ศาสนาผี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีบายศรีในกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว

ศาสนาผี (ลาว: ສາສະໜາຜີ) หรือ บ้านผี (อาหม: 𑜈𑜃𑜫 𑜇𑜣) เป็นศาสนาดั้งเดิมของกลุ่มชาวไท ศาสนานี้มีลักษณะเป็นสรรพเทวนิยม และแบบลักษณ์พหุเทวนิยม-วิญญาณนิยม ซึ่งรวมบทบาทหมอผี มีความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างแนวทางปฏิบัติของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูกับความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาผีเป็นศาสนาดั้งเดิมที่โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนกระทั่งศาสนาพุทธและพราหมณ์-ฮินดูเข้ามา อันมีพื้นฐานมาจากความเชื่อและความศรัทธาของชาวไทที่เชื่อว่ามีผีหรือเทพสิงสถิตย์อยู่ทุกในทุก ๆ ที่ ความเชื่อนี้กลุ่มชาติพันธุ์ลาวประมาณ 30.7% นับถือ[1][2][3] และชาวไทกลุ่มอื่น ๆ ที่มีการนับถือทั่วไปตามแต่ละท้องถิ่น กลมกลืนไปกับศาสนาใหม่ที่เผยแพร่เข้ามาในดินแดนแถบประเทศไทย โดยมีประเพณีคล้ายคลึงกันระหว่างคนอีสานคนไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศหลายประเทศในทางปฏิบัติ แต่ทั้งนี้การนับถือศาสนาผีหาได้ปรากฏเฉพาะชาวไทไม่ ชาวขมุและมอญ-เขมรอื่น ๆ ตลอดจนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง-เมี่ยน ทิเบต-พม่า และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นของลาวก็มีการนับถือผีในลักษณะใกล้เคียงกัน[3]

ผี เป็นเทพารักษ์สิ่งปลูกสร้างหรือพื้นที่ของสถานที่ สิ่งหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ผียังเป็นวิญญาณบรรพบุรุษและวิญญาณอื่นที่ปกปักผู้คน และยังมีวิญญาณมุ่งร้าย เทพารักษ์สถานที่ เช่น ผีวัด และหลักเมือง มีการเฉลิมฉลองด้วยการชุมนุมของชุมชนและการถวายอาหาร การแปลงเทพเจ้าฮินดูรวมอยู่ในรายการเทพเจ้าด้วย เทพเจ้ามิใช่ฮินดูพื้นเมืองเรียก ผีแถน[4] ผีแถนพบทั่วไป บางตนเชื่อมโยงกับธาตุสากล คือ สวรรค์ ดิน ไฟและน้ำ

ชาวไทยังเชื่อวิญญาณสามสิบสองตนที่เรียก ขวัญ ซึ่งปกปักร่างกาย และมีการประกอบพิธีกรรมบายศรี ระหว่างโอกาสสำคัญหรือเวลาที่มีความวิตกกังวลเพื่อผูกมัดวิญญาณกับร่างกาย และเชื่อว่าหากวิญญาณเหล่านี้ไม่อยู่กับตัวจะนำพาความเจ็บป่วยหรืออันตรายมา พิธีกรรมบายศรีเรียกขวัญทั้งสามสิบสองกลับมาเพื่อให้สุขภาพ ความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ดีของผู้เข้ารับพิธี มีการผูกสายฝ้ายรอบเอวของผู้เข้าร่วมพิธีเพื่อรักษาวิญญาณให้อยู่กับที่ มักมีการดำเนินพิธีกรรมเพื่อต้อนรับแขก ก่อนและหลังการเดินทางยาว และเป็นพิธีกรรมรักษาหรือหลังฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังเป็นพิธีกรรมศูนย์กลางในการแต่งงานลาวลุ่ม และพิธีการตั้งชื่อเด็กแรกเกิด[5]

ในชีวิตประจำวัน คนส่วนมากเคารพผีที่สถิตอยู่ในเรือนเจ้าที่และเรือนปู่ย่า (ศาลตาปู่) และเชื่อว่าปกป้องบริเวณใกล้เคียงจากอันตราย การถวายดอกไม้ธูปเทียน และมีการขอการคุ้มครองและความช่วยเหลือจากวิญญาณระหว่างการเปลี่ยนแปลงหรือช่วงยากลำบาก เทพเจ้าธรรมชาติมีเทพเจ้าที่สถิตอยู่ในต้นไม้ ภูเขาและป่า วิญญาณชั่วร้าย (ผีเผต) มีขวัญของคนชั่วในชาติก่อนหรือตายโหง เช่น ผีปอบ และผีดิบเทพเจ้าที่สัมพันธ์กับบางสถานที่เช่น ครัวเรือน แม่น้ำหรือป่ามิได้ดีหรือชั่วในตัวเอง และบางครั้งของถวายจะรับประกันการช่วยหลือเกื้อกูลในกิจการของมนุษย์[5]

ศาสนาผีในปัจจุบัน[แก้]

ในปัจจุบันนี้เรายังสามารถพบเห็นความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไท ได้ผสมผสานกับความเชื่ออื่น ๆ ที่ได้รับมาจากภูมิภาคเพื่อนบ้านทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธจากอนุทวีปอินเดียและความเชื่อพื้นเมืองของชาวจีน

สำหรับชาวไทยภาคกลาง, ไทยเชื้อสายจีนหรือไทยสยามนั้นได้ปรากฏหลักฐานหลงเหลือเรื่องความเชื่อศาสนาผีบ้าง อาทิเช่น กลุ่มผีหรือแถนที่ได้รับการยกย่องเสมอเทพชั้นสูงคือ พระหลักเมือง (ผีหลักเมือง) พระเสื้อเมือง (ผีเชื้อเมือง) พระทรงเมือง (ผีนั่งเมือง)

อ้างอิง[แก้]

  1. Pew Research Center's Global Religious Landscape 2010 - Religious Composition by Country เก็บถาวร 2018-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. Yoshihisa Shirayama, Samlane Phompida, Chushi Kuroiwa, 2006. p. 622, quote: «[...] Approximately 60 to 65% of the population, most of whom are Lao Lum (people of the lowlands) follow Buddhism. About 30% of the population, on the other hand, hold an animist belief system called "Sadsana Phee" [...]».
  3. 3.0 3.1 Guido Sprenger. Modern Animism: The Emergence of "Spirit Religion" in Laos. Local Traditions and World Religions: The Appropriation of “Religion” in Southeast Asia and Beyond. 2014.
  4. Poulsen, A. (2007). Childbirth and Tradition in Northeast Thailand. Copenhagen, Denmark: Nordic Institute of Asian Studies.
  5. 5.0 5.1 Ireson, W. Randall. "Animism in Laos". A country study: Laos (Andrea Matles Savada, editor). Library of Congress Federal Research Division (July 1994). บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ