ภาษากะเหรี่ยงสะกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากะเหรี่ยงสะกอ
ကညီကျိာ်, K'nyaw
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-ksw
ประเทศที่มีการพูดพม่า, ไทย
ภูมิภาครัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า
ภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย
หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง
จำนวนผู้พูด3 ล้านคน  (2014)[1]
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
ระบบการเขียนอักษรพม่า
อักษรกะเหรี่ยง
อักษรละติน
อักษรเบรลล์กะเหรี่ยง
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ พม่า
(แม่แบบ:Country data Kayin State)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-2kar
ISO 639-3kswรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
ksw – S'gaw
jkp – Paku
jkm – Mopwa
wea – Wewaw
กลุ่มภาษากะเหรี่ยง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษากะเหรี่ยงสะกอ (S'gaw Karen) หรือ ภาษากะเหรี่ยงขาว หรือ ภาษาปกาเกอะญอ เป็นภาษาของชาวกะเหรี่ยงสะกอ มีผู้พูดทั้งหมด 1,584,700 คน พบในพม่า 1,284,700 คน (พ.ศ. 2526) ในลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในไทยพบ 300,000 คน (พ.ศ. 2530) ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย ใกล้แนวชายแดนพม่า ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือความเชื่อดั้งเดิมหรือศาสนาคริสต์จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษากลุ่มทิเบต-พม่า สาขากะเหรี่ยง สาขาย่อยสะกอ-บไฆ เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม

สัทวิทยา[แก้]

มีเสียงพยัญชนะต้นมากกว่าภาษาไทย ไม่มีเสียงตัวสะกด มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำมาก นอกจากกล้ำกับเสียง ร ล ว แล้ว ยังกล้ำกับเสียง ก (คล้ายเสียง g ในภาษาอังกฤษ) และเสียง ย ได้ด้วย มีสระเดี่ยวเท่ากับภาษาไทย แต่ความสั้นยาวของสระไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์ เสียงวรรณยุกต์มี 5 เสียง คือ

  • เสียงกลาง-ระดับ อาจมีเสียงขึ้นหรือตกเล็กน้อยในตอนท้าย คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย
  • เสียงกลาง-ตก คล้ายเสียงเอกกึ่งเสียงโทในภาษาไทย มีลมออกมามากกว่าปกติทำให้เสียงต่ำทุ้ม
  • เสียงสูงขึ้น-ตก คล้ายเสียงตรีกึ่งเสียงโทในภาษาไทย แต่เสียงสูงกว่าเล็กน้อย
  • เสียงสูง-ระดับ เกิดกับคำตายเสียงสั้น คล้ายกับเสียงตรีในคำตายเสียงสั้นในภาษาไทย เช่น พะ โต๊ะ
  • เสียงต่ำ-ระดับ เกิดเฉพาะคำตายเสียงสั้นเท่านั้นคล้ายกับเสียงเอกนำตายเสียงสั้นในภาษาไทย เช่น แกะ จุ ปะ

ตัวอย่างภาษาะเหรี่ยงสะกอ ได้แก่

  • ต่า กุ๊ ญ่า ถ่อ เตอ แจ๊ะ หา = อาการดีขึ้นหรือยัง
  • ซฺวี่ ถ่อ เตอ เจ๊ะ เตอ เจ๊ะ = เลือดออกซิบๆ

การเขียนด้วยอักษรโรมัน[แก้]

สระ[แก้]

  • a ตรงกับสระอาในภาษาไทยหรือเสียง a ในภาษาสเปนและภาษาอิตาลี
  • e ตรงกับสระเออในภาษาไทยหรือเสียงe ในภาษาฝรั่งเศส
  • i ตรงกับสระอีในภาษาไทยหรือเสียงe ในภาษาสเปนและภาษาอิตาลี
  • o ตรงกับสระโอในภาษาไทยหรือเสียง o ของภาษาสเปน
  • u ไม่ตรงกับสระในภาษาไทยเป็นเสียงที่อยู่ระหว่างสระอูกับสระอือ หรือระหว่าง u กับ i ในภาษาสเปน
  • ai ตรงกับสระแอในภาษาไทย
  • ei ตรงกับสระเอในภาษาไทย
  • au ตรงกับสระออในภาษาไทย
  • oo ตรงกับสระอูในภาษาไทย
  • ' ตรงกับสระเออะในภาษาไทย เป็นเสียงสั้นๆ

พยัญชนะ[แก้]

  • k ตรงกับไทย ก เช่น ka = ก๊ะ
  • hk ตรงกับไทย ค เช่น hka = คะ
  • g เหมือน g ในภาษาอังกฤษ แต่เป็นเสียงในลำคอมากกว่าภาษาอังกฤษ
  • q ออกเสียงในลำคอพร้อมกับพ่นเสียง คล้าย j ในภาษาสเปน
  • ng ตรงกับภาษาไทย ง
  • c ตรงกับภาษาไทย จ คล้ายกับเสียง ch ในภาษาอังกฤษแต่เสียงเบกว่า
  • ns ตรงกับภาษาไทย ช คล้ายเสียง ch ในภาษาสเปน
  • ny ตรงกับภาษาไทย ญ หรือเสียง n ในภาษาสเปน
  • t ตรงกับภาษาไทย ต
  • ht ตรงกับภาษาไทย ท
  • d ตรงกับภาษาไทย ด
  • n ตรงกับภาษาไทย น
  • p ตรงกับภาษาไทย ป หรือ p ในภาษาสเปน
  • hp ตรงกับภาษาไทย พ หรือ p ในภาษาอังกฤษ
  • b ตรงกับภาษาไทย บ
  • m ตรงกับภาษาไทย ม
  • y ตรงกับภาษาไทย ย แต่มีชาวกะเหรี่ยงบางกลุ่มออกเสียงคล้าย z ในภาษาอังกฤษ
  • r ตรงกับภาษาไทย ร หรือ r ในภาษาสเปน
  • l ตรงกับภาษาไทย ล
  • w เป็นเสียงระหว่างไรฟัน v หรือเสียง f เบาๆ
  • s ตรงกับภาษาไทย ซ
  • h ตรงกับภาษาไทย ฮ หรือ j ในภาษาสเปน
  • eh ตรงกับภาษาไทย เอ้อ
  • ah ตรงกับภาษาไทย อ๋า

วรรณยุกต์[แก้]

การเขียนวรรณยุกต์ในภาษากะเหรี่ยงมีสองแบบคือแบบที่แทนด้วยตัวสะกด นิยมใช้ในการพิมพ์ กับแบบที่ใส่เป็นเครื่องหมายบนสระ นิยมใช้กับการเขียนด้วยมือ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • av หรือ ă เป็นเสียงสูงกลาง ออกเสียงในเวลาสั้นๆ คล้ายเสียงตรีในภาษาไทย
  • aj หรือ à เสียงกลาง-ตก คล้ายเสียงเอกกึ่งเสียงโทในภาษาไทย
  • af หรือ ä เสียงสูงขึ้น-ตก คล้ายเสียงตรีกึ่งเสียงโทในภาษาไทย
  • ax หรือ â เสียงต่ำ ออกเสียงในเวลาสั้น คล้ายเสียงเอกในภาษาไทย
  • az หรือ ā เสียงกลาง ออกเสียงยาว คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย
  • a เสียงกลางสูง ออกเสียงปกติแต่สั้นกว่า az

ไวยากรณ์[แก้]

สรรพนาม[แก้]

  • y' บุรุษที่หนึ่งเอกพจน์ เป็นประธานของประโยค
  • yaz บุรุษที่หนึ่งเอกพจน์ เป็นกรรม
  • p'waiseif บุรุษที่ 1 พหูพจน์ เป็นได้ทั้งกรรมและประธาน
  • pgaz บุรุษที่ 1 พหูพจน์ เป็นกรรม
  • naz บุรุษที่สองเป็นกรรม
  • n' บุรุษที่สอง เป็นประธาน
  • su หรือ suwaiseif บุรุษที่ 2 พหูพจน์ เป็นได้ทั้งกรรมและประธาน
  • av หรือ av wei บุรุษที่สาม เอกพจน์ เป็นได้ทั้งกรรมและประธาน และใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตและสัตว์ได้ด้วย
  • auz บุรุษที่ 3 ใช้ได้กับทั้งมีและไม่มีชีวิต แต่เป็นกรรมเท่านั้น

คุณศัพท์[แก้]

วางไว้ข้างหลังคำนามที่ขยาย คำวิเศษณ์อยู่ข้างหลังคำกริยาที่ขยายเช่นกัน

ประโยค[แก้]

โครงสร้างประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำที่ใช้บอกหน้าที่ของคำเป็นแบบปรบท

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษากะเหรี่ยงสะกอ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    S'gaw ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Paku ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Mopwa ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Wewaw ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  • โยเซฟ เซกีมอต. พจนานุกรมปกาเกอะญอ-ไทย-ฝรั่งเศส-อังกฤษ.กทม. หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549
  • ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำ สำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]