3,238,614 เพิ่มขึ้น 0.07 19,166 ลดลง 19.5 39,188 เพิ่มขึ้น 4.9
2009 3,574,632 เพิ่มขึ้น 10.4 20,830 เพิ่มขึ้น 8.7 44,761 เพิ่มขึ้น 14.2
2010 3,684,517 เพิ่มขึ้น 3.1 26,977 เพิ่มขึ้น 29.5 46,382 เพิ่มขึ้น 3.6
2011 4,286,722 เพิ่มขึ้น 16.3 24,787 ลดลง 8.1 53,154 เพิ่มขึ้น 14.6
2012 4,186,523 ลดลง 2.3 15,811 ลดลง 36.2 46,727 ลดลง 12.1
2013 4,871,036 เพิ่มขึ้น 16.4 21,993 เพิ่มขึ้น 39.1 56,085 เพิ่มขึ้น 20.0
2014 4,852,822 ลดลง 0.4 28,040 เพิ่มขึ้น 27.5 53,490 ลดลง 4.6

เส้นทางการบิน[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัล MS ISO 9001:2000 สำหรับการจัดการและดำเนินงานท่าอากาศยานดีเด่น ได้รับในปี ค.ศ. 2005.
  • รางวัลท่าอากาศยานดีเด่น มอบโดยแผนกการบินพลเรือน (DCA) ในปี ค.ศ. 2005 เป็นท่าอากาศยานแห่งที่สองในมาเลเซียที่ได้รับรางวัลนี้ ถัดมาท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์[11]
  • รางวัลท่าอากาศยานที่ปลอดภัยที่สุด มอบโดยมาเลเซียแอร์ไลน์[12]
  • รางวัลแพลตตินัมแอนด์สตาร์ มอบโดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในด้านการเช็ค-อิน, การตรวจกระเป๋า, การตรวจคนเข้าเมือง และสายพานกระเป๋าดีเด่น

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์[แก้]

  • ค.ศ. 1999 — เครื่องบิน De Havilland Canada DHC-4 Caribou พุ่งชนกับพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณปลายทางวิ่ง มีผู้เสียชีวิต 5 คน เป็นเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมด
  • 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 — เครื่องบินขนส่งสินค้าลำหนึ่ง เกิดไถลกับขอบทางวิ่ง ขณะลงจอด เมื่อเวลา 6 นาฬิกา 20 นาที[13]
  • 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 — เวลา 0 นาฬิกา 23 นาที มีผู้ชายคนหนึ่งขู่ว่าได้ทำการวางระเบิดเอาไว้ในสนามบิน เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้นได้พบกับระเบิดปลอม และในวันนั้นไม่มีเหตุการณ์ระเบิดแต่อย่างใด[14]
  • 17 สิงหาคม ค.ศ. 2006 — มีการขู่วางระเบิดบนเครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 5203 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้โดยสาร 126 คน กำหนดถึงกัวลาลัมเปอร์เวลา 9 นาฬิกา 20 นาที เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้น พบว่าไม่มีวัตถุระเบิดตามที่ขู่ไว้แต่อย่างใด[15]
  • 1 กันยายน ค.ศ. 2006 — มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 2507 มุ่งหน้ากัวลาลัมเปอร์ เกิดเหตุน้ำมันเครื่องหมดขณะกำลังบินขึ้น เมื่อเวลา 23 นาฬิกา 5 นาที ทำให้ต้องเปลี่ยนมาใช้เครื่องบินอีกลำ ซึ่งกำหนดออกในเวลา 23 นาฬิกา 30 นาที[16]
  • 13 มกราคม ค.ศ. 2007 — เครื่องบินโบอิง 737-200 ลำหนึ่ง เกิดอุบัติเหตุขณะลงจอด[17] เมื่อเวลา 5 นาฬิกา 52 นาที ตัวเครื่องบินได้รับความเสียหายมาก[18] มีลูกเรือรอดชีวิตเพียง 4 คน ทางสนามบินจำเป็นต้องปิดทำการเป็นเวลา 6 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ส่งผลให้เที่ยวบินที่จะบินขึ้นและลงจอดอีก 30 เที่ยว ล่าช้ามาก สนามบินได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งในตอนเที่ยงของวันเดียวกัน[19]
  • 10 มกราคม ค.ศ. 2011 — แอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 5218 เกิดลื่นไถลทางวิ่งขณะลงจอด เมื่อเวลา 22 นาฬิกา 15 นาที มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัส 4 คน[21][22]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kuching International Airport at Malaysia Airports Holdings Berhad
  2. 2.0 2.1 WBGG - KUCHING INTERNATIONAL เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Department of Civil Aviation Malaysia
  3. "Pangkalan Udara Kuching" [Kuching Airbase] (ภาษามาเลย์). Royal Malaysian Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  4. 4.0 4.1 Global Asia Airports: Kuching International Airport, Malaysia
  5. "Global Upline KIA Expansion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  6. KIA runway extension marks new era for city
  7. "MAS achieved zero accident rate in KIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-26.
  8. The Borneo Post Online[ลิงก์เสีย]
  9. "The Borneo Post Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  10. "MAHB Annual Report 2014" (PDF). malaysiaairports.com.my. 14 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-14. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015.
  11. Awards
  12. "The Borneo Post Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  13. "The Borneo Post Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  14. Bomb scare at KIA
  15. Bomb hoax at KIA again
  16. "MAS flight grounded by technical problem". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  17. Cargo aircraft crash-lands 1
  18. "Cargo aircraft crash-lands 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  19. Cargo aircraft crash-lands 3
  20. "Accident description". Aviation Safety Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-16. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  21. "Aircraft skids on KIA runway". The Borneo Post Online. 11 January 2011.
  22. "Pesawat AirAsia terbabas ketika mendarat di KIA". Utusan Online. 11 January 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]