จอมทอง ชูวัฒนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมทอง ชูวัฒนะ
ชื่อจริงธนากร พวาชาติ
รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท (มวยสากล)[1]
ไลท์เวท (มวยไทย)[2]
เฟเธอร์เวท (มวยไทย)[2]
แบนตั้มเวท (มวยไทย)[2]
น้ำหนัก57 กก. (130 ปอนด์)
ส่วนสูง5 ฟุต 9 นิ้ว (1.75 เมตร)[1]
เกิด28 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)
อำเภอมหาชนะชัย
จังหวัดยโสธร
ชกทั้งหมด10 (มวยสากล)
225 (มวยไทย)
ชนะ9 (มวยสากล)
185 (มวยไทย)
ชนะน็อก4 (มวยสากล)
แพ้1 (มวยสากล)
36 (มวยไทย)
เสมอ0 (มวยสากล)
4 (มวยไทย)
ผู้จัดการชูเจริญ รวีอร่ามวงศ์
นริส สิงห์วังชา
ค่ายมวยชูวัฒนะ[2]

จอมทอง ชูวัฒนะ เป็นนักมวยสากลและนักมวยไทยชาวไทย มีชื่อจริงว่า ธนากร พวาชาติ ชื่อเล่น จอม เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นบุตรชายของนายชาลี และนางลำพอง พวาชาติ [3] อดีตแชมป์ OPBF ในรุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวทของ นอกจากมวยสากลแล้ว ยังเป็นแชมป์โลกมวยไทยสภามวยโลก รุ่นเฟเธอร์เวทของ ใน พ.ศ. 2551 ด้วยเช่นกัน[2] ซึ่งจอมทองเป็นนักมวยไทยที่มีผลงานโดดเด่น และมีค่าตัวปัจจุบันที่ 1.1 แสนบาท[4]

ประวัติ[แก้]

จอมทองชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553 ที่เวทีราชดำเนิน ผลปรากฏว่าชนะน็อค ชาติไทย ชุมแพทัวร์แค่ยกแรก จากนั้น หันไปชกมวยไทยต่อ จนเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้เดินทางไปชกมวยสากลกับ ยูยะ ซูกิซากิ ที่ประเทศญี่ปุ่น ปรากฏว่าเป็นฝ่ายชนะน็อคได้อีกในยกที่ 3 ต่อมาจึงได้ไปชิงแชมป์ OPBF ที่เกาหลีใต้ ชนะน็อค คิม ดองฮยุก ยก 9 ได้แชมป์มาครอง ถือเป็นนักมวยชาวไทยคนแรกที่ชกมวยสากลเพียง 3 ครั้งก็ได้ครองแชมป์ OPBF

ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 จอมทองได้ขึ้นชิงแชมป์โลกสมาคมมวยโลก (WBA) รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท ในฐานะรองแชมป์โลก WBA อันดับ 7 กับเจ้าของตำแหน่งชาวญี่ปุ่น ทากาชิ อูจิยามะ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จอมทองถูกหมัดขวาตรงของอูจิยามะเข้าที่เบ้าตาขวาตั้งแต่ยกแรก และเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปจากหมัดขวาตรงเข้าปลายคางในยกที่ 2 เท่านั้น ทำให้จอมทองมีสถิติแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ หลังจากก่อนหน้านั้นชนะรวดมาทั้งหมด 9 ครั้ง เป็นการชนะน็อค 4 ครั้ง[5]

ชีวิตครอบครัว มีภรรยาและมีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน[3]

เกียรติประวัติ[แก้]

มวยไทย[แก้]

มวยสากล[แก้]

  • แชมป์ OPBF รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท
    • ชิง 28 พฤษภาคม 2555 ชนะน็อค ยก 9 คิม ดองฮยุก (ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้) ที่เกาหลีใต้
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, และชิงแชมป์คอนทิเนนตัลในรุ่นเดียวกันนี้ของสภามวยแห่งเอเชีย 24 พฤศจิกายน 2555 ชนะคะแนน ราเนล ซูโก (ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์) ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 8 กุมภาพันธ์ 2556 ชนะคะแนน ชนะคะแนน โรนัล พอนทิรัส (ฟิลิปปินส์) ที่ สมาคมนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 24 สิงหาคม 2557 ชนะคะแนน ชนะคะแนน โคเซกิ นากามะ (ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น) ที่ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 17 มกราคม 2558 ชนะคะแนน ชนะคะแนน ไดกิ คาเนโกะ (ญี่ปุ่น) ที่ โครากูเอ็งฮอล โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • แชมป์ WBC Asia Continental รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท
    • ชิง 24 พฤศจิกายน 2555 ชนะคะแนน ราเนล ซูโก (ฟิลิปปินส์) ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
  • นักมวยสากลยอดเยี่ยมแห่งปี 2557 เวทีลุมพินี[7]

ชื่ออื่น[แก้]

  • จอมทอง ป้อมขวัญณรงค์ (มวยไทยในยุคแรก)
  • จอมทอง สิงห์วังชา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สถิติการชก boxrec.com (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 สิงห์ BATTLE FOR THE BELTS
  3. 3.0 3.1 "จอมทอง ชูวัฒนะ". สยามสปอร์ต. 4 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-24. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  4. "10 ยอดมวยแห่งสยามปี 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  5. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, 2มวยหมดรูปพ่ายน็อกเรียบ. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,947: วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 แรม 5 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม
  6. วิดีโอการชิงแชมป์โลกของ จอมทอง ชูวัฒนะ
  7. ""ซุปเปอร์แบงค์" ยอดมวยไทยแห่งปี "เวทีมวยราชดำเนิน"". ผู้จัดการออนไลน์. 3 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.