การบุกครองไทยของญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกครองไทยของญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง

พื้นที่ยกพลขึ้นบกและเคลื่อนทัพสู่ประเทศไทย ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941)
วันที่8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
สถานที่
ผล

ยุติการสู้รบ

คู่สงคราม
 ไทย  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ไทย แปลก พิบูลสงคราม
ไทย น.ต.ม.ล.ประวาศ ชุมสาย
จักรวรรดิญี่ปุ่น โชจิโร อีดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทโมยูกิ ยามาชิตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โนบูตาเกะ คนโด
กำลัง
กองทัพไทย กองทัพที่ 15
กองทัพที่ 25
กองเรือที่ 2

การบุกครองไทยของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本軍のタイ進駐โรมาจิNihongun no Tai shinchū) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นการสู้รบระหว่างราชอาณาจักรไทยกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงเวลาสั้นๆ การสู้รบที่ดุเดือดที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย โดยกินเวลากว่า 5 ชั่วโมงก่อนที่จะสิ้นสุดด้วยการประกาศให้ไทยเป็นทางผ่านของประเทศญี่ปุ่นในที่สุด[1] จากนั้น ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรกันเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรอักษะจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

ภูมิหลัง[แก้]

วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา[แก้]

ที่มาของการรุกรานไทยของญี่ปุ่นนั้นสามารถสืบย้อนไปถึงหลักการของฮักโก อิชิอุ ซึ่งดำเนินการโดย ทานะกะ ชิยากุ ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1800[2] ทานะกะถือหลักการปกครองของจักรพรรดิญี่ปุ่นได้ถูกกำหนดโดยเทพเจ้าพระอาทิตย์ (เทพเจ้าของญี่ปุ่น) ให้ญี่ปุ่นมีสิทธิที่จะปกครองและรวมทวีปเอเชียเป็นหนึ่งเดียว โดยใช้หลักการนี้ในการปลดปล่อยเอเชียจากการล่าอาณานิคมและขับไล่ชาติตะวันออกไป และสร้างญี่ปุ่นให้เป็นผู้นำอิทธิพลในเอเชียแทน[3]

ในปี พ.ศ. 2483 แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิมาโระ โคโนเอะ ซึ่งพยายามสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมถึง แมนจูกัว ประเทศจีน และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามการโฆษณาชวนเชื่อของจักรวรรดิ สิ่งนี้จะสถาปนาระเบียบระหว่างประเทศใหม่ที่แสวงหา "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" สำหรับประเทศในเอเชียซึ่งจะแบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองและสันติภาพ ปราศจากลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตกและการครอบงำภายใต้ร่มธงของญี่ปุ่นที่มีเมตตากรุณา[4]

วัฒนธรรมนิยม[แก้]

หนังสือเพิ่มเติม[แก้]

  • Thavenot, A. F. (1942). "Thailand and the Japanese Invasion". Journal of The Royal Central Asian Society. 29 (2): 111–19.

อ้างอิง[แก้]

  1. Brecher & Wilkenfeld 1997, p. 407.
  2. James L. McClain, Japan: A Modern History p 470 ISBN 0-393-04156-5
  3. John Toland, The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire 1936-1945 p 447 Random House New York 1970
  4. Iriye, Akira. (1999). Pearl Harbor and the coming of the Pacific War: a Brief History with Documents and Essays, p. 6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]