ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษารัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทับศัพท์ภาษารัสเซียในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน สำหรับศัพท์บางคำที่มีการอ่านออกเสียงผิดไปจากปรกติ ให้ถือการทับศัพท์ตามการออกเสียงของคำนั้น

หลักทั่วไป

[แก้]
  1. หลักเกณฑ์นี้ใช้ถ่ายเสียงภาษารัสเซียที่เขียนด้วยอักษรโรมัน
  2. การเทียบเสียงสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงสระภาษารัสเซีย
  3. การเทียบเสียงพยัญชนะ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะภาษารัสเซีย
  4. คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นหลายตัว ในภาษารัสเซียออกเสียงทุกตัว จึงให้ถอดเรียงกันไป เช่น
    Pskov = ปสคอฟ
    Vladimir = วลาดีมีร์
    ยกเว้นที่กำหนดไว้ให้ออกเสียงเป็นอย่างอื่น ดังในตาราง เช่น
    kh = ฮ
    tch = ช
  5. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
  6. เครื่องหมายอะคิวต์ (´) แสดงถึงการเน้นเสียงหนัก หรือใช้แบ่งพยางค์ หรือใช้แยกแยะความหมายของคำที่เขียนเหมือนกัน เสียงสระไม่เปลี่ยนไป เช่น
    писа́ть (pisáť) แปลว่า เขียน
    пи́сать (písať) แปลว่า ปัสสาวะ

ตารางเทียบเสียงสระภาษารัสเซีย

[แก้]

A

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
а a อยู่ต้นคำ, ไม่มีตัวสะกด อะ Александра (Aleksandra) = อะเลคซันดรา
ไม่มีตัวสะกด อา Василий (Vasili) = วาซีลี
มีตัวสะกด อะ ( —ั ) Татлин (Tatlin) = ตัตลิน
a เมื่อมีตัวสะกดส่วนใหญ่จะออกเสียงสั้น แต่ถ้าอยู่ในพยางค์ที่ออกเสียงหนักจะออกเสียงยาวกว่าเล็กน้อย ในการเขียนทับศัพท์ไม่มีรูปสระในภาษาไทยที่จะแสดงเสียงเช่นนั้นได้ จึงกำหนดให้ใช้สระสั้น (อะ) ทั้งหมด ยกเว้นคำที่ในภาษาไทยเคยใช้สระยาว (อา) จนเป็นที่ยอมรับกันแล้ว ก็ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น
Ленинград (Leningrad) = เลนินกราด
Иван (Ivan) = อีวาน
аа aa อา Чаадаев (Chaadayev) = ชาดาเยฟ
ай ai, ay ไอ Первомайск (Pervomaisk) = เปียร์โวไมสค์
Чайковский (Tchaikovski) = ไชคอฟสกี
Николай (Nikolay) = นีโคไล
ар ar อาร์ Армавир (Armavir) = อาร์มาวีร์
ау au อาอู Шауляй (Shaulyai) = ชาอูไลย์

E

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
е, э, є e เอ Александров (Aleksandrov) = อะเลคซันดรอฟ
ё e ออ Горбачёв (Gorbachev) = กอร์บาชอฟ
e ในภาษารัสเซีย มี 2 เสียง คือ е ที่ออกเสียงคล้ายสระ "เอ" และ ё ที่ออกเสียงคล้ายสระ "ออ" แต่ในการใช้อักษรโรมันเขียนคำรัสเซีย บางครั้งมีผู้ใช้ e แทน ë ในกรณีนี้ e จะออกเสียงคล้าย "ออ"
ее ee เอเย Менделеев (Mendeleev) = เมนเดเลเยฟ
ей ei, ey เอย์ Енисей (Yenisei) = เยนีเซย์
Алексей (Aleksey) = อะเลคเซย์
ер er เอียร์ Пермь (Perm) = เปียร์ม

I

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
и i ไม่มีตัวสะกด อี Ровенки (Rovenki) = โรเวนกี
ий i มีตัวสะกด, ไม่อยู่ท้ายคำ อิ Бийск (Bisk) = บิสค์
я ia เอีย Челябинск (Cheliabinsk) = เชเลียบินสค์
ие ie อี Киев (Kiev) = คีฟ
ии ii อีอิ Гавриил (Gavriil) = กัฟรีอิล
ир ir อีร์ Владимир (Vladimir) = วลาดีมีร์

O

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
о o ไม่มีตัวสะกด โอ Архипенко (Arkhipenko) = อาร์ฮีเปนโค
มีตัวสะกด ออ Ларионов (Larionov) = ลารีโอนอฟ
ой oi, oy ออย Полевской (Polevskoi) = โปเลฟสกอย
Толстой (Tolstoy) = ตอลสตอย
ор or ออร์ Горький (Gorky) = กอร์กี

U

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
у u ไม่มีตัวสะกด อู Батуми (Batumi) = บาตูมี
มีตัวสะกด อุ Бузулук (Buzuluk) = บูซูลุค
уй ui, uy อุย Бобруйск (Bobruisk) = โบบรุยสค์

Y

ซีริลลิก ละติน เงื่อนไข ใช้ ตัวอย่าง
ы y ไม่มีตัวสะกด อืย Сумы (Sumy) = ซูมืย
Рыбинск (Rybinsk) = รืยบินสค์
Шахты (Shakhty) = ชาฮ์ตืย
มีตัวสะกด อึ Сыктывка́р (Syktyvkar) = ซึคตึฟคาร์
ий y อยู่ท้ายคำ อี Горький (Gorky) = กอร์กี
y ส่วนใหญ่จะออกเสียงคล้าย "อืย" แต่ในการใช้อักษรโรมันเขียนคำภาษารัสเซีย บางครั้งมีผู้ใช้ y แทน i ในกรณีนี้ y จะออกเสียงเหมือน i คือเป็นเสียงคล้าย "อี"
я ya ไม่ลงเสียงหนัก เอีย Славянск (Slavyansk) = สลาเวียนสค์
ลงเสียงหนัก ยา Ульяновск (Ulyanovsk) = อูลยานอฟสค์
яй yai, yay ไอย์ Шауляй (Shaulyai) = ชาอูไลย์
ье ye เอีย Васильевич (Vasilyevich) = วาซีเลียวิช
Афанасьев (Afanasyev) = อะฟานาเซียฟ
ый yi, yy อืย Грозный (Groznyi) = กรอซนืย
ё yo ไม่มีตัวสะกด อิโอ Алёхин (Alyokhin) = อะลิโอฮิน
มีตัวสะกด อิออ Семён (Semyon) = เซมิออน
ю yu อูย์ Брюсов (Bryusov) = บรูย์ซอฟ
ъ เป็นอักษรลงเสียงหนัก ไม่มีอักษรทับศัพท์ แต่ถ้าอยู่ก่อนสระ я, ё, е, ю จะดึงเสียง ย ออกมาควบกล้ำ เช่น съёмка = ซยอมคา
ь เป็นอักษรลงเสียงเบา ไม่มีอักษรทับศัพท์ จะเปลี่ยนเสียงพยัญชนะที่อยู่ด้านหน้าเป็นเสียงม้วนลิ้น

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษารัสเซีย

[แก้]
ซีริลลิก ละติน พยัญชนะต้น พยัญชนะสะกดและตัวการันต์
ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
б b Балта (Balta) = บัลตา Витебск (Vitebsk) = วีเจบสค์
ч ch, tch Чехов (Chekhov) = เชฮอฟ
Челичев (Tchelitchev) = เชลีเชฟ
Ургенч (Urgench) = อูร์เกนช์
д d Дунай (Dunai) = ดูไน Волгоград (Volgagrad) = วอลกากราด
дз, ѕ dz ดซ Дзержинск (Dzerzhinsk) = ดเซียร์จินสค์ - -
дж, џ dzh Джо́уль (Dzhoul) = โจอุล ...
ф f Феодосия (Feodosiya) = เฟโอโดซียา - -
г g, gh Гомель (Gomel) = โกเมล
Дягилев (Diaghilev) = เดียกีเลฟ
Таганрог (Taganrog) = ตากันร็อก
к k Казимир (Kasimir) = คาซีมีร์ Бузулук (Buzuluk) = บูซูลุค
ยกเว้น -ский (ski, sky), -ская (skaya), -ской (skoi), -ки (ki, ky), -кий (ki, ky) และ -кин (kin) ที่อยู่ท้ายคำ ให้ถอด k เป็น ก เช่น
Явленский (Jawlensky) = ยัฟเลนสกี
Дзержинский (Dzerzhinski) = ดเซียร์จินสกี
Ковалевская (Kovalevskaya) = โควาเลฟสกายา
Полевской (Polevskoi) = โปเลฟสกอย
Ровенки (Rovenki) = โรเวนกี
Горький (Gorky) = กอร์กี
Пушкин (Pushkin) = ปุชกิน
х kh, h Михаил (Mikhail) = มีฮาอิล Шахты (Shakhty) = ชาฮ์ตืย
л l Ларионов (Larionov) = ลารีโอนอฟ Мелитополь (Melitopol) = เมลีโตปอล
м m Муром (Murom) = มูรอม Пермь (Perm) = เปียร์ม
н n Ни́кополь (Nikopol) = นีโคปอล Пе́нза (Penza) = เปนซา
п p Пинск (Pinsk) = ปินสค์ Туапсе́ (Tuapse) = ตูอัปเซ
пс ps ปส Псков (Pskov) = ปสคอฟ - -
р r Ровно (Rovno) = รอฟโน Армави́р (Armavir) = อาร์มาวีร์
с s Владивосток (Vladivostok) = วลาดีวอสตอค
с + สระ s + สระ Салава́т (Salavat) = ซาลาวัต - -
с + พยัญชนะ s + พยัญชนะ Славянск (Slavyansk) = สลาเวียนสค์ - -
ш sh, sch Шевченко (Shevchenko) = เชฟเชนโค Пуshkin (Pushkin) = ปุชกิน
щ shch Щекино (Shchekino) = เชคีโน - -
т t Ташкент (Tashkent) = ตัชเคนต์ Кет (Ket) = เคต
т + е t + e Ви́тебск (Vitebsk) = วีเจบสค์ - -
ц ts Целиноград (Tselinograd) = เซลีโนกราด - -
в v, w Иван (Ivan) = อีวาน Годунов (Godunov) = โกดูนอฟ
Явленский (Jawlensky) = ยัฟเลนสกี
кс x - - กซ Алекс (Alex) = อะเลกซ์
я, ё, е, ю (ต้นคำ)
ј
y, j Явленский (Jawlensky) = ยัฟเลนสกี
Ереван (Yerevan) = เยเรวาน
- -
з z Азов (Azov) = อะซอฟ Ташауз (Tashauz) = ตาชาอุซ
ж zh Жуковский (Zhukovski) = จูคอฟสกี Ужгород (Uzhgorod) = อุจโกรอด
ж (ท้ายคำ หรือหน้า с) zh (ท้ายคำ หรือหน้า s) - - Даргомыжский (Dargomyzhsky) = ดาร์โกมืย์ชสกี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]