ข้ามไปเนื้อหา

อิสยาห์ 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสยาห์ 9
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

อิสยาห์ 9 (อังกฤษ: Isaiah 9) เป็นบทที่ 9 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 21 วรรคในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ แต่แบ่งเป็น 20 วรรคในคัมภีร์ฮีบรู เปรียบเทียบเลขวรรคดังต่อไปนี้:[1]

เลขวรรคในอิสยาห์ 8 และ 9
อังกฤษ ฮีบรู
9:1 8:23
9:2–21 9:1–20

บทความนี้อิงตามเลขวรรคของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยเป็นหลัก และมีหมายเหตุถึงเลขวรรคในคัมภีร์ฮีบรู

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[2]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[3]

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 1QIsab: วรรคที่หลงเหลือ: 1, 8-12
  • 4QIsab (4Q56): วรรคที่หลงเหลือ: 10‑11
  • 4QIsac (4Q57): วรรคที่หลงเหลือ: 3‑12
  • 4QIsae (4Q59): วรรคที่หลงเหลือ: 17‑20

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4]

การปกครองของพระบุตรในพระสัญญา (9:1–7)

[แก้]

การพิพากษาสะมาเรีย (9:8–21)

[แก้]

วรรค 12

[แก้]
คือคนซีเรียทางตะวันออกและคนฟีลิสเตียทางตะวันตก
และพวกเขาจะอ้าปากออกกลืนกินอิสราเอลเสีย
ถึงกระนั้นก็ดี พระพิโรธของพระองค์ก็ยังไม่ได้หันกลับ
และพระหัตถ์ของพระองค์ยังเหยียดออกอยู่[5]

ความว่า "ถึงกระนั้นก็ดี... ยังเหยียดออกอยู่" ปรากฏความที่มีความหมายเดียวกันครั้งแรกในอิสยาห์ 5:25 และยังปรากฏใน 9:17, 9:21 และ10:4[6]

วรรค 14

[แก้]
ผู้ชายตัดต้นอ้อ/ต้นกกในเนเธอร์แลนด์โดยมีมัดต้นอ้อที่ตัดแล้วอยู่ด้านหลัง (ราว ค.ศ. 1940)
พระยาห์เวห์จึงทรงตัดหัวและตัดหางของอิสราเอลออก
ทั้งใบตาลและต้นอ้อเล็กในวันเดียว[7]
  • การอ้างอิงข้าม: 19:15

วรรคนี้ใช้อุปลักษณ์ของ 'ต้นอ้อถูกตัด'[8]

วรรค 15

[แก้]
ผู้ใหญ่และคนมีตำแหน่งสูงคือหัว
ส่วนผู้เผยพระวจนะและผู้สอนเท็จคือหาง[9]
  • คนมีตำแหน่งสูง": ในภาษาฮีบรูแปลตรงตัวได้ว่า "ผู้ถูกยกขึ้นด้วยความเคารพต่อหน้า" (เทียบกับ 2 พงศ์กษัตริย์ 5:1)[10]

วรรค 16

[แก้]
เพราะพวกคนที่นำชนชาตินี้ได้นำเขาทั้งหลายให้หลง
และคนที่ถูกพวกเขานำก็ถูกกลืนกินไป[11]

วรรค 17

[แก้]
ฉะนั้น องค์เจ้านายไม่ทรงเปรมปรีดิ์ในพวกคนหนุ่มของเขา
และไม่ทรงเมตตาลูกกำพร้าหรือหญิงม่ายของเขา
เพราะว่าทุกคนล้วนไม่มีพระเจ้าและเป็นคนทำความชั่ว
และปากทุกปากก็กล่าวคำโฉดเขลา
ถึงกระนั้นก็ดี พระพิโรธของพระองค์ก็ยังไม่ได้หันกลับ
และพระหัตถ์ของพระองค์ยังเหยียดออกอยู่[12]

วรรค 21

[แก้]
มนัสเสห์กินเอฟราอิม เอฟราอิมกินมนัสเสห์
และทั้งคู่ก็ต่อสู้กับยูดาห์
ถึงกระนั้นก็ดี พระพิโรธของพระองค์ก็ยังไม่ได้หันกลับ
และพระหัตถ์ของพระองค์ยังเหยียดออกอยู่[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หมายเหตุ [a] ของอิสยาห์ 9:1 ใน NET Bible
  2. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  3. Ulrich 2010, p. 347-349.
  4. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  5. อิสยาห์ 9:12 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:11 คัมภีร์ฮีบรู
  6. หมายเหตุ [b] ของอิสยาห์ 9:12 ใน NET Bible
  7. อิสยาห์ 9:14 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:13 คัมภีร์ฮีบรู
  8. หมายเหตุของอิสยาห์ 9:14 ใน NET Bible
  9. อิสยาห์ 9:15 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:14 คัมภีร์ฮีบรู
  10. หมายเหตุของอิสยาห์ 9:15 ใน NET Bible
  11. อิสยาห์ 9:16 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:15 คัมภีร์ฮีบรู
  12. อิสยาห์ 9:17 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:16 คัมภีร์ฮีบรู
  13. อิสยาห์ 9:21 THSV11 หรือ อิสยาห์ 9:20 คัมภีร์ฮีบรู

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Coggins, R. (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  • Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (2007). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-528880-3.
  • France, R.T. (2007). The Gospel of Matthew. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-2501-8.
  • Jones, Alexander (1965). The Gospel According to St. Matthew. London: Geoffrey Chapman.
  • Keener, Craig S. (1999). A Commentary on the Gospel of Matthew. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-3821-6.
  • Motyer, J. Alec (2015). The Prophecy of Isaiah: An Introduction & Commentary. InterVarsity Press. ISBN 9780830895243.
  • Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
  • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสนายูดาห์

[แก้]

ศาสนาคริสต์

[แก้]