สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี
ประเภทสนธิสัญญาเอกราช /สนธิสัญญาสันติภาพ
วันร่าง13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
วันลงนาม12 กันยายน พ.ศ. 2533
ที่ลงนามมอสโก, รัสเซียของโซเวียต, สหภาพโซเวียต
วันมีผล15 มีนาคม พ.ศ. 2534
ผู้ลงนามสอง บวกสี่
ภาษา

สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี (เยอรมัน: Vertrag über die abschließende Regelung in Bezug auf Deutschland[a]) หรือเรียกว่า สนธิสัญญาสองบวกสี่ (เยอรมัน: Zwei-plus-Vier-Vertrag;[b] เรียกสั้น ๆ ว่า: สนธิสัญญาเยอรมัน) มีการเจรจาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และอีกมหาอำนาจอีกสี่ชาติซึ่งยึดครองเยอรมนีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในสนธิสัญญานี้ มหาอำนาจทั้งสี่ได้ถอนสิทธิทั้งหมดในเยอรมนี ทำให้สามารถรวมประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นรัฐเอกราชเต็มตัวในปีถัดมา[1][2][3]

เบื้องหลัง[แก้]

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ข้อตกลงพ็อทซ์ดัมได้มีการประกาศหลังจากการประชุมพ็อทซ์ดัม ซึ่งตกลงเงื่อนไขเริ่มต้นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรจะปกครองเยอรมนีและข้อตกลงเกี่ยวกับพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ซึ่งรู้จักกันว่า แนวโอเดอร์-ไนเซอ ข้อตกลงที่บรรลุเป็นข้อตกลงที่อธิบายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อสรุปว่า "สันติภาพสำหรับเยอรมนีจะได้รับรองโดยรัฐบาลเยอรมนีเมื่อรัฐบาลที่เหมาะสมสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าวได้ก่อตั้งขึ้น" ส่งผลให้ ปัญหาเยอรมัน กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดของสงครามเย็นที่กำลังดำเนินอยู่ และจนกระทั่งข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการสร้างรัฐบาลเดียวของเยอรมนีตามจุดประสงค์ในข้อตกลงในขั้นสุดท้าย ซึ่งหมายความว่าเมื่อพิจารณาดูแล้วเยอรมนีมิได้มีอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์[4]: 42–43 

หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเยอรมันและรัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) มีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างรัฐเยอรมันอันหนึ่งเดียวที่เป็นประชาธิปไตย และเพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวและเอกราชสมบูรณ์ พวกเขามีความปรารถนาที่จะยอมรับเงื่อนไขของข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งมีผลกระทบต่อเยอรมนี จากนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะเจรจาตกลงขั้นสุดท้ายตามที่ระบุในข้อตกลงพ็อทซ์ดัม

สนธิสัญญา[แก้]

สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีได้มีการลงนาม ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533[4]: 363  ซึ่งมีผลนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533[5]

ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา มหาอำนาจทั้งสี่ละทิ้งสิทธิทั้งหมดที่เคยถือครองในเยอรมนีทั้งหมดรวมถึงในเบอร์ลิน ผลที่ตามมาคือประเทศเยอรมนีภายใต้การรวมประเทศนั้นมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 กองทัพโซเวียตทั้งหมดจะต้องออกจากเยอรมนีภายในสิ้นปี พ.ศ. 2537 เยอรมนีตกลงที่จะจำกัดกองทัพให้มีทหารไม่เกิน 370,000 นาย โดยที่ในกองทัพบกและกองทัพอากาศจะต้องมีทหารไม่เกิน 345,000 นาย เยอรมนียังได้ยืนยันที่จะสละสิทธิ์การผลิต การถือครอง และการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญางดการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์จะยังคงมีผลบังคับใช้เต็มในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ไม่มีกองทัพต่างประเทศ อาวุธนิวเคลียร์ หรือการบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์จะต้องไม่คงอยู่ในอดีตประเทศเยอรมนีตะวันออก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์

อีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญของสนธิสัญญาคือให้เยอรมนีที่จะยอมรับและรับรองเส้นเขตแดนกับโปแลนด์ในระดับสากล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่เกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 2488 เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-ไนเซอร์ในอนาคต เยอรมนียังได้ตกลงที่จะลงนามในสนธิสัญญาอีกฉบับกับโปแลนด์ซึ่งยืนยันพรมแดนในปัจจุบันโดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์

หมายเหตุ[แก้]

  1. ฝรั่งเศส: Traité sur le règlement final en ce qui concerne l'Allemagne; รัสเซีย: Договор об окончательном урегулировании в отношении Германии, อักษรโรมัน: Dogovor ob okonchatel'nom uregulirovanii v otnoshenii Germanii
  2. ฝรั่งเศส: Accord Deux Plus Quatre; รัสเซีย: Соглашение «Два плюс четыре», อักษรโรมัน: Soglasheniye «Dva plyus chetyre»

อ้างอิง[แก้]

  1. American Foreign Policy Current Documents 1990 (September 1990). "Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany" (PDF). Roy Rozenweig Center for History and New Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. "Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany". Foothill College.
  3. Hailbronner, Kay. "Legal Aspects of the Unification of the Two German States" (PDF). European Journal of International Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
  4. 4.0 4.1 Philip Zelikow and Condoleezza Rice. Germany Unified and Europe Transformed: A Study in Statecraft. Harvard University Press, 1995 & 1997. ISBN 9780674353251
  5. http://www.auswaertiges-amt.de/EN/AAmt/PolitischesArchiv/EinblickeArchiv/ZweiPlusVier_node.html [URL เปล่า]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]