คายตรีมนตร์

คายตรีมนตร์ (เทวนาครี: गायत्री मन्त्र; Gāyatrī Mantra) หรือ สาวิตรีมนตร์ (เทวนาครี: सावित्री मन्त्र; Sāvitri Mantra) เป็นมนตร์ที่ได้รับการเคารพสูง มีที่มาจากฤคเวท (มณฑล 3.62.10)[1] ซึ่งอุทิศแด่เทวีพระเวท สาวิตร[1][2] คายตรีเป็นนามของเทวีที่ประจำจังหวะพระเวทของกวีบทที่มีมนตร์นี้[3] การสวดมนตร์นี้ตามธรรมเนียมจะเริ่มต้นด้วยคำว่า โอม และคำกล่าวตามพิธี ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ) ซึ่งรู้จักในชื่อ มหาวฺยาหฤติ (mahāvyāhṛti) หรือ "เสียงเปล่งมนตร์อันยิ่งใหญ่" มีการกล่าวอ้างถึงคายตรีมนตร์อยู่อย่างแพร่หลายในเอกสารของศาสนาฮินดู เช่น รายชื่อมนตร์ในพิธีสวดเศราตะ และในเอกสารคลาสสิกของฮินดู เช่น ภควัทคีตา,[4][5] หริวงศ์[6] และ มนูสมฤติ[7] ทั้งมนตร์นี้และรูปจังหวะ (metric form) ที่เกี่ยวข้องยังปรากฏในศาสนาพุทธ[8] มนตร์นี้เป็นส่วนสำคัญของพิธีอุปนยายนะ ขบวนการปฏิรูปศาสนาฮินดูยุคใหม่ได้เผยแพร่การปฏิบัติมนตร์นี้ไปสู่ทุกคน ปัจจุบันมนตร์นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย[9][10]
เนื้อหา[แก้]
มนตร์หลักปรากฏอยู่ในเพลงสวด RV 3.62.10. ซึ่งขณะการสวด เพลงสวดนี้จะมีคำว่า โอม นำหน้า และมีคำกล่าวตามพิธีว่า ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ, भूर् भुवः स्वः) ในไตตติริยอรัญกะ (2.11.1-8) ระบุยืนยันว่ามนตร์นี้ควรนำโดยคำว่า โอม ตามด้วยบท วยหฤตี (Vyahrtis) และคายตรี[11]
คยาตรีมนตร์และสวารัส[11] รูปอักษรเทวนาครี คือ
- ॐ भूर्भुव॒ स्सुवः॑
तत्स॑ वि॒तुर्वरे᳚ण्यं॒
भर्गो॑ दे॒वस्य॑ धीमहि
धियो॒ यो नः॑ प्रचो॒दया᳚त् ॥
หรือในรูป IAST ได้ว่า
และในรูปอักษรไทยได้ว่า
- โอํ ภูรฺ ภุวะ สุวะ
- ตตฺ สวิตุรฺ วเรณฺยํ
- ภรฺโค เทวสฺย ธีมหิ
- ธิโย โย นะ ปฺรโจทยาตฺ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Rig Veda: Rig-Veda, Book 3: HYMN LXII. Indra and Others". www.sacred-texts.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- ↑ "Gayatri Mantra". OSME.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staal, Frits (June 1986). "The sound of religion". Numen. 33 (Fasc. 1): 33–64. doi:10.1163/156852786X00084. JSTOR 3270126.
- ↑ Rahman 2005, p. 300.
- ↑ Radhakrishnan 1994, p. 266.
- ↑ Vedas 2003, p. 15–16.
- ↑ Dutt 2006, p. 51.
- ↑ Shults, Brett (May 2014). "On the Buddha's Use of Some Brahmanical Motifs in Pali Texts". Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies. 6: 119.
- ↑ Rinehart 2004, p. 127.
- ↑ Lipner 1994, p. 53.
- ↑ 11.0 11.1 Carpenter, David Bailey; Whicher, Ian (2003). Yoga: the Indian tradition. London: Routledge. p. 31. ISBN 0-7007-1288-7.
- ↑ Guy L. Beck (2006). Sacred Sound: Experiencing Music in World Religions. Wilfrid Laurier University Press. p. 118. ISBN 978-0-88920-421-8.
บรรณานุกรม[แก้]
- Bloomfield, Maurice (1906). A Vedic Concordance: Being an Alphabetic Index to Every Line of Every Stanza of the Published Vedic Literature and to the Liturgical Formulas Thereof; that Is, an Index to the Vedic Mantras, Together with an Account of Their Variations in the Different Vedic Books. Harvard university. ISBN 9788120806542.
- Dutt, Manmatha Nath (1 March 2006). The Dharma Sastra Or the Hindu Law Codes. Kessinger Publishing. ISBN 978-1-4254-8964-9.
- Lipner, Julius J. (1994). Hindus: Their Religious Beliefs and Practices. Psychology Press. ISBN 978-0-415-05181-1.
- Radhakrishnan, Sarvepalli (1994). The Bhagavadgita: With an Introductory Essay, Sanskrit Text, English Translation, and Notes. HarperCollins. ISBN 978-81-7223-087-6.
- Rahman, M. M. (1 January 2005). Encyclopaedia of Historiography. Anmol Publications Pvt. Limited. ISBN 978-81-261-2305-6.
- Rinehart, Robin (1 January 2004). Contemporary Hinduism: Ritual, Culture, and Practice. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-905-8.
- Vedas (1 January 2003). The Vedas: With Illustrative Extracts. Book Tree. ISBN 978-1-58509-223-9.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระคาถาคายตรีมนตร์