สถานีบางขุนนนท์

พิกัด: 13°45′48″N 100°28′24″E / 13.7633°N 100.4732°E / 13.7633; 100.4732
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางขุนนนท์
BL04
OR01
RWS02

Bang Khun Non
มองจากถนนจรัญสนิทวงศ์ฝั่งทางรถไฟทางไกล
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′48″N 100°28′24″E / 13.7633°N 100.4732°E / 13.7633; 100.4732
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายสีน้ำเงิน
     สายสีส้ม (โครงการ)
     สายสีแดงอ่อน (โครงการ)
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
การเชื่อมต่อ ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL04
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-23)[1]
ผู้โดยสาร
25641,087,281
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางยี่ขัน
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน บางซื่อ
สายสีน้ำเงิน ไฟฉาย
มุ่งหน้า ท่าพระ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายสีส้ม ศิริราช
มุ่งหน้า แยกร่มเกล้า
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง สถานีต่อไป
จรัญสนิทวงศ์ สายสีแดงอ่อน ศิริราช
มุ่งหน้า ตลิ่งชัน
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีบางขุนนนท์ (อังกฤษ: Bang Khun Non Station, รหัส BL04 (สายสีนํ้าเงิน) รหัส OR01 (สายสีส้ม) และรหัส RWS02 (สายนครวิถี)) เป็นสถานีรถไฟฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และ รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี ในอนาคต[2] โดยสถานีตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนสุทธาวาส ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณสถานี

สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ระหว่างสี่แยกบางขุนนนท์ (จุดบรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนบางขุนนนท์ และซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 หรือซอยวัดสุวรรณาราม ทางเข้าสำนักงานเขตบางกอกน้อย) และจุดตัดทางรถไฟสายตะวันตก ทางแยกถนนสุทธาวาส และถนนเลียบทางรถไฟตัดใหม่ (บางขุนนนท์-สถานีชุมทางตลิ่งชัน) ส่วนสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตั้งอยู่ใต้ถนนเลียบทางรถไฟตัดใหม่ ใกล้กับป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่แขวงบางขุนนนท์, แขวงบางขุนศรี และแขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนจรัญสนิทวงศ์, แยกบางขุนนนท์, ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีเชื่อมต่อระบบ กับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ในอนาคต)

รูปแบบของสถานี[แก้]

ชานชาลาสถานี

สถานีของสายเฉลิมรัชมงคลเป็นสถานียกระดับ ชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) ส่วนสถานีของสายสีส้มเป็นสถานีใต้ดินในแนวตัดขวางตามแนวถนนสุทธาวาส ใช้ชานชาลากลางเนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง

สะพานสำหรับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของวัดนางชี

เหนือชานชาลาและรางรถไฟของสถานีมีสะพานเหล็กข้ามสำหรับใช้ในงานแห่พระบรมสารีริกธาตุหรือประเพณีชักพระของวัดนางชี ที่มีขึ้นทุกปีในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 เนื่องจากตามประเพณีฯ การแห่ฯ จะล่องเรืออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปตามคลองด่านและคลองบางกอกใหญ่ เมื่อขบวนแห่จะผ่านสะพานแห่งใด ก็จะอัญเชิญฯ ขึ้นเหนือสะพานโดยใช้การชักรอกก่อนจะหย่อนกลับลงเรือที่จอดรออีกฟากของสะพาน ซึ่งด้านปลายของสะพานในสถานีจะมีอุปกรณ์ชักรอกขึ้นไปด้วยเช่นกัน[3][4]

ด้านปลายของสะพานสำหรับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางออก 1
ทางออก 4
  • 1 ถนนสุทธาวาส, วัดสุทธาวาส, ตลาดศาลาน้ำเย็น, ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ลิฟต์)
  • 2 ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน, จุดเชื่อมต่อป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ลิฟต์)
  • 3 สำนักงานเขตบางกอกน้อย, ถนนบางขุนนนท์
  • 4 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

  • 3 ชั้นชานชาลา
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร และพื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนในอนาคต

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[5]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:43 23:17
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:02 23:17
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 23:08
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ - ศุกร์ 05:47 00:20
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:56 00:20

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ใกล้สถานีฯ

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ป้ายรถเมล์ตรงทางออกที่ 4

ถนนจรัญสนิทวงศ์[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
68 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ บางลำพู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
สมุทรสาคร 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

80 (1) วัดศรีนวลธรรมวิมล สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
สน.หนองแขม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการตลอดคืน
189 (1) กระทุ่มแบน (วัดบางยาง)
198 (3) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) BTS บางหว้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ผ่านสถานีเฉพาะขาไปบางขุนนท์ฝั่งเดียว
มีรถให้บริการน้อย
509 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)


  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ (มุ่งหน้าแยกบางขุนนนท์) : สาย 40 42(4-10) 56 57 68 80 108 175 189 198 509
  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ (มุ่งหน้าแยกไฟฉาย) : สาย 40 42 56 57 68 80 108 175 189 509
  • ถนนบางขุนนนท์ : สาย 57 79 รถสองแถวสายศิริราช - บางขุนนนท์ และ ตลาดบางขุนศรี - สวนผัก

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "MRT สีน้ำเงิน เปิดครบทุกสถานี นั่งฟรีถึงปีหน้า". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23.
  2. "สถานีบางขุนนนท์ จุดเชื่อมต่อแห่งอนาคต". เรนเดอร์ไทยแลนด์ดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-15. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม–อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า". BLT Bangkok. กรุงเทพมหานคร: BLT Bangkok. 2019-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
  4. "โครงสร้างที่ใช้รองรับรอกไฟฟ้า เพื่อใช้ใน "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ" หรือ "งานชักพระวัดนางชี"". BKKTrains. 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
  5. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]