พระแม่คงคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่คงคา
เทวีแห่งความบริสุทธิ์
เทพธิดาผู้รักษาแม่น้ำคงคา
พระคงคาประทับบนมกร ศิลปะแบบประเพณีเบงกอล.
ส่วนเกี่ยวข้องเทพธิดา
หนึ่งในเจ็ดแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู
โยคินี
เทพเจ้าแห่งธาตุน้ำ
เทพธิดาผู้รักษาธาตุน้ำ
ที่ประทับพรหมโลก
ไวกูณฐ์
เขาไกรลาศ
คงโคตริ
มนตร์โอม ศรี คงคาไย นะมะหะ (Om Shri Gangayai Namaha)
อาวุธหม้อกลัศ
พาหนะมกร
จระเข้
ปลา (ในศิลปะไทย)
เทศกาลคงคาทุสเสหรา, คงคาชยันตี และ นวราตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
บุตร - ธิดาภีษมะ
นรรมทา
บิดา-มารดาพระหิมวาน และ พระนางเมนาวตี

ในศาสนาฮินดูนั้น แม่น้ำคงคาถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และมีรูปเป็นเทวีพระนามว่า พระแม่คงคา (สันสกฤต: गङ्गा Gaṅgā) พระนางได้รับการเคารพบูชาในศาสนาฮินดู ที่ซึ่งมีความเชื่อว่าการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะเป็นการคลายบาปและช่วยหนุนไปสู่โมกษะ และเชื่อกันว่าน้ำในแม่น้ำคงคานั้นบริสุทธิ์มาก ผู้แสวงบุญที่เดินทางมานิยมนำเถ้าอัฐิของญาติผู้ล่วงลับมาลอยในแม่น้ำ เชื่อกันว่าจะช่วยนำพาดวงวิญญาณ ไปสู่โมกษะ เรื่องราวของพระนางพบได้ทั้งในฤคเวทและปุราณะต่าง ๆ

ศาสนสถานสำคัญของฮินดูหลายแห่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคา ตั้งแต่ที่ คงโคตริ, หฤทวาร, ปรยาคราช, พาราณสี และกาลีฆัตในกัลกัตตา นอกจากการเคารพบูชาในศาสนาฮินดูแล้ว ในประเทศไทยยังมีเทศกาลลอยกระทงที่ซึ่งมีการลอยกระทงบนทางน้ำไหลเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณและพระแม่คงคา เพื่อเป็นการสร้างบุญและล้างความชั่วร้ายตามความเชื่อว่าให้ลอยไปกับสายน้ำ

ประติมานวิทยา[แก้]

ในรูปเคารพพระแม่คงคาเป็นสตรีท่าทางใจดีมีผิวพระวรกายอ่อน ประทับบนจระเข้ ในพระหัตถ์ทรงดอกบัวในหัตถ์หนึ่ง และพิณอินเดียในอีกหัตถ์หนึ่ง หากเป็นรูปสี่พระหัตถ์อาจทรงหม้อกลัศ หรือหม้อใส่น้ำอมฤต, ประคำ, ดอกบัว, ศิวลึงค์, ตรีศูล หรือทรงวรทมุทราหรือมุทราอื่นขึ้นอยู่กับศิลปะ

ในศิลปะของเบงกอล มักแสดงพระองค์ทรงสังข์, จักร, ดอกบัว และทรงอภัยมุทรา พร้อมมั้งเทน้ำมนตร์จากหม้อกลัศ

พระวาหนะ[แก้]

ใน พรหมไววรรตปุราณะ พระแม่คงคานิยมสร้างรูปเคียงกับพระวาหนะ (พาหนะ) ของพระองค์คือมกร หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายมังกรในศาสนาฮินดู ลักษณะการใช้มกรเปนพระวาหนะนี้ได้รับการตีความอย่างหลากหลาย บ้างว่าเป็นตัวแทนของความฉลาดเฉลียว การเอาชนะความดุร้าย เป็นต้น

ในคติความเชื่อต่างๆ[แก้]

พระแม่คงคาทรงเป็นที่นิยมได้รับการบูชาอย่างมากในประเทศเนปาล โดยทรงได้รับการบูชาควบคู่กับพระแม่ยมุนา เทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนางคือองค์ที่ประดิษฐาน ณ จตุรัสพระราชวังปาฏัน[1][2] และโคกรรณมหาเทวมนเทียร (Gokarna Mahadev Temple) ในนครกาฐมาณฑุ[3]

ในประเทศศรีลังกา, ทรงได้รับการบูชาร่วมกับเทวดาในศาสนาฮินดูองค์อื่นๆในฐานะผู้รักษาพระพุทธศาสนา เทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนางคือที่เกลณียราชมหาวิหาร (Kelaniya Raja Maha Vihara)[4][5]

ในศาสนาฮินดูแบบบาหลี, พระนางได้รับการบูชาร่วมกับพระแม่ดานู นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในฐานะมารดาของภีษมะในมหาภารตะ มีโบสถ์พราหมณ์หลายแห่งที่สร้างอุทิศถวายพระนาง เช่น ตีร์ตากังกา, ปูราตามันมุมบุลกันดาซารี (Pura Taman Mumbul Sangeh) และ โกงโจปูราตามันกันดาซารี (Kongco Pura Taman Gandasari)[6][7][8]

ทะเลสาบคังคาตลโอ ในประเทศมอริเชียสเป็นโบสถ์พราหมณ์อีกแห่งที่อุทิศถวายพระนางและได้มีการอัญเชิญน้ำจากแม่น้ำคงคามาผสมในทะเลสาบ และได้ทำพิธีเทวาภิเษกและเปลี่ยนชื่อเป็น ทะเลสาบคังคาตลโอ[9]

พระแม่คงคาได้รับการบูชาร่วมกับ พระอิศวร, พระภูมิเทวี, พระอาทิตย์ และ พระจันทร์ ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายและแห่นางดานของศาสนาฮินดูในประเทศไทย โดยทั่วไปพระนางได้รับการสักการะบูชาร่วมกับพระแม่ธรณีของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและแม่พระโพสพของศาสนาผี. สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นตัวแทนของน้ำศักดิ์สิทธิ์ของพระนางที่ใช้พิธีกรรมต่างๆของไทย[10][11][12]

ในประเทศกัมพูชาพระนางเป็นที่รู้จักและได้รับการบูชาตั้งแต่ในสมัยจักรวรรดิเขมร โดยเทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนาง คือ เทวรูป พระอุมาคงคาปติศวร (อังกฤษ: Uma-Gangapatisvarar:เขมร: ព្រះឧមាគង្គាបតិស្វរ),ในฐานะชายาของพระศิวะร่วมกับพระปารวตี ที่สำคัญเช่นปราสาทบากอง, และหน้าบันของปราสาทธมมานนท์ เป็นต้น[13][14][15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Statue of the River Goddess Ganga in Royal Palace in Patan, Kathmandu Valley, Nepal Stock Photo - Image of Nepalese, Asian: 89398650".
  2. "Nepal Patan Ganga Statue High Resolution Stock Photography and Images - Alamy".
  3. "53 Kathmandu Gokarna Mahadev Temple Ganga Statue". Mountainsoftravelphotos.com. 2010-10-10. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  4. "Kelaniya Raja Maha Vihara".
  5. "The Goddess Ganga (Bas-relief depicting the goddess Ganga atop her crocodile (Makara) mount at Kelaniya Temple, Sri Lanka) | Mahavidya". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  6. "Tirta Gangga Water Palace - A Complete Guide to Visiting". 13 January 2020.
  7. "Taman Mumbul dengan Panglukatan Pancoran Solas di Sangeh, Simbol Dewata Nawasanga".
  8. "SERBA SERBI TRIDHARMA: Kelenteng Kwan Kung Miau - Denpasar, Bali". 4 January 2015.
  9. "How a lake became the sacred Ganga Talao". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  10. "พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย".
  11. "อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม".
  12. ""พันปีไม่เคยแห้ง" น้ำศักดิ์สิทธิ์ ของพญานาค จากสระทั้งสี่ ที่เมืองสุพรรณบุรี". 4 March 2019.
  13. "Vasudha Narayanan | Department of Religion".
  14. "Shiva with Uma and Ganga, sandstone, 101 x 53 x 13 cm".
  15. "May 2015".

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • Eck, Diana L. (1982), Banaras, city of light, Columbia University, ISBN 978-0231114479
  • Eck, Diana (1998), "Gangā: The Goddess Ganges in Hindu Sacred Geography", ใน Hawley, John Stratton; Wulff, Donna Marie (บ.ก.), Devī: Goddesses of India, University of California / Motilal Banarasidass, pp. 137–53, ISBN 8120814916
  • Vijay Singh: The River Goddess (Moonlight Publishing, London, 1994)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]