อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช

พิกัด: 13°45′38″N 100°29′6″E / 13.76056°N 100.48500°E / 13.76056; 100.48500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิริราช

Siriraj
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′38″N 100°29′6″E / 13.76056°N 100.48500°E / 13.76056; 100.48500
เจ้าของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (สายสีแดงอ่อน)
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) (สายสีส้ม)
สาย     สายสีแดงอ่อน (โครงการ)
     สายสีส้ม (โครงการ)
การเชื่อมต่อ ท่ารถไฟ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน (สายนครวิถี)
ใต้ดิน (สายสีส้ม)
ข้อมูลอื่น
สถานะโครงการในอนาคต
ยังไม่เริ่มก่อสร้าง
รหัสสถานีRWS03 (สายนครวิถี)
OR02 (สายสีส้ม)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการยังไม่กำหนด
การเชื่อมต่อ
โครงการในอนาคต
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง สถานีต่อไป
บางขุนนนท์ สายสีแดงอ่อน
ตลิ่งชัน – ศิริราช
สถานีปลายทาง
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางขุนนนท์
สถานีปลายทาง
สายสีส้ม
ตะวันตก
สนามหลวง
มุ่งหน้า สุวินทวงศ์
ที่ตั้ง
แผนที่

อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช (รหัส OR02 (สายสีส้ม), RWS03 (สายสีแดงอ่อน)) เป็นโครงการพัฒนาอาคารศูนย์การแพทย์รวมแห่งใหม่ที่จะใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมของโรงพยาบาลศิริราช และยังเป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ซึ่งมีแนวเส้นทางพาดผ่านตัวโรงพยาบาลศิริราชโดยตรง

จุดที่ตั้งสถานีแห่งนี้มีความสำคัญมากในด้านประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับกรุงธนบุรีในอดีต และในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเคยเป็นต้นทางของทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายมรณะ ไทย-พม่า ที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

ประวัติ[แก้]

ใน พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพักรักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์ได้ทรงเห็นถึงปัญหาในการจราจรโดยรอบพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อธิการบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้นำถวายการรักษาและคณะแพทย์ที่ร่วมถวายการรักษาในขณะนั้น รวบรวมปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และสั่งจัดทำแผนบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ในพื้นที่โรงพยาบาลฯ นอกพื้นที่โรงพยาบาลฯ ตลอดจนพื้นที่โดยรอบ จนในที่สุดคณะแพทย์ร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำแผนโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชในพระราชดำริจำนวน 8 โครงการ คือการก่อสร้างสะพานลอยฟ้า ถนนลอยฟ้า ถนนโลคัลโรดโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช การขยายถนนอรุณอัมรินทร์ การเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มจากเส้นทางเดิมให้มาลอดผ่านโรงพยาบาลศิริราช และการร่างเส้นทางแยกช่วงตลิ่งชัน - ธนบุรี-ศิริราช ของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน เป็นต้น[1]

ต่อมาใน พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลศิริราชได้มีแนวคิดที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่เพื่อใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมที่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก และเริ่มมีสภาพทรุดโทรมตามเวลา ทางโรงพยาบาลจึงได้ประสานไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อขอให้มีการย้ายตำแหน่งทั้งสองสถานีมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และพัฒนาโครงการในรูปแบบบูรณาการให้เป็นสถานีแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเล็งเห็นให้มีการเชื่อมต่อการรักษาเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาการเดินทาง และลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลได้ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนเห็นชอบ และให้เจ้าของโครงการทั้งสองหน่วยงานคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกแบบการเชื่อมต่อสถานีร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้ผู้ป่วยเท่าที่จะเป็นไปได้

ทั้งสามหน่วยงานได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการก่อสร้างโครงการร่วมกันเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดย หน่วยงานร่วมของ รฟม. และ รฟท. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างสถานีรถไฟร่วม คือสถานีรถไฟใต้ดิน และสถานีรถไฟระดับดิน รวมถึงก่อสร้างฐานอาคารทั้งหมดตั้งแต่ชั้น B3 ถึงชั้น 2 เมื่อการก่อสร้างในส่วนของรถไฟฟ้าแล้วเสร็จประมาณ 80% แล้ว โรงพยาบาลจะเข้าก่อสร้างอาคารส่วนที่เหลือทั้งหมดจนแล้วเสร็จทั้งโครงการ ทั้งนี้โรงพยาบาลคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ทุกส่วนภายใน พ.ศ. 2566 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง[2] ต่อมาในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ รฟท. ได้อนุมัติให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รับสิทธิ์เช่าช่วงพื้นที่สถานีรถไฟธนบุรีเพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าว โดยให้สิทธิ์การเช่าช่วง 30 ปี และคิดอัตราค่าเช่าพื้นที่เป็นตารางเมตร ปรับเพิ่ม 5% ทุกปี ตามระเบียบการเช่าที่ราชพัสดุของการรถไฟแห่งประเทศไทย[3]

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช โดยใช้งบประมาณ 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบบุคลากร 113.01 ล้านบาท[4]

ที่ตั้ง[แก้]

อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีเดิม ติดกับอาคารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

แผนผังอาคาร[แก้]

พื้นที่เตรียมการก่อสร้างในอนาคต
9-15
หอผู้ป่วยใน
หอผู้ป่วยใน, จุดบริการผู้ป่วย
4-8
ศูนย์การแพทย์รวม
ศูนย์การแพทย์รวม, จุดบริการผู้ป่วย
3
จุดคัดกรองผู้ป่วย
จุดคัดกรองผู้ป่วยนอก, จุดให้บริการรวมโรงพยาบาล, กองอำนวยการ
ลิฟต์ไปยังสถานีสายสีแดงอ่อน และสายสีส้ม
2
ชั้นลอย
ชั้นห้องเครื่อง และสำนักงานสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
ทางเดินเชื่อมโรงพยาบาลศิริราช ฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ และโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ลิฟต์ไปยังสถานีสายสีแดงอ่อน และสายสีส้ม
G
สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
ชานชาลา 1 สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ทางลงชานชาลาสายสีส้ม
ชานชาลา 2 สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน
โถงต้อนรับ ทางขึ้นจุดคัดกรองผู้ป่วย, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ทางเดินเชื่อมท่าวังหลัง (ศิริราช)
B1
ลานจอดรถ
ลานจอดรถ
B2
ลานจอดรถ
ลานจอดรถ
B3
สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางขึ้นไปจุดคัดกรองผู้ป่วย, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ทางขึ้นชานชาลาสายสีแดงอ่อน
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีสุวินทวงศ์
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
B5
ห้องเครื่อง
ชั้น Plant ชั้นห้องเครื่อง
B6
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีบางขุนนนท์
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระเมตตา ‘ในหลวง’ รัชกาลที่ 9 ศิริราชมิรู้ลืม
  2. “ศิริราช” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดตึกผู้ป่วยนอกสูง 15 ชั้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีแดง-สีส้ม สร้าง 3 ปีเสร็จ
  3. บอร์ด รฟท.ไฟเขียวตั้งรองผู้ว่าฯ-เตรียมเวนคืน 1.8 หมื่นไร่สร้างทางคู่สายใหม่ “บ้านไผ่-นครพนม”
  4. "อนุมัติ 3.85 พันล้าน เชื่อมสถานี รพ.ศิริราช-รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน-ส้ม". Thai PBS.