ชัยฏอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชะยาฏีน (شياطين; ปีศาจ หรือ มาร) เอกพจน์: ชัยฏอน (شَيْطٰان) เป็นวิญญาณอันชั่วร้ายในความเชื่อศาสนาอิสลาม ซึ่งทำให้มนุษย์ทำบาปโดยการกระซิบที่หัวใจ (قَلْب ก็อลบ์) ผ่านทาง วัสวะซะฮ์ (وَسْوَسَة, “การกระซิบ”)[1] มันทำให้มนุษย์หลงผิดอยู่เสมอ[2] ถึงแม้ว่ามารร้ายมักถูกกล่าวในแบบนามธรรม และกล่าวในทางชั่วร้ายเท่านั้น พวกมันถูกกล่าวว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่หน้าตาน่าเกลียดและพิลึกแห่งไฟนรก

ศัพทมูลวิทยาและคำศัพท์[แก้]

คำว่า ชัยฏอน (อาหรับ: شَيْطَان) มาจากภาษาฮีบรูว่า שָׂטָן (Śāṭān) "โจทก์, ปฏิปักษ์" (ในอ้างอิงภาษาอังกฤษคือ ซาตาน) อย่างไรก็ตาม ตามศัพทมูลวิทยาภาษาอาหรับ คำนี้มีรากจาก š-ṭ-n ("ไกล, หลงผิด") ซึ่งมีความหมายแฝงทางศาสนศาสตร์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ห่างไปจากความเมตตา[3] ในอาระเบียก่อนการมาของอิสลาม คำนี้กล่าวถึงวิญญาณอันชั่วร้าย แต่จะใช้โดยกวีที่ติดต่อสื่อสารกับชาวยิวและคริสต์[4] ด้วยการมาของศาสนาอิสลาม ความหมายของ ชะยาฏีน เริ่มใกล้เคียงกับคุณลักษณะของปีศาจในศาสนาคริสต์[5] คำว่า ชะยาฏีน ปรากฎในแบบเดียวกับในหนังสือของเอโนค[6] ถ้าตามหลักฐานของอิสลาม "ชัยฏอน" อาจถูกแปลเป็น "ปิศาจ" หรือ "มาร"[7] ในบรรดาผู้เขียนมุสลิม คำนี้ใช้ได้กับเอกลักษณ์เหนือธรรมชาติอันชั่วร้ายของญินชั่ว, เทวดาตกสวรรค์ หรือ ฏอฆูต โดยทั่วไป[8][9][10] ในมุมมองที่กว้างขึ้น คำนี้ถูกใช้กับทุกสิ่งในมุมมองของภววิทยาที่มีการแสดง ความชั่วร้าย[11]

เทววิทยา[แก้]

กุรอาน[แก้]

ชัยฏอนถูกกล่าวคู่กับมลาอิกะฮ์ถึง 88 ครั้ง และเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่ถูกกล่าวบ่อยที่สุดในอัลกุรอาน ในเรื่องราวของอะดัมและเฮาวาอ์ ชัยฏอนล่อลวงอะดัมให้กินผลจากต้นไม้ต้องห้าม ตามอัลกุรอาน 7:20 มันโต้แย้งว่า อัลลอฮ์สั่งห้ามกินผลไม้นี้ เพื่อไม่ให้พวกเจ้าเป็นอมตะ รายงานจากอัลกุรอาน 15:16-18 ชัยฏอนขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อขโมยความลับ แต่กลับถูกไล่ตามโดยอุกกาบาต อย่างไรก็ตาม พวกญินสามารถเอาข้อมูลไปได้ในบางครั้ง[12] ในซูเราะฮ์ 2:102 กล่าวว่าชัยฏอนคือครูของวิชาหมอผีทั้งปวง อัลกุรอาน 37:62–68 กล่าวว่าผลซักกูม ต้นไม้ในนรก มีผลเป็นหัวชัยฏอน ซูเราะฮ์ 6:112 กล่าวว่า ชัยฏอน อยู่ท่ามกลาง อินส์ (มนุษย์) กับ ญิน รายงานตามอรรถกถา ประโยคนี้เป็นชื่อรองที่กล่าวถึงกบฏในหมู่มนุษย์และญิน แต่อีกอันหนึ่งอธิบายว่า ประโยคนี้อิงถึงชะยาฏีนที่ล่อลวงในหมู่ญินและมนุษย์[13]

ฮะดีษ[แก้]

ในฮะดีษกล่าวถึงชัยฏอนว่าเป็นพลังซึ่งคิดร้ายที่เชื่อมกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยชัยฏอนอยู่กับมนุษย์ทุกคน (ยกเว้นอีซา) และเคลื่อนที่ไปตามสายเลือดของมนุษย์ ในบันทึกของเศาะฮีฮ์ มุสลิม อิบลีสมีลูกชาย 5 ตนที่สร้างความหายนะในชีวิตประจำวัน: ติร “ผู้นำมาซึ่งความหายนะ, ความสูญเสีย และบาดเจ็บ; อัลอะวาร ผู้ส่งเสริมให้เกิดความมึนเมา; ซุต ผู้แนะนำให้โกหก; ดะซิม ผู้ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างมนุษย์กับภรรยา; ซะลัมบูร ผู้นำเหนือบริเวณที่มีความติดขัดทางจราจร"[14] ชะยาฏีนพยายามรบกวนในเวลาละหมาดหรือชำระล้างร่างกาย ที่มากไปกว่านั้น มันมักมาในความฝัน และคุกคามผู้คน เมื่อใครสักคนหาว ก็ต้องปิดปาก เพราะชะยาฏีนอาจเข้าสู่ร่างกายได้ มีการกล่าวว่าในเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกระหว่างเขาของชัยฏอน จะไม่มีการละหมาดในเวลานั้น เพราะเป็นช่วงที่ประตูนรกเปิด[15] เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรีกับญามิอ์ อัตติรมิซีกล่าวว่าชะยาฏีนไม่สามารถทำร้ายผู้ศรัทธาในช่วงเดือนเราะมะฎอน เพราะพวกมันถูกล่ามโซ่ใน ญะฮันนัม (เกเฮนนา)[16]

อรรถกถา[แก้]

ชะยาฏีนถือเป็นหนึ่งในสามสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติในเทววิทยาอิสลาม แต่เพราะพวกมันมีคุณสมบัติในด้านการล่องหนคล้ายญิน นักวิชาการบางคนมักตั้งให้มันอยู่ในหนึ่งหมวดหมู่ของสิ่งที่เหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นใน ตัฟซีร ความแตกต่างระหว่างญินและชะยาฏีนมีดังนี้:[17][18]

  • ในขณะที่ญินนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน (มุสลิม, คริสต์, ยูดาย, พหุเทวนิยม เป็นต้น.) ชะยาฏีนมักชั่วร้ายเป็นพิเศษ
  • พวกญินเป็นปุถุชนและต้องตาย ในขณะที่ชะยาฏีนจะตายก็ต่อเมื่อผู้นำของมันถูกลบล้างจากการมีอยู่ บิดาของญินคืออัลญานน์ และบิดาของชะยาฏีนคืออิบลีส[a]

ชะยาฏีนเป็นสิ่งมีชีวิตจากไฟนรก[20][21] และถึงแม้ว่าต้นกำเนิดของมันไม่ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอาน นักวิชาการอิสลามยืนยันแนวคิดซ้ำหลาย ๆ ครั้งว่า ชะยาฏีนอาจถูกสร้างมาจากควัน[22]หรือไฟนรก[23] เมื่อเทียบกับปีศาจหรือมารในเทววิทยาศาสนาคริสต์ ชะยาฏีนไม่สามารถทำความดีและทำแค่ "ความชั่ว" อย่างเดียว อบูมุฟตีเขียนความเห็นใน al-Fiqh al-absat ของอบูฮะนีฟะฮ์ว่า มลาอิกะฮ์ (เทวทูต) ทั้งหมดเชื่อฟัง ยกเว้นฮารูตและมารูต แต่ชะยาฏีนทั้งหมดถูกสร้างให้ทำความชั่ว ยกเว้นฮาม อิบน์ ฮิม อิบน์ ละกิส อิบน์ อิบลีส มีแค่มนุษย์และญินเท่านั้นที่ถูกสร้างด้วยฟิฏเราะฮ์ นั่นหมายความว่า ทั้งมลาอิกะฮ์และชะยาฏีนไม่ค่อยมีเจตจำนงเสรีและถูกตั้งตามตำแหน่งอยู่แล้ว[24]

นักเขียนลัทธิศูฟีบางคนเชื่อมคำอธิบายของชะยาฏีนในฮะดีษถึงคุณสมบัติทางจิตวิทยาของมนุษย์ ตามแนวคิดว่าชะยาฏีนแพร่พันธุ์ผ่านการฟักไข่ในหัวใจของมนุษย์ อัลเฆาะซาลีเชื่อมสิ่งนี้กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณด้านในว่า การฟักไข่ในหัวใจ ทำให้ลูกหลานของอิบลีสเติบโตและเชื่อมสัมพันธ์กับบุคคล ก่อให้เกิดบาปตามสิ่งที่ชัยฏอนต้องการ[25] เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อแตกต่างระหว่างแรงบันดาลใจจากสวรรค์กับการล่อลวงของชะยาฏีน ควรทดสอบด้วยสองสิ่งนี้: ข้อแรกคือความนับถือ ส่วนข้อสองคือสอดคล้องกับชะรีอะฮ์[26] อะลี ฮุจวีรีกล่าวในรูปแบบที่คล้ายกันว่า ชะยาฏีนกับมลาอิกะฮ์คือกระจกสะท้อนสภาพจิตใจของมนุษย์ โดยมีชะยาฏีนกับความต้องการทางตัณหา (นัฟส์) อยู่ฝั่งหนึ่ง และวิญญาณ (รูฮ) กับมลาอิกะฮ์อยู่อีกฝั่ง[27]

คติชน[แก้]

ชะยาฏีนมักไปเยี่ยมในบริเวณที่สกปรก[28] พวกมันพยายามทำให้มนุษย์ทำบาปและทุกสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับผ่านการกระซิบ[29] โดยทั่วไปเชื่อว่า การกล่าว บิสมิลลาฮ์, อ่านดุอาอ์ เช่น "อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม" หรือซูเราะฮ์อันนาสกับ"อัลฟะลัก"[30] สามารถคุ้มครองตนเองจากชะยาฏีนได้[31] ถึงแม้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บข้อมูลจากธรรมเนียมท้องถิ่นของคติชนอิสลาม พฤติกรรมนี้ก็พบเห็นประจำ เพราะมีการกล่าวในกุรอาน 2:102 ว่านบีสุลัยมานไม่ได้ฝึกสอนวิชาไสยศาสตร์ แต่เป็นชะยาฏีนต่างหาก

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. นักวิชาการส่วนน้อยเช่นฮะซัน อัลบัศรีกับมุกอติล อิบน์ สุลัยมาน ปฏิเสธมุมมองนี้ โดยถือว่าอิบลีสเป็นบิดาของญินและชะยาฏีน และเหมือนกับ อัลญานน์[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. Szombathy, Zoltan, “Exorcism”, in: Encyclopaedia of Islam, THREE, Edited by: Kate Fleet, Gudrun Krämer, Denis Matringe, John Nawas, Everett Rowson. Consulted online on 15 November 2019<http://dx.doi.org/10.1163/1573-3912_ei3_COM_26268> First published online: 2014 First print edition: 9789004269637, 2014, 2014-4
  2. R. M. Savory Introduction to Islamic CivilizationCambridge University Press, 28.05.1976 ISBN 9780521099486 p. 42
  3. Mustafa ÖZTÜRK The Tragic Story of Iblis (Satan) in the Qur’an Çukurova University,Faculty of Divinity JOURNAL OF ISLAMIC RESEARCH İslam Araştırmaları Vol 2 No 2 December 2009 page 134
  4. Amira El Zein: The Evolution of the Concept of Jinn from Pre-Islam to Islam'. pp. 227–233.
  5. Jeffrey Burton Russell Lucifer: The Devil in the Middle Ages Cornell University Press 1986 ISBN 978-0-801-49429-1 page 55
  6. James Windrow Sweetman Islam and Christian Theology: Preparatory historical survey of the early period. v.2. The theological position at the close of the period of Christian ascendancy in the Near East Lutterworth Press 1945 University of Michigan digitalized: 26. Juni 2009 p. 24
  7. Mehmet Yavuz Seker Beware! Satan: Strategy of Defense Tughra Books 2008 ISBN 978-1-597-84131-3 page 3
  8. Robert Lebling Legends of the Fire Spirits: Jinn and Genies from Arabia to Zanzibar I.B.Tauris 2010 ISBN 978-0-857-73063-3 page 22
  9. Gordon Melton, Martin Baumann Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, 2nd Edition [6 volumes] ABC-CLIO 2010 ISBN 978-1-598-84204-3 page 117
  10. Frederick M. Smith The Self Possessed: Deity and Spirit Possession in South Asian Literature and Civilization Columbia University Press 2012 ISBN 978-0-231-51065-3 page 570
  11. Seyyed Hossein Nasr Introduction to Islamic Cosmological Doctrines, An SUNY Press 1993 ISBN 978-1-438-41419-5 p. 70
  12. Eichler, Paul Arno, 1889 Die Dschinn, Teufel und Engel in Koran [microform] p. 31. (German)
  13. Teuma, E. (1984). More on Qur'anic jinn. Melita Theologica, 39(1-2), 37-45.
  14. Hughes, Thomas Patrick (1885). "Genii". Dictionary of Islam: Being a Cyclopædia of the Doctrines, Rites, Ceremonies . London, UK: W.H.Allen. pp. 134–6. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
  15. Awn Satan's Tragedy and Redemption: Iblīs in Sufi Psychology. With a Foreword by A. Schimmel BRILL, 14 Aug 2018 ISBN 9789004378636 p. 45-60
  16. Tobias Nünlist (2015). Dämonenglaube im Islam. Walter de Gruyter GmbH & Co KG. ISBN 978-3-110-33168-4. page 229 (in German).
  17. Egdunas Racius ISLAMIC EXEGESIS ON THE JINN: THEIR ORIGIN, KINDS AND SUBSTANCE AND THEIR RELATION TO OTHER BEINGS p. 132
  18. Amira El-Zein Islam, Arabs, and Intelligent World of the Jinn Syracuse University Press 2009 ISBN 9780815650706 page 21
  19. https://islamansiklopedisi.org.tr/can--cin (turkish)
  20. Fahd, T. and Rippin, A., “S̲h̲ayṭān”, in: Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Consulted online on 04 October 2019 <http://dx.doi.org/10.1163/1573-3912_islam_COM_1054>
  21. Marshall G. S. Hodgson The Venture of Islam, Volume 2: The Expansion of Islam in the Middle Periods, Volume 2 University of Chicago Press, 15 May 2009 ISBN 9780226346878 p. 449
  22. Seyyed Hossein Nasr Islamic Life and Thought Routledge 2013 ISBN 978-1-134-53818-8 page 135
  23. ANTON M. HEINEN ISLAMIC COSMOLOGY A STUDY OF AS-SUYUTI’S al-Hay’a as-samya fi l-hay’a as-sunmya with critical edition, translation, and commentary ANTON M. HEINEN BEIRUT 1982 p. 143
  24. Abu l-Lait as-Samarqandi's Comentary on Abu Hanifa al-Fiqh al-absat Introduction, Text and Commentary by Hans Daiber Islamic concept of Belief in the 4th/10th Century Institute for the Study of Languages and Cultures of Asia and Africa p. 243
  25. Peter J. Awn Satan's Tragedy and Redemption: Iblis in Sufi Psychology BRILL 1983 ISBN 9789004069060 p. 58
  26. Abdullahi Hassan Zaroug AI-Ghazali's Sufism: A Critical Appraisal Intellectual Discourse, 1997 p. 150
  27. SHIGERU KAMADA* A STUDY OF THE TERM SIRR (SECRET) IN SUFI LATA'IF THEORIES p. 18
  28. Marion Holmes Katz Body of Text: The Emergence of the Sunni Law of Ritual Purity SUNY Press, 01.02.2012 ISBN 9780791488577 p. 13
  29. Gerda Sengers Women and Demons: Cultic Healing in Islamic Egypt BRILL 2003 ISBN 978-9-004-12771-5 p. 254
  30. Rudolf Macuch "Und das Leben ist siegreich!": mandäische und samaritanische Literatur ; im Gedenken an Rudolf Macuch (1919–1993) Otto Harrassowitz Verlag 2008 ISBN 978-3-447-05178-1 page 82
  31. Gerda Sengers. Women and Demons: Cultic Healing in Islamic Egypt. BRILL. 2003. ISBN 978-9-004-12771-5. p. 41.