จังหวัดมารินดูเค
จังหวัดมารินดูเค | |
---|---|
จังหวัด | |
จากซ้ายบนไปล่างขวา:
| |
สมญา:
| |
![]() ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์ | |
ประเทศ | ![]() |
เขต | เขตมีมาโรปา |
ก่อตั้ง | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 |
เมืองหลัก | โบอัค |
การปกครอง | |
• ประเภท | ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน |
• ผู้ว่าราชการจังหวัด | Carmencita Reyes (Liberal) |
• รองผู้ว่าราชการจังหวัด | Romulo Baccoro (PDP-Laban) |
• Representative | Lord Allan Jay Velasco (PDP-Laban) Lone District |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 952.58 ตร.กม. (367.79 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 76 จาก 81 |
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขามาลินดิก) | 1,157 เมตร (3,796 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[2] | |
• ทั้งหมด | 234,521 คน |
• อันดับ | 69 จาก 81 |
• ความหนาแน่น | 250 คน/ตร.กม. (640 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | 37 จาก 81 |
เขตการปกครอง | |
• นครอิสระ | 0 |
• นคร | 0 |
• เทศบาล | 6 |
• บารังไกย์ | 218 |
• Districts | Lone district of Marinduque |
เขตเวลา | UTC+8 (PHT) |
รหัสไปรษณีย์ | 4900–4905 |
ไอดีดี : รหัสโทรศัพท์ | +63 (0)42 |
รหัสไอเอสโอ 3166 | PH |
ภาษา | |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดมารินดูเค (ตากาล็อก: Marinduque) เป็นจังหวัดที่เป็นเกาะในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เทศบาลโบอัค ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวตายาบัสทางทิศเหนือ กับทะเลซีบูยันทางทิศใต้ และตั้งอยู่ใกล้กับคาบสมุทรบอนด็อกของจังหวัดเคโซนทางทิศตะวันออก เกาะมินโดโรทางทิศตะวันตก และเกาะจังหวัดโรมโบลนทางทิศใต้ พื้นที่บางส่วนของช่องแคบเกาะเวิร์ด ศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของโลก ก็อยู่ในน่านน้ำของจังหวัดนี้
ในปี ค.ศ. 2013 จังหวัดมารินดูเคเป็นจังหวัดที่สงบสุขที่สุดของประเทศ จากการจัดอันดับของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินและกองกำลังรักษาความสงบแห่งฟิลิปปิน เนื่องจากมีอัตราการก่ออาชญากรรมน้อยมาก นอกจากนี้ยังมีเทศกาลทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ นั่นคือ โมริโอเนส ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ ปีในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว
ภูมิศาสตร์[แก้]
มารินดูเคถูกจัดให้เป็นศูนย์กลางของแผนที่ประเทศฟิลิปปินส์โดย Luzon Datum of 1911 เกาะจังหวัดแห่งนี้มีรูปร่างคล้ายหัวใจ มีพื้นที่ 952.58 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวตายาบัสทางทิศเหนือ กับทะเลซีบูยันทางทิศใต้ ถูกคั่นออกจากคาบสมุทรบอนด็อกในจังหวัดเคโซนโดยช่องแคบมัมปอง ส่วนทางทิศตะวันตก ก็ถูกคั่นออกจากเกาะมินโดโรโดยช่องแคบตาบลาส เกาะเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เกาะโปโล, เกาะมานิวายา และเกาะมัมปอง ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็มีเกาะเตรส และเกาะเอเลเฟนท์
จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ภูเขามาลินดิก (ชื่อเดิม ภูเขามาร์ลังกา) ระดับความสูง 1,157 เมตร (3,796 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล เป็นภูเขาไฟที่ยังมีชีวิตอยู่ ตั้งอยู่ที่ปลายด้านทิศใต้ของเกาะ นอกจากนี้ยังมีถ้ำอีกหลายแห่งในจังหวัด ถ้ำที่สำคัญได้แก่ ถ้ำบาทาลา, ถ้ำซันอีซิโดร และถ้ำตาเลา
ภูมิอากาศ[แก้]
มารินดูเคมีภูมิอากาศแบบที่ 3 ตามการจัดของกรมอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปิน นั่นคือมีฝนตกมากและไม่มีการแบ่งฤดูแล้งกับฤดูฝนที่ชัดเจน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย สูงสุด และต่ำสุดของปี อยู่ที่ 27.0 องศาเซลเซียส (80.6 องศาฟาเรนไฮต์), 32.9 องศาเซลเซียส (91.2 องศาฟาเรนไฮต์) และ 22.3 องศาเซลเซียส (72.1 องศาฟาเรนไฮต์) ตามลำดับ ความชื้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 78% ปริมาณน้ำฝนต่อปีอยู่ที่ 2,034.6 ลูกบาศก์มิลลิเมตร[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati City, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 21 January 2013. สืบค้นเมื่อ 20 February 2013. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ https://www.psa.gov.ph/sites/default/files/attachments/hsd/pressrelease/2015%20population%20counts%20Summary_0.xlsx
- ↑ Birtle, Andrew J. (April 1997). "The U.S. Army's Pacification of Marinduque, Philippine Islands, April 1900 – April 1901". The Journal of Military History (at JSTOR)
|format=
requires|url=
(help). Society for Military History. 61 (2): 255–282. doi:10.2307/2953967. JSTOR 2953967.
Jessup, Philip Caryl (1938). Elihu Root. Dodd, Mead, & Co./Reprint Services Corp. ISBN 0-7812-4908-2.http://www.namria.gov.ph
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดมารินดูเค
Marinduque คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิเดินทาง (อังกฤษ)
ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ จังหวัดมารินดูเค ที่ OpenStreetMap
- Total Population by Province, City, Municipality and Barangay as of August 1, 2007
![]() |
จังหวัดบาตังกัส / อ่าวตายาบัส | จังหวัดเคโซน อ่าวตายาบัส |
![]() | |
จังหวัดซีลางังมินโดโร / ทะเลซีบูยัน | ![]() |
ทะเลซีบูยัน / จังหวัดเคโซน | ||
| ||||
![]() | ||||
ทะเลซีบูยัน จังหวัดโรมโบลน |