ข้ามไปเนื้อหา

อิสยาห์ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสยาห์ 7
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

อิสยาห์ 7 (อังกฤษ: Isaiah 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 25 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[1]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 1QIsab: วรรคที่หลงเหลือ: 14‑16, 20‑25
  • 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 16‑18, 23‑25
  • 4QIsah (4Q62): วรรคที่หลงเหลือ: 14‑15
  • 4QIsal (4Q65): วรรคที่หลงเหลือ: 17‑20

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[2]

วรรค 1

[แก้]
ในรัชกาลของอาหัสพระราชโอรสของโยธาม พระราชโอรสของอุสซียาห์ กษัตริย์แห่งยูดาห์ เรซีนกษัตริย์แห่งซีเรีย และเปคาห์บุตรของเรมาลิยาห์ กษัตริย์แห่งอิสราเอลขึ้นมายังเยรูซาเล็ม เพื่อทำสงครามกับเมืองนั้น แต่ไม่อาจรบชนะเมืองนั้น[3]
  • การอ้างอิงข้าม: 2 พงศ์กษัตริย์ 16:5; มัทธิว 1:9

จุดประสงค์ของสงครามคือเพื่อนำยูดาห์เข้าสู่แนวร่วมต่อต้านอัสซีเรีย

วรรค 3

[แก้]
และพระยาห์เวห์ตรัสกับอิสยาห์ว่า
"จงออกไปพบอาหัส ทั้งตัวเจ้าและเชอารยาชูบบุตรชายของเจ้า
ณ ปลายท่อส่งน้ำของสระบนตรงถนนลานซักฟอก[4]

วรรค 12

[แก้]
แต่อาหัสตอบว่า "เราจะไม่ทูลขอ และเราจะไม่ลองพระยาห์เวห์ดู"[6]

อาหัสไม่เต็มพระทัยที่จะผูกมัดกับความเชื่อในพระเจ้าที่อิสยาห์เสนอ จึงใช้โองการของเฉลยธรรมบัญญัติ 6:16 ห้ามทดลองพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทั้งหลาย มาเป็นข้ออ้าง "ภายใต้การแสร้งว่ายำเกรง"[7]

วรรค 14

[แก้]
ส่วนท้ายของอิสยาห์ 7:14 ในภาษาฮีบรู
เพราะฉะนั้น องค์เจ้านายจะประทานหมายสำคัญด้วยพระองค์เอง นี่แน่ะ หญิงสาวคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และคนจะเรียกนามของเขาว่า อิมมานูเอล[8]

ต้นฉบับเมโซเรติกภาษาฮีบรู (คริสต์ศตวรรษที่ 10) และม้วนหนังสืออิสยาห์ (ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล): (อ่านจากขวาไปซ้าย)

לָכֵן יִתֵּן אֲדֹנָי הוּא לָכֶם אוֹת הִנֵּה הָעַלְמָה הָרָה וְיֹלֶדֶת בֵּן וְקָרָאת שְׁמוֹ עִמָּנוּאֵל

การถอดอักษร

"lā·ḵên yitên ’ă·ḏō·nāy hū lā·ḵem o·wt: hinneh hā·‘al·māh hā·rāh wə·yō·le·ḏeṯ bên, wə·qā·rāṯ shem-o imanuel"

วรรคนี้ได้รับการอ้างอิงในมัทธิว 1:23

วรรค 15

[แก้]
เขาจะรับประทานนมข้นและน้ำผึ้ง ในเวลาที่เขารู้จักปฏิเสธความชั่วและเลือกความดี[9]

วรรค 18

[แก้]
ในวันเวลานั้น พระยาห์เวห์จะทรงผิวพระโอษฐ์เรียกเหลือบซึ่งอยู่ทางต้นน้ำของแม่น้ำแห่งอียิปต์ และเรียกผึ้งซึ่งอยู่ในแผ่นดินอัสซีเรีย[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 พงศ์กษัตริย์ 16, 2 พงศ์กษัตริย์ 18, อิสยาห์ 36, มัทธิว 1, ยอห์น 5
  • อ้างอิง

    [แก้]
    1. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    2. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    3. อิสยาห์ 7:1 THSV11
    4. อิสยาห์ 7:3 THSV11
    5. The New Oxford Annotated Bible with the Apocrypha, Augmented Third Edition, New Revised Standard Version, Indexed. Michael D. Coogan, Marc Brettler, Carol A. Newsom, Editors. Publisher: Oxford University Press, USA; 2007. pp. 987-989 Hebrew Bible. ISBN 978-0195288810
    6. อิสยาห์ 7:12 THSV11
    7. Skinner, J. (1897-98), Cambridge Bible for Schools and Colleges on Isaiah 7, accessed 1 December 2019
    8. อิสยาห์ 7:14 THSV11
    9. อิสยาห์ 7:15 THSV11
    10. อิสยาห์ 7:18 THSV11

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]

    ศาสนายูดาห์

    [แก้]

    ศาสนาคริสต์

    [แก้]