ภาษาปลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาปลัง
ประเทศที่มีการพูดมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
จำนวนผู้พูด37,200 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3blr

ภาษาปลังหรือภาษาบลัง ภาษาปูลัง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาปะหล่อง มีผู้พูดทั้งสิ้น 37,200 คน พบในจีน 24,000 คน (พ.ศ. 2533) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน ในสิบสองปันนา บางส่วนอยู่ร่วมกับชาวว้า ผู้พูดภาษานี้มักใช้ภาษาไท ภาษาว้าหรือภาษาจีนได้ด้วย พบในพม่า 12,000 คน (พ.ศ. 2537) ทางตะวันออกของรัฐฉาน พบในไทย 1,200 คน ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และในกรุงเทพฯ อัตราการรู้หนังสือต่ำ อพยพมาจากสิบสองปันนาโดยเข้าไปอยู่ในพม่าระยะหนึ่งแล้วจึงเข้ามาไทยเมื่อ พ.ศ. 2517

มีสำเนียงท้องถิ่นอย่างน้อย 7 สำเนียง คือ กอนตอย จงมอย สะแตง แพมยอง กอนมาก ปังโลชิ และกอนกาง ในจีนเขียนด้วยอักษรไทลื้อหรืออักษรไทใต้คง ใกล้เคียงกับภาษาว้า เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม คำขยายตามหลังนาม มีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง



อ้างอิง[แก้]

  • สุริยา รัตนกุล. นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและภาษาตระกูลจีน-ธิเบต. กทม. ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2531
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/