เหตุระเบิดในประเทศไทยเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559
เหตุระเบิดในประเทศไทยเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย | |
สถานที่ | ภูเก็ต, ตรัง, หัวหิน, สุราษฎร์ธานี,พังงา |
วันที่ | 11–12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
ประเภท | ระเบิด |
ตาย | 1 คน (11 สิงหาคม) 3 คน (12 สิงหาคม) รวม: 4 คน |
เจ็บ | 36 คน[1] |
ผู้ก่อเหตุ | มุสลิมแบ่งแยกดินแดน (ต้องสงสัย)[2] |
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้เกิดเหตุระเบิดสองครั้งในหัวหิน ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศของไทย[3] มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 23 คน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก วันรุ่งขึ้น เกิดเหตุระเบิดอีกหลายครั้ง โดยมีเป้าหมายที่หัวหินอีกครั้ง ตลอดจนสุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต พังงาและตรัง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองคนและบาดเจ็บอีกหลายคน โดยทั้งหมด มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน และบาดเจ็บ 36 คน
วันที่ 11 สิงหาคม
[แก้]ได้เกิดเหตุระเบิดสองลูกที่หัวหินเมื่อเวลาประมาณ 22:20 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 11 สิงหาคม หญิงไทยคนหนึ่งขายผลไม้ริมถนนเสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 23 คน ในจำนวนนั้นเป็นชาวต่างชาติ 12 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บประกอบด้วยชาวอังกฤษสองคน, ชาวดัตช์สองคน, ชาวเยอรมันหนึ่งคน และเจ็ดคนจากประเทศออสเตรียกับอิตาลี[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 12 สิงหาคม
[แก้]หัวหิน
[แก้]เกิดเหตุระเบิดอีกสามครั้งในหัวหินเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม โดยมีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บอย่างน้อย 4 คน[ต้องการอ้างอิง]
สุราษฎร์ธานี
[แก้]เวลา 08.00 ระเบิดที่ซ่อนอยู่ในกระถางดอกไม้ได้ระเบิดหน้าสถานีตำรวจน้ำสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นละแวกเดียวกับที่จัดงานวันแม่แห่งชาติ และมีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน เป็นพนักงานเทศบาล
เวลา 08.30 เกิดเหตุระเบิดหน้า สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[ต้องการอ้างอิง]
ภูเก็ต
[แก้]เกาะภูเก็ตถูกโจมตีด้วยระเบิดสองครั้งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่ลานโลมา ซึ่งเป็นพื้นที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นที่หาดป่าตองใกล้กับสถานีตำรวจ[ต้องการอ้างอิง]
ตรัง
[แก้]เกิดเหตุระเบิดที่ตรัง โดยมีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน และบาดเจ็บหกคน[4]
พังงา
[แก้]ที่ตลาดบางเมียง อำเภอตะกั่วป่า จ.พังงา มีการวางระเบิด 2 ลูก ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ รถยนต์ได้รับความเสียหาย 2 คัน
จำนวนผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ
[แก้]ประเทศ | เสียชีวิต | ได้รับบาดเจ็บ |
---|---|---|
ไทย | 4 | 26 |
อิตาลี | 3 | |
เนเธอร์แลนด์ | 3 | |
เยอรมนี | 3 | |
สหราชอาณาจักร | 2 | |
ออสเตรีย | 1 | |
รวมทั้งหมด | 4 | 36 |
ปฏิกิริยา
[แก้]ไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบ แต่ทางการสงสัยอย่างยิ่งว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานีอยู่เบื้องหลังการวางระเบิด[4]
วันที่ 12 สิงหาคม นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวถึง "คนไม่ดี [ที่] ทำมาตั้งแต่ก่อนการลงประชามติ" และ "[เรา] ต้องไม่โทษกันและกัน เราไม่เคยทำร้ายหรือขัดแย้งกับใครเลย ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ"[5]
ผู้ต้องสงสัยสองคนถูกจับกุมในคดีวางระเบิดสู่รัฐบาลไทย โดยระบุแรงจูงใจของพวกเขาคือ "เพื่อสร้างความสับสนวุ่นวาย"[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เหตุระเบิดในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2548
- เหตุระเบิดในอำเภอหาดใหญ่ พ.ศ. 2549
- เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Holmes, Oliver. "Thai police arrest two men over coordinated bomb attacks". theguardian.com. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.
- ↑ Hookway, James; Watcharasakwet, Wilawan (16 August 2016). "Thailand Eyes Muslim Separatists in Deadly String of Bombings". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 18 August 2016.
- ↑ Kocha Olarn; Joshua Berlinger; Lauren Said-Moorhouse (12 August 2016). "Phuket, Hua Hin hit as Thailand rocked by 11 bombs in one day". CNN. สืบค้นเมื่อ 18 August 2016.
- ↑ 4.0 4.1 "Thailand blasts: More explosions target tourist towns". bbc.com. BBC. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
- ↑ "Prayuth Links 'Bad People' Behind Bombs to Referendum, Calls For Patience". khaosodenglish.com. Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 13 August 2016.