การตีฝ่าช่องแคบ
การตีฝ่าช่องแคบ (ปฏิบัติการเซอร์เบอรัส) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพแอตแลนติกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
แผนผังหลักสูตรที่หยิบยกขึ้นโดยปฏิบัติการเซอร์เบอรัส (ในฝรั่งเศส) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไรช์เยอรมัน | สหราชอาณาจักร | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ออตโต ซีเลียกส์ | เบอร์แธม แรมซี่ | ||||||
กำลัง | |||||||
2 battleships 1 heavy cruiser 6 destroyers 14 torpedo boats 26 E-boats 32 bombers 252 fighters |
6 destroyers 3 destroyer escorts 32 motor torpedo boats ป. 450 aircraft | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
2 battleships damaged 1 destroyer damaged 1 destroyer lightly damaged 2 torpedo boats lightly damaged 22 aircraft destroyed 13 sailors dead 2 sailors wounded 23 aircrew killed |
1 destroyer severely damaged 42 aircraft destroyed 40 dead and missing 21 wounded |
การตีฝ่าช่องแคบ (อังกฤษ: Channel Dash) หรือ ปฏิบัติการเซอร์เบอรัส (เยอรมัน: Unternehmen Zerberus) เป็นปฏิบัติการทางทะเลของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือเยอรมัน) กองเรือรบประกอบด้วยเรือประจัญบานสองลำคือเรือประจัญบานชั้นชาร์นฮอสท์, เรือลาดตระเวนหนัก พรินซ์ ยูจีน และเรือคุ้มกัน ได้แล่นเรือเข้าหาแนวปิดกั้นของอังกฤษจากแบร็สต์ในแคว้นเบรอตาญ เรือชาร์นฮอสท์และไกเซเนา ได้เดินทางถึงแบร็สต์ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากประสบความสำเร็จในปฏิบัติการเบอร์ลินในมหาสมุทรแอตแลนติก การโจมตีฉาบฉวยต่อต้าน-พาณิชย์ที่ห่างไกลได้ถูกวางแผน (จนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941) และเรือได้ใช้อู่ต่อเรือที่แบร็สต์เพื่อประกอบตกแต่งใหม่และซ่อมแซม พวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อขบวนเรือขนส่งสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรบนมหาสมุทรแอตแลนติก หนึ่งในการโจมตีฉาบฉวยทางอากาศที่ได้ถูกดำเนินโดยกองทัพอากาศหลวง (RAF) เข้าปะทะกับสองเรือรบ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 (และได้มุ่งเป้าหมายไปที่เรือพรินซ์ ยูจีน ซึ่งได้ปรากฏตัวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1941) ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่ได้เกิดขึ้นบนเรือไกเซเนา เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 และบนเรือชาร์นฮอสท์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1941หลังจากได้แยกย้ายไปยัง La Pallice การซ่อมแซมจากความเสียหายในครั้งนี้ได้เสร็จสิ้นลงในเดือนสิงหาคม ได้มีการพิจารณาคำนึงถึงการให้อพยพเรือ
ในปลายปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งต่อกองบัญชาการใหญ่กองทัพเรือเยอรมัน (OKM) เพื่อวางแผนปฏิบัติการเพื่อการเดินทางกลับของกองเรือไปยังฐานทัพเยอรมัน เพื่อตอบโต้กลับที่น่าจะเป็นไปได้ของการรุกรานนอร์เวย์ของอังกฤษ การประชุมได้ถูกจัดขึ้นในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 สำหรับการวางแผนขั้นตอนสุดท้ายของปฏิบัติการ เส้นทางที่สั้นที่สุดบนช่องแคบอังกฤษได้เป็นที่นิยมเพื่อเป็นทางอ้อมบนรอบเกาะอังกฤษ เพื่อใช้ประโยชน์จากความประหลาดใจและจากการคุ้มกันทางอากาศโดยลุฟท์วัฟเฟอและเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งจากปฏิบัติการให้ดำเนินการ
ฝ่ายอังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากการถอดรหัสลับจากเครื่องวิทยุรหัสข้อความลับของเยอรมันอย่างเครื่องอินิกมา การลาดตะเวนทางอากาศโดยหน่วยถ่ายภาพการลาดตระเวนแห่งกองทัพอากาศหลวง (Photographic Reconnaissance Unit-PRU) และสายลับในฝรั่งเศสที่ดำเนินการโดยราชการข่าวกรองลับ(MI6) ของอังกฤษ เพื่อจับตาดูเรือและรายงานถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของอังกฤษ ปฏิบัติการฟลูเลอร์ การประสานงานร่วมกันระหว่างราชนาวี-RAF ในแผนฉุกเฉิน ได้ถูกคิดขึ้นเพื่อตอบโต้การโจมตีโดยเรือเยอรมันต่อขบวนเรือขนส่งสินค้าบนแอตแลนติก การกลับไปที่ท่าเรือเยอรมันโดยแล่นเรือรอบเกาะอังกฤษหรือรีบแล่นผ่านช่องแคบอังกฤษ ด้วยความตั้งใจของเรืออังกฤษในน่านทะเลใต้ได้ถูกยับยั้งโดยความจำเป็นที่จะต้องเก็บเรือไว้ที่ Scapa Flow ในสก็อตแลนด์ ในกรณีของการโจมตีโดยเรือประจัญบานเทียร์พิตส์จากนอร์เวย์ กองทัพอากาศหลวงจำเป็นที่จะต้องถอดถอนฝูงเครื่องบินจากการทิ้งระเบิดและกองบัญชาการชายฝั่งเพื่อหน้าที่โพ้นทะเลและเก็บระเบิดตอร์ปิโดในสกอตแลนด์ที่เตรียมพร้อมสำหรับเทียร์พิตส์ ซึ่งขีดจำกัดความสามารถในการรวบรวมเครื่องบินจำนวนมากเพื่อเข้าปะทะการพุ่งชนช่องแคบ เช่นเดียวกับสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวซึ่งจะทำให้ลดวิสัยทัศน์ และสนามบินที่ถูกปิดกั้นด้วยหิมะ
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เรือของครีคส์มารีเนอได้ออกจากแบร็สต์ เวลา 9 นาฬิกา 14 นาที และสามารถหลบหนีจากการตรวจจับได้นานกว่าสิบสองชั่วโมง เข้าใกล้กับช่องแคบโดเวอร์โดยไม่มีการตรวจพบ ลุฟท์วัฟเฟอได้ดำเนินปฏิบัติการทันเดอร์โบท (Unternehmen Donnerkeil) เพื่อเตรียมการคุ้มกันทางอากาศและเรือที่อยู่ใกล้โดเวอร์ อังกฤษได้เริ่มปฏิบัติการเข้าปะทะเรือเยอรมัน กองทัพอากาศหลวง กองเรืออาร์มอากาศ (Fleet Air Arm) กองทัพเรือและปืนใหญ่ชายฝั่ง ปฏิบัติการได้ล้มเหลวอย่างราคาแพง แต่ชาร์นฮอสท์และไกเซเนาได้ถูกยิงเข้าที่ทุ่นระเบิดในทะเลเหนือและได้รับความเสียหาย (ชาร์นฮอสท์ได้ถูกปลดออกจากภารกิจเป็นเวลาหนึ่งปี) โดยวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เรือได้เดินทางกลับถึงท่าเรือเยอรมันอย่างปลอดภัย วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษรู้สึกไม่พอใจที่ไม่สามารถจมเรือเยอรมันได้ ทั้งๆที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมจึงได้สั่งให้มีการสอบสวนอย่างโกลาหลและหนังสือพิมพ์ข่าวเดอะไทมส์ได้ประณามถึงความล้มเหลวของอังกฤษ ครีคส์มารีเนอได้วิพากษวิจารณ์ถึงปฏิบัติการที่ได้รับนั้นประสบความสำเร็จทางยุทธวิธีและความล้มเหลวเชิงกลยุทธ์ โดยแลกกับการคุกคามขบวนเรือเรือขนส่งสินค้าแอตแลนติกโดยเรือบนผิวน้ำของเยอรมันเพื่อตั้งข้อสงสัยถึงการคุกคามนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เรือพรินซ์ ยูจีนได้มีชัยทางยุทธนาวีในนอร์เวย์ ได้รับการซ่อมแซม และใช้เวลาที่เหลือของสงครามในทะเลบอลติก เรือไกเซเนาได้เข้าสู่อู่ต่อเรือแห้งและถูกทิ้งระเบิดในคืนวันที่ 26/27 กุมภาพันธ์ ไม่เคยได้แล่นเรืออีกเลย ส่วนเรือชาร์นฮอสท์ได้ถูกจมลงในยุทธการที่แหลมเหนือ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1943