ทัฬห์ อมรบุณยกร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เมธี อมรวุฒิกุล | |
---|---|
ชื่ออื่น | เก่ง ณชิต อำนาจเดชานนท์ |
เกิด | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 เมธี อมรวุฒิกุล [1] |
จุดกำเนิด | กรุงเทพมหานคร |
อาชีพ | นักแสดง, นายแบบ, พิธีกร, ยูทูบเบอร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 253x - 2552 |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
เมธี อมรวุฒิกุล หรือในชื่อจริงว่า ณชิต อำนาจเดชานนท์[2] ชื่อเล่น เก่ง นักแสดงละครโทรทัศน์ชาวไทย เคยมีผลงานถ่ายภาพนู้ดอยู่ระยะหนึ่ง[3] สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย และ อดีตสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) ซึ่งนายเมธี เคยถูกจับกุมจากการขึ้นเวที นปช. แล้วครั้งหนึ่ง[4] เมธี อมรวุฒิกุล เคยเปลี่ยนชื่อเป็น ทัฬห์ อมรบุณยกร และ ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ณชิต อำนาจเดชานนท์[5]
ประวัติ
[แก้]เมธี อมรวุฒิกุล เป็นคนไทยเชื้อสายจีน บิดาชื่อ พิชัย และมารดาชื่อ นิรมล มีพี่ชายและน้องสาวอย่างละหนึ่งคน[6] จบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายที่โรงเรียนเซนต์ดอมินิก ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภายใต้หลักสูตรเต็ม 4 ปี แต่ใช้เวลาเรียนแค่ 3 ปีเท่านั้น จากนั้นได้ศึกษาต่อคอร์สบริหารธุรกิจ หลักสูตรอนุปริญญาโท ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
เริ่มทำงานเป็นนายแบบกับนิตยสารลลนา หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต จากนั้นจึงตามมาด้วยผลงานต่าง ๆ อีกมาก ทั้งโฆษณาทางโทรทัศน์ งานแสดง รวมถึงการถ่ายแบบนู้ดด้วย
เปลี่ยนชื่อจริงและนามสกุลจริงเป็น "ทัฬห์ อมรบุณยกร" ในปี พ.ศ. 2550 โดยที่ชื่อมีความหมายว่า "ผู้มีความมั่นคง" [7]
ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้สร้างความฮือฮา เมื่อเป็นฝ่ายไล่ชก นายอดิศราช ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นคนสูงอายุ ที่หน้าที่ทำการพรรค ขณะที่นายอดิศราชเดินทางมาเรียกร้องเงินค่าจ้างผลิตสื่อโฆษณาหาเสียงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก โดยเจ้าตัวเข้าใจผิดว่านายอดิศราชเป็นพวกเดียวกับนายวรัญชัย โชคชนะ ซึ่งได้นำพานพุ่มหน้าที่ทำการพรรคไปมอบให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีเพื่อให้กำลังใจ [8]
ในปี พ.ศ. 2564 ทัฬห์ ได้ปรากฏตัวอีกครั้งในที่ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎร[9] จากนั้นจึงได้สมัครเป็นสมาชิก พรรคเศรษฐกิจไทย และได้รับการวางตัวเป็นผู้สมัคร ส.ส. ประจำจังหวัดสมุทรปราการ[10] จากนั้นเขาได้ลาออกจากพรรคเศรษฐกิจไทย แล้วมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย และลงเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 32 จากพรรคเสรีรวมไทย ในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2566[11][12]
ผลงานการแสดง
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2539 | ดอกไม้ในป่าหนาว | ช่อง 5 | ||
โปลิศจับขโมย | ช่อง 3 | |||
คู่รัก | ช่อง 3 | |||
ตามรักคืนใจ | ช่อง 3 | |||
2540 | ล่าปีศาจ | ช่อง 3 | ||
2541 | เลื่อมสลับลาย | ช่อง 3 | ||
อย่าลืมฉัน | ช่อง 7 | |||
หัวใจและไกปืน | ช่อง 7 | |||
ร่วมงานรัก | ช่อง 3 | |||
คนึงหา 240 วันไม่ทันห้ามใจ | ช่อง 3 | |||
2542 | พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ | ช่อง 7 | ||
คุณปู่ซู่ซ่า | ช่อง 7 | |||
แม่นาค | ช่อง 7 | เบิ้ม | ||
2543 | เจ้าสัวน้อย | ช่อง 7 | ||
เพลิงรักไฟแค้น | ช่อง 3 | ผยอง | ||
สวัสดีคุณผู้ฟัง | ช่อง 7 | |||
2544 | แสนแสบ | ช่อง 5 | ||
เพชรตัดเพชร | ช่อง 7 | |||
อตีตา | ช่อง 7 | |||
พี่เลี้ยงกึ่งสำเร็จรูป | ช่อง 3 | รับเชิญ | ||
นายฮ้อยทมิฬ | ช่อง 7 | ทิดจันทา | ||
แม้เลือกเกิดได้ | ช่อง 7 | |||
N/A | หลงไฟ | ช่อง ITV | ||
2545 | นิราศสองภพ | ช่อง 3 | ซุน | |
หัวใจไกลปืนเที่ยง | ช่อง 7 | |||
จิตสังหาร | ช่อง 7 | |||
หัวใจเถื่อน | ช่อง 7 | |||
หลังม่านมายา | ช่องไอทีวี | |||
2546 | หักเหลี่ยมพระกาฬ | ช่อง 3 | ||
พุทธานุภาพ | ช่อง 3 | รับเชิญ | ||
2547 | พรายปรารถนา | ช่อง 3 | ||
สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน | ช่อง 7 | |||
อุ่นไอรัก | ช่อง 7 | |||
หน้ากาก | ช่อง 7 | |||
2548 | โสดสโมสร ตอน แต่งกับความโสด | ช่อง 3 | ||
ค้นรัก...สุดขอบฟ้า | ช่อง 7 | |||
โคกคูนตระกูลไข่ | ช่อง 3 | รับเชิญ | ||
2549 | เปลวไฟในฝัน | ช่อง 7 | ||
เหมือนเราจะรักกันไม่ได้ | ช่อง 7 | |||
เหล็กไหล[13] | ช่อง 7 | |||
สายลมกับสามเรา | ช่อง 7 | |||
ตะวันรุ่งที่ทุ่งกระทิง | ช่อง 7 | |||
2550 | ตากสินมหาราช | ช่อง 3 | เมี้ยนหวุ่น | |
เลือดในดิน | ช่อง 7 | |||
2552 | พยัคฆ์ยี่เก | ช่อง 7 | เหว่ย |
ภาพยนตร์
[แก้]ภาพยนตร์ | |||
---|---|---|---|
พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
พ.ศ. 2543 | อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร | เป็น 1 ใน 3 ตัวละครเอกร่วมกับ อำพล ลำพูน และ หลิน จื้ออิง | |
พ.ศ. 254X | เรือนเจ้าพระยา | ||
พ.ศ. 2547 | อาถรรพ์บ้านนางรำ |
มิวสิควิดีโอ
[แก้]- เพลง ไม่บอก ไม่บอก - กมลชนก เขมะโยธิน (2536)
- เพลง โยนให้หมากิน - ตรีรัก รักการดี (2538)
- เพลง คนบ่มีใจ - น้องนัท ใจเดียว
ผลงานพิธีกร
[แก้]ออนไลน์
- พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน : ช่องคุยกับณชิตเมธี ทางยูทูบ - คุยกับณชิตเมธี
กรณีถูกจับในการชุมนุมและการแถลงข่าวในปี พ.ศ. 2553
[แก้]กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ควบคุมตัวนายเมธี ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 หนึ่งในผู้ต้องสงสัย ที่ยึดครองอาวุธปืนความเร็วสูง ซึ่งใช้ในปฏิบัติการทางทหาร เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวในเวลาต่อมา อ้างว่านายเมธีให้การรับสารภาพ และคำให้การหลายส่วนเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ส่วนแกนนำ นปช.ยืนยันว่า นายเมธีมิได้เป็นแกนนำแต่แรกอยู่แล้ว เป็นเพียงแนวร่วมเท่านั้น[14]
ต่อมาในกลางปีเดียวกันนั้น ขณะที่นายเมธีถูกควบคุมตัวในฐานะพยานสำคัญของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ออกมาแถลงข่าว 2 ครั้ง ใน 2 เรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ เรื่องที่ แอนนี่ บรู๊ค อดีตนักแสดงและนางแบบสาวมีข่าวโด่งดังว่าตั้งครรภ์กับ ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ นักร้องและนักแสดงในสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่น ซึ่งเนื้อหาที่นายเมธีแถลงนั้น มีใจความว่า ในปี พ.ศ. 2542 แอนนี่และตนเคยคบหากัน และแอนนี่ก็ได้บอกกับตนเช่นนี้ว่าตั้งครรภ์กับตน แต่ตนไม่เชื่อ เพราะได้ป้องกันมาตลอด และหลังจากนั้นก็ได้เลิกรากัน เพราะจับได้ว่าแอนนี่คบผู้ชายคนอื่นถึง 2 คนในเวลาเดียวกัน[15]
และอีกเรื่อง คือ การเปิดเผยว่า นายจตุพร พรหมพันธ์ ซึ่งเป็นแกนนำของ นปช.ได้ยักยอกเงินบริจาคระหว่างการชุมนุมเป็นจำนวนถึง 68 ล้านบาท และมีพฤติกรรมที่ไม่สมควรกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ใช่ภรรยาของตนเองบนชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งในเรื่องนี้นายจตุพรได้ปฏิเสธและจะดำเนินการฟ้องร้องกลับ[16][17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เมธี อมรวุฒิกุล (ทัฬห์ อมรบุณยกร)
- ↑ ดีเอสไอแจงคลิปจับเมธี อดีตดาราดัง ชี้ส่งอัยการฟ้องแล้ว คดีฉกอาวุธทหารเหตุชุมนุมปี’52 หนังสือพิมพ์ออนไลน์มติชน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 15:39 น.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-23. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
- ↑ http://www.pitakthai.com/social/675.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดีเอสไอแจงคลิปจับเมธี อดีตดาราดัง ชี้ส่งอัยการฟ้องแล้ว คดีฉกอาวุธทหารเหตุชุมนุมปี’52 หนังสือพิมพ์ออนไลน์มติชน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 15:39 น.
- ↑ ประวัติชีวิต เมธี อมรวุฒิกุล[ลิงก์เสีย]
- ↑ เมธี อมรวุฒิกุล - นู้ดแท้ - แดงเทียม!? [ลิงก์เสีย]จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ คลิปเมธี ต่อย อดิศราช ตั้ง2ข้อหา ดาราเสื้อแดง เมธี บู๊นอกจอ รัวหมัดใส่เจ้าหนี้เพื่อไทย จากสนุกดอตคอม
- ↑ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ข่าวสด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 "'เมธี' โผล่ราชประสงค์"
- ↑ ฮือฮา! เศรษฐกิจไทยขนดาราลงส.ส. เปิดตัว'เมธี 'อดีตดาราแดงฮาร์ดคอร์
- ↑ เลือกตั้ง 2566 เช็กรายชื่อและเบอร์ 33 เขต ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร หนังสือพิมพ์ออนไลน์อีจัน 3 เมษายน พ.ศ. 2566 20:32 น.
- ↑ Thaipublica
- ↑ "ฐานข้อมูลจากthaimovie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-04-08.
- ↑ DSIยันเมธีสารภาพร่วมปล้นปืนทหาร เก็บถาวร 2010-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากโพสต์ทูเดย์
- ↑ [ลิงก์เสีย] "เมธี" แถลงข่าวแฉ"แอนนี่"อีกคบที2คน จากคมชัดลึก
- ↑ ""เมธี" แฉ "จตุพร" อมเงินบริจาค 68 ล." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
- ↑ เมธี-จตุพร ซัดกันมันหยด ศึกวันแดงเดือดต่างฝ่ายต่างแรง[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ทัฬห์ อมรบุณยกร ที่เฟซบุ๊ก
- ทัฬห์ อมรบุณยกร ที่ยูทูบ
- [1] ที่ติ๊กต็อก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2514
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- นักแสดงชายจากกรุงเทพมหานคร
- นายแบบไทย
- พิธีกรชาวไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคเศรษฐกิจไทย
- พรรคเสรีรวมไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์