เจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุกแห่งบราบันต์
เจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุกแห่งบราบันต์ | |
---|---|
เลโอโปลด์ เฟอร์ดินานด์ เอลลี วิคเตอร์ อัลเบิร์ต มารี | |
เจ้าชายเลโอโปลด์ และสมเด็จพระราชินีมารี เฮนเรียต พระราชมารดา | |
ดยุกแห่งบราบันต์ | |
ประสูติ | 12 มิถุนายน ค.ศ. 1859 พระราชวังลาเคิน ลาเคิน ประเทศเบลเยียม |
สวรรคต | 22 มกราคม ค.ศ. 1869 (พระชนมายุ 9 พรรษา) พระราชวังลาเคิน ลาเคิน ประเทศเบลเยียม |
ราชวงศ์ | ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม |
พระราชมารดา | มารี เฮนรีทเทอแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม |
เจ้าชายเลโอโปลด์แห่งเบลเยียม ดยุกแห่งบราบันต์ เคานท์แห่งแอโน (อังกฤษ: Prince Leopold of Belgium, Duke of Brabant, Count of Hainaut) (12 มิถุนายน ค.ศ. 1859 - 12 มิถุนายน ค.ศ. 1859) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 และรัชทายาทพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียมกับสมเด็จพระราชินีมารี เฮนรีทเทอแห่งเบลเยียม
เลโอโปลด์เป็นพระนามเดียวกันกับพระอัยกาของพระองค์ และพระญาติของพระราชบิดา เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี
พระราชประวัติตอนต้น
[แก้]เมื่อประสูติ พระองค์ทรงได้รบพระราชทานตำแหน่งเป็น "เคานท์แห่งแอโน" เป็นพระราชโอรสองค์โตและมกุฎราชกุมาร ช่วงเลาประสูติของพระองค์ พระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม พระอัยกาของพระองค์ปกครองเบลเยียม ก่อนหน้าเจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาจะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียม
พระองค์ประสูติหลังพระขนิษฐา เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเบลเยียม และมีพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ที่ประสูติหลังพระองค์สิ้นพระชนม์คือ เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงเคลม็องทีนแห่งเบลเยียม ทำให้พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์สิ้นความหวังสุดท้ายที่จะมีพระราชโอรส
ดยุกแห่งบราบันต์
[แก้]หลังจากการสวรรคตของพระอัยกาและการครองราชย์ของพระราชบิดาใน 1865 ทำให้พระองค์ได้รับตำแหน่งดยุกแห่งบราบันต์ ซึ่งเป็นตำแหน่งของทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในราชบัลลังก์เบลเยียม ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงทำให้พระองค์ได้รับการคาดหลังว่าจะได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเป็น สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม
สิ้นพระชนม์
[แก้]เจ้าชายเลโอโปลด์สิ้นพระชนม์ที่ ลาเอเกนหรือบรัสเซลส์ เมื่อ 22 มกราคม 1869 จากโรคพระปัปผาสะ (ปอด) บวมหลังจากที่ตกลงไปในบ่อน้ำ ที่งานพระศพของพระราชโอรส เป็นครั้งเดียวที่สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 ทรงกระทำเพียงครั้งเดียวในชีวิต พระองค์ทรง"ทรุดองค์ลงในที่สาธารณะคุกเข่าอยู่ข้างโลงพระศพและทรงกรรแสงอย่างบ้าคลั่ง"[1] พระศพของเจ้าชายเลโอโปลด์ ถูกฝังที่สุสานหลวงที่ โบสถ์พระแม่แห่งลาเคิน ในกรุงบรัสเซลส์
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเลโอโปลด์ก่อนวัยอันควร ทำให้พระราชบิดาของพระองค์เหลือพระธิดาเพียง 2 พระองค์ คือเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งเบลเยียม หลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีมารี เฮนเรียต ก็ทรงพยายามที่จะมีพระราชโอรสพระองค์ใหม่ พระองค์ได้ประสูติเจ้าหญิงเคลม็องทีนแห่งเบลเยียมในปี 1872 ทำให้ทั้งสองพระองค์สิ้นความหวังที่จะมีพระราชโอรส
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 ก็มีผู้สืบราชสมบัติคือพระภาติยะ สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และพระโอรสก็สืบราชสมบัติต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม
พระอิสริยยศ
[แก้]- 12 มิถุนายน 1859 - 10 ธันวาคม 1865: ฮิสรอยัลไฮเนส เคานท์แห่งแอโน, เจ้าชายแห่งเบลเยียม, เจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา, ดยุกแห่งแซกโซนี
- 10 ธันวาคม 1865 - 22 มกราคม 1869 : ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งบราบันต์, เจ้าชายแห่งเบลเยียม, เจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา, ดยุกแห่งแซกโซนี
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hochschild, Adam (1999). King Leopold's Ghost: A Story of Greed, Terror, and Heroism in Colonial Africa. USA: Mariner Books. ISBN 0-618-00190-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | เจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุกแห่งบราบันต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าชายเลโอโปลด์ (ภายหลังคือ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2) |
ดยุกแห่งบราบันต์ (10 ธันวาคม 1865 – 22 มกราคม 1869) |
เจ้าชายเลโอโปลด์ (ภายหลังคือ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3)
| ||
สถาปนาบรรดาศักดิ์ | เคานท์แห่งแอโน (12 มิถุนายน ค.ศ. 1859 – 10 ธันวาคม ค.ศ. 1865) |
เจ้าชายโบดวง (ภายหลังคือ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง) |