ตรีมูรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรีมูรติ
พระเจ้าสูงสุดในสากลจักรวาล
พลัง3ประการของพระเจ้าคือ1.การสร้างทุกสรรพสิ่ง 2.การปกป้องรักษา 3.การทำลายเพื่อให้เกิดการเริ่มต้นที่ดี
ปรพรหมัน
พระศิวะ (ซ้าย), พระวิษณุ (กลาง) และพระพรหม (ขวา)
ส่วนเกี่ยวข้อง
ที่ประทับ
มนตร์Om Tridevaya Namah
อาวุธ
พาหนะ
คู่ครองตรีเทวี:

ตรีมูรติ (อังกฤษ: Trimurati, Trinity; สันสกฤต: त्रिमूर्ति, อักษรโรมัน: trimūrti) เป็นพระเจ้า3องค์สูงสุดในศาสนาฮินดู[1][2][3][4] และมีตรีเทวีเป็นเทพีสามองค์ผู้เป็นชายาของตรีมูรติและเป็นศักติหรือพลังอำนาจของมหาเทพทั้ง3ด้วย[5]

คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป[6]

ความเชื่อในประเทศไทย[แก้]

ศาลพระตรีมูรติที่เอ็มไพร์ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเทวรูปศิลปะเขมร

พระตรีมูรติในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เชื่อมโยงไปครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พระตรีมูรติเป็นเทพผู้อารักขาวังเพ็ชรบูรณ์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสพระองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ถนนราชดำริ ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการทิ้งระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร และบริเวณที่ตั้งวังเพ็ชรบูรณ์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งถูกถล่มด้วยระเบิด มีเรื่องเล่าว่าแม้สถานที่ของวังฯ จะโดนระเบิดทิ้งลงมา แต่ระเบิดกลับไม่ทำงานหรือด้านไม่สามารถสร้างความเสียหายแก่วังเพ็ชรบูรณ์ได้ สร้างความแปลกใจให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก[7]

ความเข้าใจผิด[แก้]

ชาวไทยบางกลุ่มเชื่อว่าพระตรีมูรติเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก สามารถดลบันดาลให้ คู่รักชาย-หญิง สมหวังในความรักนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่เป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติ ทุกคืนในวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 21.30 น. บรรดาผู้ที่อยากสมหวังในความรักจะมาอธิษฐาน เพื่อให้ตนเองได้รับความสมหวังในความรักที่ปรารถนา ด้วยความเชื่อที่ว่า เวลา 21.30 น. ของวันนั้นมหาเทพจะเสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อรับคำอธิษฐาน

ในปัจจุบัน พบว่าในสังคมไทยพระตรีมูรติได้รับความนับถือในฐานะเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และส่วนมากยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับศาลพระสทาศิวะ[8] ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ สี่แยกราชประสงค์ ที่บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิร์ล พลาซ่า โดยส่วนมากยังมีความเข้าใจว่าเป็นพระตรีมูรติ ในอดีตเคยมีการนำพระตรีมูรติมาประดิษฐานที่วังเพชรบูรณ์ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยพระสทาศิวะจนถึงปัจจุบัน[9][10] ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดโรคร้าย ผู้สร้าง ผู้บวงสรวง พระสทาศิวะมีอำนาจบันดาลดั่งใจนึกใจหวัง สามารถขอพรได้ทุกสิ่งอย่าง นอกจากนี้พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผี หรือปีศาจอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Grimes, John A. (1995). Ganapati: Song of the Self. SUNY Series in Religious Studies. Albany: State University of New York Press. ISBN 0-7914-2440-5.
  2. Jansen, Eva Rudy (2003). The Book of Hindu Imagery. Havelte, Holland: Binkey Kok Publications BV. ISBN 90-74597-07-6.
  3. Radhakrishnan, Sarvepalli (Editorial Chairman) (1956). The Cultural Heritage of India. Calcutta: The Ramakrishna Mission Institute of Culture.
  4. Winternitz, Maurice (1972). History of Indian Literature. New Delhi: Oriental Books Reprint Corporation.
  5. Bahubali (18 March 2023). "Tridevi – the three supreme Goddess in Hinduism". Hindufaqs.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
  6. "พระตรีมูรติ มหาเทพ ผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 2012-04-02.
  7. "เซ็นทรัลเวิลด์ ที่ดินต้องคำสาป THE HEAD รูปปั้นอาถรรพ์ ?". เอ็มไทยดอตคอม. 22 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-07. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  8. หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ไม่ใช่พระตรีมูรติ ไม่ให้โชคเรื่องความรัก แถมยังมีประวัติแปล๊กแปลก
  9. พระตรีมูรติ..บันดาลรัก ตำนาน "รัก" ต้องคำสาป
  10. "ไปไหว้ "พระตรีมูรติ" เทพเจ้าแห่งความรัก..ในวันแห่งความรัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Trimurti