ทฤษฎีบทของโรลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้า เป็นฟังก์ชันค่าจริงที่ต่อเนื่องบนช่วงปิด และหาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิด และ แล้วจะมีจำนวนจริง ในช่วง อย่างน้อยหนึ่งตัวที่ทำให้

ในแคลคูลัส ทฤษฎีบทของโรลล์ หรือ บทแทรกของโรล กล่าวว่าฟังก์ชันค่าจริงใด ๆ ที่หาอนุพันธ์ได้ และมีจุดสองจุดที่ทำให้ฟังก์ชันนั้นมีค่าเท่ากัน จะต้องมีจุดนิ่งอย่างน้อยหนึ่งจุดระหว่างจุดสองจุดนั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ จะต้องมีจุดที่อนุพันธ์ของฟังก์ชันนั้นเป็นศูนย์ นั่นคือจุดที่อนุพันธ์อันดับแรก

ทฤษฎีบทนี้ตั้งชื่อตาม มิเชล โรลล์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

รูปแบบมาตรฐานของทฤษฎีบท[แก้]

ทฤษฎีบทของโรลล์ — ถ้า เป็นฟังก์ชันค่าจริงที่ต่อเนื่องบนช่วงปิด (โดยที่ ) และหาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิด และ แล้วจะมีจำนวนจริง ในช่วง อย่างน้อยหนึ่งตัวที่ทำให้

ทฤษฎีบทของโรลล์สามารถใช้เพื่อพิสูจน์ ทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย ซึ่งทฤษฎีบทของโรลล์เป็นกรณีพิเศษของทฤษฎีบทดังกล่าวอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ทฤษฎีบทของโรลล์ยังเป็นฐานสำหรับพิสูจน์ ทฤษฎีบทของเทย์เลอร์ อีกด้วย

ประวัติ[แก้]

แม้ว่าทฤษฎีบทจะตั้งชื่อตาม มิเชล โรลล์ แต่บทพิสูจน์ในปี 1691 ของโรลล์นั้นครอบคลุมเฉพาะกรณีฟังก์ชันพหุนามเท่านั้น บทพิสูจน์ของเขาไม่ได้ใช้แคลคูลัส ซึ่งในตอนนั้นเขาถือว่าเป็นทฤษฎีที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ทฤษฎีของโรลล์ในรูปแบบปัจจุบันนี้พิสูจน์ครั้งแรกโดย ออกุสแต็ง-หลุยส์ โคชี ในปี ค.ศ. 1823 โดยเป็นบทแทรกหนึ่งของ ทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย [1] ชื่อ "ทฤษฎีบทของโรลล์" ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย มอริตซ์ วิลเฮล์ม โดรบิสช์ ชาวเยอรมันในปี 1834 และ กุยอิสโต เบลลาวิติส ชาวอิตาลีในปี 1846 [2]

ตัวอย่าง[แก้]

ครึ่งวงกลมรัศมี

ตัวอย่างแรก: ครึ่งวงกลม[แก้]

กำหนดรัศมี พิจารณาฟังก์ชันรูปครึ่งวงกลม

กราฟของฟังก์ชันข้างต้นคือครึ่งวงกลมส่วนบนที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด ฟังก์ชันนี้ต่อเนื่องบนช่วงปิด และหาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิด แต่ไม่สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่จุดปลาย และ ทั้งสอง

เนื่องจาก เราสามารถใช้ใช้ทฤษฎีบทของโรลล์กับฟังก์ชันนี้ได้ และจะเห็นว่ามีจุดที่อนุพันธ์ของ เป็นศูนย์ สังเกตว่าทฤษฎีบทนี้ใช้ได้แม้ว่าฟังก์ชันจะไม่มีอนุพันธ์ที่จุดปลายของช่วงปิดได้ เนื่องจากต้องการความหาอนุพันธ์ได้ของฟังก์ชันบนช่วงเปิดเท่านั้น

ตัวอย่างที่สอง: ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์[แก้]

กราฟของฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์

ถ้าฟังก์ชันไม่มีสมบัติหาอนุพันธ์ได้บนช่วงเปิด อาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามทฤษฎีบทของโรลล์ พิจารณาฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์

พบว่า แต่ไม่มีค่า ระหว่าง −1 และ 1 ที่ทำให้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าฟังก์ชันดังกล่าวหาอนุพันธ์ที่จุด ไม่ได้

สังเกตว่าอนุพันธ์ของ เปลี่ยนเครื่องหมายที่จุด แต่เท่ากับ 0 ทฤษฎีบทของโรลล์ใช้ไม่ได้เพราะฟังก์ชัน ไม่ได้หาอนุพันธ์ได้ทุกจุดในช่วงเปิด อย่างไรเสียเราจะเห็นว่า มีจุดวิกฤติในช่วงดังกล่าว

กรณีทั่วไป[แก้]

 ตัวอย่างที่สองเป็นตัวอย่างหนึ่งของกรณีทั่วไปของทฤษฎีบทของโรลล์:

ทฤษฎีบทของโรลล์แบบทั่วไป — พิจารณาฟังก์ชันต่อเนื่อง บนช่วงปิด ที่ซึ่ง ถ้าหากสำหรับทุก ในช่วงเปิด พบว่าอนุพันธ์ทางขวา

และอนุพันธ์ทางซ้าย

หาค่าได้บนเส้นจำนวนจริงขยาย แล้วจะมีจำนวนจริง ในช่วงเปิด ที่ทำให้ลิมิตค่าหนึ่งจากในสองค่า

มีค่า ≥ 0 และอีกค่าที่เหลือ ≤ 0 (บนเส้นจำนวนจริงขยาย)

ในกรณีที่ลิมิตทางซ้ายและลิมิตทางขวาเท่ากันทั้งสองค่าสำหรับทุก แล้วฟังก์ชันจะหาอนุพันธ์ได้ และจะได้ทฤษฎีบทของโรลล์

ข้อสังเกต[แก้]

  • ถ้า เป็นฟังก์ชันเว้าหรือฟังก์ชันนูน แล้วอนุพันธ์ทางขวาและอนุพันธ์ทางซ้ายจะหาได้ทุกจุด ดังนั้นลิมิตขางต้นย่อมหาได้และเป็นจำนวนจริง
  • รูปแบบทั่วไปนี้เพียงพอที่จะใช้พิสูจน์ว่าฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันนูนถ้าอนุพันธ์ทางเดียวเป็นฟังก์ชันเพิ่มทางเดียว[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Besenyei, A. (September 17, 2012). "A brief history of the mean value theorem" (PDF).
  2. See Cajori, Florian. A History of Mathematics. p. 224.
  3. Artin, Emil (1964) [1931], The Gamma Function, แปลโดย Butler, Michael, Holt, Rinehart and Winston, pp. 3–4

ดูเพิ่ม[แก้]

ลิงก์ภายนอก[แก้]