สถานีรถไฟท่านาแล้ง
ท่านาแล้ง ທ່ານາແລ້ງ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||
ที่ตั้ง | บ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว | ||||
พิกัด | 17°54′11″N 102°42′35″E / 17.90306°N 102.70972°E | ||||
เจ้าของ | การรถไฟลาว | ||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว[1] | ||||
สาย | หนองคาย–เวียงจันทน์ | ||||
ชานชาลา | 2 | ||||
ทางวิ่ง | 5 | ||||
โครงสร้าง | |||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||
ที่จอดรถ | มีบริการ | ||||
ข้อมูลอื่น | |||||
สถานะ | ขบวนรถหนองคาย – เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | ||||
รหัสสถานี | 7201 (ลล) | ||||
ประวัติ | |||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 | ||||
|
สถานีรถไฟท่านาแล้ง (ลาว: ສະຖານີທ່ານາແລ້ງ) เป็นสถานีรถไฟของทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ตั้งอยู่บ้านดงโพสี หาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว[2] ถือเป็นสถานีรถไฟแห่งแรกในประเทศลาว
สถานีรถไฟท่านาแล้งมีจำนวนย่านทางรถไฟ 3 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 2 ทาง ทางติดชานชาลา 2 ทาง ซึ่งสถานีรถไฟท่านาแล้ง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 627.25 กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางของสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 เป็นระยะทาง 3.50 กิโลเมตร สร้างขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย-ลาว เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าออก[3]
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างไทย-ลาว เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552[4][5]
ปัจจุบันสามารถเดินรถถึงสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ซึ่งเป็นสถานีสิ้นสุดของโครงการรถไฟไทย - ลาว ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lao People's Democratic Republic: Transport Sector" (PDF). Independent Evaluation Department, Asian Development Bank. May 5, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 24, 2015.
- ↑ สถานีรถไฟท่านาแล้ง
- ↑ Rapeepat Mantanarat (2010-11-09). "Laos rethinks rail project". TTR Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ สมเด็จพระเทพฯเสด็จเปิดรถไฟสายประวัติศาสตร์ ไทย-ลาว
- ↑ "Thai-Laos Rail Link, Thailand". Railway Technology. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.