เขียวหวาน ยนตรกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขียวหวาน ยนตรกิจ
ชื่อจริงพ.อ.บุญส่ง เกิดมณี
ฉายาซ้ายฟ้าฟาด
รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท
มิดเดิลเวท
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2481 (86 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร
ชกทั้งหมด8 (มวยสากล)
ชนะ4
ชนะน็อก3
แพ้4
เสมอ0
เทรนเนอร์เตี่ยตันกี้ ยนตรกิจ (ครูมวยคนแรก)[1]

เขียวหวาน ยนตรกิจ มีชื่อจริงคือ พ.อ.บุญส่ง เกิดมณี ชื่อเล่น เล็ก เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักมวยไทยชาวไทยโดยมีค่าตัวสูงสุด 2 หมื่นบาทเมื่อครั้งที่พบกับอภิเดช ศิษย์หิรัญ และอดุลย์ ศรีโสธร[1]

ประวัติ[แก้]

เขียวหวานมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่กรมทหารช่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เริ่มหัดชกมวยกับชัยยุทธ ยนตรกิจ ขึ้นชกมวยไทยในชื่อเขียวหวาน ยนตรกิจ ขึ้นชกมวยไทยครั้งแรกที่กาญจนบุรี ชนะน็อค ดวลทวน พยัคฆ์น้อย ยก 2 โดยได้รับค่าตัวครั้งแรกที่ 20 บาท จากนั้นขึ้นชกสร้างชื่อเสียงด้วยพลังหมัดซ้ายที่หนักหน่วง ชนะนักมวยที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น สุรชัย ลูกสุรินทร์, คีรีรัตน์ บาร์โบส, อิศรศักดิ์ พันท้ายนรสิงห์, สามารถ ศรแดง, คีรีศักดิ์ บาร์โบส และได้ครองแชมป์มวยไทยเวทีลุมพินี ชนะคะแนน ศรีสวัสดิ์ เทียมประสิทธิ์[1] จนหาคู่ชกไม่ได้จึงหันมาชกมวยสากล

เขียวหวานขึ้นชกมวยสากลครั้งแรก ชนะคะแนนมั่นชัย ร.ฟ.ท. หลังจากชกมวยสากลได้ครั้งเดียว เขียวหวานถูกประกบคู่ให้เจอกับดาวทอง สิงหพัลลภ นักมวยรุ่นพี่ที่เป็นอดีตแชมป์ OPBF ผลปรากฏว่าเขียวหวานเป็นฝ่ายชนะน็อคไปในยกที่ 2 และทำให้ดาวทองแขวนนวมเลิกชกมวยสากลไปเลย จากนั้น เขียวหวานหันไปชกมวยไทยกับนักมวยดาวรุ่งชื่อดังในขณะนั้น คือ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ซึ่งเขียวหวานเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไป

จากนั้นเขียวหวานหยุดชกมวยไทย หันมาเอาดีทางด้านมวยสากล ชกชนะน็อค กัง แซชุนจากเกาหลีใต้ ยก 2 ได้ครองแชมป์ OPBF รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท จากนั้นไปชกที่ที่ญี่ปุ่น ชนะน็อค มาเอะ สิโสะ ยก 2 อีก หลังจากน้น เขียวหวานร้างคู่ชก จนมีปัญหาในการทำน้ำหนัก เมื่อขึ้นชกนอกรอบกับมาซาโอะ กอนโด้ ปรากฏว่าหมดแรง ขอยอมแพ้ไปในยกที่ 3 เขียวหวานไปชกที่ญี่ปุ่นอีกสองครั้ง เพราะไม่มีรายการชกในเมืองไทย ปรากฏว่าแพ้ทั้งสองครั้ง รวมทั้งแพ้ฟูมิโอะ ไดสุ ชิงแชมป์ OPBF รุ่นมิดเดิลไวทไม่สำเร็จ เมื่อกลับมาเมืองไทย เขียวหวานขึ้นชกมวยไทยกับ ดาวประกาย ส.พินิจศักดิ์ น้องชายของดาวทอง สิงหพัลลภ ปรากฏว่าเสมอกันไป จากนั้นจึงไปชกป้องกันแชมป์ OPBF รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวทที่ญี่ปุ่น ซึ่งเขียวหวานลดน้ำหนักมากจนหมดแรง แพ้น็อคไปในที่สุด เขียวหวานจึงแขวนนวม เลิกชกทั้งมวยไทยและมวยสากล

จากนั้นเขียวหวานจึงแขวนนวมหันไปรับราชการเป็นทหารบก ได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา กรุงเทพฯ และเป็นกรรมการห้ามมวยที่เวทีลุมพินีจนได้เป็นประธานเทคนิคจนเกษียณอายุราชการ

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นงเยาว์ แสงนิ่มนวล (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) โดยมีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน[1]

เกียรติประวัติ[แก้]

ก่อนหน้า เขียวหวาน ยนตรกิจ ถัดไป ชนะ 4 ครั้ง (ชนะน็อค 3 ครั้ง, ชนะคะแนน 1 ครั้ง), แพ้4 ครั้ง (แพ้น็อค 4 ครั้ง, แพ้คะแนน 0 ครั้ง) เสมอ - ครั้ง[2]
แชมป์ OPBF รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท
ชิง ชนะ 10-10-0 เกาหลีใต้ กัง แซชุน ชนะน็อค 2 (15) 1963-11-13 (ไทย) เวทีราชดำเนิน เขตพระนคร
เสียแชมป์ แม่แบบ:Loss2แพ้ 12-2-0 ญี่ปุ่น ชิเกมาซา คาวากามิ แพ้น็อค 2 (15) 1963-11-17 (ญี่ปุ่น) ที่ ... โอซากา
เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
ชิงแชมป์ภาค OPBF รุ่นมิดเดิลเวท แม่แบบ:Loss2แพ้มิดเดิลเวท 30-11-1 ญี่ปุ่น ฟูมิโอะ ไกสุ แพ้คะแนน 15 1963-07-27 (ญี่ปุ่น) ... นีงะตะ

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 มวยสยาม Extra. บริษัท สยามพริ้นท์ จำกัด. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2. มิถุนายน 2556. หน้า 36
  2. สถิติ[ลิงก์เสีย]
  • สถิติการชก[ลิงก์เสีย]
  • ชายพจน์. มวยดังไทยแลนด์ในอดีต: "ซ้ายฟ้าฟาด" เขียวหวาน ยนตรกิจ อดีตแชมป์ทั้งมวยไทยทั้งมวยไทยและ OPBF. นิตยสารมวยโลก. ฉบับที่ 843 พฤศจิกายน 2543 หน้า 42 -43