ที่สูงแคเมอรอน
อำเภอที่สูงแคเมอรอน | |
---|---|
Daerah Cameron Highlands | |
การถอดเสียงภาษาอื่น | |
• มลายู | Tanah Tinggi Cameron (อักษรรูมี)
تانه تيڠڬي كاميرون (อักษรยาวี) |
• จีน | 金馬崙高原縣 |
• ทมิฬ | கேமரன் மலை |
บนลงล่าง: ไร่ชา • ต้นบัวผุด • ผลสตรอว์เบอร์รี • นกกินปลีหางยาวคอดำ • พิพิธภัณฑ์ไทม์ทันเนล | |
ที่ตั้งของอำเภอที่สูงแคเมอรอนในรัฐปะหัง | |
ที่ตั้งของอำเภอที่สูงแคเมอรอนในประเทศมาเลเซีย | |
พิกัด: 4°30′N 101°30′E / 4.500°N 101.500°E | |
ประเทศ | มาเลเซีย |
รัฐ | รัฐปะหัง |
สำรวจ | ค.ศ. 1885 โดยวิลเลียม แคเมอรอน |
ศูนย์กลาง | ตานะฮ์ราตา |
รัฐบาลท้องถิ่น | สภาอำเภอที่สูงแคเมอรอน |
การปกครอง | |
• ประธาน | ไซนัล-อาบีดิน อามิน[1] |
พื้นที่(พื้นที่ปฏิบัติการ MDCH)[2] | |
• ทั้งหมด | 275.36 ตร.กม. (106.32 ตร.ไมล์) |
ประชากร (รัฐบาลท้องถิ่น ค.ศ. 2010)[3] | |
• ทั้งหมด | 34,510 คน |
• ความหนาแน่น | 130 คน/ตร.กม. (320 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+08:00 (เวลาในประเทศมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 39xxx |
รหัสพื้นที่ | +6-05 |
ป้ายทะเบียนยานพาหนะ | C |
เว็บไซต์ | www |
ที่สูงแคเมอรอน (มลายู: Tanah Tinggi Cameron; จีน: 金馬崙高原; ทมิฬ: கேமரன் மலை) เป็นอำเภอหนึ่งในรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ 712.18 ตารางกิโลเมตร (274.97 ตารางไมล์) โดยทางเหนือติดกับรัฐกลันตัน ทางตะวันตกติดกับรัฐเปรัก ที่ราบสูงแคเมอรอนตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปะหัง โดยอยู่ห่างจากอีโปะฮ์ทางตะวันออกประมาณ 90 กิโลเมตร (56 ไมล์) กัวลาลัมเปอร์ทางเหนือเกือบ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) หรือจากกวนตัน เมืองหลักของรัฐปะหัง ประมาณ 355 กิโลเมตร (221 ไมล์) ถือเป็นเทศบาลที่เล็กที่สุดของรัฐ
ผู้สำรวจที่สูงแคเมอรอนคือวิลเลียม แคเมอรอน นักธรณีวิทยาและนักสำรวจของรัฐบาล[4][5]ใน ค.ศ. 1885 อำเภอนี้แบ่งออกเป็น 3 ตำบล คือ ริงเล็ต, ตานะฮ์ราตา และอุลูเตอลม[6] และมีนิคม 8 แห่ง คือ ริงเล็ต, ตานะฮ์ราตา (ศูนย์กลางบริหาร), บรินจัง, หุบเขาเบอร์ตัม, ฟาร์มเกีย, ตริงกัป, กัมปุงกัวลาเตอร์ลา, กัมปุงราจา และบรูแวลลีย์ พื้นที่เหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลจาก 800 เมตร (2,600 ฟุต) ถึง 1,603 เมตร (5,259 ฟุต)[7]
ที่สูงแคเมอรอนได้รับการพัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยเทเบิลแลนด์ (tableland) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย นอกจากอุตสาหกรรมชา[8] มีการบันทึกที่ราบสูงแห่งนี้ว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศเย็น สวนผลไม้, สถานที่เพาะชำพันธุ์ไม้, แหล่งเพาะปลูก, น้ำตก, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, สัตว์ป่า, ป่าที่ปกคลุมด้วยหญ้ามอส, สนามกอล์ฟ, โรงแรม, ศาสนสถาน, บังกะโล, แลนด์โรเวอร์, พิพิธภัณฑ์ และชนพื้นเมือง (โอรังอัซลี)
ประวัติ
[แก้]ที่สูงแคเมอรอนได้รับชื่อนี้จากวิลเลียม แคเมอรอน นักสำรวจและนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ[4]ที่ได้รับหน้าที่จากรัฐบาลสมัยอาณานิคมในบริเวณเขตแดนรัฐปะหัง-เปรักใน ค.ศ. 1885[5][8][9]
ในคำแถลงเกี่ยวกับการสำรวจแผนที่ แคเมอรอนกล่าวว่าเขาเห็น "ทำนองกระแสน้ำวนบนภูเขา ในขณะที่พื้นที่รอบกว้าง (พอสมควร) เราพบที่ลาดชันเล็กน้อยและที่ราบสูง"[9] ต่อมา เซอร์ ฮิว โลว์ เรซิเดนแห่งรัฐเปรัก (ค.ศ. 1887-1889) ได้แสดงความปรารถนาที่จะพัฒนาพื้นที่นี้ให้มีทั้ง "สถานพักฟื้น, สถานพักตากอากาศเพื่อสุขภาพ และแหล่งเพาะปลูกพืชแบบเปิด" เส้นทางที่แคบเพื่อที่จะมาถึง "ดินแดนแห่งแคเมอรอน" เป็นเส้นทางที่ผ่านป่าทึบ หากเลยจากเส้นทางนี้แล้วการเดินทางก็จะสะดวกขึ้น[10]: 18
40 ปีต่อมา เทเบิลแลนด์ได้รับการตรวจสอบอีกครั้งเมื่อเซอร์ จอร์จ แม็กซ์เวลล์ (ค.ศ. 1871-1959) ได้มาเยี่ยมชมสถานที่เพื่อพิจารณาว่าจะเปลี่ยนมาทำเป็นสถานพักตากอากาศได้หรือไม่ โดยใช้เวลาสำรวจพื้นที่ประมาณ 9 วัน แม็กซ์เวลล์กล่าวถึงภูมิประเทศนี้ว่า "รูปร่างค่อนข้างรีตอนกลับมาจากที่ราบสูง" หลังเทียบกับ Nuwara Eliya ในศรีลังกา และ บาเกียวในฟิลิปปินส์[11] เขาประกาศให้พื้นที่นี้พัฒนาเป็นพื้นที่บนเขา (hill station)[12]
ในช่วงกลาง ค.ศ. 1925 มีการสร้างสถานีทดลองทางการเกษตรเพื่อให้มั่นใจว่า ต้นซิงโคนา, ต้นชา, ต้นกาแฟ, ผลไม้และผักสามารถปลูกที่อำเภอนี้ได้จริง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1925 เจ้าหน้าที่ดูแลได้มีการนัดหมายตรวจตราพื้นที่ไร่ 200 เอเคอร์บนภูเขาเบอเริมบัน[13] ในขณะที่นักวิจัยบนสถานีได้เริ่มดำเนินการ สำนักงานอาณานิคมก็ได้มอบหมายให้กัปตัน ซี.ซี. เบสต์ นักสำรวจจากสหพันธรัฐมลายู ให้สำรวจแม่น้ำเตอลม (Sungei Telom) จากรายงานประจำปีของฝ่ายสำรวจ (1925) พบว่า "อูลูแห่งเตอลมมีพื้นที่คดเคี้ยวไปมาจริงตามที่แคเมอรอนกล่าว" และ "เขาเข้ามายังบริเวณที่มีชื่อเรียกว่าที่สูงแคเมอรอนคนแรก เพื่อหาเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ และจากที่นั่นข้ามไปยังหุบเขาเตอลม เขาทำแผนที่ต้นน้ำของแม่น้ำเตอลม และการสำรวจของเขาได้ยืนยันสถานที่นี้อย่างแน่นอน ซึ่งทำให้พื้นที่อูลูแห่งเบอร์ตัง (เบอร์ตัม?) นั้น เป็นที่เหมาะแก่การพัฒนามากที่สุดจนยากที่จะหาที่อื่นมาเทียบได้"[14] จากรายงานนี้ควบคู่ไปกับการปลูกชาที่เติบโตได้ดี ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้อังกฤษเร่งพัฒนาพื้นที่นี้
ใน ค.ศ. 1926[14] คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ได้แบ่งแยกโซนทุ่งหญ้าพุ่มเตี้ยเพื่อการเกษตร, การป้องกัน, การจัดการ, ที่อยู่อาศัย และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ต่อมามีการสร้างถนนด้วยงบ 3 ล้านดอลลาร์จากตาปะฮ์ไปที่ที่สูง โดยเริ่มต้นจากระยะไมล์ที่ 19 ของถนนตาปะฮ์-ปะหัง และไปสิ้นสุดที่กินติง "บี" (ตานะฮ์ราตา)[15] โดยมีการให้รางวัลสัญญาจ้าง 3 ปีแก่ Messrs. Fogden, Brisbane และบริษัท[15] การสร้างครั้งแรกใน ค.ศ. 1926 ใช้เงินจำนวน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[13] โครงการเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1928 และเสร็จสิ้นวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 โดยสร้างเสร็จก่อนกำหนด 47 วัน[15] ส่วนการสร้างอาคารของถนนเส้นนี้เป็นเรื่องท้าทาย: นอกจากลูกจ้างจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแล้ว พวกเขายังต้องรับมือกับโรคไข้มาลาเรีย ในระหว่างการก่อสร้างมีคนงานจำนวนระหว่าง 500 ถึง 3,000 คน ตลอดสัญญามีพนักงาน 375 คนต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคไข้[15] ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ผู้รับเหมาต้องเจอคือการขนส่งสินค้าที่เครื่องจักรกลหนักจากที่ราบไปสู่ที่สูง โดยมีการเปลี่ยนข้อเสียนี้ด้วยการใช้หัวรถจักรไอน้ำที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานบนทางลาดชัน[8][16]
เมื่อมีการเปิดถนนใน ค.ศ. 1931[17] ทั้งชาวอังกฤษและคนในพื้นที่ได้ย้ายไปอยู่บนไหล่เชิงเขา ภายหลังมีนักปลูกชาและชาวสวนปลูกผักที่พบว่าภูมิอากาศที่นี่เหมาะกับการเติบโตของพืชผลของตนเป็นอย่างดี ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 ที่สูงแคเมอรอนกลายเป็นตำบลปกครองตนเองของกัวลาลีปิซ โดยมีรองปลัดอำเภอเป็นของตนเอง ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของปลัดอำเภอลีปิซ[18] ในช่วงกลางคริสใต์ทศวรรษ 1930 มีการพัฒนาพื้นที่อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยมีสนามกอล์ฟ 6 แห่ง,[19] กระท่อมหลายหลัง, โรงแรมขนาดเล็ก 3 แห่ง, สถานีตำรวจ, 2 โรงเรียนประจำ, แคมป์ทหาร, โรงผลิตนม, ฟาร์มฝึกม้า, สถานพักฟื้น, สวนผัก, ไร่ชา, บ้านพักของหน่วยงานรัฐ และสถานีทดลองทางการเกษตร พื้นที่นี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง (ค.ศ. 1942–1945) แทบจะไม่มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้เลย เมื่อญี่ปุ่นถอนฐานทัพไปเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 พื้นที่นี้ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แล้วมาหยุดกะทันหันในระหว่างวิกฤตการณ์มาลายา (ค.ศ. 1948–1960) เมื่อปัญหาความขัดแย้งยุติลง "ที่สูงแคเมอรอน" ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงเสมอ ปัจจุบัน พื้นที่นี้ไม่เพียงแต่จะเป็นที่พักอาศัยที่ใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นที่บนเขาที่รู้จักอย่างดีของประเทศมาเลเซียเพียงเท่านั้น ก็ยังเป็นจุดสูงสุดในมาเลเซียตะวันตกที่สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ได้[20]
ภูมิอากาศ
[แก้]ภูมิอากาศของที่ราบสูงแคเมอรอนอยู่ในขอบเขตระหว่างภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Af) กับภูมิอากาศที่ราบสูงกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfb) มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) ในช่วงกลางวันอุณหภูมิไม่ค่อยขึ้นสูงมากกว่า 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนตอนกลางคืน อุณหภูมิสามารถลงต่ำสุดถึง 9 องศาเซลเซียส (48 องศาฟาเรนไฮต์)[10]: 19 หยาดน้ำฟ้าทั้งปีมีมากกว่า 2,700 มิลลิเมตร (110 นิ้ว) อุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่บันทึกเกิดเมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 1978 โดยมีอุณหภูมิลดลงถึง 7.8 องศาเซลเซียส (46.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,471.6 เมตร[21]
ข้อมูลภูมิอากาศของที่สูงแคเมอรอน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 25.7 (78.3) |
27.4 (81.3) |
26.6 (79.9) |
27.0 (80.6) |
27.9 (82.2) |
26.5 (79.7) |
26.6 (79.9) |
25.6 (78.1) |
26.5 (79.7) |
26.2 (79.2) |
26.1 (79) |
25.7 (78.3) |
27.9 (82.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21.4 (70.5) |
22.4 (72.3) |
23.0 (73.4) |
23.4 (74.1) |
23.2 (73.8) |
22.8 (73) |
22.4 (72.3) |
22.0 (71.6) |
22.0 (71.6) |
21.8 (71.2) |
21.7 (71.1) |
21.1 (70) |
22.27 (72.08) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 17.2 (63) |
17.6 (63.7) |
18.2 (64.8) |
18.7 (65.7) |
18.7 (65.7) |
18.4 (65.1) |
18.0 (64.4) |
17.8 (64) |
17.7 (63.9) |
17.6 (63.7) |
17.6 (63.7) |
17.2 (63) |
17.89 (64.21) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 14.6 (58.3) |
14.7 (58.5) |
15.2 (59.4) |
15.8 (60.4) |
16.1 (61) |
15.6 (60.1) |
15.3 (59.5) |
15.3 (59.5) |
15.3 (59.5) |
15.3 (59.5) |
15.3 (59.5) |
14.9 (58.8) |
15.28 (59.51) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 10.9 (51.6) |
7.8 (46) |
11.6 (52.9) |
13.4 (56.1) |
14.2 (57.6) |
13.4 (56.1) |
13.5 (56.3) |
13.6 (56.5) |
13.1 (55.6) |
13.3 (55.9) |
12.0 (53.6) |
12.1 (53.8) |
7.8 (46) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 109.5 (4.311) |
115.1 (4.531) |
198.4 (7.811) |
275.7 (10.854) |
268.8 (10.583) |
145.1 (5.713) |
162.1 (6.382) |
180.2 (7.094) |
244.8 (9.638) |
334.7 (13.177) |
300.6 (11.835) |
203.1 (7.996) |
2,538.1 (99.925) |
ความชื้นร้อยละ | 84 | 83 | 84 | 91 | 92 | 90 | 90 | 91 | 92 | 93 | 93 | 92 | 89.6 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 14 | 12 | 17 | 20 | 21 | 15 | 16 | 18 | 22 | 25 | 24 | 20 | 224 |
แหล่งที่มา: Malaysian Meteorological Department[21]
"Climate Of Tourist Places In Malaysia: Cameron Highlands". Malaysian Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2008. สืบค้นเมื่อ 14 January 2019.</ref> |
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1991 | 25,555 | — |
2000 | 28,077 | +9.9% |
2010 | 36,978 | +31.7% |
2020 | 39,004 | +5.5% |
ที่มา: Department of Statistics, Malaysia [3] |
กลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอที่สูงแคเมอรอน (สำมะโน ค.ศ. 2010) | ||
---|---|---|
เชื้อชาติ | ประชากร | ร้อยละ |
จีน | 13,099 | 39.4% |
บูมีปูเตอรา | 12,989 | 39.0% |
อินเดีย | 6,988 | 21.0% |
อื่น ๆ | 202 | 0.6% |
รวม | 33,278 | 100% |
อำเภอนี้มีประชากรที่หลากหลาย โดยรวมมี 33,278 คน แบ่งออกเป็น ชาวจีน (13,099), บูมีปูเตอรา (12,989; แบ่งออกเป็น: มลายู (7,321); อื่น ๆ (ส่วนใหญ่เป็นโอรังอัซลี (5,688)) อินเดีย (6,988), พลเมืองที่ไม่ใช่ชาวมาเลเซีย (5,193) และสัญชาติอื่น ๆ (202)[22] พลเมืองส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ, พนักงานอุตสาหกรรมบริการ, คนงานฟาร์ม, คนเกษียณ หรือข้าราชการ
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่สูงแคเมอรอนเป้นหนึ่งใน 11 อำเภอของรัฐปะหัง กินพื้นที่ 712 ตารางกิโลเมตร (275 ตารางไมล์) โดยอำเภอนี้มีตำบล 3 ตำบล และเมือง 5 เมือง[23] เมืองทั้งหมดอยู่ในบริเวณความสูงเหนือระดับน้ำทะเลจาก 800 เมตร (2,600 ฟุต) ถึง 1,603 เมตร (5,259 ฟุต)[24] สิ่งที่มีความแตกต่างจากอำเภออื่นของประเทศมาเลเซีย ไม่เป็นเพียงแต่การเป็นที่อยู่ของพืชดอกที่พบได้ยากในเขตร้อนกว่าร้อยชนิดเท่านั้น[25] แต่ก้มีระบบนิเวศที่แตกต่างกันด้วย
ใน ค.ศ. 1958 มีการตั้งด่านเพื่อสำแดงสัตว์ประเภทกวางสงวน 4 ปีต่อมา ด่านนี้กลายเป็นแหล่งคุ้มครองสัตว์และนกหายากหลายชนิด ตั้งอยู่ที่ทิวเขาหลัก (บันจารันตีตีวังซา) กว่า 75% ของเขตนี้มีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) มีความชื้นสูงและไม่มีฤดูแล้ง ช่วงเดือนที่ฝนตกชุกมากอยู่ในช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน และช่วงเดือนที่อากาศ "แห้ง" ไม่มีฝน อยู่ในช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์[25][26]
ที่สูงแคเมอรอนเป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ของมาเลเซียที่เป็นที่อยู่อาศัยของดอกไม้นานาพันธุ์และสัตว์ประจำถิ่นจำนวนมาก โดยมีพืชมากกว่า 700 ชนิดที่เติบโตที่นี่[25] พืชผักบนภูเขามีการเปลี่ยนแปลง พื้นที่นี้เป็นที่รู้จักจากการปลูกชา ฟาร์มผัก และแหล่งเพาะพันธุ์ไม้ดอก[27] รูปแบบป่าก่อให้เกิดระบบนิเวศทางธรรมชาติทั้งในและรอบ ๆ ตัวเมือง
ในทางภูมิศาสตร์ รีสอร์ทที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูง "ชัน" ของมาเลเซียตะวันตก (ซึ่งมีความสูงที่หลากหลายตั้งแต่ 800 เมตร (2,600 ฟุต) ถึง 1,603 เมตร (5,259 ฟุต))[28] ที่สูงแคเมอรอนมีภูเขาอยู่ 8 ลูกที่เป็นสำหรับพักผ่อน มีดังนี้ เขาบาตูบรินจัง (2,031 เมตร (6,663 ฟุต)), เขาเบอเริมบัน (1,840 เมตร (6,040 ฟุต)), ภูเขาอีเรา (2,091 เมตร (6,860 ฟุต)), เขาจาซาร์ (1,696 เมตร (5,564 ฟุต)), เขาเมินตีกี (1,563 เมตร (5,128 ฟุต)), เขาเปอร์ดะฮ์ (1,576 เมตร (5,171 ฟุต)) และเขาซีกู (1,916 เมตร (6,286 ฟุต))[25] เขาสเวตเทนแฮม (1,961 เมตร (6,434 ฟุต)) ตั้งอยู่บริเวณชายแดนรัฐกลันตัน จุดสูงสุดของเขาบาตูบรินจังมีสถานนีวิทยุและโทรทัศน์ตั้งอยู่ ซึ่งสร้างโดยชาวอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ใกล้กับป่าที่ปกคลุมไปด้วยหญ้ามอส เส้นทางเดินป่าเริ่มจากไร่ชาซูไงปาลัซโบะฮ์ ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก็จะถึงป่าเมฆตามเส้นทางถนน
การเดินทาง
[แก้]ทางถนนที่เดินทางมาที่สูงแคเมอรอน คือ ตาปะฮ์, ซิมปังปูไล, กัวมูซัง และซูไงโกยัน[29] ตาปะฮ์กับซิมปังปูไลเป็นสองทางจากรัฐเปรัก ส่วนกัวมูซังกับซูไงโกยันเป็นทางเข้าที่มาจากรัฐกลันตันและรัฐปะหัง ตามลำดับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ primuscoreadmin (16 October 2015). "Profil YDP".
- ↑ primuscoreadmin (16 October 2015). "Latar Belakang".
- ↑ 3.0 3.1 "TABURAN PENDUDUK MENGIKUT PBT & MUKIM 2010". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
- ↑ 4.0 4.1 Straits Times Weekly Issue, 22 November 1886, Page 1
- ↑ 5.0 5.1 Barr, Pat (1977). Taming the jungle. Martin Secker & Warburg Limited. p. 72. ISBN 0-436-03365-8.
- ↑ "Ringkasan Eksekutif RT Cameron Highlands 2030" (PDF) (ภาษามาเลย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
- ↑ "Geological terrain mapping in Cameron Highlands district, Pahang 2003" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Moore, Wendy Khadijah (2004). Malaysia: A Pictorial History 1400–2004. Archipelago Press. p. 182. ISBN 981-4068-77-2.
- ↑ 9.0 9.1 "HISTORY OF CAMERON HIGHLANDS: Need For Continuity Of A Declared Government Policy". National Library, Singapore: The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884–1942). 23 September 1935. p. 3 (Microfilm reel no. NL 3569).
- ↑ 10.0 10.1 De Souza, Edward Roy (2010). SOLVED! The "Mysterious" Disappearance of Jim Thompson, the Legendary Thai Silk King (2nd ed). Word Association Publishers. pp. 18–20. ISBN 978-1-59571-505-0. LCCN 2009944204. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-15. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
- ↑ "CAMERON'S (?) HIGHLANDS. COMPARISONS WITH OTHER STATIONS., The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884–1942), Tuesday, 19 May 1925". p. 11.
- ↑ "Cameron Highlands: Malaysia's enduring 'Little England', CNN Travel, Thursday, 27 June 2013".
- ↑ 13.0 13.1 "CAMERON HIGHLANDS: Government Statement". The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884–1942). 10 June 1927. p. 7.
- ↑ 14.0 14.1 "IN QUEST OF CAMERON'S PLATEAU, The Straits Times, 24 March 1949". p. 8.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "ROAD TO CAMERON'S HIGHLANDS, The Straits Times, Tuesday, 3 March 1931". p. 12.
- ↑ "ROAD TO CAMERON'S HIGHLANDS: $3,000,000 Expended, The Straits Times, Wednesday, 26 November 1930". p. 12.
- ↑ Shennan, Margaret (2000). Out in the Midday Sun: The British in Malaya 1880–1960. John Murray (Publishers) Ltd. p. 128. ISBN 0-7195-5716-X.
- ↑ "Sejarah Cameron Highlands". Pejabat Daerah dan Tanah Cameron Highlands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
- ↑ "Cameron Highlands Golf, The Straits Times, Friday, 13 September 1935". p. 14.
- ↑ Day, J. David (1990). Malaysia: Gemstone of Southeast Asia. Tropical Press Sdn. Bhd. pp. 69. ISBN 967-73-0042-3.
- ↑ 21.0 21.1 "General Climate Information, Malaysian Meteorological Department". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.
- ↑ "Population Distribution and Basic Demographic Characteristics, 2010" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
- ↑ "Ringkasan Eksekutif RT Cameron Highlands 2030" (PDF) (ภาษามาเลย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
- ↑ "Geological terrain mapping in Cameron Highlands district, Pahang 2003" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "CAMERON HIGHLANDS ISSUES & CHALLENGES IN SUSTAINABLE DEVELOPMENT" (PDF). Eprints. 2006.
- ↑ Rodrigo, Jennifer (1996). Malaysia: The Beautiful. New Holland (Publishers) Ltd. p. 19. ISBN 1-85368-744-8.
- ↑ A.Knopf, Alfred (1994). Singapore and Malaysia Archipelago Guides. KNOPF. p. 221. ISBN 981-3018-25-9.
- ↑ "Geological terrain mapping in Cameron Highlands district, Pahang 2003" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "Cameron Highlands, Pahang, Malaysia Google map". Google Inc. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
หนังสือ
[แก้]- Moore, Wendy Khadijah (2004). Malaysia: A Pictorial History 1400–2004. Archipelago Press. ISBN 981-4068-77-2.
- Shennan, Margaret (2000). Out in the Midday Sun: The British in Malaya 1880–1960. John Murray Publishers Ltd. ISBN 0-7195-5716-X.
- Rodrigo, Jennifer (1996). Malaysia: The Beautiful. New Holland Publishers Ltd. ISBN 1-85368-744-8.
- Day, J. David (1990). Malaysia: Gemstone of Southeast Asia. Tropical Press Sdn. Bhd. ISBN 967-73-0042-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]คู่มือการท่องเที่ยว Cameron Highlands จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)