ข้ามไปเนื้อหา

ความสว่างแก่บรรดาประชาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คันประทีปที่รัฐสภาอิสราเอล จำลองจากคันประทีปทองคำที่ตั้งอยู่ในพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม เป็นหนึ่งในตราแผ่นดินของอิสราเอล บางแหล่งข้อมูล[ต้องการอ้างอิง] อ้างว่าการใช้โคมประทีปเป็นตราแผ่นดินได้รับแรงบันดาลจากนิมิตของ "ความสว่างแก่บรรดาประชาชาติ"

ความสว่างแก่บรรดาประชาชาติ (อังกฤษ: light unto the nations, light of the nations, light of all nations หรือ light for all nations; ฮีบรู: אוֹר לַגּוֹיִים, อักษรโรมัน: ʾŌr laGōyyīm) เป็นคำศัพท์ที่มีมาจากผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ ซึ่งบางคนเข้าใจว่าเพื่อแสดงถึงการแต่งตั้งวงศ์วานอิสราเอลในระดับสากลเพื่อเป็นที่ปรึกษาผู้ชี้นำทางจิตวิญญาณและศีลธรรมแก่คนทั้งโลก[1]

จุดกำเนิด

[แก้]

คำนี้มีจุดกำเนิดจากวรรคในหนังสืออิสยาห์:

"เราคือยาห์เวห์ เราเรียกเจ้ามาด้วยความชอบธรรม เราฉวยมือเจ้าและรักษาเจ้าไว้ เราให้เจ้าเป็นเหมือนพันธสัญญาแก่มนุษยชาติ และเป็นความสว่างแก่บรรดาประชาชาติ" อิสยาห์ 42:6
"พระองค์ตรัสว่า "ซึ่งเจ้าจะเป็นผู้รับใช้ของเรา เพื่อจะยกเผ่าทั้งหลายของยาโคบขึ้น และเพื่อให้อิสราเอลที่เหลือกลับสู่สภาพดีนั้น ดูจะเป็นการเล็กน้อยเกินไป เราจะให้เจ้าเป็นความสว่างแก่บรรดาประชาชาติ เพื่อความรอดของเราจะไปถึงสุดปลายแผ่นดินโลก" " อิสยาห์ 49:6
"และบรรดาประชาชาติจะมายังความสว่างของเจ้าและพวกพระราชามายังความสุกใสแห่งรุ่งอรุณของเจ้า" อิสยาห์ 60:3

ในกรณีแรก Rashi ตีความ "บรรดาประชาชาติ" ว่าหมายถึงเผ่าอิสราเอล และไม่ได้หมายถึงคนต่างชาติ[2]

ศาสนาคริสต์

[แก้]

ในศาสนาคริสต์ พระเยซูทรงถือว่าคำเผยพระวจนะของอิสยาห์ได้กลายเป็นจริงด้วยการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปทั่วโลกโดยนำความสว่างของวิวรณ์ไปสู่คนต่างชาติ[3][4][5]

ในพระวรสารนักบุญลูกา สิเมโอนเป็๋นชายชราชาวยิวผู้มีศรัทธาซึ่งพระเจ้าได้ทรงเผยว่าเขาจะยังไม่ตายก่อนที่จะได้พบกับพระเมสสิยาห์[6] เมือสิโมโอนเห็นพระกุมารเยซูในพระวิหาร สิเมโอนจึงเห็นว่าพระสัญญาได้ปรากฏเป็นจริงแล้ว[7] คำพูดของสิเมโอนซึ่งต่อมารู้จักในชื่อ Nunc Dimittis ระบุว่าพระเยซูคือความสว่างแก่บรรดาประชาชาติตามที่อิสยาห์กล่าวไว้[8] สิเมโอนพูดว่า "ข้าแต่องค์เจ้านาย บัดนี้ขอทรงให้ทาสของพระองค์ไปเป็นสุข ตามพระดำรัสของพระองค์ เพราะว่าตาของข้าพระองค์ได้เห็นความรอดของพระองค์แล้ว ซึ่งพระองค์ทรงจัดเตรียมไว้ต่อหน้าชนชาติทั้งหลาย เป็นความสว่างที่ส่องแก่คนต่างชาติ และเป็นศักดิ์ศรีของพวกอิสราเอลชนชาติของพระองค์" ลูกา 2:29 -32

ในกิจการของอัครทูต เปาโลอัครทูตใช้คำเผยพระวจนะของอิสยาห์ในการเทศนาโดยประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ กิจการ 13:47 กิจการ 26:23 เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการที่พระเยซูทรงระบุตัวพระองค์เองว่าเป็นความสว่างของโลกในพระวรสารนักบุญยอห์น[9] ตรัสว่า "เราเป็นความสว่างของโลก คนที่ตามเรามาจะไม่ต้องเดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต" ยอห์น 8:12

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ariel, David S. "Chosen People: Some Modern Views." เก็บถาวร 2015-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MyJewishLearning. 29 October 2013.
  2. Edwin A. Abbott,The 'Son of Man', Cambridge University Press, (1910) 2014 reprint pp.497–8 n.4.
  3. Souvay, Charles Léon (1910). "Isaias" . สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 8.
  4. Thomas, Aquinas, -1274 (2021). Commentary on Isaiah. Green Bay, WI. ISBN 978-1945125195.
  5. The New Jerome biblical commentary (Student pbk. ed.). London: Geoffrey Chapman. 1993. p. Isaiah. ISBN 0225667347.
  6. "CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Holy Simeon". www.newadvent.org.
  7. The New Jerome biblical commentary. London: Geoffrey Chapman. 1995. p. Luke 2:25-35. ISBN 0225668033.
  8. Balentine, Samuel Eugene (2015). The Oxford encyclopedia of the Bible and theology. Oxford. p. 283. ISBN 978-0199858699.
  9. The Cambridge companion to the New Testament. Patrick Gray. Cambridge, United Kingdom. 2021. ISBN 978-1-108-52885-6. OCLC 1196822263.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)