การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง ประกอบด้วยระบบขนส่งมวลชนอันหนาแน่น (รถไฟ, รถโดยสารประจำทาง, รถแท็กซี่) ในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล (ภูมิภาคหุบเขากลัง)

ประวัติ[แก้]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ชาวกัวลาลัมเปอร์ส่วนมากยังคงใช้รถลาก หรือช้าง เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ต่อมาช่วง ค.ศ. 1960-1990 ได้เริ่มมีการใช้รถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) เป็นครั้งแรก

ประเภทระบบขนส่งมวลชน[แก้]

รถโดยสารประจำทางรุ่น สกาเนีย K270UB4x2 ให้บริการโดยแรพิดเคแอล

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางหลักในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล คือ แรพิดบัส ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการย่อยอีกสองราย คือ อินตราโกตา และ ซิตีลายเนอร์ ผู้ให้บริการอื่น ๆ อาทิเช่น เมโทรบัส, เซอลาโงร์อุมนิบัส, เลินเซิง, เคนเดอราน, ตริตัน, เปอมาร์ตาเกียรา

รถไฟฟ้า[แก้]

ระบบรถไฟฟ้าในหุบเขากลังประกอบด้วย รถไฟฟ้ารางเบา 2 สาย (ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์), รถไฟฟ้าชานเมือง 2 สาย (ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม), เคแอลโมโนเรล และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งประกอบด้วยเคแอลไอเอ แทรนสิต และเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส

รถไฟฟ้าชานเมือง

1 สายเซอเริมบัน
ระหว่าง สถานีรวัง - สถานีสุไหงกาดุ๊ต
27 สถานี 153 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
6 สถานี 22 กิโลเมตร ของ สายย่อยรวัง-ตันหยงมาลิม ระหว่าง สถานีรวัง - สถานีตันหยงมาลิม
2 สายพอร์ตกลัง
ระหว่าง สถานีบาตูเคฟส์ - สถานีพอร์ตกลัง
23 สถานี 45 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

3 สายอัมปัง
ระหว่าง สถานีเซ็นทัลติเมอร์ - สถานีอัมปัง
18 สถานี 15 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
4 สายศรีเปอตาลิง
ระหว่าง สถานีเซ็นทัลติเมอร์ - สถานีศรีเปอตาลิง
18 สถานี 15 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
11 สถานี 18 กิโลเมตร ในส่วนต่อขยาย สถานีศรีเปอตาลิง - สถานีปูตราเฮจต์
5 สายเกอลานาจายา
ระหว่าง สถานีกมบัก - สถานีเกอลานาจายา
23 สถานี 29 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
13 สถานี 17 กิโลเมตร ในส่วนต่อขยาย สถานีเกอลานาจายา - สถานีปูตราเฮจต์
9 สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง
ระหว่าง สถานีซูไงบูโละฮ์ - สถานีกาจัง
31 สถานี 50 กิโลเมตร (โครงการ) ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์

รถไฟฟ้ารางเดี่ยว

8 เคแอลโมโนเรล
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - สถานีติติวังซา
11 สถานี 8.6 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน

6 เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - เคแอลไอเอ
ไม่หยุดสถานีรายทางใด ๆ ในช่วงระยะทาง 75 กิโลเมตร ดำเนินการโดย เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
7 เคแอลไอเอ แทรนสิต
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - เคแอลไอเอ
5 สถานี 75 กิโลเมตร ดำเนินการโดย เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์

มีโครงการจะขยายเส้นทางเคแอลโมโนเรลไปยังสถานีซูไงบูโละฮ์ แต่โครงการยังไม่ได้รับอนุมัติ ส่วนส่วนต่อขยายของสายเกอลานาจายาและสายอัมปังได้รับอนุมัติแล้ว คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2016 นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ คือ สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2017 และรถไฟฟ้าสายใหม่อีกสาย คือ สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา จะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015.[1] ส่วนรถไฟฟ้ารางเบา สายชาห์อลัม กำลังอยู่ในขั้นอภิปรายหลังอนุมัติเสร็จ[2]

รถแท็กซี่[แก้]

รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์ มักจะมีสีแดง-ขาว, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว หรือเหลือง

รถแท็กซี่มิเตอร์สามารถพบเห็บได้ทั่วไปในกัวลาลัมเปอร์ อย่างไรก็ตาม มีโอกาสยากมากที่จะสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์มีหลายสี ได้แก่ ขาว-แดง, แดง, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว, เหลือง วิธีสังเกตรถแท็กซี่ที่ง่ายที่สุด คือ ด้านหน้ารถจะมีตัว H ติดอยู่ แต่ถ้าเป็นรถแท็กซี่ท่าอากาศยาน จะมีตัว LIMO ติดอยู่

ศูนย์รวมการขนส่ง[แก้]

การขนส่งระหว่างเมือง[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
  • ปุตุเซ็นทรัล — สถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุด สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ารางเบาได้
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารปูตรา — สถานีรถโดยสารที่มีจุดหมายปลายทางในภาคตะวันออก
  • ปาซาร์รักยัต — สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เพื่อลดความแออัดของปุตุเซ็นทรัล
  • เคแอลเซ็นทรัล — สถานีรถไฟหลักของกัวลาลัมเปอร์
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารดูตา — สถานีรถโดยสารของทรานส์เนซันนัลแอนด์แอร์พอร์ต

สถานีรถไฟฟ้า[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสาร[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารของแรพิดเคแอลที่สำคัญ ได้แก่ เคแอลเซ็นทรัล, ติติวังซา, เคแอลซีซี,มาลูรี และเมดานปาซาร์ ส่วนรถโดยสารของบริษัทเอกชนอื่น ๆ จะให้บริการที่ย่านจาลันตันเชิงลอก

สถานีปลายทาง[แก้]

รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่ จะตั้งต้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจาลันเชิงล็อก ส่วนรถโดยสารที่มุ่งหน้าไปยังสิงคโปร์ จะตั้งต้นทางที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์, สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์, บังซาร์ และเปอตาลิงจายา ส่วนรถไฟระหว่างเมืองทั้งหมด ได้ทำการย้ายต้นทางจากสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ มาที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ในปี ค.ศ. 2001

การควบคุม[แก้]

ระบบขนส่งมวลชนแต่ละประเภท จะดำเนินการโดยองค์กรที่แตกต่างกัน รถโดยสารประจำทางควบคุมโดย แรพิดบัส รถไฟฟ้ารางเบาและรถไฟฟ้าโมโนเรล ควบคุมโดย แรพิดเรล รถไฟฟ้าชานเมืองควบคุมโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ผู้โดยสารสามารถใช้ระบบตั๋วทอชอินโก เพื่อใช้งานระบบขนส่งทางรางได้[3]

ส่วนต่อขยายในอนาคต[แก้]

รถไฟฟ้ารางเบา[แก้]

สถานีเกอลานาจายา เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายเกอลานาจายา

วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2006 รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศว่า จะใช้งบประมาณ 10 ล้านริงกิตในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า แผนนี้ประกอบไปด้วย สายรถไฟฟ้ารางเบาสายใหม่อีก 1 สาย และส่วนต่อขยายของสายเก่า (ซึ่งก็คือสายเกอลานาจายาและสายอัมปัง)[4]

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหุบเขากลัง[แก้]

มีโครงการรถไฟฟ้ารางหนัก ระยะทาง 156 กิโลเมตร จำนวน 3 เส้นทาง ใช้งบประมาณ 35 พันล้านริงกิต นับว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์มาเลเซีย[5]

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ[แก้]

โครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) โดยคณะกรรมการขนส่งมวลชนทางบก (SPAD) มีสายที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบัน คือ สายซันเวย์ (เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2016) และสายที่ยังเป็นโครงการอยู่ คือ สายเคแอล-กลัง[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. by brenda ch’ng (2014-12-03). "Building of new MRT second line to begin next November - Community | The Star Online". Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Ali, Sharidan M (2014-12-13). "Prasarana to roll out LRT 3 projects by second half of 2015 - Business News | The Star Online". Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  3. "Rapid KL Launches Integrated Smart Card Ticketing System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
  4. Mergawati Zulfakar (30 August 2006). "Rail travel expansion". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.
  5. "KL to get landmark MRT in world-class city bid". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
  6. "SPAD MasterPlan" (PDF). 2013-11-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]