ศาสนาในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนิกชนทำพิธีกรรมที่ศรีรังคนาถสวามีมนเทียร, ศรีรังคัม
คริสต์ศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีกรรมที่โบสถ์ออร์โธดอกซ์ซีเรีย นครมุมไบ

ศาสนาในประเทศอินเดีย มีความหลากหลายทั้งในศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ และการปฏิบัติ โดยทางการแล้วประเทศอินเดียเป็นรัฐฆราวาส (secular state) และไม่มีศาสนาประจำชาติ อนุทวีปอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลกสี่ศาสนา ได้แก่ ศาสนาฮินดู, ศาสนาไชนะ, ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์ ข้อมูลจากสำมะโนประชากรปี 2011 ระบุว่าประชากรอินเดีย 75.5% นับถือศาสนาฮินดู, 14.2% นับถือศาสนาอิสลาม, 2.3% นับถือศาสนาคริสต์, 1.7% นับถือศาสนาซิกข์, 5.0% นับถือศาสนาพุทธ นับจำนวนชาวพุทธโดยมหาโพธิสมาคมทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย, 0.37% นับถือศาสนาไชนะ ทั้งศาสนาโซโรอัสเตอร์, Sanamahism และ ศาสนายูดาย ล้วนมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ในประเทศอินเดีย และมีผู้นับถืออยู่ศาสนาละหลายพันคน ประเทศอินเดียมีประชากรที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มากที่สุดในโลก (ทั้ง ปาร์ซี (parsi) และ อิรานี (irani)) และยังมีประชากรที่นับถือศาสนาบาไฮมากที่สุดในโลกเช่นกัน[1] ถึงแม้ทั้งสองศาสนานี้จะเติบโตขึ้นในแถบเปอร์เซียก็ตาม ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมมาตลอด ความหลากหลายทางศาสนาและการยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious toleration) ล้วนปรากฏในประเทศทั้งในทางกฎหมายและทางธรรมเนียมปฏิบัติ ในรัฐธรรมนูญอินเดียได้รับรองเสรีภาพทางศาสนาให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอินเดีย[2]

ในปัจจุบัน ศาสนิกชนของศาสนาฮินดูทั้งประเทศอินเดียมีคิดเป็น 94% [3] ของประชากรฮินดูทั้งโลก ศาสนสถานฮินดูส่วนมากก็ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียเช่นกัน ในฐานะที่ประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ เมืองปรยาคราช (รู้จักกันในชื่อเดิมคือ อลาหาบาด) เป็นที่ตั้งของสถานที่แสวงบุญฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปรยาคกุมภเมลา (Prayag Kumbh Mela) ที่ซึ่งชาวฮินดูจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเพื่ออาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ตรงจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสายของฮินดูไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวตี ชาวอินเดียโพ้นทะเลจำนวนมากในโลกตะวันตกได้นำปรัชญาฮินดูต่าง ๆ ไปเผยแพร่และสร้างความนิยมให้เกิดขึ้น เช่น การปฏิบัติโยคะ, การนั่งสมาธิ, การแพทย์แบบอายุรเวท (Ayurvedic Medicine), ดวงชะตา (divination), กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด[4] องค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาฮินดูได้นำคำสอนของฮินดูเผยแผ่ไปทั่วโลก ทั้ง สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติ หรือ หเรกฤษณะ, พรหมกุมารี (Brahma Kumari), อานันทมรรค (Ananda Marga) และองค์กรอื่น ๆ เป็นต้น อนุทวีปอินเดียยังมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก หนึ่งในสามของมุสลิมในโลกเป็นชาวอินเดียใต้[5][6][7] มีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2050 ประชากรมุสลิมในประเทศอินเดียจะโตขึ้นถึง 311 ล้านคน นำหน้าประเทศอินโดนีเซียขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าจะยังคงเป็นประเทศที่มีประชากรฮินดูเป็นหลักอยู่ก็ตาม (อยู่ที่ประมาณ 77%)[8][9]

ประชากร[แก้]

ศาสนาในประเทศอินเดีย (สำมะโนประชากร ปี 2011)[10]

  ไม่ระบุศาสนา (0.2%)
แผนที่ศาสนาในประเทศอินเดีย
  ศาสนิกชนฮินดู
  ชาวมุสลิม
  คริสต์ศาสนิกชน
  ศาสนิกชนซิกข์
  พุทธศาสนิกชน
  อื่น ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Peter (2008). An introduction to the Baha'i faith. Cambridge University Press. p. 94. ISBN 978-0-521-86251-6.
  2. Basu, Durga Das (2013). Introduction to the Constitution of India (21 ed.). LexisNexis. p. 124. ISBN 978-81-803-8918-4.
  3. Samirah Majumdar, "5 Facts About Religion in India", Pew Research Center, June 29, 2018
  4. P. 225 Essential Hinduism By Steven Rosen
  5. Pechilis, Karen; Raj, SelvJanuary 2013. South Asian Religions: Tradition and Today (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9780415448512.
  6. "10 Countries With the Largest Muslim Populations, 2010 and 2050". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  7. Diplomat, Akhilesh Pillalamarri, The. "How South Asia Will Save Global Islam". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  8. "5 facts about religion in India". Pew Research Center. June 29, 2018. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
  9. "India to have world's largest Muslim population by 2050". Khaleej Times. March 5, 2017. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
  10. "India has 79.8% Hindus, 14.2% Muslims, says 2011 census data on religion". Firstpost. 26 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-26. สืบค้นเมื่อ 14 August 2016.