มนตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสงฆ์กำลังสวดมนต์ ทำวัตร ในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

มนตร์ (สันสกฤต: मन्त्र) หรือ มนต์ (บาลี: manta) คำศักดิ์สิทธิ์หรือคำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล[1] พบในศาสนาแบบอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ โดยทั่วไปมักเป็นคำสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ศาสนาพุทธ[แก้]

ในศาสนาพุทธ มีการใช้พุทธมนต์ในหลายนิกาย ในแต่ละนิกายมีมนต์สำคัญดังนี้

นิกาย มนตร์
วัชรยาน โอมฺ มณิปทฺเม หูํ ॐ मणिपद्मे हूं
สุขาวดี โอมฺ อมิตาภ หฺรีะ
นิจิเร็ง นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว

ศาสนาฮินดู[แก้]

นิกาย มนตร์
ลัทธิไศวะ โอมฺ นมะ ศิวาย ॐ नमः शिवाय
ลัทธิไวษณพ โอมฺ วิษฺณเว นมะ ॐ विष्णवे नमः
ลัทธิคณปัตยะ โอมฺ ศฺรี คเณศาย นมะ ॐ श्री गणेशाय नमः
ลัทธิศักติ Om aim hreem kreem shreem ॐ ऐं ह्रीं क्लीं श्रीं

ลัทธิอนุตตรธรรม[แก้]

ลัทธิอนุตตรธรรมเรียกมนตร์ว่ารหัสคาถา หรือ สัจจคาถา (จีน: 口訣) และเชื่อว่าพระแม่องค์ธรรมได้แบ่งธรรมกาลออกเป็น 3 ยุค เรียกว่ายุคสามกัปสุดท้าย ในแต่ละยุค พระแม่จะมอบหมายให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปกครองและมีรหัสคาถากำหนดไว้แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้[2]

ธรรมกาล ระยะเวลา ผู้ปกครอง รหัสคาถา
ยุคเขียว 1886 ปี พระทีปังกรพุทธเจ้า อู๋เลี่ยงโซ่วฝอ
ยุคแดง 3,140 พระศากยมุนีพุทธเจ้า หนันอู๋อาหมีถัวฝอ
ยุคขาว 10,800 ปี พระศรีอริยเมตไตรย อู๋ไท่ฝอหมีเล่อ

สัจจคาถาถือเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นความลับของสวรรค์ ห้ามจดบันทึก ห้ามนำไปบอกต่อ มีเฉพาะผู้ได้รับอาณัติแห่งสวรรค์ (ได้แก่ จู่ซือ เหล่าเฉียนเหริน เฉียนเหริน และเตี่ยนฉวนซือ) เท่านั้นที่เปิดเผยสัจจคาถาได้ เมื่อเผชิญภัยอันตรายท่องคาถานี้แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้พ้นอันตรายและวิบากกรรมต่าง ๆ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 878
  2. สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 24-40
  3. เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ, ธรรมประธานพร เล่ม ๕, เชียงใหม่: บี.เอส.ดี การพิมพ์, 2547, หน้า 185-191