แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวรบด้านตะวันตก
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: รอตเทอร์ดามหลังเดอะบลิตซ์, เครื่องบินไฮน์เคล เฮอ 111 ของเยอรมนีระหว่างยุทธการบริเตน, พลร่มฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน, กำลังอเมริกากำลังวิ่งผ่านเวิร์นแบร์ก เยอรมนี, การล้อมบาสตอง, กำลังอเมริกายกพลขึ้นบกที่อ่าวโอมาฮาระหว่างปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
วันที่ค.ศ. 1939 – 1945
สถานที่
ผล

ค.ศ. 1939–1940 ฝ่ายอักษะชนะเด็ดขาด

ค.ศ. 1944–1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะเด็ดขาด

คู่สงคราม

ฝ่ายสัมพันธมิตร
 บริเตนใหญ่
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา (1942–45)
แคนาดา แคนาดา
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
โปแลนด์ โปแลนด์
 เนเธอร์แลนด์
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี ฝรั่งเศสเสรี
 เบลเยียม
 นอร์เวย์
 เดนมาร์ก
เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
 ออสเตรเลีย
 นิวซีแลนด์
แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
 ลักเซมเบิร์ก
กรีซ กรีซ
 บราซิล
 เม็กซิโก


สนับสนุนเฉพาะทางอากาศ

สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต (1945)

ฝ่ายอักษะ
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
 อิตาลี (1940–43)
 สาธารณรัฐสังคมอิตาลี
(1943–1945)


รัฐหุ่นเชิดของฝ่ายอักษะ
สโลวาเกีย
รัฐเอกราชโครเอเชีย


วิชีฝรั่งเศส[nb 1]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

1939–1940
ฝรั่งเศส มอริส กาเมอแล็ง
ฝรั่งเศส มักซีม วีย์กองด์
สหราชอาณาจักร ลอร์ดกอร์ต
สหราชอาณาจักร ลอร์ดโครก
เนเธอร์แลนด์ เฮนรี วินเคลมัน
เบลเยียม พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3
นอร์เวย์ ออตโต รูจ
1944–1945
สหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
สหราชอาณาจักร อาร์เธอร์ เทดเดอร์
สหราชอาณาจักร เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
สหรัฐ โอมาร์ แบรดลีย์
สหรัฐ เจคอบ แอล. เดเวอร์ส
สหรัฐ จอร์จ เอส. แพตตัน
สหรัฐ คอร์ทนีย์ ฮอดจ์ส
สหรัฐ วิลเลียม ซิมป์สัน
สหรัฐ อเล็กซานเดอร์ แพตช์
สหราชอาณาจักร ไมลส์ เดมป์ซีย์
สหราชอาณาจักร แทรฟฟอร์ด เลจ์-มัลลอรี
สหราชอาณาจักร เบอร์แธม แรมซีย์
แคนาดา แฮร์รี เคร์ราร์
ฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล

ฝรั่งเศส ฌ็อง เดอ ตาซีญี

1939–1940
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์
นาซีเยอรมนี แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
นาซีเยอรมนี ไฮนซ์ กูเดเรียน
นาซีเยอรมนี เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค
นาซีเยอรมนี วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ
นาซีเยอรมนี นิโคเลาส์ ฟอน ไฟล์เคินฮอร์สต์
ราชอาณาจักรอิตาลี พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2
1944–1945
นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นาซีเยอรมนี ไฮน์ริช ฮิมเลอร์
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ เกอริง
นาซีเยอรมนี แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์
นาซีเยอรมนี กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เคสเซิลริง
นาซีเยอรมนี แอร์วีน ร็อมเมิล
นาซีเยอรมนี โยฮันเนิส บลัสโควิทซ์
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ บัลก์
นาซีเยอรมนี เพาล์ เฮาส์เซอร์
นาซีเยอรมนี ฟรีดริช ชูล์ส
นาซีเยอรมนี ควร์ท ชตูเด็นท์

นาซีเยอรมนี แอ็นสท์ บุช
กำลัง

1939–1940

  • 2,862,000 นาย

1944–1945

  • 5,412,219 นาย [1]

1939–1940

  • 3,350,000 นาย

1944–1945

  • 1,500,000 นาย
ความสูญเสีย

1940

1944–1945

  • 783,860 คน
  • เสียชีวิต 164,590 คน[nb 4]

รวม :

  • 2,905,420–3,043,860 คน

1940

1941–1945

  • 836,606 คน[nb 7][nb 8]
  • เสียชีวิต 263,000 คน (ประเมินโดยกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร)[9]

รวม :

  • 997,386–1,000,256 คน

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี[10] ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945

แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

1939–40:ฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะ[แก้]

สงครามลวง[แก้]

สงครามลวง เป็นช่วงของการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งได้มีการทำปฏิบัติการทางทหารเพียงไม่กี่ครั้งในทวีปยุโรปกลางในเดือนที่ภายหลังจากที่เยอรมันได้บุกยึดครองโปแลนด์และก่อนยุทธการฝรั่งเศส แม้ว่าประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรปได้ประกาศสงครามกับอีกฝ่ายซึ่งกันและกัน แต่ทั้งสองยังไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีอย่างมีนัยสำคัญและมีการสู้รบเพียงเล็กน้อยทางภาคพื้นดิน.นี่เป็นช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศโปแลนด์อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรก็ตาม.

ในขณะที่กองทัพเยอรมันส่วนใหญ่กำลังสู้รบกับโปแลนด์,มีกองกำลังเยอรมันขนาดเล็กได้วางกำลังคนที่แนวซีกฟรีด (Siegfried Line),แนวป้องกันที่ได้ประจบกับชายแดนฝรั่งเศส,ที่แนวมาฌีโน (Maginot Line) ทางด้านอื่นๆของชายแดน,กองกำลังฝรั่งเศสได้เผชิญหน้ากับพวกเขา.ในขณะที่กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) และส่วนอื่นๆของกองทัพฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันตามชายแดนของเบลเยียม มีเพียงบางท้องถิ่น,มีการสู้รบเล็กๆน้อย กองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักรได้โปรยแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อไปทั่วเหนือเยอรมันและกองทัพแรกของแคนาดาได้ขึ้นฝั่งในอังกฤษ,ในขณะที่ทวีปยุโรปตะวันตกอยู่ในความสงบอย่างแปลกประหลาดเป็นเวลาเจ็ดเดือน

ในช่วงเวลาเร่งในการสร้างอาวุธใหม่,สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ริเริ่มซื้ออาวุธจำนวนมากจากผู้ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการแผร่ระบาดของสงคราม.ได้มีการเสริมสร้างการผลิตด้วยตัวเอง ฝ่ายสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการสงคราม,ได้มีส่วนร่วมต่อสัมพันธมิตรตะวันตกโดยส่วนลดขายของอุปกรณ์ทางทหารและพัสดุในการบำรุงกองทัพ ฝ่ายเยอรมันได้พยายามในการขัดขวางการค้าขายทางเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกของฝ่ายสัมพันธมิตรบนทะเลทำให้เกิดยุทธการแห่งแอตแลนติก

สแกนดิเนเวีย[แก้]

ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกยังคงเงียบสงบในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1940 การสู้รบระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมัน ได้มีการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในการทัพนอร์เวย์ เมื่อฝ่ายเยอรมันได้เริ่มปฏิบัติการแวร์เซอร์รีบุง,เยอรมันได้บุกยึดครองเดนมาร์กและนอร์เวย์.ในการทำเช่นนี้,ฝ่ายเยอรมันจะชนะสงครามไว้ได้; ฝ่ายสัมพันธมิตรได้วางแผนที่จะยกพลขึ้นบกในสิ่งที่พวกเขาจะได้เริ่มที่จะโอบล้อมเยอรมนี,ทำการตัดการขนส่งของวัตถุดิบจากประเทศสวีเดน.อย่างไรก็ตาม,เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้จู่โจมและยกพลขึ้นบกในนอร์เวย์ภายหลังจากการยึดครองของเยอรมัน,ฝ่ายเยอรมันได้ขับไล่พวกเขาและกำจัดกองทัพนอร์เวย์,ที่กำลังหลบหนีออกนอกประเทศ, ถึงกระนั้น, กองทัพเรือครีกซมารีเนอ,ได้ประสบความเสียหายอย่างหนักในระหว่างสองเดือนจากการสู้รบตามความต้องการในการยึดครองแผ่นดินนอร์เวย์เอาไว้ท้งหมด

ยุทธการที่ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม และฝรั่งเศส[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1940 ฝ่ายเยอรมันได้เริ่มการสู้รบที่ฝรั่งเศส.ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก (ส่วนใหญ่ของกองทัพบกของฝรั่งเศส,เบลเยียมและอังกฤษ) ต้องพบกับความปราชัยภายใต้การรุกโจมตีของกลยุทธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg-การโจมตีสายฟ้าแลบ) กองทัพส่วนใหญ่ของอังกฤษและบางส่วนของกองทัพฝรั่งเศสได้ทำการอพยพที่ดันเคิร์กไปยังแผ่นดินอังกฤษ เมื่อการสู้รบได้ยุติลง ทางฝ่ายเยอรมันได้เริ่มทำการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับวิธีจัดการกับอังกฤษ หากอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมเจราจาต่อในการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ,อีกทางเลือกหนึ่งคือการรุกราน อย่างไรก็ตาม,ครีกซมารีเนอได้รับความเสียหายอย่างหนักในนอร์เวย์และเพื่อที่จะออกคำสั่งในการพิจารณาที่จะทำการยกพลขึ้นบก,กองทัพอากาศแห่งเยอรมนี (ลุฟท์วัฟเฟอ) จะต้องมีอำนาจเหนือทางอากาศเป็นครั้งแรกหรืออำนาจสูงสุดทางอากาศ

1941–44 : พักรบ[แก้]

ด้วยการที่ลุฟท์วัฟเฟอไม่สามารถในการทำลายกองทัพอากาศแห่งอังกฤษในยุทธการที่บริเตน,การยึดครองสหราชอาณาจักรไม่สามารถทำได้อีกต่อไปได้ด้วยความคิดที่เป็นทางเลือก.ในขณะที่กองทัพเยอรมันส่วนใหญ่ได้ทำการรวบรวมกำลังพลเพื่อการรุกรานสหภาพโซเวียต,การริเริ่มก่อตั้งกำแพงแอตแลนติก-หนึ่งในป้อมปราการป้องกันตามแนวชายฝั่งของฝรั่งเศสบนบริเวณช่องแคบอังกฤษ.ป้อมปราการเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นตามความคาดการณ์ในการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการบุกยึดครองฝรั่งเศส

เนื่องจากการขนส่งแบบขนาดใหญ่เป็นอุปสรรคในรุกข้ามช่องแคบที่จะต้องเผชิญ,กองบัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจที่ทำการโจมตีทางปฏิบัติในบริเวณชายฝั่งของฝรั่งเศสในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 1942,ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มโจมที่เดียป,การโจมตีที่ท่าเรือที่เดียปของฝรั่งเศส.กองทัพส่วนใหญ่เป็นชาวแคนนาดา,กับกองกำลังเหล่าของอังกฤษบางส่วน,และกองกำลังขนาดเล็กของอเมริกันและกองกำลังเสรีฝรั่งเศสพร้อมกับการสนับสนุนจากกองทัพเรืออังกฤษและโปแลนด์.การโจมตีเป็นความหายนะ,จำนวนเกือบสองในสามส่วนของกองกำลังจู่โจมกลายเป็นการสูญเสีย, อย่างไรก็ตาม, มันก็ได้กลายเป็นบทเรียนอย่างมากจากผลของปฏิบัติการ-บทเรียนเหล่านี้ได้นำไปใช้ในการยกพลขึ้นบกที่ดีได้ในภายหลัง

จากเกือบสองปี,ไม่มีการสู้รบที่ใดๆเลยในด้านแนวรบตะวันตกยกเว้นการจู่โจมของเหล่าหน่วยคอมมานโดและปฏิบัติการรบแบบกองโจรในการต่อต้านซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยบริหารปฏิบัติการพิเศษ (SOE) และสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ (OSS).อย่างไรก็ตาม,ในขณะเดียวกัน,ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำสงครามกับเยอรมนี,ด้วยการโจมตีทางอากาศด้วยการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ กองทัพอากาศแบบการทิ้งระเบิดที่ 8 แห่งสหรัฐจะทิ้งระเบิดในช่วงตอนกลางวัน และกองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักรจะทิ้งระเบิดในช่วงตอนกลางคืน ส่วนใหญ่ของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่ครอบครองในเมดิเตอร์เรเนียน ได้พยายามที่จะเคลียร์ทางทะเลไปยังมหาสมุทรอินเดียและเข้ายึดครองสนามบินฟอจจาคอมเพล็กซ์(Foggia Airfield Complex)

การโจมตีของอังกฤษสองครั้งในช่วงแรกสำหรับการสู้รบด้วยเกียรติยศได้มอบรางวัลจากปฏิบัติการคอลลาร์ในบูโลญ (วันที่ 11 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1940) และปฏิบัติการแอมบาเซเดอร์ในเกิร์นซีย์ (วันที่ 14–15 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1940).การโจมตีจากอังกฤษซึ่งได้มอบรางวัลจากการทัพยุโรปเหนือ-ตะวันตก การสู้รบด้วยเกียรติยศ: ปฏิบัติการไบติง - บุนเนเวล์ (วันที่ 27–28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942), แซ็ง-นาแซร์ (วันที่ 27–28 มีนาคม ค.ศ. 1942), ปฏิบัติการเมิร์นมิดอน -บายอน (วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1942), ปฏิบัติการแอปเบอร์คอมบี - ฮาร์เดอลูท์ (วันที่ 21–22 เมษายน ค.ศ. 1942), เดียป (วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1942) และปฏิบัติการแฟรงก์ตัน - ฌีรงด์(วันที่ 7–12 ธันวาคม ค.ศ. 1942).[11][12]

การโจมตีเกาะซาร์กในคืนวันที่ 3-4 ตุลาคม ค.ศ. 1942 เป็นที่น่าสังเกต เพราะอีกไม่กี่วันหลังจากการโจมตี เยอรมนีได้ออกแถลงการณ์แบบโฆษณาชวนเชื่อซึ่งหมายความว่านักโทษอย่างน้อยหนึ่งคนได้หลบหนีและอีกสองคนถูกยิงขณะที่กำลังต่อต้านการมัดมือ นี่คือตัวอย่างของการผูกข้อมือนักโทษซึ่งสนับสนุนการตัดสินใจของฮิตเลอร์ในการออกคำสั่งของเขาคือคำสั่งคอมมานโด ในการชี้นำให้หน่วยคอมมานโดทั้งหมดหรือทหารของหน่วยคอมมานโดที่จับกุมมาได้นั้นจะต้องถูกดำเนินการประหารชีวิตตามกระบวนการอย่างเร่งรัด

ในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1944 เมื่อความคาดเดาของการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการยอมรับอย่างเสรีจากผู้บัญชาการทหารเยอรมัน การจัดการของทหารได้อยู่ภายใต้โอบี เวสต์(กองบัญชาการในกรุงปารีส) จากนั้นก็ได้สั่งการให้กองทัพสามกลุ่ม: กองบัญชาการกองทัพแวร์มัคท์จากเนเธอร์แลนด์(Wehrmachtbefehlshaber#Niederlande) หรือ WBN ไปประจำการครอบคลุมชายฝั่งของเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม และกองทัพกลุ่มบีจะไปประจำการครอบคลุมชายฝั่งทางตอนเหนือของฝรั่งเศสกับกองทัพเยอรมันที่ 15 (กองบัญชาการใน Tourcoing) ในพื้นที่ตอนเหนือของแม่น้ำแซน; กองทัพเยอรมันที่ 7 (กองบัญชาการในเลอม็อง) ระหว่างแม่น้ำแซนและแม่น้ำลัวร์เพื่อทำการปกป้องช่องแคบอังกฤษและชายฝั่งแอตแลนติก และกองทัพกลุ่มจีกับคอยรับผิดชอบดูแลจากอ่าวบิสเคย์และวิชีฝรั่งเศส, กับกองทัพที่ 1 (กองบัญชาการในบอร์โด) คอยรับผิดชอบดูแลจากชายฝั่งแอตแลนติกระหว่างแม่น้ำลัวร์และชายแดนสเปนและกองทัพที่ 19 (กองบัญชาการในอาวีญง) คอยรับผิดชอบดูแลจากชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรอาจจะเลือกที่จะเปิดฉากการรุกรานของพวกเขา โอกาสของการลงจอดเพื่อยกพลขึ้นบกนั้นจำเป็นต้องมีการแพร่กระจายขนาดใหญ่ของกองกำลังสนับสนุนที่เคลื่อนที่ได้เร็ว ซึ่งพวกเขาได้มีกองยานเกราะ (พันท์เซอร์) แต่ละกองทัพกลุ่มจะได้รับการจัดสรรให้เป็นกองกำลังสนับสนุนที่เคลื่อนที่ได้เร็ว กองทัพกลุ่มบีได้มีกองพลยานเกราะที่ 2 ในทางตอนเหนือฝรั่งเศส กองพลยานเกราะที่ 116 ในพื้นที่ปารีส และกองพลยานเกราะเยอรมันที่ 21 ในนอร์ม็องดี กองทัพกลุ่มจีได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการรุกรานทางชายฝั่งแอตแลนติก ได้มีการกระจายกองกำลังสนับสนุนที่เคลื่อนที่ได้เร็ว การตั้งอยู่ของกองพลยานเกราะเยอรมันที่ 11 ในฌีรงด์ กองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 2 ควบคู่กับดูแลรอบเมืองทางตอนใต้ฝรั่งเศสที่มงโตบ็อง และกองพลยานเกราะที่ 9 ประจำการในพื้นที่ Rhone delta

กองบัญชาการ OKW ยังคงมีกองกำลังสนับสนุนขนาดใหญ่ที่สำคัญของกองพลเคลื่อนเร็วดังกล่าว แต่พวกเหล่านี้ได้ถูกกระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่ขนาดใหญ่: กองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 1 ยังได้ก่อตัวขึ้นและฝึกฝนในเนเธอร์แลนด์ กองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 12 และกองพลยานเกราะ-เลอร์(Panzer-Lehr Division) ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ปารีส-ออร์เลอ็อง ตั้งแต่เขตป้องกันชายฝั่งนอร์ม็องดีหรือ (Küstenverteitigungsabschnitte – KVA) ได้พิจารณาพื้นที่มากที่สุดสำหรับการรุกราน กองพลทหารราบยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 17 ได้ตั้งอยู่ทางตอนใต้แม่น้ำลัวร์ในบริเวณใกล้เคียงของ Tours

1944–45 : แนวรบที่สอง[แก้]

นอร์ม็องดี[แก้]

เส้นทางที่ดำเนินการโดยการรุกรานดีเดย์

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด(ยังเป็นที่รู้จักกันคือ"ดีเดย์") –การปลดปล่อยที่รอคอยมายาวนานของฝรั่งเศส แผนการล่อลวง, ปฏิบัติการความทรหดและบอดีการ์ด ทำให้พวกเยอรมันหลงเชื่อว่าการรุกรานจะเกิดขึ้นในปาดกาแล ในขณะที่เป้าหมายที่แท้จริงคือนอร์ม็องดี หลังสองเดือนของการต่อสู้ที่เชื่องช้าในประเทศรั้วต้นไม้, ปฏิบัติการคอบร้าได้ยินยอมให้อเมริกันได้หยุดเคลื่อนทัพที่ตะวันตกเพื่อตั้งที่พัก ไม่นานหลังจากนั้น, ฝ่ายสัมพันธมิตรต่างได้มีการแข่งขันกันในการเคลื่อนทัพฝรั่งเศส พวกเขาได้ทำการโอบล้อมทหารเยอรมัน 200,000 นายในวงล้อมฟาเลส์ เช่นเดียวที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแนวรบด้านตะวันออก ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธที่จะให้มีการถอนกำลังทางยุทธศาสตร์จนกระทั่งสายเกินไป จำนวนทหารเยอรมันประมาณ 150,000 นายสามารถหลบหนีจากวงล้อมฟาเลส์ไปได้ แต่พวกเขาได้ละทิ้งอุปกรณ์ทางทหารไว้เบื้องหลังที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้และทหารเยอรมันจำนวน 50,000 นายล้วนถูกสังหารหรือถูกจับเป็นเชลย

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับว่าจะเคลื่อนทัพไปข้างหน้าให้แนวรบกว้างขวางหรือแนวรบแคบจากก่อนดีเดย์ ถ้าอังกฤษฝ่าออกจากหัวสัะพานนอร์ม็องดี(หรือหัวหาด)รอบเมืองก็อง เมื่อพวกเขาได้เปิดฉากปฏิบัติการกู๊ดวู้ดและผลักดันไปตามชายฝั่ง ข้อเท็จจริงบนพื้นดิน(Facts on the ground)อาจมีการหันไปโต้แย้งในเห็นชอบในแนวรบแคบ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนทัพฝ่าได้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปฏิบัติการคอบร้าที่ด้านตะวันตกจนถึงหัวสะพาน กองทัพกลุ่มที่ 21 ซึ่งได้รวมถึงกองกำลังอังกฤษและแคนาดาหันไปทางตะวันออกและมุ่งหน้าไปยังเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และทางตอนเหนือเยอรมนี ในขณะที่กองทัพกลุ่มสิบสองแห่งสหรัฐ ได้รุกไปยังทางทิศใต้ผ่านฝรั่งเศสตะวันออก ลักเซมเบิร์ก และพื้นที่รูห์ การขับไล่ออกไปอย่างรวดเร็วจะทำให้แนวรบกว้างขวาง เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และส่วนใหญ่ของกองบัญชาการทหารอเมริกัน มันจะถูกนำไปใช้ในไม่ช้า

การปลดปล่อยฝรั่งเศส[แก้]

ฝูงชนชาวฝรั่งเศสได้ออกมาต้อนรับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรแถวช็องเซลีเซ ภายหลังการปลดปล่อยกรุงปารีส, 26 สิงหาคม ค.ศ. 1944

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปิดฉากปฏิบัติการดรากูน–การรุกรานทางตอนใต้ฝรั่งเศสระหว่างตูลงและกาน กองทัพสหรัฐที่ 7 และกองทัพฝรั่งเศสที่ 1 ได้สร้างกองทัพกลุ่มที่ 6 แห่งสหรัฐ ได้รวมตัวอย่างรวดเร็วบนหัวหาดและปลดปล่อยฝรั่งเศสทางตอนใต้ในสองสัปดาห์ จากนั้นพวกเขาเคลื่อนทัพขึ้นเหนือหุบเขาโรน์ การรุกของพวกเขาได้ชะลอลงในขณะที่พวกเขาได้เผชิญหน้ากับกองกำลังเยอรมันที่จัดกลุ่มใหม่และตั้งมั่นในเทือกเขาโวฌ

เยอรมันในฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามกลุ่มที่แข็งแกร่ง: ในทางตอนเหนือ กองทัพกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษภายใต้บัญชาการโดยจอมพล เซอร์.เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ในภาคกลาง กองทัพกลุ่มที่ 12 ของอเมริกัน, ภายใต้บัญชาการโดยนายพลโอมาร์ แบรดลีย์ และทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มที่ 6 ของสหรัฐ ภายใต้บัญชาการโดยพลโทเจคอบ แอล. ดีเวอร์ เมื่อกลางเดือนกันยายน กองทัพกลุ่มที่ 6 ได้รุกจากทางตอนใต้เข้ามาติดต่อกับการก่อตัวของแบรดลีย์ในการรุกจากตะวันตกและควบคุมทั้งหมดของกองกำลังของดีเวอร์ ผ่านจาก AFHQ (กองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร)ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อให้กองทัพกลุ่มทั้งสามอยู่ภายใต้กองบัญชาการกลางของไอเซนฮาวร์ที่ SHAEF (กองบัญชาการทหารสูงสุด, Allied Expeditionary Forces).

ภายใต้การโจมตีในทั้งภาคเหนือและใต้ของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันต้องถอยร่น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส (FFI) ได้รวมตัวกันเพื่อลุกฮือกำเริบไปทั่วและการปลดปล่อยกรุงปารีสได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม เมื่อนายพลดรีทริซ ฟอน โคลทิซได้ตัดสินใจยอมรับคำขาดของฝรั่งเศสและยอมจำนนต่อนายพล Philippe Leclerc de Hauteclocque ผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 2 แห่งเสรีฝรั่งเศส ซึ่งได้ขัดคำสั่งจากฮิตเลอร์ว่ากรุงปารีสนั้นจะต้องปกป้องเอาไว้ให้ได้และหากปกป้องไม่ได้ จะต้องทำลายเสียให้สิ้นซาก

การปลดปล่อยทางตอนเหนือของฝรั่งเศสและประเทศเบเนลักซ์ มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับพลเรือนชาวลอนดอนและทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เนื่องจากไม่ยอมรับที่เยอรมันเปิดฉากส่วนที่สำหรับฐานยิงจรวด วี-1 และ วี-2 Vergeltungswaffen (reprisal weapons)

ในฐานะฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ก้าวเข้าสู่ฝรั่งเศส เส้นทางขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ได้ขยายไปถึงจุดแตกหัก Red Ball Express ความพยายามบรรทุกสินค้าขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่สามารถขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ที่เพียงพอจากท่าเรือในนอร์ม็องดีได้ทั้งหมดตลอดทางจนถึงแนวหน้า,ซึ่งโดยเดือนกันยายน อยู่ใกล้ชายแดนเยอรมัน

หน่วยทหารเยอรมันหลักในทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในนอร์ม็องดีต่างถอนกำลัง ไปยังทางตะวันออกของอาลซัส (บางครั้งได้ก้าวข้ามผ่านกองทัพกลุ่มที่ 6 ที่กำลังรุก) หรือเข้าสู่ท่าเรือด้วยความตั้งใจที่จะปฏิเสธพวกฝ่ายสัมพันธมิตร กลุ่มสุดท้ายเหล่านี้ไม่คิดว่าจะคุ้มค่าและถูกปล่อยให้"เน่า", กับยกเว้นที่เบเนลักซ์ ซึ่งได้รับการปลดปล่อยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพฝรั่งเศสภายใต้บัญชาการของนายพล Edgard de Larminat (Operation Venerable)

ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกจากปารีสไปยังแม่น้ำไรน์[แก้]

การสู้รบบนแนวรบด้านตะวันตกดูเหมือนจะเสถียรภาพ และฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ารุกจนหยุดชะงักบนแนวซีกฟรีด(กำแพงตะวันตก) และทางตอนใต้ของแม่น้ำไรน์ เริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน อเมริกันได้เริ่มสู้รบอย่างช้าๆและหลั่งเลือดผ่านบนป่าเฮิร์ทเจน(Hurtgen Forest) เพื่อทะลวงแนวป้องกัน

ท่าเรือที่แอนต์เวิร์ปได้รับการปลดปล่อยเมื่อวันที่ 14 กันยายนโดยกองพลยานเกราะที่ 11 แห่งอังกฤษ อย่างไรก็ตาม มันถูกกำหนดอยู่ที่ปลายของแม่น้ำยาวสเกลต์( Scheldt Estuary) และดังนั้นไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะมีแนวทางที่จะเคลียร์ตำแหน่งการเสริมกำลังของเยอร มัน การโอบล้อมที่ Breskens ทางตอนใต้ของฝั่งแม่น้ำสเกลต์ได้รับการจัดการด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างหนักโดยกองกำลังแคนาดาและโปแลนด์ในปฏิบัติการสวิตซ์แบ็ค(Operation Switchback) ในช่วงยุทธการที่แม่น้ำสเกลต์ ภายหลังจากการทัพที่น่าเบื่อหน่ายเพื่อเคลียร์คาบสมุทรที่มีอำนาจบนปากอ่าว และในที่สุด การโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่เกาะ Walcheren ในเดือนพฤศจิกายน การทัพเพื่อเคลียร์ปากแม่น้ำสเกลต์เป็นชัยชนะที่สำคัญสำหรับกองทัพแคนาดาที่ 1 และส่วนที่เหลือของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้มีการยินยอมให้มีการจัดส่งที่ดีมากขึ้นสำหรับวัสดูสนับสนุนโดยตรงจากแอนต์เวิร์ป ซึ่งอยู่ห่างใกล้จากหาดนอร์ม็องดี

ในเดือนตุลาคม อเมริกันได้ตัดสินใจว่าพวกเขาไม่สามารถลงทุนในอาเคินและปล่อยให้อยู่ในการโอบล้อมอย่างช้าๆ เพราะจะเข้าคุกคามปีกของกองทัพที่ 9 แห่งสหรัฐ เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่ที่สำคัญแห่งแรกของเยอรมันที่ต้องเผชิญกับการถูกยึดครอง ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ปกป้องเมืองโดยทุ่มเทกำลังทั้งหมด ในการรบที่เกิดขึ้น, เมืองถูกยึดครองโดยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,000 คนจากทั้งสองฝ่าย กับเชลยศึกเยอรมันประมาณ 5,600 คน

ทางตอนใต้ของป่าอาร์เดนส์ กองกำลังอเมริกันได้ต่อสู้ตั้งแต่เดือนกันยายนจนกระทั่งกลางเดือนธันวาคมเพื่อผลักดันเยอรมันออกจากลอแรนและไปยังหลังแนวซีกฟรีด การข้ามแม่น้ำมอแซลและเข้ายึดป้อมปราการที่แม็ส ปรากฏว่าเป็นเรื่องยากสำหรับทหารอเมริกันในการเผชิญหน้ากับการเสริมกำลังของเยอรมัน การขาดแคลนสเบียง และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยสะดวก ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม กองทัพกลุ่มที่ 6 ของฝ่ายสัมพันธมิตร(กองทัพสหรัฐที่เจ็ดและกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่ง)ได้ต่อสู้ในการทัพที่ยากลำบากผ่านเส้นทางภูเขาโวฌซึ่งเต็มไปด้วยการต่อต้านของเยอรมันอย่างทรหดและการรุกที่ล่าช้า ในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม, แนวหน้าของเยอรมันได้แตกหักภายใต้แรงกดดัน เป็นผลทำให้การรุกอย่างรวดเร็วของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้เข้าปลดปล่อยเมืองแบลฟอร์ มูว์ลูซ และสทราซบูร์ และกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้วางกำลังตามแนวแม่น้ำไรน์ เยอรมันได้จัดการยึดหัวสะพานขนาดใหญ่(กอลมาร์พ็อกเกต) บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณรอบๆเมืองกอลมาร์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มการรุกฤดูใบไม้ร่วงครั้งใหญ่ที่เรีกยว่า ปฏิบัติการควีน พร้อมกับการรุกโจมตีหลักอีกครั้งผ่านทางป่าเฮือร์ทเกิน ฝูงกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้รุกไปยังแม่น้ำรูห์ร แต่ล้มเหลวในเป้าหมายหลักของการเข้ายึดเขื่อนแม่น้ำรูห์รและกรุยทางไปยังแม่น้ำไรน์ ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ประสบความสำเร็จจากการรุกป่าอาร์เดนส์ของเยอรมัน

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน[แก้]

พลเมืองชาวดัตซ์ได้เฉลิมฉลองการปลดปล่อยไอนด์โฮเวน

ท่าเรือแอนต์เวิร์ปได้รับการปลดปล่อย เมื่อวันที่ 4 กันยายน โดยกองพลยานเกราะที่ 11 ของบริติช จอมพล เซอร์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้บัญชาการกองทัพกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษ-แคนาดา ได้ชักชวนให้กองบัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดฉากการโจมตีอย่างกล้าหาญ ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ซึ่งเขาได้คาดหวังว่าจะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรก้าวข้ามแม่น้ำไรน์และสร้างแนวรบที่แคบที่เขาชื่นชอบ ทหารโดดร่มจะขึ้นเครื่องบินมาจากสหราชอาณาจักรและลงจอดเข้ายึดสะพานข้ามแม่น้ำสายหลักของเนเธอร์แลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมันในสามเมืองหลักคือ ไอนด์โฮเวน ไนเมเคิน และอาร์เนม กองทัพสนามที่ 30 ของบริติซจะเจาะทะลวงแนวรบของเยอรมันตามแนวคลอง Maas–Schelde และเข้าสมทบกับกองกำลังทหารโดดร่มต่างๆ ได้แก่ กองพลทหารโดดร่มสหรัฐที่ 101 ในเมืองไอนด์โฮเวน กองพลทหารโดดร่มสหรัฐที่ 82 ในเมืองไนเมเคิน และกองพลทหารโดดร่มบริติซที่ 1 ในเมืองอาร์เนม หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี กองทัพสนามที่ 30 ก็จะรุกเข้าไปในเยอรมนีได้โดยปราศจากอุปสรรคสำคัญที่หลงเหลืออยู่ กองทัพสนามที่ 30 สามารถรุกได้เกินกว่าหกในเจ็ดสะพานที่กองกำลังทหารโดดร่มยึดครองอยู่ แต่ไม่สามารถสมทบกับกองทหารที่อยู่ใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ที่เมืองอาร์เนม ผลที่ตามมาคือการถูกทำลายล้างเกือบหมดสิ้นของกองพลทหารโดดร่มบริติซที่ 1 ในช่วงยุทธการที่อาร์เนม ซึ่งคาดการณ์ว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บและล้มตายเกือบ 8,000 นาย การรุกได้สิ้นสุดลงด้วยเมืองอาร์เนมที่เหลืออยู่ยังอยู่ในเงื้อมมือของเยอรมันและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถือว่าเป็นการขยายส่วนที่ยื่นออกจากชายแดนเบลเยียมไปยังพื้นที่ระหว่างไนเมเคินและอาร์เนม

การรุกตอบโต้กลับฤดูหนาว[แก้]

ทหารอเมริกันได้เข้าประจำที่ในตำแหน่งการป้องกันในป่าอาร์เดนส์ในช่วงยุทธการตอกลิ่ม

เยอรมันได้เตรียมการโจมตีตอบโต้กลับครั้งใหญ่ในด้านตะวันตกนับตั้งแต่ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกทะลวงจากนอร์ม็องดี แผนดังกล่าวเรียกว่า Wacht am Rhein (เฝ้าดูไรน์) เป็นการโจมตีผ่านทางป่าอาร์เดนส์และมุ่งหน้าไปทางเหนือสู่แอนต์เวิร์ป ทำการแบ่งแยกกองทัพอเมริกันและบริติซออกจากกัน การโจมตีได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการตอกลิ่ม การป้องกันเส้นทางผ่านป่าอาร์เดนส์เป็นหน้าที่ของกองกำลังทหารแห่งกองทัพสหรัฐที่หนึ่ง ความสำเร็จครั้งแรกในสภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งทำให้พวกเขาถูกบดบังจากกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผลทำให้เยอรมันเข้ารุกได้ไกลถึง 80 กิโลเมตร(50 ไมล์) ไปยังภายในอย่างน้อยถึง 16 กิโลเมตร(10 ไมล์)ของแม่น้ำเมิซ เมื่อได้รับรู้ด้วยความประหลาดใจ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งกองทัพใหม่และเยอรมันได้หยุดชะงักโดยถูกโจมตีตอบโต้กลับแบบผสมคือทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ ซึ่งในที่สุดแล้วพวกเขาถูกผลักดันกลับไปยังจุดเริ่มต้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1945

เยอรมันได้เปิดฉากขั้นที่สอง การรุกขนาดเล็ก(นอร์ดวินด์) เข้าไปยังแคว้นอาลซัส เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1945 ด้วยเป้าหมายที่จะยึดสทราซบูร์กลับคืนมาอีกครั้ง เยอรมันได้โจมตีกองทัพกลุ่มที่ 6 ในหลายๆจุด เพราะแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยืดออกไปอย่างหนักหน่วงในการตอบสนองต่อวิกฤตในป่าอาร์เดนส์ การถือครองและการรุกของนอร์วินด์นั้นล่าช้ากลับกลายเป็นเรื่องที่มีราคาแพงซึ่งกินเป็นเวลาเกือบสี่สัปดาห์ จุดสูงสุดของการโจมตีตอบโต้กลับของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ฟื้นฟูแนวหน้าไปยังพื้นที่ของชายแดนเยอรมันและพังทะลายกอลมาร์พ็อกเกต

การบุกครองเยอรมนี[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 หัวสะพานข้ามแม่น้ำรูร์ของเยอรมันระหว่างไฮน์แบร์ก(Heinsberg) และเรอร์มอนด์(Roermond)ได้ถูกจัดการในปฏิบัติการแบล็คคอก ครั้งนี้ตามมาด้วยการเคลื่อนไหวแบบก้ามปูของกองทัพแคนาดาที่หนึ่งในปฏิบัติการเวริเทเบิล เข้ารุกจากไนเมเคิน พื้นที่ของเนเธอร์แลนด์ และกองทัพสหรัฐที่ 9 ได้ข้ามแม่น้ำรูร์ในปฏิบัติการเกรเนด เวริเทเบิลและเกรเนดเป็นแผนที่เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 แต่เกรเนดได้ล่าช้าไปสองสัปดาห์ เมื่อเยอรมันได้ทำให้เกิดน้ำท่วมหุบเขารูร์โดยการทำลายประตูเขื่อนแม่น้ำรูร์ที่ตั้งอยู่ทางต้นน้ำ จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ได้ขออนุมัติในการถอนกำลังไปยังด้านตะวันออกหลังแม่น้ำไรน์ โดยยืนยันว่าการต่อต้านที่เพิ่มมากขึ้นจะช่วยถ่วงเวลาได้อย่างแน่นอน แต่ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ว่าให้ต่อสู้รบต่อไปอย่างที่กองทัพของเขาจะยืนหยัดได้

เมื่อถึงเวลาน้ำลดลงและกองทัพสหรัฐที่เก้าก็สามารถข้ามแม่น้ำรูร์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆยังได้ประชิดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ กองพลของฟ็อน รุนท์ชเต็ทซึ่งยังหลงเหลืออยู่บนฝังตะวันตกถูกโอบล้อมใน"ยุทธการที่ไรน์ลันท์"-จำนวน 280,000 นายถูกจับเป็นเชลย กับผู้ชายจำนวนมากที่ถูกจับกุม การต่อต้านของเยอรมันที่ดือรั้นในช่วงการทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อไปถึงแม่น้ำไรน์ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 จึงทำให้มีราคาแพง ความสูญเสียทั้งหมดได้บรรลุถึงประมาณ 400,000 นาย[13] เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาเตรียมข้ามแม่น้ำไรน์ในปลายเดือนมีนาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้จับกุมเชลยศึกชาวเยอรมันจำนวน 1,300,000 นาย ในยุโรปตะวันตก[14]

ทหารสหรัฐข้ามแม่น้ำไรน์ในเรือจู่โจม
  • การข้ามแม่น้ำไรน์ได้บรรลุถึงสี่จุด: หนึ่งจุดคือโอกาสที่ได้รับในการเข้ายึดโดยกองทัพสหรัฐ เมื่อเยอรมันได้ล้มเหลวในการระเบิดสะพานลูเดนดอฟฟ์ที่เรมาเกิน อีกจุดในการข้ามเป็นการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และการข้ามอีกสองจุดได้ถูกวางแผนเอาไว้ แบรดลีย์และผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ใช้ประโยชน์ในการข้ามเรมาเกินอย่างรวดเร็วที่ทำขึ้น เมื่อวันที่ 7 มีนาคม และขยายหัวสะพานในการข้ามแม่น้ำอย่างเต็มรูปแบบ
  • แบรดลีย์ได้บอกให้นายพลแพ็ตตันซึ่งบัญชาการในกองทัพสหรัฐที่สามที่ได้ต่อสู้รบผ่านทางพาลาทิเนต เพื่อ"เร่งรีบเข้ายึดแม่น้ำไรน์"(take the Rhine on the run)[15] กองทัพที่สามก็ได้ทำเช่นนั้นในคืนวันที่ 22 มีนาคม การข้ามแม่น้ำด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วทางตอนใต้ของไมนทซ์ที่โอเพนไฮร์ม(Oppenheim)
  • ในทางตอนเหนือ ปฏิบัติการพลันเดอร์เป็นนามที่ถูกมอบให้ของการจู่โจมข้ามแม่น้ำไรน์ที่รีส(rees)และเวเซิล(weswl)โดยกองทัพกลุ่มที่ 21 ของบริติซ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม มันได้รวมถึงปฏิบัติการการโดดร่มครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีรหัสนามว่า ปฏิบัติการวาร์ซิตี้ เมื่อถึงจุดที่บริติซข้ามแม่น้ำ มันกว้างขวางเป็นสองเท่ากับปริมาณน้ำที่สูงขึ้น ห่างไกลจากจุดที่อเมริกันข้ามแม่น้ำและมอนต์โกเมอรีได้ตัดสินใจว่าน่าจะสามารถข้ามไปได้ด้วยปฏิบัติการตามแผนอย่างระมัดระวัง[ต้องการอ้างอิง]
  • ในพื้นที่ของกองทัพกลุ่มที่ 6 ของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพสหรัฐที่ 7 ได้เข้าจู่โจมข้ามแม่น้ำไรน์ในพื้นที่ระหว่างมันไฮม์และวอร์มส(Worms) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม[16] การข้ามแม่น้ำทั้งห้าจุดในขนาดที่เล็กกว่ามากซึ่งได้ประสบความสำเร็จในภายหลังโดยกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่งที่ชไปเออร์[17]
ทหารสหรัฐกำลังบุกผ่านซากปรักหักพังที่ฟ้ามืดครึ้มของ Waldenburg เยอรมนี เดือนเมษายน ค.ศ. 1945

เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรข้ามแม่น้ำไรน์ได้แล้ว บริติซก็ได้มุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เมืองฮัมบวร์ค ข้ามแม่น้ำเอลเบและมุ่งหน้าไปยังเดนมาร์กและทะเลบอลติก กองทัพบริติซได้เข้ายึดครองเมืองเบรเมิน เมื่อวันที่ 26 เมษายน ภายหลังสัปดาห์ของการสู้รบ[18] ทหารโดดร่มบริติชและแคนาดาได้เดินทางมาถึงเมืองบนฝั่งทะเลบอลติกคือ วิสมาร์(Wismar) ซึ่งมาถึงก่อนกองทัพโซเวียต เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม กองทัพสหรัฐที่ 9 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้คำสั่งของกองบัญชาการบริติชนับตั้งแต่ยุทธการตอกลิ่ม ได้มุ่งหน้าไปทางใต้เช่นเดียวกับทางเหนือเข้าบรรจบกันเป็นคีบปากหนีบของการโอบล้อมที่รัวร์ เช่นเดียวกับผลักดันส่วนที่เหลือไปทางด้านตะวันออก กองทัพสนามที่สิบเก้าของกองทัพที่เก้าได้เข้ายึดครองเมืองมัคเดอบวร์ค เมื่อวันที่ 18 เมษายน กองทัพสนามสหรัฐที่สิบสามได้มุ่งหน้าไปทางเหนือเข้ายึดครองสเทินเดล(Stendal)[19]

กองทัพกลุ่มที่ 12 ของสหรัฐได้แผ่ขยายออกไป กองทัพที่หนึ่งได้มุ่งหน้าไปทางเหนือเช่นเดียวกับทางใต้เข้าบรรจบกันเป็นคีบปากหนีบของการโอบล้อมที่รัวร์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน การโอบล้อมได้เสร็จสมบูรณ์ และกองทัพที่เก้าได้หวนกลับมาอยู่ภายใต้คำสั่งกองบัญชาการของกองทัพกลุ่มที่ 12 ของแบรดลีย์ กองทัพเยอรมันกลุ่มบีภายใต้บัญชาการของจอมพล วัลเทอร์ โมเดิล ถูกติดกับในรัวร์พ็อกเกตและทหาร 300,000 นายได้ตกเป็นเชลยศึกสงคราม กองทัพอเมริกันที่เก้าและหนึ่งได้หันมุ่งหน้าไปยังทางด้านตะวันออกและผลักดันไปยังแม่น้ำเอลเบในกลางเดือนเมษายน ในช่วงระหว่างการผลักดันทางด้านตะวันออก เมืองต่างๆ ได้แก่ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์, คัสเซิล, มัคเดอบวร์ค, ฮัลเลอ และไลพ์ซิชล้วนได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนาโดยกองทหารรักษาการณ์เฉพาะกิจของเยอรมันที่ประกอบไปด้วยทหารประจำการ หน่วยทหารต่อต้านอากาศยาน ฟ็อลคส์ชตวร์ม และกองกำลังติดอาวุธสนับสนุนพรรคนาซี นายพลไอเซนฮาวร์และแบรดลีย์ได้หารือข้อสรุปว่าการผลักดันเกินกว่าที่แม่น้ำเอลเบนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย เนื่องจากเยอรมนีตะวันออกได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้วในทุกกรณีที่ถูกยึดครองโดยกองทัพแดง กองทัพที่หนึ่งและเก้าได้หยุดทัพตามแนวแม่น้ำเอลเบและมัลเด(Mulde) ทำการติดต่อกับกองทัพโซเวียตที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำเอลเบในปลายเดือนเมษายน กองทัพสหรัฐที่สามได้แผ่ขยายออกไปทางด้านตะวันออกโดยไปทางภาคตะวันตกเข้าสู่เชโกสโลวาเกีย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่บาวาเรีย และทางภาคเหนือเข้าสู่ออสเตรีย ในวัยชัยแห่งยุโรป กองทัพกลุ่มที่ 12 ของสหรัฐเป็นกองกำลังจากทั้งสี่กองทัพ(หนึ่ง, สาม, เก้า และสิบห้า) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1.3 ล้านนาย[20]

จุดจบของจักรวรรดิไรช์ที่สาม[แก้]

ประชาชนต่างได้รวมตัวกันในเมือง ไวต์ฮอล เพื่อฟังคำกล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะของวิสตัน เชอร์ชิลและเฉลิมฉลองชัยชนะในยุโรป, 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

กองทัพกลุ่มที่ 6 ได้แผ่ขยายออกไปยังภาคตะวันตกเฉียงใต้ เคลื่อนทัพผ่านทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ไปจนถึงบาวาเรียและเข้าสู่ออสเตรียและทางตอนเหนือของอิตาลี Black Forest และ Baden ถูกบุกรุกโดยกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่ง ได้มีการตั้งรับอย่างแน่วแน่ในเดือนเมษายนโดยกองทัพเยอรมันที่อยู่ในเมืองไฮล์บร็อน เนือร์นแบร์ค และมิวนิก, แต่กลับถูกพิชิตลงได้หลังผ่านไปหลายวัน ส่วนหนึ่งของกองพลทหารราบสหรัฐที่ 3 เป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกลุ่มแรกที่เดินทางไปถึงแบร์ชเทิสกาเดินซึ่งพวกเขายึดครองมาได้ ในขณะที่กองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 ได้เข้ายึดแบร์คโฮฟ(บ้านพักตากอากาศบนเทือกเขาแอลป์ของฮิตเลอร์) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมันกลุ่มจีได้ยอมจำนนต่อกองทัพสหรัฐที่ฮารร์ ในบาวาเรีย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม จอมพลมอนต์โกเมอรีได้รับการยอมจำนนของทหารเยอรมันของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์ ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและเดนมาร์กบน Lüneburg Heath พื้นที่ระหว่างเมืองฮัมบวร์ค ฮันโนเฟอร์ และเบรเมิน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เช่นเดียวกับผู้บัญชาการปฏิบัติการของกองทัพบางส่วนนี้คือ พลเรือเอก คาร์ล เดอนิทซ์ Reichspräsident(ประมุขแห่งรัฐ)คนใหม่ของไรช์ที่สามได้ยินยอมที่จะเซ็นลงนามสัญญาสงบศึกเป็นอันสงครามในยุโรปสิ้นสุดลง

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่สำนักงานใหญ่ของเขาในแร็งส์ ไอเซนฮาวร์ได้รับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกองทัพเยอรมันทั้งหมดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต[21] จากหัวหน้าเสนาธิการเยอรมัน นายพล อัลเฟรท โยเดิล เป็นผู้ลงนามคนแรกในตราสารยอมจำนนที่เวลา 0241 ชั่วโมง นายพล Franz Böhme ได้ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกองกำลังทหารเยอรมันในนอร์เวย์ การดำเนินการได้หยุดลงที่เวลา 2301 ชั่วโมงตามเวลายุโรปกลาง(CET) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ในวันเดียวกัน จอมพล วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ในฐานะที่เป็นหัวหน้าของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์(OKW)และหัวหน้าของโยเดิล ได้ถูกนำตัวไปหาจอมพล เกออร์กี จูคอฟ ในคาร์ลชอร์สท์และเซ็นลงนามในตราสารยอมจำนนอีกครั้งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการลงนามในแร็งส์ โดยมีการเพิ่มเติมที่เล็กน้อยสองครั้งที่ถูกเรียกร้องโดยโซเวียต[22]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Vichy officially pursued a policy of armed neutrality and conducted military actions against armed incursions from both Axis and Allied belligerents. The cease fire and pledging of allegiance to the Allies of the Vichy troops in French North Africa during operation Torch convinced the Axis that Vichy could no longer be trusted to continue this policy, so they invaded and occupied the French rump state in November 1942.
  2. Ellis provides no figure for Danish casualties, he places Norwegian losses at 2,000 killed or missing with no information provided on those wounded or captured. Dutch casualties are placed at 2,890 killed or missing, 6,900 wounded, with no information provided on those captured. Belgian casualties are placed at 7,500 killed or missing, 15,850 wounded, and 200,000 captured. French casualties amounted to 120,000 killed or missing, 250,000 wounded, and 1,450,000 taken prison. British losses totalled to 11,010 killed or missing, 14,070 wounded (only those who were evacuated have been counted), and 41,340 taken prisoner.[2] Losses in 1940, according to Ellis' information, thus amount to 2,121,560.
  3. 360,000 dead or wounded, and 1,900,000 captured[3]
  4. American: 109,820 killed or missing, 356,660 wounded, and 56,630 captured; British: 30,280 killed or missing, 96,670 wounded, 14,700 captured; Canadian: 10,740 killed or missing, 30,910 wounded, 2,250 captured; French: 12,590 killed or missing, 49,510 wounded, 4,730 captured; Pole: 1,160 killed or missing, 3,840 wounded, 370 captured.[4]
    Thus according to Ellis' information, the Western Allies incurred 783,860 casualties.
  5. 43,110 Germans killed or missing, 111,640 wounded, no information is provided on any who were captured. Italian losses amounted to 1,250 killed or missing, 4,780 wounded, and no information is provided on any who were captured.[2]
  6. Germany: 157,621 casualties (27,074 dead (The final count of the German dead is possibly as high as 49,000 men when including the losses suffered by the Kriegsmarine, because of additional non-combat causes, the wounded who died of their injuries, and the missing who were confirmed as dead.[5] However this higher figure has not been used in the overall casualty figure), 111,034 wounded, 18,384 missing,[5][6][7] as well as 1,129 aircrew killed.[8] Italy: 6,029 casualties (1,247 dead or missing, 2,631 wounded, and 2,151 hospitalised due to frostbite[ต้องการอ้างอิง]; Italian forces were involved in fighting in the French Alps, where severe sub-zero temperatures is common even during the summer.)
  7. German losses between June 1941 and 10 April 1945, on the Western Front for the army only, amounted to 80,820 killed, 490,260 missing, and 265,526 wounded.[4]
  8. Total German casualties between September 1939 to 31 December 1944, on the Western Front for both the army, Waffen SS, and foreign volunteers amounts to 128,030 killed, 399,860 wounded, and 7,614,790 captured (including 3,404,950 who were disarmed following the surrender of Germany)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. MacDonald, C (2005), The Last Offensive: The European Theater of Operations. University Press of the Pacific, p.478
  2. 2.0 2.1 Ellis, p.255
  3. Hooton 2007, p. 90.
  4. 4.0 4.1 4.2 Ellis, p. 256
  5. 5.0 5.1 Frieser (1995), p. 400
  6. L'Histoire, No. 352, April 2010 France 1940: Autopsie d'une défaite, p. 59.
  7. Shepperd (1990), p. 88
  8. Hooton 2010, p. 73.
  9. Biennial Reports of the Chief of Staff of the United States Army July 1, 1943, to June 30, 1945 to the Secretary of War (1945) p. 202
  10. German deployments to the Western Front (including North Africa and Italy) reached levels as high as approximately 40% of their ground forces, and 75% of the Luftwaffe. During 1944, there were approximately 69 German divisions in France, in Italy there were around 19. (Approximate data is given because the number of units changed over time as a result of troop transfers and the arrival of new units.) Keegan, John (1997). The Second World War. Source-Axis History Factbook. According to David Glantz PDF เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, In January 1945 the Axis fielded over 2.3 million men, including 60 percent of the Wehrmacht's forces and the forces of virtually all of its remaining allies, against the Red Army. In the course of the ensuing winter campaign, the Wehrmacht suffered 510,000 losses in the East against 325,000 in the West. By April 1945, 1,960,000 German troops faced the 6.4 million Red Army troops at the gates of Berlin, in Czechoslovakia, and in numerous isolated pockets to the east, while four million Allied forces in western Germany faced under one million Wehrmacht soldiers. In May 1945 the Soviets accepted the surrender of almost 1.5 million men, while almost one million more fortunate Germans soldiers surrendered to the British and Americans, including many who fled west to escape the dreaded Red Army.
  11. North West Europe 1942 เก็บถาวร 2008-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน regiments.org เก็บถาวร 4 พฤษภาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Dieppe เก็บถาวร 2007-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.canadiansoldiers.com เก็บถาวร 17 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Zaloga, Dennis p. 88
  14. 2,055,575 German soldiers surrendered between D-Day and April 16, 1945, The Times, April 19 p 4; 755,573 German soldiers surrendered between April 1 and 16, The Times, April 18 p 4, which means that 1,300,002 German soldiers surrendered to the Western Allies between D-Day and the end of March 1945.
  15. Time Inc (April 30, 1951). LIFE. Time Inc. p. 66.
  16. "THE RHINE CROSSINGS". Ushmm.org. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  17. Willis, p. 17
  18. "Central Europe, p. 32". History.army.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-22. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  19. "12th Army Group Situation Map for 18 April 1945". Wwii-photos-maps.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  20. John C. Frederiksen, American Military Leaders, p.76, Santa Barbara: ABC-CLIO, 1999, ISBN 1-57607-001-8
  21. Germans played for time in Reims. Original emissaries had no authority to surrender to any of the Allies. New York Times, 9 May 1945
  22. Keitel is defiant at Berlin ritual. The New York Times. 10 May 1945