สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐฝรั่งเศส

République française
1792–1804
ธงชาติฝรั่งเศส
ธงชาติ (1792–1794)
ธงชาติ (1794–1804)
คำขวัญLiberté, égalité, fraternité, ou la mort!
(เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือความตาย!)
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งใน ค.ศ. 1799
  •   เขตปกครองโดยตรง
  •   สาธารณรัฐพี่น้องและพื้นที่ยึดครอง
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
การปกครอง1792–1795 ลัทธิอำนาจนิยมแบบดีแร็กตัวร์สาธารณรัฐปฏิวัติ

1795–1799 คณาธิปไตยแบบดีแร็กตัวร์สาธารณรัฐ

1799–1804 สาธารณรัฐอัตตาธิปไตยภายใต้เผด็จการทหารแบบลัทธิโบนาปาร์ต
ประธานที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ 
• 1792
Jérôme Pétion de Villeneuve (คนแรก)
• 1795
Jean Joseph Victor Génissieu (คนสุดท้าย)
ประธานดีแร็กตัวร์ 
• 1795–1799
By rotation: 3 months duration
กงสุลเอก 
• 1799–1804
นโปเลียน โบนาปาร์ต
สภานิติบัญญัติสภากงว็องซียงแห่งชาติ
คณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศส
คณะกงสุลฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์ 
14 กรกฎาคม 1789
• การโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
21 กันยายน 1792
5 กันยายน 1793 ถึง
28 กรกฎาคม 1794
24 กรกฎาคม 1794
9 พฤศจิกายน 1799
• วุฒิสภาประกาศให้นโปเลียนเป็นจักรพรรดิ
18 พฤษภาคม 1804 1804
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (1791–1792)
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1

ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (ฝรั่งเศส: Première République) บางครั้งจะถูกเรียกในวิชาศึกษาประวัติศาสตร์ว่า ฝรั่งเศสภายใต้การปฏิวัติ (Revolutionary France) และชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธาณรัฐฝรั่งเศส (République française) ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1792 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ดำเนินไปจนถึงการประกาศสถาปนาจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 ภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต แม้ว่ารูปแบบของรัฐบาลจะเปลี่ยนไปหลายครั้งก็ตาม

ช่วงเวลานี้มีความโดดเด่นคือการล่มสลายระบอบกษัตริย์ การก่อตั้งที่ประชุมใหญ่แห่งชาติและสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ปฏิกิริยาเดือนแตร์มิดอร์และการสถาปนาคณะดีแร็กตัวร์ และจบลงที่นโปเลียนก่อรัฐประหาร สถาปนาคณะกงสุล

จุดจบของราชาธิปไตยในฝรั่งเศส[แก้]

ภายใต้สมัชชานิติบัญญัติซึ่งอยู่ในอำนาจก่อนการประกาศสถาปนาสาธาณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ฝรั่งเศสต้องพัวพันในสงครามกับปรัสเซียและออสเตรีย ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1792 จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรีย-ปรัสเซีย ได้ออกคำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ ซึ่งได้ข่มขู่ว่า จะถล่มกรุงปารีสให้ราบ หากมีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ภัยคุกคามจากต่างชาตินี้ทำให้ความปั่นป่วนทางการเมืองของฝรั่งเศสรุนแรงยิ่งขึ้นท่ามกลางการปฏิวัติฝรั่งเศส และความโกรธที่มากขึ้นและความรู้สึกเร่งด่วนในท่ามกลางฝ่ายต่าง ๆ ในเหตุการณ์จลาจล วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ประชาชนบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรี สังหารทหารองค์รักษ์สวิสของพระมหากษัตริย์จำนวนหกร้อยนาย และยืนยันที่จะทำการถอดถอนพระมหากษัตริย์[2]

ความหวาดกลัวครั้งใหม่ในการต่อต้านการปฏิวัติก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 ม็อบชาวปารีสบุกเข้าไปในเรือนจำของเมือง พวกเขาสังหารนักโทษมากกว่าครึ่ง รวมทั้งขุนนาง นักบวช และนักโทษทางการเมือง แต่ยังรวมไปถึงอาชญากรทั่วไป เช่น โสเภณี หัวโขมย เหยื่อจำนวนมากถูกสังหารในห้องขัง: ถูกข่มขืน ถูกแทง และ/หรือถูกฟันจนถึงแก่ความตาย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ การสังหารหมู่เดือนกันยายน[3]

ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ (ค.ศ. 1792-1795)[แก้]

สัญลักษณ์ฝ่ายสาธารณรัฐเป็นผสมผสานกันมาจากความปราถนาของผู้เข้าพิธีรับเป็นคริสต์ศาสนิกชนใน ค.ศ. 1794

ด้วยผลลัพธ์ของอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาจากความรุนแรงในที่สาธารณะและความไม่มั่นคงทางการเมืองของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พรรคทั้งหกที่เป็นสมาชิกของสมัชชานิติบัญญัติของฝรั่งเศสได้ถูกกำหนดให้ควบคุมดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดสภากงว็องซียง(Convention) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สองประการในการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์และร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่

กฏหมายฉบับแรกของสภากงว็องซียงคือการก่อตั้งสาธารณรัฐที่หนึ่งและถอดถอนกษัตริย์จากอำนาจทางการเมืองทั้งหมดอย่างเป็นทางการ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยพระองค์ทรงอยู่ในสถานะสามัญชนคนธรรมดาที่มีนามสกุลว่า กาแป ต่อมาได้ถูกนำตัวขึ้นศาลอาญาในข้อหากบฏต่อแผ่นดินซึ่งเริ่มต้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1792 เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1793 พระองค์ทรงถูกตัดสินว่ามีความผิด และในวันที่ 21 มกราคม พระองค์ทรงถูกประหารชีวิต[4]

ตลอดช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1792 และฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1793 กรุงปารีสประสบปัญหาการก่อจลาจลทางอาหารและความอดอยากขนาดใหญ่ การประชุมใหญ่ครั้งใหม่ไม่ได้แก้ปัญหาเพียงแม้แต่เล็กน้อยจนถึงปลายฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1793 ครอบงำแทนที่ด้วยเรื่องของสงคราม ในท้ายที่สุด 6 เมษายน ค.ศ. 1793 สภากงว็องซียงได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมและได้รับมอบหมายภารกิจที่ยิ่งใหญ่: "เพื่อจัดการกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่หัวรุนแรงของฝ่าย Enragés การขาดแคลนอาหารและการก่อจลาจล และการลุกฮือในวองเดและในบริตทานี ความปราชัยล่าสุดของกองทัพ และการหนีทัพของนายพลผู้บัญชาการทหาร"[5]

สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือ คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมได้กำหนดนโยบายที่น่าสะพรึงกลัว และเครื่องกิโยตินได้เริ่มทำการประหัดประหารศัตรูของสาธารณรัฐซึ่งเป็นที่รับรู้ในอัตราที่สูงมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่เป็นที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบันคือ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว[6]

แม้ว่าความไม่พอใจที่เกิดขึ้นกับสภากงว็องซียงในฐานะคณะการปกครอง แต่ในเดือนมิถุนายน สภากงว็องซียงได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี ค.ศ. 1793 ซึ่งได้รับสัตยาบันจากการลงคะแนนเสียงของประชาชนในช่วงต้นเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมได้ถูกมองว่าเป็นรัฐบาล"ภาวะฉุกเฉิน" และสิทธิ์การรับรองโดยคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 และรัฐธรรนูญฉบับใหม่ถูกระงับภายใต้การควบคุม

รัฐธรรนูญของสาธารณรัฐไม่ได้จัดให้มีประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลอย่างเป็นทางการ อาจมีการอภิปรายว่า ประมุขแห่งรัฐน่าจะเป็นประธานแห่งสมัชชาแห่งชาติภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ได้เปลี่ยนไปทุกสัปดาห์ และดังนั้นจึงไม่มีการจัดรูปแบบใด ๆ

คณะดีแร็กตัวร์ (ค.ศ. 1795-1799)[แก้]

ภายหลังจากรอแบ็สปีแยร์ถูกจับกุมและประหารชีวิต เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม ค.ศ. 1794 สโมสรฌากอแบ็งถูกสั่งปิดและกลุ่มฌีรงแด็งที่รอดชีวิตได้ถูกเรียกกลับคืนสถานะ อีกหนึ่งปีต่อมา สภากงว็องซียงแห่งชาติได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีที่สาม(Constitution of the Year III) พวกเขาสร้างเสรีภาพในสักการะบูชาขึ้นมาใหม่ เริ่มปล่อยนักโทษจำนวนมาก และที่สำคัญที่สุดคือ การริเริ่มการเลือกตั้งสำหรับสภานิติบัญญัติขึ้นมาใหม่

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1795 คณะดีแร็กตัวร์ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ภายใต้ระบบนี้ ฝรั่งเศลถูกนำโดยรัฐสภาแบบสองสภา ประกอบไปด้วยสภาสูงที่ถูกเรียกว่า สภาอาวุโส (มีสมาชิก 250 คน) และสภาล่างที่ถูกเรียกว่า สภาห้าร้อย (มีสมาชิก 500 คน) และคณะผู้บริหารร่วมกันของสมาชิกทั้งห้าคนจึงถูกเรียกว่า คณะดีแร็กตัวร์ (ซึ่งช่วงเวลาในประวัติศาตร์ได้ชื่อนี้มา) เนื่องจากความไม่มั่นคงภายใน สาเหตุเกิดขึ้นมาจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงของเอกสารทางการเงินที่เรียกว่า อัสซิญาต์[7] และความหายนะทางทหารของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1798 และ ค.ศ. 1799 คณะดีแร็กตัวร์ได้ดำเนินมาเป็นเวลาเพียงแค่สี่ปีเท่านั้น จนกระทั่งถูกโค่นล้มอำนาจใน ค.ศ. 1799[ต้องการอ้างอิง]

คณะกงสุล (ค.ศ. 1799-1804)[แก้]

ยุคสมัยคณะกงสุลได้เริ่มต้นขึ้นด้วยรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 สมาชิกของคณะดีแร็กตัวร์เองเป็นผู้วางแผนก่อรัฐประหาร เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอำนาจที่ล้มเหลวของคณะดีแร็กตัวร์ นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหาร และกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลในฐานะกงสุลเอก

18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 นโปเลียนถูกประกาศให้เป็นจักรพรรดิโดยวุฒิสมาชิกสายอนุรักษนิยม (Sénat conservateur) ต่อมาเขาก็ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐที่ 1 และนำไปสู่ยุคสมัยของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mould, Michael (2011). The Routledge Dictionary of Cultural References in Modern French. New York: Taylor & Francis. p. 147. ISBN 978-1-136-82573-6. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  2. Censer, Jack R.; Hunt, Lynn (2004), Liberty, Equality, Fraternity: Exploring the French Revolution, University Park, Pennsylvania: Pennsylvania State University Press
  3. Doyle (1989), pp. 191–192.
  4. Doyle (1989), p. 196.
  5. The French Revolution [videorecording]: liberté, egalité, fraternité, a hitler Jr. is born in blood / produced & directed by Doug Shultz; written by Doug Shultz, Hilary Sio, Thomas Emil. [New York, N.Y.]: History Channel: Distributed in the U.S. by New Video, 2005.
  6. "Robespierre and the Terror | History Today". www.historytoday.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2018. สืบค้นเมื่อ 8 February 2018.
  7. "J.E. Sandrock: "Bank notes of the French Revolution" and First Republic" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2013. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  8. "Paris: Capital of the 19th Century". library.brown.edu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.