ภาษามือไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามือไทย
ประเทศที่มีการพูด ไทย
จำนวนผู้พูด10,000 หรือมากกว่านั้น  (1997)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3tsq

ภาษามือไทย (Thai Sign Language หรือ ThSL) คือภาษามือทางการของประเทศไทย และใช้เป็นอย่างมากในประเทศไทย เทียบเป็น 20% ใน 56,000 คนหูหนวกก่อนรู้ภาษาที่ได้ไปที่โรงเรียน[2] ภาษามือไทยได้ชื่อว่าเป็น "ภาษาทางการของประเทศไทยสำหรับคนหูหนวก" ในสิงหาคม พ.ศ. 2542 ในการลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในนามของรัฐบาลไทย

ภาษามือไทยมีความเกี่ยวข้องกับภาษามืออเมริกัน รวมถึงจัดอยู่กลุ่มเดียวกันอีกด้วย[3] จากการสัมผัสของภาษาและการสร้างภาษาครีโอล จากการแนะนำโดยคนสอนภาษามือกับคนหูหนวกในปีคริสต์ทศวรรษ 1950 [4] ภาษามือของคนหูหนวกเป็นภาษาที่มีระบบไวยกรณ์ โครงสร้างของตนเอง และมีความหลากหลายเช่นเดียวกับภาษาพูดของผู้ที่มีการได้ยิน โดยภาษามือแต่ละถิ่นมีความแตกต่างกันออกไปตามการใช้ เช่นเดียวกับภาษาพูดภาษาไทยที่มีภาษาถิ่นอย่างหลากหลาย นอกจากนี้ภาษามือตามความเข้าใจของคนทั่วไปมักเข้าใจว่าภาษามือเป็นภาษาสากล แต่ภาษามือไม่ได้มีลักษณะที่ใช้เหมือนกันเป็นสากล กล่าวคือ ภาษามือในแต่ละประเทศก็มีภาษามือของตัวเอง เช่น ภาษามืออเมริกัน ภาษามือจีน ภาษามือญี่ปุ่น เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษามือไทย ที่ Ethnologue
  2. Reilly, Charles & Suvannus, Sathaporn (1999). Education of deaf people in the kingdom of Thailand. In Brelje, H.William (ed.) (1999). Global perspectives on education of the deaf in selected countries. Hillsboro, OR: Butte. pp. 367–82. NB.
  3. Woodward, James C. (1996). Modern Standard Thai Sign Language, influence from ASL, and its relationship to original Thai sign varieties. Sign Language Studies 92:227–52. (see p 245)
  4. Suvannus, Sathaporn (1987). Thailand. In Van Cleve, 282–84. In: Van Cleve, John V. (1987) (ed.) Gallaudet encyclopedia of deafness and deaf people. Washington, DC: Gallaudet University Press.